แจกฟรี ปฏิทินบ้านและสวนปี2562/2019 พร้อมฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่

5 | เล็บมือนาง

เล็บมือนาง ปฏิทิน2562 2019

เป็นไม้พื้นเมืองของเอเชีย เถาเนื้อแข็ง เลื้อยได้ไกล ผลิดอกเป็นช่อห้อยย้อย ดอกมีก้านเป็นหลอด ปลายผายออก 5 กลีบ ดอกโตประมาณ 2 เซนติเมตร ทุกชนิดสีดอกคละเคล้าในช่อตั้งแต่ ขาว ชมพู แดง ตามอายุการบาน กลิ่นหอมฟุ้งกระจาย ใช้ปัก แจกันได้สวยงาม เหมาะปลูกคลุมรั้ว ทำซุ้มหลังคาศาลา ชอบ แดดจัด ดินร่วนถึงปนทราย น้ำปานกลาง ออกดอกประมาณเดือนเมษายน-มิถุนายน ติดผลสีเขียวอ่อน รูปกระสวย มีสัน 5 ครีบตามยาว เมื่อแก่กลายเป็นสีน้ำตาล ยาว 5 – 6 เซนติเมตร ภายในมี1 เมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือแยกเหง้า

 

6 | ดอกขจร

ดอกขจร ปฏิทิน 2562 2019

สำหรับคนที่ชอบผักพื้นบ้านคงรู้จักดอกขจรหรือดอกสลิดกันดี เป็นช่อดอกไม้ตูมสีเขียวอ่อนอมเหลือง ซึ่งอาจมีดอกแย้มบานสีเหลืองอ่อนติดมาบ้าง ถ้าดมดูจะได้กลิ่นหอมอ่อนๆ แต่ถ้าอยู่บนต้นกลิ่นหอมจะแรงช่วงเย็นถึงดึก ฤดูดอกขจรคือช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม และอีกช่วงประมาณกรกฎาคม ถึงตุลาคม แม้ขึ้นชื่อว่าเป็นผัก แต่ปลูกเป็นไม้ประดับลงดินขึ้นซุ้มหรือรั้วได้ ดอกขจรนำมาปักแจกันได้ บ้างทำเป็นอุบะมาลัยหรือตกแต่งพวงหรีด แต่ควรเก็บ จากต้นตั้งแต่เช้าตรู่ก่อนแดดแรง จะได้ไม่เฉาง่าย ใช้เป็นไม้ประดับในบ้านแล้วยังเก็บมาทำ อาหารได้อีก เช่น ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก ใส่ไข่เจียว แกงจืด แกงส้ม ชุบแป้งทอด ยำ ผัดน้ำมันหอย

 

7 | ปทุมมา

ปทุมมา ปฏิทิน 2562 2019

มีช่อดอกคล้ายดอกบัวหลวง สีชมพูอมม่วงหรือขาว มีใบประดับ ดอกย่อยหรือดอกจริงขนาดเล็กสีม่วงแทรกอยู่ตามซอก ใบประดับ ก้านช่อเรียวแข็งแรง ต่างกับกระเจียวที่สั้นกว่า อวบกว่า และกินได้ จึงเหมาะนำไปปักแจกันเท่านั้น ปทุมมา (Curcuma alismatifolia) ถูกส่งออกไปต่างประเทศ ในรูปของไม้ตัดดอกและไม้กระถาง ความสวยงามของปทุมมา เป็นที่น่าประทับใจจนได้ชื่อว่า Siam Tulip, Summer Tulip และมีการ นำไปปลูกเป็นไม้ประดับแปลงด้วย ปทุมมาและกระเจียวอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae หรือขิงข่า มีหลายชนิด หลากรูปทรงและสีสัน พบมากในภาคอีสานและภาคเหนือ ช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน ถือเป็นช่วงเวลาเบ่งบานของพืชสกุลนี้หลังจากพักตัวเหี่ยวแห้งไปใน ฤดูหนาวและฤดูร้อน นักท่องเที่ยวสามารถชมทุ่งกระเจียวหรือปทุมมา ได้ที่อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม จังหวัดชัยภูมิ

8 | กรรณิการ์

กรรณิการ์ ปฏิทิน2562 2019

เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลางสูง 5 – 8 เมตร เป็นไม้พื้นถิ่น เอเชียใต้ ผลิดอกในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงพฤศจิกายน แต่อาจผลิดอกได้ทั้งปี ถ้าตัดแต่งไม่ให้ต้นสูงเกินไปและให้น้ำสม่ำเสมอ เลือกมุมที่ได้แสงแดดครึ่งวันหรือทั้งวัน ปลูกในดินร่วนที่ระบายน้ำดี ถ้าดินแห้งเกินไปจะผลิดอกน้อย ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือ ปักชำกิ่ง ส่วนต่างๆ ของต้นไม้ชนิดนี้มีสรรพคุณทางสมุนไพร ดอกว่าใช้ปรุงยาบำรุงหัวใจ แก้เป็นลมหมดสติ และแก้พิษต่างๆ

