เชื้อราในตู้เสื้อผ้า กำจัดรา ราในตู้เสื้อผ้า เชื้อรา ตู้เสื้อผ้าขึ้นรา ตู้เสื้อผ้าขึ้นราทำอย่างไรดี

การดูแลและทำความสะอาดเชื้อราในตู้เสื้อผ้า ให้หมดปัญหากวนใจ

เชื้อราในตู้เสื้อผ้า กำจัดรา ราในตู้เสื้อผ้า เชื้อรา ตู้เสื้อผ้าขึ้นรา ตู้เสื้อผ้าขึ้นราทำอย่างไรดี
เชื้อราในตู้เสื้อผ้า กำจัดรา ราในตู้เสื้อผ้า เชื้อรา ตู้เสื้อผ้าขึ้นรา ตู้เสื้อผ้าขึ้นราทำอย่างไรดี

การเกิดเชื้อ ราในตู้เสื้อผ้า นั้นเป็นปัญหาที่หลายบ้านต้องเจอซ้ำไปซ้ำมาในช่วงที่มีอากาศชื้น หรือในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันนาน ๆ ถึงแม้ว่าจะทำความสะอาด ได้กำจัดเชื้อราออกจากบานตู้เสื้อผ้าแล้ว แต่ก็บ่อยครั้งเชื้อราเหล่านั้น ก็ยังกลับมาใหม่อีก ซึ่งสาเหตุการเกิดเชื้อราในตู้เสื้อผ้า หลัก ๆ นั้นก็คือความชื้นในอากาศนี่แหละค่ะ

แต่จะมีเรื่องไหน ที่เป็นต้นเหตุให้ความชื้นในอากาศเพิ่มขึ้น จนมีผลกับตู้เสื้อผ้าของเรา และมีวิธีทำความสะอาดตู้เสื้อผ้าเมื่อเกิดเชื้อราขึ้นอย่างไร ไม่ให้เชื้อรากลับมากวนใจอีก ลองไปสำรวจสิ่งที่ควรจัดการ เมื่อต้องเผชิญหน้า และรับมือกับปัญหาเชื้อ ราในตู้เสื้อผ้า กับ my home ไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

สาเหตุของการเกิดเชื้อ ราในตู้เสื้อผ้า

เชื้อราในตู้เสื้อผ้า กำจัดรา ราในตู้เสื้อผ้า เชื้อรา ตู้เสื้อผ้าขึ้นรา ตู้เสื้อผ้าขึ้นราทำอย่างไรดี
ขอบคุณรูปภาพจากคุณ MEo Liveinreal

ตัวการสำคัญของเชื้อราคือความชื้น พื้นที่โปรดของเชื้อราจึงเป็นบริเวณที่แสงมักจะส่องไม่ค่อยถึง อากาศไม่ถ่ายเท นั่นจึงทำให้ตู้เสื้อผ้าเป็นมุมที่เชื้อรา สามารถเจริญเติบโตได้ดี เพราะมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโต เพราะทั้งมืด ทั้งอับ และไม่มีอากาศที่ถ่ายเทอย่างเพียงพอ หากตู้เสื้อผ้าถูกตั้งอยู่ในห้องที่ปิดทึบด้วยแล้ว ก็ยิ่งเป็นมุมโปรดของเชื้อราเข้าไปใหญ่เลยค่ะ

การก่อให้เกิดความชื้นแบบไม่รู้ตัว อาจทำให้ตู้เสื้อผ้า เกิดเชื้อราได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น การนำเสื้อผ้าที่ยังแห้งไม่สนิท เก็บเข้าตู้ หรือ การทำความสะอาดห้อง โดยใช้ผ้าที่เปียก หรือผ้าที่ชื้นเกินไป วิธีนี้ทำให้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นต่าง ๆ ได้รับความชื้นที่มากขึ้นตามไปด้วย แม้จะคอยดูแลอยู่เป็นประจำแต่สภาพอากาศที่ชื้นมากกว่าปกติ ในช่วงหน้าฝน หรือหน้ามรสุม ก็อาจทำให้เกิดปัญหาเชื้อราขึ้นได้ อากาศเย็นและไม่มีแดดก็เป็นช่วงที่เชื้อราสามารถเจริญเติบโตขึ้นได้แบบไม่ทันตั้งตัวเลยค่ะ

