teamLab – ทำความรู้จัก ULTRA-TECHNOLOGIST เจ้าของงานศิลปะสุดล้ำ

teamLab หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อครั้งแรกใน teamLabIslands: Dance! Art Museum, Learn & Play! InteractiveTheme Park สวนสนุกดิจิทัลอินเตอร์แอ๊คทีฟสุดมันและอาจเข้าใจว่าชื่อนี้เป็นชื่อของสวนสนุกเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วนี่คือชื่อของกลุ่มคนที่เชื่อในพลังของเทคโนโลยีดิจิทัลกับความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ และซุ่มทดลองผลิตงานศิลปะสดใหม่มาตลอดระยะเวลาหลายปีในห้องแล็บกลางกรุงโตเกียว

และดูเหมือนว่าปีนี้พวกเขาจะมีพลังเยอะเป็นพิเศษเพราะหลังจากนิทรรศการ teamLab Islands ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์เมื่อกลางปีในไทย พวกเขาก็ปล่อยผลงานต่อมาอีกแบบไม่ยั้ง ตั้งแต่ DMM.PLANETS Art ที่โตเกียว ชวนทุกคนลงไปแช่น้ำเล่นกับปลาคาร์พดิจิทัลเหนือจินตนาการต่อด้วยป่าแห่งแสงที่ทำจากตะเกียงแก้วมูราโน่ในMAISON & OBJET 2016 กรุงปารีส แถมมีคิวลากยาวไปจนถึงปีหน้า เราจึงไม่รอช้าชวนพวกเขามาแนะนำตัวให้ทุกคนรู้จัก ผ่าน 3 เรื่องสนุกที่อยากบอกต่อ

ERM_167_p062-066_people-4
Flowers and People, Cannotbe Controlled but Live Together –A Whole Year per Hour ผู้ชมงานสามารถสัมผัสช่วงเวลางดงามของดอกซากุระตั้งแต่เติบโตจนแห้งเหี่ยวและหายไปในที่สุด ผ่านการเคลื่อนไหวและสัมผัสด้วยตัวเอง

01 จุดเริ่มต้นของสนามทดลองไอเดีย

ย้อนกลับไปช่วงปี ค.ศ. 2011 ในวันที่โลกหดเล็กลงและหมุนเร็วจี๋ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต นักศึกษาจบใหม่จากมหาวิทยาลัยโตเกียวอย่าง Toshiyuki Inokoก็ลุกขึ้นชักชวนเพื่อน ๆ ร่วมกันทำงานอินสตอลเลชั่นอาร์ตเชิงทดลองสนุก ๆ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในชื่อ teamLabรวบรวมผู้คนต่างสาขาให้มาทดลองทำงานศิลปะร่วมกันตั้งแต่โปรแกรมเมอร์ ดีไซเนอร์ วิศวกร ศิลปิน สถาปนิกนักคณิตศาสตร์ ไปจนถึงนักบินอวกาศ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดีไซน์กลิ่นของ จักรวาลในโซน Wander throughthe Crystal Universe ของนิทรรศการ DMM.PLANETS Art

“ผมกับเพื่อน ๆ ก่อตั้ง teamLab ขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับ Co-Creation เป็นเหมือนแล็บที่คนต่างสาขาวิชาสามารถมาร่วมกันทดลองทำงานศิลปะสนุก ๆ ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลด้วยกัน ตอนแรกพวกเราไม่รู้เลยว่าจะทำอย่างไรให้งานศิลปะพวกนี้ช่วยสร้างรายได้ให้ทีม แต่ทุกคนมีความตั้งใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะใหม่ ๆ โดยไม่มีขีดจำกัดหรือตีกรอบตัวเอง ถึงจะมาจากต่างสาขาอาชีพ แต่สิ่งที่เรามีเหมือนกันคือ ความเชื่อมั่นในพลังของเทคโนโลยีดิจิทัลและความคิดสร้างสรรค์ ที่สำคัญกว่านั้นคือ พวกเรารักงานที่ทำ และอยากสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ โดยไม่สนใจข้อจำกัดของประเภทงาน ตลอดจนต้องการพัฒนาตัวเองให้ก้าวล้ำเทคโนโลยี นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมใครบางคนถึงนิยามว่าพวกเราเป็นกลุ่ม ULTRA-TECHNOLOGIST

Untitled-3
Forest of Resonating Lamps -One Stroke ผลงานป่าโคมไฟในMAISON & OBJET Paris 2016โคมไฟจะค่อย ๆ ส่องแสงไล่จากโคมดวงแรกที่อยู่ใกล้ผู้ชมงานที่สุดก่อนส่งต่อแสงสว่างนั้นไปยังโคมไฟดวงถัดไปเรื่อย ๆ

