แมลงศัตรูพืชในสวน

10 เคล็ดลับ จัดการแมลงศัตรูพืชในสวน

แมลงศัตรูพืชในสวน
แมลงศัตรูพืชในสวน

ปัญหากวนใจสำหรับคนดูแลสวนมากสุดนั่นคือ สัตว์และแมลง แล้วจะมีวิธีไหนจัดการได้ดีบ้าง สารเคมีหรือวิธีธรรมชาติ เรามีสัตว์แมลงที่เป็นปัญหาที่สุดพร้อมเคล็ดลับการป้องกันกำจัดมาให้ชมกัน แมลงศัตรูพืชในสวน

1. ทากและหอยทาก

เคล็ดลับจัดการแมลงศัตรูพืชในสวน หอยทาก  แมลงศัตรูพืชในสวน
หอยทากยักษ์แอฟริกา

หอยทากเป็นศัตรูที่ระบาดในที่ที่มีอากาศอับชื้นมาก หรือที่มีน้ำขังแฉะ ศัตรูชนิดนี้จะกัดกินใบอ่อน หน่ออ่อนและรากอ่อน บางทีก็ทำให้ใบขาดเป็นแผลเป็นรู หอยทากเป็นศัตรูที่ชอบหลบซ่อนในเวลากลางวันและชอบออกหากินในเวลากลางคืน เราจะสังเกตได้โดยพบรอยทางน้ำเมือกที่มันขับออกมาแห้งติดอยู่ตามกระถางหรือบนสิ่งที่มันเคลื่อนไหว แมลงศัตรูพืชในสวน

การป้องกันกำจัด

  • ใช้วิธีล่อด้วยเหยื่อพิษโดยผสมยากับอาหารล่อให้มันมากิน เหยื่อพิษมีขายนท้องตลาด เช่น เหยื่อพิษเมทัลดีไฮด์ แต่ถ้าวางไว้ที่น้ำฝนชะล้างได้หรือถูกน้ำชะล้างบ่อยๆ ก็ใช้ไม่ได้ผลดี
  • ใช้ยา สลักกิต ซึ่งมียาเมทัลดีไฮด์ เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย โดยผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 600 ฉีดให้ทั่ว ควรฉีดเวลาเช้าแดดยังไม่ออก หรือภายหลังฝนตกใหม่ๆ ซึ่งหอยทากจะออกมาจากที่หลบซ่อน
  • ใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วจะช่วยไล่ให้พวกนี้หายไปได้ระยะหนึ่งหรือใช้น้ำปูนใสรดสัก 4-5 ครั้ง
  • ก่อเนินทรายหยาบ กองขี้เถ้า หินปูนหรือเปลือกหอยนางรมแตกไว้รอบต้นพืช ทากและหอยทากเกลียดของพวกนี้ที่สุด

2. มด

เคล็ดลับจัดการแมลงศัตรูพืชในสวน มด แมลงศัตรูพืชในสวน

มดเป็นแมลงที่กินน้ำหวานจากมูลของเพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ช่วยเคลื่อนย้ายตัวอ่อนของแมลงเหล่านั้นด้วย

การป้องกันกำจัด

  • ใช้ยาออลดริน 50% W.P. ดีลดริน 50% W.P. หรือคลอเคน 50% W.P. หรือดีดีที 50% W.P. ในอัตราส่วน 20-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เวลาใช้ต้องระมัดระวังอย่าให้เด็กและสัตว์เลี้ยงเข้าไปใกล้ เพราะเป็นยาอันตรายมาก และควรฉีดพ่นในที่ที่มีลมสงบด้วย เพื่อกันการฟุ้งกระจยของยาไปทั่วบริเวณ
  • รังมดบ่งบอกว่าดินมีสภาพแห้ง เป็นดินทราย ถ้าคุณเห็นว่ามดเป็นตัวก่อกวนก็ปรับปรุงสภาพดินในสวนด้วยวิธีแบบอินทรีย์มากขึ้น วิธีนี้จะทำให้ดินอุ้มความชื้นได้ดีขึ้นและจะไล่มดให้หนีไปเอง
  • ใช้กากชาโรยบนดินในไม้กระถาง เป็นอีกหนึ่งวิธีไล่มดได้ดี

3. หนอน

เคล็ดลับจัดการแมลงศัตรูพืชในสวน หนอน แมลงศัตรูพืชในสวน

หนอนผีเสื้อ นอกจากกัดกินแล้วยังทำให้ใบม้วนด้วย บางทีเราเรียก หนอนม้วนใบ ตัวหนอนมีสีต่างๆ เช่น สีแดง สีเขียว และยังมีอีกหลายสายพันธุ์

