FESTUS HOUSE เฉลิมฉลองความสุขผ่านสวนกลางบ้าน

FESTUS HOUSE แบบบ้านโมเดิร์น แห่งการเฉลิมฉลองที่มี “สวน” เป็นหัวใจหลักของบ้านคอยเชื่อมมุมมองและเป็นพื้นที่รวมกิจกรรมโดยยังคงความเป็นส่วนตัวทั้งจากภายในและภายนอก

แบบบ้านโมเดิร์น แบบบ้านสองชั้น
แบบบ้านโมเดิร์น แบบบ้านสองชั้น
แบบบ้านโมเดิร์น แบบบ้านสองชั้น แบบบ้านต่างจังหวัด

หลังจากบ้านมาทำงานอยู่ที่จังหวัดระยองนานพอสมควร ก็ถึงคราวที่ คุณหมอเล็ก-แพทย์หญิงภัทริกา และคุณหมอแมน-นายแพทย์ณัฏฐพงศ์ อื้อเศรษฐศักดิ์ ตัดสินใจกลับบ้านเกิดของคุณหมอฝ่ายหญิงที่อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เพื่อมาใช้เวลาที่เหลือทั้งหมดของชีวิตที่นี่ โดยปลูกสร้าง แบบบ้านโมเดิร์น หลังใหม่ขึ้นบนที่ดินของครอบครัวซึ่งถูกถนนตัดพาดผ่าน ส่งผลให้รูปทรงของที่ดินไม่ได้เป็นทรงสี่เหลี่ยมแบบทั่วไป นำไปสู่การวางผังอาคารให้ทางเข้าบ้านตั้งฉากกับถนน สร้างความเป็นมิตรกับเพื่อนบ้านให้มากที่สุด แล้ววางตัวอาคารขนานกับที่ดิน เพื่อให้การจัดสรรพื้นที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเช่นกัน

“ภาพแรกที่เจ้าของมาหาเราคือเห็นภาพสวน อยากได้สวนที่สวยและใช้งานได้จริง อันนี้คือต้นเรื่องเลย”

แบบบ้านโมเดิร์น แบบบ้านสองชั้น แบบบ้านต่างจังหวัด
แบบบ้านโมเดิร์น แบบบ้านสองชั้น แบบบ้านต่างจังหวัด ชาน

ทีมสถาปนิกจาก Monotello ได้รับโจทย์ข้างต้นแล้วนำมาต่อยอดจนเกิดเป็นบ้านโมเดิร์นเรียบง่าย ที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 900 ตารางเมตร บนที่ดินขนาดไร่ครึ่งได้อย่างลงตัว โดยแบ่งออกเป็นบ้านพ่อแม่กับบ้านของครอบครัวที่มี “สวน” เป็นหัวใจของบ้านคอยเชื่อมพื้นที่ทุกส่วนเข้าหากัน

“ผมมองว่าสวนเหมือนฟังก์ชันหนึ่ง ความเป็นบ้านเริ่มตั้งแต่ที่ดินเราทั้งหมด ทุกที่เป็นห้อง ทุกที่เป็นสเปซ เพียงแต่ว่าสเปซตรงนั้นจะเป็นแบบเปิดหรือแบบปิด ผมมักบอกว่าสวนเป็นห้องนอนในบางวัน เป็นห้องทดลองหรือห้องเรียนของลูก ๆ ในบางเวลา”

เมื่อ “สวน” ถูกนิยามให้เป็น “หัวใจ” ของบ้าน จึงออกแบบเป็นพิเศษโดยให้พื้นที่นี้สามารถใช้งานได้ตลอดทั้งวัน ในขณะที่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ จึงเกิดเป็นพื้นที่แบบคอร์ตซ้อนคอร์ต กล่าวคือเมื่อผ่านประตูรั้วเข้ามาจะพบกับคอร์ตแรกคือที่จอดรถ แล้วค่อยเข้ามาเจอคอร์ตที่สองคือสนามหญ้ากลางบ้าน เกิดเป็นพื้นที่ปิดล้อมแบบเปิดโล่ง โดยวางผังอาคารให้สอดคล้องกับทิศทางของแดด ลม และฝน รวมถึงยังช่วยสร้างร่มเงาให้คอร์ตในยามบ่าย เอื้อให้ลูก ๆ ได้ออกมาทำกิจกรรมกลางแจ้งโดยไม่ต้องกลัวป่วย

แบบบ้านโมเดิร์น แบบบ้านสองชั้น แบบบ้านต่างจังหวัด แบบกำแพง
แบบบ้านโมเดิร์น แบบบ้านสองชั้น แบบบ้านต่างจังหวัด
แบบบ้านโมเดิร์น แบบบ้านสองชั้น แบบบ้านต่างจังหวัด ชานบ้าน
แบบบ้านโมเดิร์น แบบบ้านสองชั้น แบบบ้านต่างจังหวัด ชานบ้าน

“บ้านทุกหลังที่เราออกแบบไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ จะเกิดพื้นที่หนึ่งเสมอเรียกว่า ‘ที่เจ้าของ’ มันคือที่ที่เจ้าของบ้านรู้สึกปลอดภัย ถึงเราไม่ได้ออกแบบก็จะเกิดพื้นที่แบบนั้นเสมอ เป็นเหตุผลที่ผมพยายามทำความเข้าใจพฤติกรรมและวิถีชีวิตของเขาจริง ๆ สเปซถึงจะถูกใช้ และนั่นคือความสำเร็จของการออกแบบ

