วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ เที่ยวไทยไร้การซื้อขายงาช้าง

ช้างตาย 2 หมื่นตัว ใบบัวปิดไม่มิด กับ ติ้ว วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์

วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ เที่ยวไทยไร้การซื้อขายงาช้าง
วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ เที่ยวไทยไร้การซื้อขายงาช้าง

รู้หรือไม่? ทุกปี ช้างป่าแอฟริกันกว่า 20,000 ตัวถูกฆ่าเพื่อเอางาโดยเฉพาะ

เท่ากับว่า ภายใน 1 วัน จะมีช้างถูกฆ่าเพื่อเอางาจำนวน 55 ตัว

งาเหล่านั้น ถูกส่งไปเติมเต็มความต้องการในตลาดเอเชีย พื้นที่ที่มีความเชื่อผิดๆที่สืบต่อกันมาว่า งาข้างคือสัญลักษณ์แสดงฐานะทางสังคม ซึ่งไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องแม้แต่น้อย

ปัจจุบันมีช้างแอฟริกันเหลืออยู่ในป่าเพียงแค่ 415,000 ตัว โดยมีอัตราลดลงเรื่อยๆทุกปี ซึ่งหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไปข้างแอฟริกันจะสูญพันธ์ุในที่สุด

(คำเตือน: เรื่องนี้อาจมีภาพที่ชมแล้วอาจก่อให้เกิดความไม่สบายใจ)

นี่คือข้อมูลที่ baanlaesuan.com ได้รับจาก งานแถลงข่าว “เที่ยวไทยไร้การซื้อขายงาช้าง” (Travel Ivory Free) เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2561 ซึ่งจัดขึ้นโดย องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF-Thailand) ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช สายการบินนกสกู๊ต และ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ เที่ยวไทยไร้การซื้อขายงาช้าง
ก่อนเปิดงานแถลงข่าว มีใบบัวที่ทำจากไวนิลปิดไว้บนตัวช้าง ซึ่งตรงกับสำนวนไทย “ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวปิดไม่มิด”

เพื่อรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวมีความตระหนักรู้ ความเข้าใจ และ ความรับผิดชอบร่วมกันในการไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากงานช้าง งานนี้ได้เชิญศิลปินมากประสบการณ์ ติ้ว วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ศิลปินที่ได้รับรางวัลมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็นรางวัล ศิลปาธร, รางวัล วัฒนคุณาธร, รางวัล นักออกแบบไทย รวมถึงเคยเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแสดงงานในเวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 55 ในปี 2556 มาสร้างผลสร้างประติมากรรมเชิงสัญลักษณ์ “ช้างแอฟริกันแม่ลูก” โดยก่อนที่จะถึงงานแถลงข่าวไม่กี่ชั่วโมง วศินบุรี ได้โพสต์ลง Facebook ส่วนตัวแสดงความรู้สึกขณะที่เขาได้สร้างผลงานชิ้นนี้ไว้ดังนี้

หากเปรียบเทียบกับงานที่ผ่านมาของ วศินบุรี ที่เน้นความน่ารัก สดใส ผลงานชิ้นนี้ถือได้ว่าเป็นการกระตุกอารมณ์พอสมควร และยังเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ที่แฝงในองค์ประกอบของงานศิลปะอย่างแยบคาย baanlaesuan.com ได้มีโอกาสพูดคุยเจาะลึกเรื่องราวของผลงานเรซิ่นไฟเบอร์ที่มีความกว้างถึง 7 เมตร กับ วศินบุรี ณ พื้นที่แสดงงาน ลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพ (BACC)

วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ เที่ยวไทยไร้การซื้อขายงาช้าง

วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ เที่ยวไทยไร้การซื้อขายงาช้าง
ศิลปิน วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ (ขวาล่าง) และ ตัวแทนของพันธมิตรทุกภาคส่วน มาช่วยกันเอาใบบัวออก ในงานแถลงข่าว เปรียบเสมือนการเปิดเผยปัญหาให้สาธารณชนได้รับรู้ และ หาแนวทางช่วยกันแก้ปัญหา

“ตอนที่ได้รับโจทย์นี้มา ก็อย่างที่โพสต์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าอยากให้มัน โหดร้ายแบบเหนือจริง แต่พอได้มาทราบกระบวนการจริงๆแล้วมันโหดร้ายกว่ามากๆ อย่างการฆ่าช้างสักตัวเพื่อให้ได้งาที่ยาวที่สุด ต้องลอกหน้าออกมาทั้งหน้า มันเป็นอะไรที่โหดร้ายมาก”

วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ เที่ยวไทยไร้การซื้อขายงาช้าง
วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ กับ ผลงาน ช้างแอฟริกันแม่ลูก