การป้องกันและกำจัด

  • ถ้าหนอนเกิดจำนวนน้อยให้ใช้มือจับทำลายเสีย
  • ใช้ดีดีที 50% ชนิดละลายน้ำ ผสมน้ำในอัตตราส่วนยาดีดีที 3 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ปีบ ฉีดพ่น
  • ใช้ยาคลอเดน (Chlorden 75%) ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:800 พ่นให้ถูกตามตัวหนอนหรือใช้ยาเซวิน(Sevin) ฉีดพ่นใบให้ทั่ว

หนอนไชกิ่ง ตัวแก่วางไข่ไว้ตามกิ่งที่ยังอ่อนอยู่ โดยเจาะแทงเข้าไปในกิ่ง ไข่จะเจริญเป็นตัวหนอนอยู่ภายในกิ่งและไชออกมาเมื่อเป็นตัวแก่ ทำให้กิ่งผุ ปลายกิ่งเหี่ยวแห้งตาย

การป้องกันและกำจัด

  • ตัดกิ่งที่หนอนทำลายออกเสีย
  • ใช้ยาฟูโมแกส หรือ ยาคาร์บอนเตตร้าคลอไรด์ หรือ ยาคาร์บอนไดซัลไฟด์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ใส่เข็มฉีดเข้าไปในรูหนอนที่มีหนอนเจาะอยู่รูละ 1 ซีซี แล้วใช้ดินเหนียวอุดรูเสีย เพื่อป้องกันมิให้ยาระเหยออกมา หรือถ้าไม่มีเข็มจะใช้สำลีชุบยาแล้วใช้เหล็กปลายแหลมแทงเข้าไปก็ได้ เสร็จแล้วใช้ดินอุดรูเช่นเดียวกัน
  • ใช้ยาคลอเดน (Chlorden 75%) ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:800 ฉีดพ่นเดือนละ 1-2 ครั้ง เพื่อป้องกันแมลงที่จะมาวางไข่ใหม่

4. เพลี้ยอ่อน

เคล็ดลับจัดการแมลงศัตรูพืชในสวน เพลี้ยอ่อน

เป็นแมลงดูดน้ำเลี้ยงที่มีขนาดเท่าหัวเข็มหมุด อาจทำให้สวนเสียหายอย่างหนักได้ แมลงชนิดนี้ไม่เพียงแต่ทำให้ต้นไม่งอกงามเท่านั้น ยังแพร่เชื้อไวรัสด้วย

การป้องกันและกำจัด

  • เพลี้ยอ่อนอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าต้นไม้ที่ปลูกมีน้ำเลี้ยงเจือจางอันเกิดจากปริมาณไนโตรเจนสูงเกินไป ควรใช้ปุ๋ยปรับสมดุลในปริมาณพอเหมาะจะช่วยให้ต้นไม้แข็งแรงดีซึ่งทำให้ลดโอกาสที่จะถูกเพลี้ยอ่อนเกาะกิน
  • ลองนำต้นบอระเพ็ดมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือนำเมล็ดสะเดามาบด แล้วแช่น้ำไว้หนึ่งคืน กรองเอาแต่น้ำมาฉีดพ่นให้ต้นไม้ รสขมจะแทรกอยู่ในน้ำเลี้ยงของต้นไม้ทำให้เพลี้ยไม่ชอบ
  • ยาป้องกันแมลงที่ใช้ได้ผลดี เช่น โล่ติ้น มาลาไธออน ยาฉุน ยาประเภทดูดซึม เช่น เมตาซีสทอกซ์

5. เพลี้ยแป้ง

เป็นจำพวกแมลงดูดกินน้ำเลี้ยงพืช ที่แพร่หลายมากอีกชนิดหนึ่ง เป็นแมลงงที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม ภายนอกลำตัวปกคลุมด้วยผงสีขาวและไขมันคล้ายก้อนขุยแป้งเล็กๆ มักจะเกาะติดอยู่กับที่รวมกันเป็นกลุ่ม เมื่อเวลาดูดน้ำเลี้ยงจากพืชจะปล่อยสารมีพิษบางชนิดซึ่งทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และทำให้บริเวณนั้นมีสีเหลือง เพลี้ยแป้งชอบเกาะอยู่ตาซอกใบหรือหลบซ่อนลงไปอาศัยอยู่ตามโคนรากไม้ในกระถาง

การป้องกันและกำจัด

  • ยาที่มีประสิทธิภาพได้แก่ ไซกอน, ไดอาซินอน, มาลาไธออน ฉีดพ่นทุกๆ 15-30 วันต่อครั้ง ต้องฉีดให้ยาถูกตัวแมลงและต้องใช้ยาเคลือบติดตัวแมลงผสมฉีดไปด้วย