หลังจากทำความรู้จักเจ้าของบ้านทุกคนและศึกษาพฤติกรรมเพื่อนำมาออกแบบสเปซที่สามารถใช้งานได้จริง โดยเริ่มค้นพบความสัมพันธ์ของคนกับคน คนกับสเปซ และสเปซกับสเปซ โดยสเปซจะสมบูรณ์ได้คือต้องมี “คน” เป็นปัจจัยหลัก พื้นที่ในบ้านจึงตีความจากพฤติกรรมการใช้งานจริง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียนของลูก ๆ ทั้งสองคนที่มักขลุกตัวทำกิจกรรมตลอดทั้งวัน โดยที่พ่อแม่สามารถมองเห็นได้จากทุกมุมของบ้าน โต๊ะรับประทานอาหารบริเวณพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ที่คุณหมอเล็กออกมานั่งปอกผลไม้ไปมองสวนไป  ไปจนถึงห้องนอนหลักที่สามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวของผู้คนทั้งภายในและภายนอกตั้งแต่ประตูรั้วแบบบ้านโมเดิร์น แบบบ้านสองชั้น แบบบ้านต่างจังหวัด ชานบ้าน หน้าต่างบานเกล็ด

แบบบ้านโมเดิร์น แบบบ้านสองชั้น แบบบ้านต่างจังหวัด ชานบ้าน
ห้องเรียนในบ้าน ออกแบบให้ดูคล้ายกับเรือนกระจกแบบกึ่งเอ๊าต์ดอร์ด้วยผนังกระจกบานเกล็ดรอบห้อง เพื่อสามารถเปิดได้เมื่อต้องการรับลมธรรมชาติ ทั้งยังเอื้อให้ได้รับแสงธรรมชาติตลอดทั้งวันเหมาะกับกิจกรรมต่าง ๆ ของลูก ๆ

อีกหนึ่งองค์ประกอบที่สร้างความสนใจให้บ้านหลังนี้ตั้งแต่แรกเห็นคงหนีไม่พ้นกำแพงที่ถูกเจาะช่องแบบสุ่ม ซึ่งเรียกว่า “กำแพงช่องหิ่งห้อย” หนึ่งในกุศโลบายที่ต้องการสร้างภาพจำแก่คนภายนอก สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนต่างจังหวัดที่มักมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านโดยรอบและบริเวณใกล้เคียง ช่องว่างบนกำแพงนี้เองที่ก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นมิตร ผ่านการมองเห็นความเคลื่อนไหวของผู้คนทั้งจากภายนอกและภายใน อีกทั้งกลายเป็นแลนด์มาร์กของบ้านไปในตัว

สั่งทำขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อให้เข้ากับเตียงที่ซื้อมาก่อนแล้ว โดยออกแบบเป็นพาร์ทิชั่นไม้ที่สามารถเลื่อนเปิด-ปิดได้ และมีกิมมิกเป็นจอยต์ไม้สีเข้ม ซึ่งเป็นเสน่ห์เฉพาะของงานเข้าไม้ที่คุณหมอเล็กและคุณหมอแมนชื่นชอบเป็นทุนเดิม
บริเวณชานพักบันไดออกแบบให้มีความกว้างมากกว่าปกติ แล้วเสริมพื้นที่ตั่งไว้สำหรับนอนเล่น นอนอ่านหนังสือรับแสงเช้า โดยติดช่องเปิดแบบบานเกล็ดให้สามารถระบายอากาศได้ตลอดทั้งวัน

ชื่ออย่างเป็นทางการของบ้านหลังนี้คือ “Festus House” ที่ลูก ๆ เป็นคนตั้งให้เพราะอ่านหนังสือแล้วเจอว่า Festus ในภาษาอังกฤษ แปลว่า การเฉลิมฉลองหรือความสุข ซึ่งคงไม่แปลกนักถ้าจะนำมาใช้ตั้งชื่อบ้านหลังนี้ เพราะยามใดที่ทุกคนได้กลับมารวมตัวกัน ได้ใช้พื้นที่ร่วมกัน ได้มองเห็นกันและกันผ่านสวนกลางบ้าน คำว่าความสุขก็อบอวลขึ้นมาในทันใด

ช่องแสงสวยๆ ผนังบ้านบริเวณโถงบันไดเจาะช่องล้อไปกับกำแพงบ้าน กลายเป็นมิติของแสงที่เปลี่ยนไปตลอดทั้งวัน

เจ้าของ : แพทย์หญิงภัทริกา- นายแพทย์ณัฏฐพงศ์ อื้อเศรษฐศักดิ์

ออกแบบ : Monotello  โทรศัพท์ 0-2642- 8225  www.monotello.co.th


เรื่อง: BRL

ภาพ: ศุภกร ศรีสกุล

บ้านสีขาวที่เรียบง่ายแต่อบอุ่น

บ้านทรงกล่องที่สร้างให้มองเห็นกัน ได้ยินเสียงกัน แม้อยู่กันคนละมุมบ้าน