แผ่นอะคริลิก Shinkolite น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ช่วยเติมแสงธรรมชาติให้บ้าน

แผ่นอะคริลิก เป็นวัสดุที่นำมาใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหลังคา ราวกันตก หรือใช้ตกแต่งส่วนอื่นๆ ของอาคาร ช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้พื้นที่ด้วยคุณสมบัติโปร่งแสง สามารถดึงแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในอาคาร อีกทั้งยังช่วยลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ หากนำไปติดตั้งกับพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ของบ้านก็จะทำให้ใช้งานได้สบายมากขึ้น แผ่นอะคริลิก (Acrylic) ของ Shinkolite เป็นแผ่นอะคริลิกที่มีวิธีการผลิตด้วยวิธีหล่อแบบต่อเนื่อง (Continuous casting sheet) ที่เป็นผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องความหนาสม่ำเสมอ แผ่นมีขนาดใหญ่พิเศษ มีความใสใกล้เคียงกระจก สามารถตัดดัดพับ หรือขึ้นรูปได้ตามแบบ มีให้เลือกหลายสี มีน้ำหนักเบา ทนแรงกระแทกได้ดีกว่ากระจก (ที่มีความหนาเท่ากัน) ด้วยคุณสมบัติของแผ่นอะคริลิกที่โปร่งแสง จึงเหมาะกับใช้งานในส่วนที่ต้องการให้แสงทะลุผ่าน เช่น ส่วนหลังคาที่ต้องการให้แสงส่องลงสู่พื้นที่ด้านล่าง หรือเป็นแผ่นราวกันตก ใช้ทดแทนกระจกได้ ข้อมูลงานวิจัยจากศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน พบว่า แสงอาทิตย์ และบรรยากาศของธรรมชาติ ส่งผลดีกับสุขภาพ และอารมณ์ เพิ่มความมีชีวิตชีวา ป้องกันภาวะซึมเศร้า เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น ซึ่งการใช้วัสดุที่เปิดรับแสงอาทิตย์ และกันความร้อนอย่างแผ่นอะคริลิก จะช่วยให้พื้นที่ใช้งานรอบบ้านได้สัมผัสกับแสงธรรมชาติซึ่งส่งผลดีต่อการอยู่อาศัย Shinkolite เป็นแบรนด์แผ่นอะคริลิกเกรดพรีเมี่ยมภายใต้การร่วมทุนระหว่างบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทมิตซูบิชิ เคมิคอลส์ […]

รวม แบบบ้านโมเดิร์นทรอปิคัล อยู่สบายสไตล์บ้านเมืองร้อน

แบบบ้านโมเดิร์นทรอปิคัล นั้นเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของบ้านที่ออกแบบได้สอดคล้องกับสภาพอากาศแบบบ้านเราที่ทั้งร้อนและฝนตกชุก

Shinkolite LINK ฟาซาด ที่สะท้อนตัวตนโดย จูน เซคิโน

ฟาซาด ถูกใช้งานเป็นกรอบอาคารเพื่อบังแดด กันความร้อน บังสายตา นอกจากเรื่องฟังก์ชั่น

รวมบ้านอิฐแสนน่าอยู่

อิฐเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในบ้านเรา สามารถนำมาตกแต่งให้เกิดลวดลาย ทำให้บ้านดูน่าสนใจได้ไม่ยาก ดังเช่น บ้านอิฐ ที่เรารวบรวมมาให้ชมกันเป็นไอเดีย

ห้องครัวปูนเปลือยใช้งานได้จริง ให้คุณสนุกกับการทำอาหารมากกว่าที่เคย

ไอเดีย ห้องครัวปูนเปลือย ให้คุณสนุกกับการทำอาหารมากกว่าที่เคย กับห้องครัวไม่ว่าจะเป็นแพนทรี่ขนาดเล็กสำหรับเตรียมอาหาร หรือครัวครบครันสำหรับเชฟนอกเวลา