ร่างของแม่ช้างที่นอนหมดลมหายใจ ใต้ท้องมีเลือดท่วมนอง และ เศษงาที่ตัดออกเป็นชิ้นๆหล่นอยู่ข้างๆ ลูกช้างที่ไร้เดียงสากำลังเดินมาดู พร้อมสังสัยว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น

ตัวแม่ช้างนั้นทำจากวัสดุไฟเบอร์ใส สื่อถึงว่ามันจะค่อยๆเลือนหายไป ส่วนลูกช้างที่ใช้ไฟเบอร์สีขาวนั้นสื่อถึงความไร้เดียงสา โดยไม่รู้ว่าเรื่องนี้มีผลกระทบต่อมันมากเพียงใด

“ในงานศิลปะของผมจะเห็นว่าช้างนั้นถูกตัดขา ซึ่งจริงๆแล้วกระบวนการฆ่าช้างเอางานั้น ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการตัดขาช้างเลย หรือ งาชิ้นเล็กๆที่ถูกตัดของจริงก็ไม่ได้ทำแบบนั้น แต่ทั้งหมดนี้ผมอยากจะสื่อถึงความ non-sense (ไร้เหตุผล) ของมนุษย์ที่สักแต่จะฆ่าอย่างเดียว ไม่ได้คิดถึงความทรมาน ไม่คำนึงถึงความสูญเสียอะไรเลย มันไร้สาระมากๆ ” วศินบุรี กล่าว

ถึงแม้ว่า งานศิลปะของ วศินบุรี นั้นได้รับใช้สังคมมาหลายครั้ง แต่โดยมากจะเป็นในเรื่องการพัฒนาชุมชน และ หรือ การสนับสนุนการสร้างงานศิลปะในท้องถิ่น สำหรับงานในลักษณะ แรงๆ เชิงสัญลักษณ์เช่นนี้ ศิลปินชาวราชบุรีผู้นี้บอกกับเราว่า “ถือว่าเป็นครั้งแรกเลย ไม่เคยทำงานลักษณะนี้มาก่อน”

นอกจากนี้เราจะเห็นเลือดที่ออกมาจากแม่ช้างนั้นค่อยๆกลายสภาพเป็นพรมแดง ศิลปินมือรางวัลผู้นี้อธิบายให้ฟังสั้นๆ ว่า มันคือสัญลักษณ์ เปรียบเหมือน การที่ยืนอยู่บนความหรูหราแห่งความตาย

วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ เที่ยวไทยไร้การซื้อขายงาช้าง

วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ เที่ยวไทยไร้การซื้อขายงาช้าง
หากไม่รู้ว่าจะซื้ออะไรให้เพื่อนชาวต่างชาติ ประเทศไทยมีของที่ระลึกอีกมากมายที่สร้างสรรค์กว่า งา ช้าง ในงานนี้มีตัวอย่างของสบู่ รูปช้าง ซึ่งนอกจากจะหอมแล้ว ยังน่ารัก เหมาะแก่การพกพา

น่าเสียดายว่าผลงานชิ้นนี้ได้จัดแสดงอยู่ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพียงไม่กี่วันเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 1 – 10 ตุลาคม 2561 …แต่เรื่องราวของการรณรงค์เรื่องนี้จะยังดำเนินต่อไป วศินบุรี เปิดเผยกับเราว่า มีแผนจะนำ ผลงาน “ช้างแอฟริกันแม่ลูก” ไปจัดแสดงต่อที่ลำปาง ซึ่งต่อจากนี้เขาอยากจะทำให้ช้างกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง จะต่อขา จะใส่สีสัน จะทำให้คล้ายๆกับว่าช้างกลับมาวิ่งได้อย่างมีชีวิตชีวาอีกครั้ง เพื่อสื่อสารออกไปว่าในสถานการณ์ที่ช้างกำลังจะสูญหายไปจากโลก หากพวกเราช่วยกัน วันหนึ่งบรรดาช้างทั้งหลายจะกลับมามีชีวิต และ มีความสุขอีกครั้งหนึ่ง

สุดท้ายนี้ baanlaesuan.com ขอฝากข้อคิดกับทุกท่านว่า

หากไม่มีคนซื้อ จะไม่มี คนขาย

หากไม่มีคนขาย จะไม่มี คนซื้อ

 

เรื่องและภาพ สิงหนาท นาคพงศ์พันธุ์

 


6 ศิลปินที่ห้ามพลาด ในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนา เล่ 2018

มารีนา อบราโมวิช กับ มนตราแห่งศิลปะที่ทำให้ทั้งโลกต้องหยุดมอง

เปิดประตู อาคาร อีสต์ เอเชียติก สถาปัตยกรรมทรงคุณค่า ที่น้อยคนจะรู้ว่าภายในมีอะไร


เป็นเพื่อนกันเราได้ใน Line@ : https://line.me/R/ti/p/%40slo7204x