9 | ลำดวน

ลำดวน ปฏิทิน2562 2019

เป็นไม้ป่าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเมืองไทยพบมากที่จังหวัดศรีสะเกษ จึงยกให้เป็นไม้ประจำจังหวัด เป็น สัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ รวมถึงเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ดอกลำดวนมีรูปทรงแปลก มีลักษณะสามกลีบใหญ่ด้านนอกล้อมสามกลีบ เล็กด้านใน มีโดมกลมหุ้มเกสรไว้ภายใน กลีบมีสีเหลืองนวล ดอกมีขนาด ประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร ส่งกลิ่นหอมชื่นใจ ผลิดอกดกเป็นช่อเต็มต้น ช่วงกลางถึงปลายฤดูหนาว ถ้าปลูกไว้ในบ้านสามารถตัดแต่งทรงและควบคุมความสูงได้ จุดปลูกที่เหมาะสมควรมีแดดจัด ดินร่วน มีความชุ่มชื้นสูง เหมาะจะปลูกไว้ข้างประตูหน้าบ้านเพื่อให้ร่มเงา

10 | โมก

โมก ปฏิทิน 2562 2019

เป็นไม้พื้นเมืองของบ้านเรา เลี้ยงง่าย ทนทาน ดอกขาวหอมผลิเป็นช่อ แม้มีขนาดเล็ก แต่ให้ดอกดกเต็มต้น ส่งกลิ่นหอมไกล มีดอกทั้งปี แต่ดกมากในช่วงต้นถึงปลายฤดูหนาว ในธรรมชาติมักพบขึ้น ริมคลอง จึงทนทานแม้ถูกน้ำท่วม ทุกส่วนของต้นมียางขาวขุ่นแม้แต่ในก้านดอก ซึ่งมีลักษณะเล็กเรียวสีเขียวอ่อน ส่วนมากไม่ค่อยมีอันตรายยกเว้นคนที่แพ้

 

11 | พยับหมอก

พยับหมอก ปฏิทิน 2562 2019

ดอกไม้สีฟ้าอ่อนหวานที่นำเข้ามาปลูกเลี้ยงในบ้านเรานานมากแล้ว และต้นก็ปรับตัวได้ดี ออกดอกทั้งปี สีสวย จึงเป็นต้นไม้ที่ไม่ตกยุค และยังอยู่ในความนิยม ปัจจุบันมีพยับหมอกพันธุ์ใหม่เข้ามา สีสดกว่าพันธุ์เก่าที่มีสีฟ้าอ่อนอมเทา ต้นใหม่นี้สีฟ้าครามสดใสกว่า ทรงต้นเตี้ยแคระกว่า ไม่เก้งก้าง และยังมีพันธุ์ สีขาวสะอาดด้วย แต่หายากมาก ยังไม่ค่อยแพร่หลายนัก กลีบดอกพยับหมอกดู บอบบางและเนื้อเนียนนุ่มเหมือนแพร มีร่องขีดกลางกลีบเป็นเส้นสีน้ำเงิน ดูมี เอกลักษณ์โดดเด่นมาก ดอกบานโตประมาณ 3 เซนติเมตร มี5 กลีบที่โคน รวมกันเป็นหลอดยาว ผลิเป็นช่อคล้ายๆ ดอกเข็ม

 

12 | กระถินทุ่ง

กระถินทุ่ง ปฏิทิน2562 2019

เป็นไม้ล้มลุกอายุ 1 ปี ขึ้นตามภูมิประเทศที่เป็นทุ่งหญ้ากึ่งพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร จัดเป็นวัชพืชพื้นบ้านที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในประเทศไทย ซึ่งมีชื่อเรียก ต่างกันไปตามภูมิภาค ทั้งหญ้าขนไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)  หญ้าขี้กลาก (สระบุรี) หญ้า ขี้กลากน้อย (อุบลราชธานี) หญ้ากระเทียม (ปราจีนบุรี) และกระจับแดง (นราธิวาส) ลักษณะเด่นคือ ขึ้นเป็นกอสูง 30 – 40 เซนติเมตร ใบเรียวแหลมแข็งมีสีเขียวดูเป็นเส้นเหมือนใบหญ้า มีลำต้นใต้ดิน จุดเด่นคงหนีไม่พ้นสีเหลืองสดใสของกลีบดอกชั้นนอกซึ่งใหญ่และมีอยู่เพียง 3 กลีบ และกลีบดอก เมื่อติดผลและแก่แห้งภายในจะมีเมล็ดเล็กๆ ดำๆ ซึ่งจะร่วงลงดินและงอกเป็นต้นใหม่ต่อไปในช่วงปลาย เดือนตุลาคม – เดือนธันวาคม

 

เรื่องและภาพ คอลัมน์ Bloom จากนิตยสารบ้านและสวน


ปฏิทินปลูกดอกไม้ วางแผนจัดสวนให้มีดอกไม้สวยๆตลอดทั้งปี

ปฏิทินปลูกผัก ปลูกอย่างไรให้มีผักกินทั้งปี

ปฏิทินดูแลบ้าน..ฉบับเจ้าบ้าน