02 เทคโนโลยีที่ทำให้การมีอยู่ของคนแปลกหน้าเป็นเรื่องน่ารัก

teamLab ให้ความสนใจการมาถึงของสังคมยุคดิจิทัล และอยากทดลองสร้างสรรค์ความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในสังคม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในแง่การรับรู้ของผู้คน โดยใช้ซอฟต์แวร์, 3D Modeling ตลอดจน SensingTechnologies ต่าง ๆ มาเป็นเครื่องมือหลัก โดยมีผู้ชมเป็นบุคคลสำคัญให้โปรเจ็กต์เสร็จสมบูรณ์ และที่มากไปกว่านั้นคือ พวกเขามองเห็นความน่ารักของการอยู่ร่วมกันของคนแปลกหน้าในนิทรรศการ

“เทคโนโลยีเป็นเหมือนสื่อกลางช่วยให้ไอเดียของเราเป็นรูปธรรม แต่หัวใจของงานคือผู้ชมทุกคน เพราะพวกเขาจะทำหน้าที่เป็นทั้งผู้เสพและผู้สร้าง โดยกำหนดทิศทางและออกแบบตอนจบของชิ้นงาน” สมาชิกของทีมเล่าก่อนขยายความถึงความตั้งใจลึก ๆ ว่า “ทีมทุกคนเชื่อว่าดิจิทัลโดเมนสามารถขยายขีดจำกัดของงานศิลปะได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด โลกยุคดิจิทัลช่วยให้งานของเราเป็นอิสระจากข้อจำกัดทางกายภาพ และสร้างสรรค์วิธีการแสดงออกใหม่ ๆ ได้ไม่รู้จบ

เราอยากทำให้เส้นแบ่งระหว่างผู้ชมและงานศิลปะนั้นเลือนรางที่สุดเท่าที่จะทำได้ผ่านการปฏิสัมพันธ์ไปมาระหว่างผู้ชมกับชิ้นงาน และผู้ชมกับผู้ชมด้วยกันเช่น แต่ก่อนหลายคนอาจรู้สึกหงุดหงิดเวลาไปชมงานศิลปะ เพราะมีคนไปร่วมชมเยอะจนเกะกะสายตา ทำให้บางคนเซ็ง อยากดูงานเงียบ ๆ คนเดียว แต่งานศิลปะของเราต้องการทำให้คนแปลกหน้าที่บังเอิญมาเจอกันในงานเป็นเรื่องสนุก การเคลื่อนไหวของผู้ชมคนอื่นเป็นเรื่องสวยงาม เพราะพวกเขาคือหนึ่งในตัวการที่สร้างงานศิลปะเจ๋ง ๆ แบบคาดเดาไม่ได้แบบวินาทีต่อวินาทีผมว่าหมดยุคแล้วที่จะให้ผู้ชมงานศิลปะมายืนชมผลงานนิ่ง ๆ และไม่กล้าขยับตัวเพราะกลัวจะไปรบกวนคนอื่น”

ERM_167_p062-066_people-7
Drawing on the Water SurfaceCreated by the Dance of Koi andPeople-Infinity เปลือยเท้าแล้วลงบ่อน้ำไปเล่นสนุกกับปลาคาร์พดิจิทัลที่จะเปลี่ยนแปลงทิศทางการแหวกว่ายไปตามตำแหน่งของผู้ชมอย่างไม่รู้จบ

03 งานศิลปะสุดล้ำที่ปล่อยให้ร่างกายนำทาง

หนึ่งในงานที่เราอยากพูดถึงคือ งาน Drawing on theWater Surface Created by the Dance of Koi andPeople-Infinity ในนิทรรศการ DMM.PLANETS Art ที่ทุกคนจะได้เล่นกับปลาคาร์พที่เขียนขึ้นโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยพวกมันจะแหวกว่ายบนผิวน้ำไปตามการเคลื่อนไหวของผู้ชมทุก ๆ คนและการเคลื่อนไหวของปลาคาร์พตัวอื่น ๆ ในสระแบบเรียลไทม์ พอสัมผัสกับตัวคนก็จะแตกสลายกลายเป็นดอกไม้

teamLab เล่าว่า งานนี้พวกเขาตั้งใจให้ผู้ชมได้ใช้ร่างกายทุกส่วนเพื่อดื่มด่ำไปกับผลงานอย่างครบถ้วน ไม่ได้ใช้แค่ตาดูเหมือนงานศิลปะแบบเก่า ที่ต้องหยุดยืนดูนิ่ง ๆและครุ่นคิดตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคล

แต่ก่อนเวลาเราชมงานศิลปะจะมีเส้นแบ่งระหว่างตัวงานและผู้ชมเสมอ คุณจึงเอ็นจอยกับงานได้เพียงการหยุดยืนดูเฉย แค่นั้น แต่งานของเราได้มอบประสบการณ์แปลกใหม่ที่ต่างออกไป ให้ทุกคนได้ลองใช้อวัยวะทุกส่วนในร่างกายเพื่อเสพงานศิลปะและเอ็นจอยไปกับงานของเราพวกเราคิดว่า ทุกวันนี้เวลามนุษย์ต้องการสื่อสารกับใครอีกคน เราจะใช้สมองในการคิด และส่งต่อความคิดนั้นผ่านสมาร์ทโฟนในรูปแบบตัวอักษร เสียง ภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว แต่กลับกลายเป็นว่าพวกเราหลงลืมที่จะสัมผัสผู้คนและโลกรอบตัวโดยตรงผ่านประสาทสัมผัสจริง ของเรา

