One Bangkok นิทรรศการ In-Betweenness เดอะ พรีลูด

IN-BETWEENNESS นิทรรศการศิลปะถ่ายทอดภาพจำระหว่างอดีตสู่ปัจจุบัน ในพื้นที่รอบโครงการ ONE BANGKOK

One Bangkok นิทรรศการ In-Betweenness เดอะ พรีลูด
One Bangkok นิทรรศการ In-Betweenness เดอะ พรีลูด

In-Betweenness คือนิทรรศการศิลปะที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกบนพื้นที่เดอะ พรีลูด โครงการ วัน แบงค็อก ซึ่งเมื่อก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2569 จะทำให้ที่นี่กลายเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองไทยทันที

หากเราถามว่าความทรงจำของคุณที่มีต่อถนนวิทยุ สวนลุมพินี หรือเมื่อพูดถึงย่านพระราม 4 นั้นเป็นอย่างไร แน่นอนว่าช่วงเวลา ช่วงอายุ และประสบการณ์ของแต่ละคน ย่อมสร้างคำตอบที่แตกต่างอย่างเป็นปัจเจกได้มาก หลากหลาย และไม่ซ้ำกันให้เกิดขึ้น

One Bangkok นิทรรศการ In-Betweenness เดอะ พรีลูด

แต่สำหรับนิทรรศการศิลปะนิทรรศการแรกบนพื้นที่เดอะ พรีลูด แกลเลอรี่ขนาดย่อมในโครงการ วัน แบงค็อก ( One Bangkok ) ซึ่งกำลังจะกลายเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ที่ใหญ่ที่สุดของเมืองไทยเมื่อสร้างแล้วเสร็จในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ นิทรรศการในชื่อว่า In-Betweenness ที่จัดขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของ “พื้นที่” และ “ความทรงจำ” ในบริบทที่กล่าวมานั้น มี 3 คำตอบที่ไม่ซ้ำกันจาก 3 ศิลปินไทยชื่อดังที่มาร่วมแสดงผลงานศิลปะด้วยกันเป็นครั้งแรก นำโดยศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร, คุณรัฐ เปลี่ยนสุข และคุณนักรบ มูลมานัส รอคุณมาชมอยู่ในขณะนี้

เนื้อหาของนิทรรศการนี้สื่อสารถึงความทรงจำที่มีต่อถนนวิทยุ สวนลุมพินี และพระราม 4 พื้นที่โดยรอบโครงการ วัน แบงค็อก จากอดีตสู่ปัจจุบัน ผ่านงานศิลปะที่รังสรรค์ขึ้นจากหลากหลายเทคนิค รวมถึงยังมีภาพถ่ายขาวดำจากฟิล์มกระจกหาชมได้ยากจัดแสดงให้ชมกันด้วย

One Bangkok นิทรรศการ In-Betweenness เดอะ พรีลูด

  • ศิลปะระหว่าง “พื้นที่” และ “ความทรงจำ” จาก 3 มุมมอง

ภายหลังผ่านกระบวนการสืบค้นข้อมูลและหลักฐานอ้างอิงความเป็นมาตลอดช่วงเวลาหลายสิบปีของบริบทพื้นที่รอบโครงการวัน แบงค็อก นานนับแรมเดือน จนเมื่อได้คำตอบที่แน่ชัด ทีมภัณฑารักษ์แห่งโครงการวัน แบงค็อก จึงเริ่มมองหาศิลปินมากฝีมือมาเป็นผู้ถ่ายทอดแนวคิดดังกล่าวให้ออกมาเป็นผลงานศิลปะชวนติดตาม นั่นจึงเป็นที่มาของการชักชวนศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร, คุณรัฐ เปลี่ยนสุข และคุณนักรบ มูลมานัส มาเป็น 3 ตัวแทนศิลปินเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของ “พื้นที่” และ “ความทรงจำ” ผ่านการตีความและนำเสนอตามความถนัดของแต่ละคนภายใต้โจทย์เดียวกัน นำเสนอตามความถนัดของแต่ละคน จนออกมาเป็นคำตอบที่ไม่ซ้ำกัน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร (กลาง) นายรัฐ เปลี่ยนสุข (ขวาสุด) และนายนักรบ มูลมานัส (ซ้ายสุด) | ภาพ: เอกสารประชาสัมพันธ์
One Bangkok นิทรรศการ In-Betweenness เดอะ พรีลูด
คุณจรินทร์ทิพย์ ชูหมื่นไวย ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม โครงการวัน แบงค็อก