6. เพลี้ยไฟ

เป็นแมลงจำพวกปากดูดที่มีขนาดเล็กมาก มีลำตัวยาว ตัวอ่อนไม่มีปีก ลำตัวมีสีเหลืองอ่อนหรือสีน้ำตาลอ่อน หรือสีดำ เพลี้ยไฟมีการเคลื่อนไหวที่เร็วมากต้องสังเกตดูให้ดี เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่ดูดน้ำกินน้ำเลี้ยงจากส่วนที่อ่อนๆ เช่น ตามยอด ตาและดอก ในเวลาที่มีแสงแดดแมลงชนิดนี้จะหลบซ่อนอยู่ตามซอกของกลีบดอก ซอกกาบใบ และในใบอ่อนที่ยังซ้อนกันอยู่ อวัยวะและเนื้อเยื่อที่ถูกแมลงชนิดนี้ดูดเกาะ จะเปลี่ยนเป็นสีขาวแล้วแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อน อวัยวะส่วนนั้นจะหยุดการเจริญเติบโตทันที

การป้องกันและกำจัด

  • ใช้คลอเดน 75% ผสมน้ำ 1:800 พ่นให้ถูกตัวและตามใบตามดอกให้ทั่ว
  • ใช้ ดีดีที 50% ผสมน้ำอัตราส่วน ดีดีที 3 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 15 ลิตร ฉีดให้ถูกตามตัวหรือฉีดตามใบและดอกให้ทั่ว
  • ใช้นิโคตินซัลเฟต 40% ผสมนำพ่น

7. เพลี้ยหอย

มีสองจำพวก จำพวกแรกไม่มีเกราะแข็งหุ้มตัว แต่อาจมีเปลือกบางๆหรือขี้ผึ่งหุ้มอยู่รอบตัว ดูดกินน้ำเลี้ยงและถ่ายมูลที่มีน้ำหวานออกมาล่อมดให้มาวนเวียนเพื่อกินน้ำหวาน และเคลื่อนย้ายตัวอ่อนและไข่เช่นเดียวกับเพลี้ยแป้งและเพเลี้ยอ่อน ลำตัวค่อนข้างกลม มีสีน้ำตาล อีกจำพวกหนึ่งเป็นเพลี้ยหอยที่มีเกาะแข็งหุ้มตัว ลำตัวมีทั้งตัวกลม รูปไข่ รูปเปลือกหอย เพลี้ยหอยทั้งสองชนิดจะถ่ายสารบางอย่างที่มีพิษให้แก่พืชในระหว่างดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้เนื้อเยื่อตรงรอยดูดกินเหลืองแล้วแห้งไป

การป้องกันและกำจัด

  • ตัดกิ่งส่วนที่มีเพลี้ยหอยไปเผาทำลาย
  • ใช้ยาพวกมาลาไธออน หรือ พาราไธออน อัตตาส่วน 1:800 ถึง 1:1000 ยามาลาไธออนใช้ฉีดในสวนภายในบริเวณบ้านจะปลอยภัยกว่ายาพาราไธออน
  • ใช้ยาประเภทดูดซึม เช่น ยาเมธาซีสทอกซ์ หรือยาไอโซทอกซ์ผสมน้ำฉีดรดที่โคนต้น

8. แมลงหวี่ขาว

เคล็ดลับจัดการแมลงศัตรูพืชในสวน แมลงหวี่ขาว

พบเห็นได้ง่ายในสวนหรือในเรือนกระจก เป็นศัตรูสำคัญของพืชเศรษฐกิจหลายชนิด และแพร่ระบาดได้ทั้งปี แมลงหวี่ขาวและตัวอ่อนจะอยู่ใต้ใบของพืชหลายจำพวก รวมทั้งต้นผักใบเขียวทั่วไป ค่อนข้างทนทานต่อยาฆ่าแมลง จึงเป็นเรื่องยากที่จะควบคุมด้วยการใช้สารเคมี

การป้องกันและกำจัด

  • ใช้น้ำคั้นจากดอกดาวเรืองในสัดส่วน น้ำคั้นจากดอกปริมาณ 15 ลิตรผสมน้ำสะอาด 5 ลิตรแล้วนำไปฉีดรดต้นพืช
  • แมลงหวี่ขาวชอบบินเข้าหาวัสดุสีเหลืองมากที่สุด ใช้กาวเหนียวทาบบนแกลลอนน้ำมันเครื่องสีเหลืองถึงหรือแผ่นพลาาสติก แผ่นไม้ หรือแผ่นสังกะสีที่ทาสีเหลือง แล้วนำไปติดตั้งไว้ในแปลงปลูกพืช แมลงหวี่ขาวก็จะเข้ามาติดกับ ลดอัตตราการก่อความเสียหายให้แปลงพืชลงไปได้มาก
  • ปลูกดาวเรืองฝรั่งเศสในแนวขอบรอบเรือนกระจกหรือในกระถางใกล้ๆ ประตู จะช่วยทำให้แมลงหวี่ขาวไม่เข้ามารบกวน

