“เวียงกุมกาม” เมืองร้างใต้พิภพจากนวนิยายขายดี “สัตยาภพ”

โครงการ “ส่งความรู้ สร้างความสุข” เป็นอีกหนึ่งโครงการดี ๆ ของความร่วมมือระหว่าง บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ คือ กระทรวงศึกษาธิการ และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญเพราะการอ่าน ถือเป็นรากฐานที่สำคัญของการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะของเด็กซึ่งจะต่อยอดกลายเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในอนาคตได้  ซึ่งครั้งนี้เราจะไปรู้จักสถานที่ชวนอ่านจากหนังสือนวนิยาย สัตยาภพ ที่พาเราย้อนเวลาไปรู้จักกับเวียงกุมกาม

สัตยาภพ  เป็นนวนิยายรักข้ามภพที่ร้อนระอุด้วยไฟรักและไฟสงคราม  ระมิงค์ หญิงสาวผู้บอบช้ำในความรักเดินทางไปรักษาแผลใจที่เชียงใหม่ แล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อเธอได้ย้อนเวลากลับไปสู่อดีตเมื่อ ๕๐๐ ปีก่อน ณ อาณาจักรเวียงกุมกามที่กำลังร้อนระอุด้วยไฟสงคราม ณ ที่นั่นเธอได้พบกับเจ้าจันทร์แว่นฟ้า เจ้าศรีธรรมา พร้อมกับความรักที่ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นระหว่างเธอและแสนเสมาผู้เป็นแม่ทัพใหญ่แห่งเวียงกุมกาม และเธอก็ได้รับรู้เรื่องราวทุกอย่างที่ล้วนผูกพันและเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง    คำสัตยาธิษฐานในชาติอดีตกลับกลายเป็นม่านกั้นกลางความรักในปัจจุบัน เธอต้องแก้ไขเหตุการณ์นี้ให้ได้ เพื่อให้ม่านหมอกร้ายผ่านไปในที่สุด

เวียงกุมกามเป็นสถานที่ที่ตัวเอกของเรื่องได้เดินทางข้ามเวลาย้อนกลับไปเจอกับช่วงที่เกิดสงครามขึ้นในอดีต เวียงกุมกามนั้นเป็นอดีตเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา ที่พญามังรายโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1829 โดยโปรดให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน ขังน้ำแม่ปิงไว้ในคูเมือง เป็นเสมือนเมืองทดลองสร้างแต่ก็ทำไม่สำเร็จเพราะน้ำท่วมทุกปี และเกิดน้ำท่วมใหญ่จนเป็นสาเหตุในอาณาจักรล่มสลาย เมืองทั้งเมืองถูกดินถมสูงจากพื้นดิน 1-2 เมตรกลายเป็นเมืองร้างใต้พิภพ ที่เหลือไว้ก็เพียงโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ก่อนจะถูกปกครองโดยพม่า และเป็นเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน

ปัจจุบันเวียงกุมกามอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ประมาณ ก.ม. 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ด้านขวามือ ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภีและอยู่ใกล้ฝั่งด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำปิง สิ่งที่หลงเหลือมีเพียงวัดวาอารามอย่าง วัดเจดีย์เหลี่ยวหรือวัดกู่คำหลวง ที่ตั้งอยู่นอกเวียงกุมกาม(ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสาระภี) หลงเหลือให้ได้ศึกษาในสภาพที่ยังสมบูรณ์

ภาพจาก

https://www.museumthailand.com/

https://www.chiangmaiexpert.com

https://chiangmai-e-archive.com