“ห้องแกลเลอรีนี้เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นความตั้งใจของฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม โครงการวัน แบงค็อก ที่อยากจะทำงานร่วมกับศิลปินไทย รวมถึงทำนิทรรศการเป็นซีรีส์ตลอดช่วงเวลาที่เดอะ พรีลูด ยังอยู่จนกว่าโครงการ วัน แบงค็อก จะเสร็จสมบูรณ์ นิทรรศการจะถูกเปลี่ยนไปไม่เรื่อย ๆ ” คุณจรินทร์ทิพย์ ชูหมื่นไวย ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม โครงการวัน แบงค็อก อธิบายกับเราระหว่างพาเดินชมนิทรรศการ

“เราอยากมีเวทีให้ทุกคนได้มีพื้นที่มาแสดงงาน หรือว่าสร้างอาร์ตสเปซเพื่อนำงานของต่างชาติมาจัดแสดงที่นี่ แต่ครั้งนี้เราเริ่มจากการเลือกศิลปินไทยเพราะเราต้องสนับสนุนและส่งเสริมศิลปินไทยเป็นลำดับแรก” 

“คนอาจจะมองว่าโครงการวัน แบงค็อก เป็นพื้นที่ธุรกิจ แต่จริงมันมีเนื้อหา มีคุณค่าในแง่ประวัติศาสตร์ของประเทศ เพราะพื้นที่ตรงนี้มันผ่านเรื่องราวในประวัติศาตร์มามากมายนับ 100 กว่าปี ที่ตรงนี้เคยเป็นทุ่งนาที่เคยทำพิธีแรกนาขวัญก่อนจะไปทุ่งพญาไท หรือท้องสนามหลวง หรือว่าถนนวิทยุที่มีที่มาจากที่ตั้งเดิมของสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทย”

“เราจึงเชิญศิลปินมาร่วมตีความคำว่า ความทรงจำในพื้นที่ เพราะพื้นที่จะมีความสำคัญกับต่อเมื่อมีความทรงจำร่วมกัน โครงการวัน แบงค็อก อยากจะเป็นผู้ที่เก็บความทรงจำนี้ไว้ แล้วก็สร้างความทรงจำร่วมขึ้นมาใหม่ จึงกลายเป็นที่มาของชื่อนิทรรศการ In-Betweenness”

ศิลปินคนแรกคือศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร นำเสนองานจิตรกรรมฝาผนังขนาด 4 x 2 เมตร แบบขึ้นโครงชั่วคราวให้สามารถเคลื่อนย้ายไปตั้งจัดแสดงในพื้นที่อื่นๆ ต่อได้หลังจากนี้ เป็นภาพผลงานที่สะท้อนภาพจำและประสบการณ์ระหว่างยุคสมัยที่ตัวศิลปินเคยพบเจอในอดีต ภาพจิตรกรรมจากเทคนิคการลงสี ภาพพิมพ์ และการสลัก ผสมผสานกันออกมาเป็นเรื่องราวของสวนลุมพินี ที่ตัวศิลปินเล่าอดีตอันทรงคุณค่าโดยตีความผลงานชิ้นนี้เป็นหนังสือเล่มใหญ่ หรือคัมภีร์ที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของสวนลุมพินีในภาพที่คนยุคหลังไม่มีโอกาสได้เห็นในชื่อผลงานว่า “พื้นที่แห่งตำนานสวนลุมพินี”