การทำความสะอาดคราบเชื้อราในตู้เสื้อผ้า

mold in the closet
https://www.cleanipedia.com

ขั้นตอนที่ 1

จัดการเช็ดล้างคราบเชื้อรา คราบเก่าออกก่อนเป็นอันดับแรก โดยสามารถใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ มาค่อย ๆ เช็ดเชื้อราออก โดยระวังอย่าให้ฟุ้งกระจาย ซึ่งขั้นตอนนี้ แนะนำให้สวมหน้ากากอยามัย และ ถุงมือด้วยนะคะ แต่ถ้าหากคราบเชื้อราค่อนข้าง ติดแน่น และสะสมอยู่เป็นเวลานาน แถมยังลุกลาม และกระจายออกเป็นวงกว้าง ก็สามารถใช้น้ำยาทำความสะอาดต่าง ๆ อย่างแอลกอฮอล์ หรือ น้ำยาทำความสะอาดแบบอเนกประสงค์ หรือ สเปรย์สำหรับกำจัดเชื้อราโดยเฉพาะ มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดคราบเชื้อราเหล่านี้ให้ออกไปได้ค่ะ

ขั้นตอนที่ 2

หากลงมือเช็ดล้างคราบเชื้อรา คราบเก่าออกไปแล้ว แต่ยังคงเหลือคราบเชื้อราอีกส่วน ที่ฝังลึกลงไปในเนื้อเฟอร์นิเจอร์ โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์จำพวกไม้ชนิดต่าง ๆ สามารถทำการแก้ไขได้ ด้วยการนำกระดาษทรายมาขัดบริเวณคราบเชื้อราออก โดยเริ่มจากการขัดกระดาษทรายแบบหยาบก่อน เพื่อให้เชื้อราหลุดออกไปให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ก่อน จากนั้นจึงค่อย ๆ ใช้กระดาษทรายแบบเนื้อละเอียด มาขัดย้ำที่ร่องรอยเดิม เพิ่มให้เนื้อเฟอร์นิเจอร์นั้นมีความเรียบสวยเหมือนเดิม

ขั้นตอนที่ 3

เมื่อทำความสะอาดคราบเชื้อราออกจนหมดแล้ว คราวนี้ก็มาถึงขั้นตอนการยับยั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้คราบเชื้อรา กลับมากวนใจอีกครั้ง  โดยการใช้น้ำส้มสายชูผสมกับน้ำเปล่าลงในขวดเสปรย์ แล้วนำมาฉีดพ่นลงไปให้ทั่วบริเวณที่เกิดเชื้อราทิ้งไว้ให้แห้งสนิท หรืออีกวิธีหนึ่งคือการใช้ยาหยอดฆ่าเชื้อราในเล็บ หยอดลงไปในบริเวณที่มีเชื้อราอยู่ โดยน้ำยาฆ่าเชื้อราสำหรับเล็บนี้ สามรถหาซื้อได้ตามร้านขายยา เช็ดทำความสะอาด ตู้ที่มีเชื้อราทับลงไปได้ค่ะ

รวมน้ำยาทำความสะอาดทางลัดให้บ้านสะอาดนานนน

ขั้นตอนที่ 4

ทุกครั้งหลังขั้นตอนการทำความสะอาดด้วยน้ำ หรือ น้ำยาต่าง ๆ ที่มีการเพิ่มความชื้นให้กับตู้เสื้อผ้า จำเป็นต้องทำให้ตู้เสื้อผ้านั้น แห้งอย่างเร็วที่สุด ด้วยการนำผ้าแห้งมาเช็ดซ้ำอีกครั้ง หรือใช้พัดลม หรือไดร์เป่าผม เป่าจนพื้นผิวบริเวณนั้นแห้งสนิท เพื่อไม่ให้เกิดความชื้นซ้ำซาก ซ้ำซ้อนลงไปในพื้นที่เก่าอีก ซึ่งอาจจะเป็นต้นเหตุของคราบเชื้อรา และอาการบวมน้ำในเฟอร์นิเจอร์ต่อไปได้อีกนั่นเอง