เราจึงแอบบังคับให้ผู้ชมต้องเปลือยเท้าเปล่ากันตั้งแต่ทางเข้า นิทรรศการ ก่อนเดินผ่านผืนน้ำที่เราดีไซน์ไว้ เพราะอยาก ย้ำเตือนว่า ท้ายที่สุดแล้วเราทุกคนล้วนสัมผัสรับรู้โลกผ่าน สังขารและร่างกายทั้งสิ้น

ทุกวันนี้ teamLabยังคงออกเดินทางไปแสดงผลงาน ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และยังคงสนุกกับการทดลองหา ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ขยายขอบเขตงานศิลปะออกไป เรื่อย ๆ และหมั่นออกสืบค้นร่องรอยในอดีตเพื่อสร้างวัน พรุ่งนี้ที่สดใสให้ผู้คนผ่านงานศิลปะสดใหม่ไม่จำกัดประเภท ด้วยพลังของเทคโนโลยีดิจิทัลและความคิดสร้างสรรค์จาก มันสมองมนุษย์

teamLab
กลุ่มดวงดาวคริสตัลใน Wanderthrough the Crystal Universeหนึ่งในส่วนจัดแสดงนิทรรศการDMM.PLANETS Art by teamLabที่โอไดบะ กรุงโตเกียว ติดตั้งขึ้นจากไฟ LED ที่ให้แสงในลักษณะ3 มิติ ภายในห้องสี่เหลี่ยมที่กรุกระจกเงาตั้งแต่พื้นถึงเพดาน ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในจักรวาลกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา จังหวะการส่องแสงของดาวถูกควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนของผู้เข้าชม แถมทุกคนยังสามารถสูดกลิ่นของจักรวาลที่นักบินอวกาศ ยามาซากิ นาโอโกะเป็นผู้ออกแบบได้อีกด้วย

SMALL TALK

  • ประสบการณ์ที่ทำให้ทีมงานเติบโตแบบก้าวกระโดด

“จริง ๆ ทุกโปรเจ็กต์คือ Big Step หมดเลยนะ แต่ถ้าให้นึกถึงก็มี นิทรรศการแรกที่พวกเราเคยไปเดบิวต์เมื่อปี ค.ศ. 2011 ที่ Kaikai Kiki Gallery ของเมืองไทเป ต้องขอบคุณศิลปิน Takashi Murakami จากใจด้วยครับที่ทำให้งานเกิดขึ้น เพราะตั้งแต่นั้น พวกเราก็ได้รับโอกาสมากมายจากเมืองเจ๋ง ๆ อย่างสิงคโปร์ และหลายงานของเราก็ถูกนำไปแสดงใน Pace Gallery ของนิวยอร์ก แม้แต่ในญี่ปุ่น ความพยายามในการเผยแพร่ของเราก็เริ่มเห็นผล มีคนสนใจจำนวนมาก นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงพอสมควร”

  • ถ้าไม่ชื่อ teamLabจะตั้งชื่อทีมว่าอะไร

“ยังไม่เคยคิดชื่ออื่นเลยครับ”

  • สถานที่แบบไหนที่คุณอยากทดลองทำงานด้วยมากที่สุด

“พวกเราอยากทำงานศิลปะในป่า หรือไม่ก็ในถ้ำสเกลใหญ่ ๆ และเมืองใหญ่ ๆ สเปซในฝันของการทำงานอินสตอลเลชั่น แบบฉบับพวกเราคงเป็นอะไรก็ได้ที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ มาก จนใครก็นึกไม่ถึง”

  • สิ่งดีๆ ที่ได้จากการทำงาน

“ในแง่ผู้สร้างงาน ตลอดกระบวนการสร้างสรรค์งานของเรา มีความทรงจำเจ๋ง ๆ เกิดขึ้นเยอะมาก และสิ่งที่ดีมากคือ ในที่สุด การทุ่มเททำงานอย่างหนักของพวกเราก็สำเร็จลุล่วงด้วยดี นี่คือ พลังงานชั้นดีในการผลิตงานต่อ ๆ ไปแบบไม่รู้จบ ส่วนในแง่ผู้จัด นิทรรศการ การได้เห็นผู้ชมกำลังสนุกกับงานของเรา นั่นคือ สิ่งที่แฮ็ปปี้ที่สุดแล้ว!”

Untitled-2

 

teamLab
Tosetsu Hongo Bldg. 5F, 1-11-6,
Hongo, Bunkyo-ku,
Tokyo 113-0033, JAPAN
tel. +81(0)3-5804-2356
www.team-lab.net


เรื่อง polarpoid
ภาพ teamLab, ศุภกร ศรีสกุล
เรียบเรียง Parichat K.