9. แมลงวันผลไม้

เป็นแมลงศัตรูพืชที่ก่อปัญหามากที่สุด ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 4000 ชนิด แต่ที่ชาวสวนบ้านเรารู้จักกันดีมีเพียงสองชนิดคือ แมลงวันทองกับแมลงวันแตง แมลงวันผลไม้จะวางไข่ไว้ในผลที่ยังอ่อนซึ่งโดยมากมักเป็นช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนเก็บผล ไข่แมลงวันจะฟักเป็นตัว และตัวอ่อน็เจาะไชไปทั่วผล ทำให้เน่า กินไม่ได้

การป้องกันและกำจัด

  • นำน้ำมันก๊าด น้ำมันฆ่าเชื้อและลูกเหม็นใส่รวมกันในกระป๋อง แขวนไว้ตามต้นไม้หรือหลักไม้ในแปลงผัก การคลุมดินให้หนารอบๆต้นไม้ผลและในสวนผักทำให้แมลงวันผลไม้โผล่ออกมาจากใต้ดินได้ยากขึ้น
  • ใช้วิธีดักแมลงโดยนำสารเมทธิลยูจินอลเป็นสารล่อแมลงวันทอง ลองหยดสารนี้ 5-6 หยดลงในขวดเครื่องดื่มพลาสติกที่มีฝาปิด เจาะรูขนาด 0.5 เซนติเมตรที่ก้นขวดไว้หลายๆรูแล้วแขวนให้หัวห้อยลง ตรวจดูกับดักทุกวันและฉีดพ่นยาเมื่อมีแมลงวันมากจนเป็นอันตราย
  • กำจัดด้วยสารเคมี โดยใช้สารไดเมโธเอทหรือเฟนไทออน สามารถใช้กำจัดแมลงได้ ฉีดพ่นยาก่อนเก็บผลไม้ 4-6 สัปดาห์และใช้ซ้ำอีกสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

10. ไรสองจุด

เป็นศัตรูตัวฉกาจของสตรอว์เบอร์รี่ แอปเปิล ท้อ แตงกวา มะเขือเทศ พริมโรส กุหลาบ นอกจากนี้ควรระมัดระวังพืชที่ปลูกในอาคารหรือเรือนกระจกเป็นพิเศษ เพราะเป็นกลุ่มที่กระทบกระเทือนได้มากที่สุดทำให้ใบพืชมีจุดด่างบางๆ สีใบจางลงและขอบใบม้วนงอ จากนั้นใบจะร่วง และต้นพืชอาจตายได้ โดยสังเกตได้ว่ามีละอองน้ำหลังรดน้ำต้นไม้ที่เกาะค้างบนใยที่แทบจะมองไม่เห็น ซึ่งขึงระหว่างก้านและใบพืช เป็นตัวบ่งชี้ว่าพืชมีไรแดงสองจุดรังควานอย่างหนัก ถ้าส่องไฟฉายตอนกลางคืนจะช่วยให้เห็นชัดขึ้น

การป้องกันและกำจัด

  • ควรน้ำพืชที่ปลูกในอาคารนำไปตั้งข้างนอกในวันที่อากาศดี เพื่อระบายความร้อนและความแห้งที่ดึงดูดตัวไรสองจุด
  • ควรล้างกระถางดอกไม้เปล่าด้วยยาฆ่าเชื้อ หมั่นทำความสะอาดแปลงปลูกไม่ให้มีวัชพืชขึ้น
  • ใช้ไรตัวห้ำซึ่งเป็นศัตรูของไรสองจุด ไรตัวห้ำมีประสิทธิภาพในการควบคุมไรสองจุดได้ดีสามารถกินไรได้ถึง 20 ตัวต่อวัน

ขอบคุณข้อมูล : หนังสือ 1001 เคล็ดลับดูแลสวน, โรคและศัตรูไม้ประดับ
เขียน : ภาสกร เจยาคม

10 เคล็ดลับการดูแลรักษา อุปกรณ์ประจำบ้านและสวน

10 เคล็ดลับควรรู้เกี่ยวกับการ “ กำจัดวัชพืช ”