ขั้นตอนที่ 5

หลังกำจัดคราบเชื้อราที่เกิดขึ้นออกไปจากตู้เสื้อผ้าแล้ว ก็ควรจะต้องหาวิธีป้องกันพื้นผิวตู้เสื้อผ้า ให้ลดการสัมผัสกับความชื้น ที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการใช้น้ำยาเคลือบผิวไม้ ทาทับให้ทั่วตู้เสื้อผ้าอีกชั้นหนึ่ง จากนั้นก็รอให้น้ำยาเคลือบผิวไม้แห้ง จนกลิ่นน้ำยาค่อย ๆ จางลงไป ก็สามารถนำตู้เสื้อผ้า กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิมค่ะ

การป้องกันเชื้อราไม่ให้กลับมากวนใจ

วิธีที่ควรทำมากที่สุดก็คือปรับบรรยากาศในห้องให้เป็นพื้นที่ที่เชื้อราไม่ชอบ นั่นก็คือการเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทและมีแสงแดดเข้ามาบ้าง วิธีนี้จะทำให้ห้องไม่อับและแสงแดดก็ยังเป็นตัวช่วยเพิ่มความอบอุ่น ทำให้ความชื้นในห้องลดลงด้วย

ระวังสิ่งที่ทำให้เกิดความชื้นในห้องโดยไม่รู้ตัว ทั้งจากการทำความสะอาดด้วยผ้าที่เปียกไปจนถึงการนำเสื้อผ้าที่ยังไม่แห้งสนิทมาแขวนในห้องหรือในตู้เสื้อผ้า แม้สิ่งเหล่านี้จะเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดความชื้นในห้องได้เหมือนกันค่ะ

เชื้อราในตู้เสื้อผ้า กำจัดรา ราในตู้เสื้อผ้า เชื้อรา ตู้เสื้อผ้าขึ้นรา ตู้เสื้อผ้าขึ้นราทำอย่างไรดี
https://www.health.com

การล้างแอร์อาจเป็นการลดต้นตอของการเกิดเชื้อราได้อีกทาง เพราะบางทีเชื้อราก็อาจไปแอบซุกซ่อนอยู่ในช่องแอร์ คราวนี้พอเปิดใช้งานแอร์แต่ละทีก็ยิ่งเป็นการพ่นกระจายเชื้อราไปตามที่ต่าง ๆ และขยายออกไปเรื่อย ๆ ถ้าหากเป็นแบบนี้ต่อให้ทำความสะอาดยังไงก็ไม่มีวันหมดนอกจากการทำความที่ต้นเหตุโดยการล้างแอร์ให้สะอาดค่ะ

วิธีล้างแอร์ให้เย็นฉ่ำ! ทำได้ในไม่กี่ขั้นตอน

การติดไฟเพิ่มในมุมที่วางตู้เสื้อผ้าก็สามารถช่วยลดการเกิดเชื้อราได้เหมือนกันนะคะ เพราะเชื้อราเกิดจากความชื้น แต่ความอบอุ่นที่มาจากแสงของหลอดไฟสามารถลดช่วยความชื้นได้ นี่จึงเป็นอีกตัวช่วยที่ดี โดยเฉพาะในช่วงที่สภาพอากาศชื้นมากเป็นพิเศษ

เชื้อราในตู้เสื้อผ้า กำจัดรา ราในตู้เสื้อผ้า เชื้อรา ตู้เสื้อผ้าขึ้นรา ตู้เสื้อผ้าขึ้นราทำอย่างไรดี
https://www.jollychic.com

ใช้ตัวช่วยอย่างกล่องดูดความชื้นหรือสารดูดความชื้นต่าง ๆ มาลดต้นเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อรา โดยการนำไปวางตามมุมอับอย่างในตู้เสื้อผ้าหรือบริเวณใกล้เคียงที่เป็นพื้นที่ปิด ซึ่งก็มีหลากหลายแบรนด์ให้เลือกใช้ แต่ละแบบก็อาจมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเรื่องกลิ่นและระยะเวลาการใช้งานที่แตกต่างกันไปให้เลือกเพิ่มเติมด้วยค่ะ

story : Kamonchanok.L


my home คน/จัด/สิ่งของ EP.4 ได้เวลามาจัดระเบียบตู้เสื้อผ้า

[Before-After] เปลี่ยน ตู้เสื้อผ้าเก่า ให้เหมือนตู้ใหม่

วิธีจัดตู้เสื้อผ้าให้เป็นระเบียบและหยิบใช้ง่าย