One Bangkok นิทรรศการ In-Betweenness เดอะ พรีลูด
“พื้นที่แห่งตำนานสวนลุมพินี” ผลงานศิลปะขนาด 4×2 เมตร โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร ที่ใช้การผสมผสานเทคนิคการลงสี ภาพพิมพ์ และการสลัก ถ่ายทอดเรื่องราวของสวนลุมพินีจากความทรงจำของตัวศิลปินเอง

ส่วนคุณรัฐ เปลี่ยนสุข ศิลปินและนักออกแบบเจ้าของรางวัลนักออกแบบแห่งปีคนล่าสุด จากการประกาศของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นำเสนอผลงานประติมากรรมสะท้อนบริบทพื้นที่ในชื่อ Zephyr ซึ่งเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากรวงข้าว คุณรัฐถ่ายทอดผลงานที่เด่นด้วยองค์ประกอบของงานประติมากรรมเชิงจิตวิญญาณ ที่ผูกโยงเรื่องราวของทุ่งนาในอดีตของย่านนี้ที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงมาเป็นตึกสูงระฟ้า งานประติมากรรมสมัยใหม่ของเขามีรูปทรงอ่อนช้อยประหนึ่งสายลมในฤดูหนาวที่พัดผ่านยอดรวงข้าวในทุ่งนาให้ปลิวไสว เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีทองอร่าม แต่ในขณะเดียวกันก็ดูแข็งแกร่งประดุจตึกคอนกรีตอันทันสมัยบนถนนวิทยุในปัจจุบัน เรียกว่าเชื่อมโยงอดีตสู่ปัจจุบันได้อย่างเข้าใจง่าย

One Bangkok นิทรรศการ In-Betweenness เดอะ พรีลูด
 ซีรีส์ภาพถ่าย Zephyr โดยศิลปิน Philippe Moisan ที่จัดแสดงไปควบคู่กับงานประติมากรรมในชื่อ Zephyr เหมือนกันของ คุณรัฐ เปลี่ยนสุข

ด้านนักรบ ศิลปินหนุ่มน่าจับตามองแห่งยุค เจ้าของผลงานศิลปะคอลลาจอันเป็นเอกลักษณ์และภาพจำติดตัวเขาไปแล้ว คราวนี้นักรบนำเสนอเรื่องราวและมุมมองของตัวเขาเองที่มีต่อถนนวิทยุ สวนลุมพินี และพื้นที่ย่านพระราม 4 ผ่านผลงาน Reincarnation วิดีโอจากเทคนิคคอลลาจ จับภาพคนงานจริงที่ทำงานจริงในไซต์ก่อสร้างโครงการวัน แบงค็อก มาเป็นพระเอกของเรื่อง แล้วปะติดปะต่อสิ่งที่เปลี่ยนผ่านทับซ้อนการเวลา ทั้งสิ่งปลูกสร้าง ผู้คน และสิ่งของต่างๆ ที่เป็นตัวแทนของย่านทั้งภาพในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคตที่ปนกันไปให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน พร้อมเสียงซาวด์สเคปที่เกิดจากการไปเก็บเสียงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากสวนลุมพินี ผสานกับเสียงจากไฟล์เก่าเพื่อให้ผู้มาชมได้ซึมซับเรื่องราวทั้งหมดผ่านการมองเห็นและการได้ยิน

One Bangkok นิทรรศการ In-Betweenness เดอะ พรีลูด
เห็นแล้วจะนึกถึงศิลปินไทยคนอื่นคนไหนไปไม่ได้เลย Reincarnation คือผลงานภาพจากวิดีโอจากเทคนิคคอลลาจที่เป็นความถนัดของนักรบ มูลมานัส เขาถ่ายทอดมุมมองของตัวเองที่มีต่อถนนวิทยุ สวนลุมพินี และพื้นที่ย่านพระราม 4 ออกมาได้สนุกและน่าสนใจเช่นเคย

One Bangkok นิทรรศการ In-Betweenness เดอะ พรีลูดOne Bangkok นิทรรศการ In-Betweenness เดอะ พรีลูด

