มาเป็น “นักเลงว่าน” กันไหม

พอเอ่ยถึง “ว่าน” หลายคนก็มักบอกว่า เหย…แก่อ่ะ แล้วก็คิดเลยเถิดไปว่า เป็นพวกงมงาย ฝักใฝ่มนตร์ดำ อำนาจลี้ลับ ท่องบ่นคาถาทั้งวัน มีรอยสักทั้งตัว ฯลฯ ซึ่งถ้าศึกษากันให้ลึกซึ้งแล้ว จะพบว่าว่านนั้นมีที่มาที่ไป อย่าง สรรพคุณทางยาก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผล และนับเป็นภูมิปัญญาระดับชาติที่ทุกคนควรสืบทอด ว่านมีที่มาอย่างไร ความหมายของคำว่า “ว่าน” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง “ชื่อเรียกพืชบางชนิดที่มีหัวบ้าง ไม่มีหัวบ้าง ใช้ทำยาบ้าง หรือเชื่อกันว่าทำให้อยู่ยงคงกระพันและเป็นสิริมงคล เช่น ว่านนางล้อม ว่านเสน่ห์จันทร์แดง” ตามตำราว่ากันว่า ความเชื่อเรื่องว่านมีมาแต่ก่อนคริสตกาลประมาณ 200 ปี เริ่มจากชาวโรมันเก็บหน่อไม้ฝรั่งมากิน และในอีก  300 ปีต่อมาจึงนำมาใช้ทำยารักษาโรค แก้แมลงกัดต่อย แก้ปวดฟัน ออกัสตุส (Augustus) จักรพรรดิองค์แรกของชาวโรมันยังเชื่อว่า หากใครนำหน่อไม้ฝรั่งที่ตากแห้งมาชงน้ำดื่มพร้อมกับเสกคาถาจะช่วยให้อยู่ยงคงกระพัน ในบ้านเรายังไม่ทราบแน่ชัดว่า ความเชื่อเรื่องว่านมีกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อใด แต่คาดว่าคงได้รับอิทธิพลจากชาวมอญและขอม เพราะในตำราพิชัยสงครามปลายสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า “ว่าน” คือ สุดยอดคงกระพัน ก่อนออกศึกนักรบทุกคนต้องอาบน้ำว่านหรือเคี้ยวว่านเพื่อให้หนังเหนียว ฟันแทงไม่เข้า ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ความเชื่อเรื่องว่านก็ยังคงมีอยู่ในสังคมไทย โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 […]