  • ย้อนรำลึกถึงการเปลี่ยนผ่านในระหว่างอดีตสู่ปัจจุบัน  

นอกจากการจัดแสดงผลงานของสามศิลปินด้านในแกลเลอรี บริเวณด้านหน้าของนิทรรศการนี้ยังมีส่วนจัดแสดงเรื่องราวในอดีตเพื่อนำผู้มาชมย้อนไปรำลึกความทรงจำ รวมถึงชมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่คุณเองก็อาจไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งทีมภัณฑารักษ์ของโครงการได้นำภาพถ่ายขาวดำที่หาชมได้ยากจากฟิล์มกระจกชุดหอพระสมุดวชิรญาณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มาจัดแสดงให้ชม ซึ่งฟิล์มกระจกดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชั่นภาพฟิล์มกระจก 35,427 รายการ และภาพต้นฉบับ 50,000 รายการ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็น “มรดกความทรงจำแห่งโลก” ในปี พ.ศ. 2560

One Bangkok นิทรรศการ In-Betweenness เดอะ พรีลูด
ภาพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ บิดาแห่งทหารเรือไทย ผู้มีส่วนสำคัญยิ่งในการผลักดันให้เกิดบุคลากรด้านกิจการโทรเลขทหารเรือ และภาพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ผู้วางรากฐานความเจริญก้าวหน้าในกิจการวิทยุกระจายเสียง จัดแสดงบริเวณด้านหน้าของแกลเลอรี่
One Bangkok นิทรรศการ In-Betweenness เดอะ พรีลูด
ภาพถ่ายหอนาฬิกาในสวนลุมพินีในอดีต หนึ่งในหลักฐานเพียงไม่กี่ชิ้นที่ยังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน และหนังสือที่ระลึกจากงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อพ.ศ. 2470 ถูกนำมาจัดแสดงให้ได้ชมกันด้วย
One Bangkok นิทรรศการ In-Betweenness เดอะ พรีลูด
ภาพแผนที่กรุงเทพฯ ในพ.ศ. 2453 รวมถึงภาพถ่ายที่ย้ำให้เห็นว่า พื้นที่ย่านลุมพินี-วิทยุ-พระรามสี่ ในอดีตเป็นเพียงไร่ผักและทุ่งนาที่ยังคงห่างไกลจากเขตศูนย์กลางของเมือง แต่ก็เริ่มมีความสำคัญจากการเป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุโทรเลข
One Bangkok นิทรรศการ In-Betweenness เดอะ พรีลูด
ฟีเจอร์เออาร์คืออีกหนึ่งลูกเล่นสนุกๆ ที่ผู้เข้าชมงานสามารถมีส่วนร่วมกับนิทรรศการนี้ได้ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลของทีมภัณฑารักษ์ที่เตรียมไว้ให้ เพียงหยิบยืมสมาร์ทโฟขึ้นมาถ่ายภาพผลงานผ่านแอพฯของนิทรรศการ คุณก็จะได้สัมผัสกับภาพเสมือนจริง (Augmented Reality) ของสถานที่ที่อยู่ในภาพนั้นๆ รวมถึงภาพเบื้องหลัง และข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ แนวคิดของแต่ละชิ้นงาน และประวัติของศิลปินแบบละเอียด
One Bangkok นิทรรศการ In-Betweenness เดอะ พรีลูด
สิ่งที่เห็นในสมาร์ทโฟนจะแตกต่างและพิเศษกว่าสิ่งที่เห็นบนภาพถ่าย เพียงเรานำสมาร์ทโฟนไปจ่อหรือใกล้กับวัตถุหรือภาพถ่ายชิ้นไหน จะมีข้อมูลแสดงขึ้นมาบนหน้าจอทันที เช่น เมื่อเรานำไปจ่อกับภาพถ่ายแผนที่ แผนที่ที่เห็นในหน้าจอจะเปลี่ยนแปลงจากแผนที่ทหารตั้งแต่ปี 1910 มาเป็นแผนที่ใน google earth ปัจจุบัน เราจะได้เห็นแผนที่ในอดีตซึ่งแสดงถึงที่ตั้งของสถานที่สำคัญๆ ในอดีตบริเวณนี้ทั้งโรงเรียนเตรียมทหาร, สถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรก, สวนลุมไนท์บาร์ซาร์ ฯลฯ
One Bangkok นิทรรศการ In-Betweenness เดอะ พรีลูด
Zephyr ประติมากรรมเทคนิคผสมของรัฐ เปลี่ยนสุข ตั้งอยู่บริเวณลานกลางแจ้งด้านนอกเดอะ พรีลูด โครงการวัน แบงค็อก One Bangkok นิทรรศการ In-Betweenness เดอะ พรีลูด

นิทรรศการ In-Betweenness นับเป็นนิทรรศการแรกในซีรีส์นิทรรศการศิลปะของฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม โครงการวัน แบงค็อก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดมุ่งหมายสำคัญของโครงการในการนำเสนองานศิลปะให้เชื่อมโยงกับผู้คนในย่านมากขึ้นต่อไปในอนาคตเมื่อโครงการเปิดอย่างเป็นทางการ ซึ่งชื่อของเดอะ พรีลูด สถานที่จัดแสดงนิทรรศการครั้งนี้นั้นที่่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความหมายในภาษาอังกฤษ ที่แปลว่า การกระทำ หรือเหตุการณ์ที่นำไปสู่เรื่องราวสำคัญต่อๆ มา ส่วนในภาษาดนตรีนั้นหมายถึง บทเพลงสั้นๆ ที่ถูกบรรเลงก่อนการแสดงดนตรีรายการอื่นๆ ซึ่งเดอะ พรีลูด เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่ วัน แบงค็อก ที่มีเป้าหมายในการเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของโลกนั่นเอง

ศิลปิน: ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร, รัฐ เปลี่ยนสุข, นักรบ มูลมานัส
ภัณฑารักษ์: ทีมงานศิลปะและวัฒนธรรม โครงการวัน แบงค็อก
สถานที่: เดอะ พรีลูด โครงการ วัน แบงค็อก (The Prelude One Bangkok)
วันที่จัดแสดง: 1 สิงหาคม – 30 พฤศจิกายน 2562
เปิดแสดงตั้งแต่ 09.00 – 17.00 น.
ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคมถึง 30 พฤศจิกายน 2562
ปิดทุกวันอาทิตย์ (ไม่เสียค่าเข้าชม)
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-080-5777

สำหรับวัน แบงค็อก คือโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ครบวงจร และมีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 1.2 แสนล้านบาท นับเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยภาคเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย ประกอบด้วยอาคารสำนักงานเกรดเอระดับพรีเมียม 5 อาคาร โรงแรมหรูที่เน้นตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์เหนือระดับ 5 โรงแรม ที่พักอาศัยระดับลักชัวรี่ 3 อาคาร พร้อมด้วยพื้นที่ร้านค้าปลีก 4 จุดซึ่งเชื่อมต่อทั่วถึงกัน รวมถึงพื้นที่ศูนย์กลางสำหรับกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม วัน แบงค็อก ครอบคลุมพื้นที่ 104 ไร่ บนหัวมุมถนนวิทยุตัดกับถนนพระรามสี่ โดยมุ่งที่จะเป็นโครงการแรกในไทยที่ออกแบบตามมาตรฐานการพัฒนาชุมชนแวดล้อมระดับ LEED-ND Platinum ซึ่งสร้างตามมาตรฐานระดับโลกอย่าง LEED Platinum และ WELL Platinum ยกระดับมาตรฐานความยั่งยืนให้กับโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ส่วนแรกของโครงการจะเริ่มเปิดให้บริการภายในปี พ.ศ. 2566 และจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2569


ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัน แบงค็อก
สามารถเยี่ยมชมได้ที่ http://onebangkok.com/


เรื่อง: ND24
ภาพ: อนุพงษ์ ฉายสุขเกษม