บ้านไอซ์ซึ ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ โลกคู่ขนานที่บรรจบกันของคนกับแมว

บ้านไอซ์ซึ บ้านสไตล์ญี่ปุ่นหัวใจไทยของ ไอซ์ซึ ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ นายแบบและนักแสดงหนุ่มมากฝีมือจากภาพยนตร์เรื่อง “One for the road”

TROP ออฟฟิศแลนด์สเคปที่สัมผัสความเขียวชอุ่มได้จากทุกมุม

TROP : terrains + open spaceออฟฟิศภูมิสถาปนิกไทยที่ออกแบบภายใต้โจทย์ว่าอยากได้อาคารให้มีความเนี้ยบ สะอาด แต่ไม่ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยจนเกินไป

พลังงานและการออกแบบ เพื่อทางเลือกที่ดีกว่าในอนาคต

พลังงานเป็นแรงขับเคลื่อนทั้งในการใช้ชีวิตและการออกแบบ แต่ในสภาวะพลังงานใกล้ขาดแคลนและสิ่งแวดล้อมที่แย่ลง การออกแบบบ้านและสถาปัตยกรรมจะช่วยสร้างอนาคตที่ดีขึ้นได้อย่างไร คอลัมน์ Home Expert ร่วมกับ Solar D ชวน 2 สถาปนิกระดับแนวหน้า คุณวสุ วิรัชศิลป์ แห่งVaSLab ARCHITECTURE และ คุณจูน เซคิโน แห่ง Junsekino Architect and Design มาคุยเรื่อง พลังงานและการออกแบบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร บ้านและไลฟ์สไตล์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร และทางเลือกที่ดีกว่าของพลังงานสำหรับอนาคตคืออะไร พลังงานสะอาด ทางเลือกสู่ความยั่งยืน เราต่างใช้ไฟฟ้ากับทุกการใช้ชีวิต และมีแนวโน้มจะใช้มากขึ้น พลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นสิ่งที่เราพูดถึงและใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ และการใช้พลังงานสะอาดกับอาคารเป็นอีกหนึ่งโจทย์จากเจ้าของแทบทุกโครงการ ในฐานะสถาปนิก เราต้องช่วยกันสร้างทางเลือกให้มากขึ้น และโน้มน้าวเจ้าของให้เห็นถึงความยั่งยืนในอนาคต พลังงานสะอาดก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่เราต้องให้ความสำคัญ โดยอาศัยความร่วมมือจากทั้งเจ้าของ ผู้ออกแบบ และผู้ผลิต ความสมดุลในการใช้พลังงาน การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในสมัยก่อนมีค่าใช้จ่ายสูงมาก และประสิทธิภาพก็ยังต่ำ จึงต้องติดจำนวนมากเพื่อให้เพียงพอซึ่งมักเกินความคุ้มค่า จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ยังต้องใช้พลังงานจากฟอสซิล เราทราบกันอยู่แล้วว่าทรัพยากรธรรมชาติลดน้อยลง พลังงานเริ่มขาดแคลน และการสร้างโรงผลิตไฟฟ้าก็มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เราจึงต้องพิจารณาความสมดุลในการใช้พลังงานจากฟอสซิลและพลังงานสะอาด เดี๋ยวนี้มีรถ EV ให้ใช้ มีระบบโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นมากมาเป็นทางเลือกที่ทำให้เราสร้างสมดุลการใช้พลังงานได้ พลังงาน […]

พื้นที่ธรรมชาติ ในบ้านทรอปิคัลโมเดิร์น ที่เปิดโปร่งสบายตา

บ้านทรอปิคัลโมเดิร์น สำหรับครอบครัวพ่อแม่ลูกหลังนี้จึงมีความพิเศษในเส้นสายที่บางเบา และมีบรรยากาศคล้ายพื้นที่เอ๊าต์ดอร์ แม้จะอยู่ภายในบ้านก็ตาม ตอบรับกับแสงแดดและสายลมธรรมชาติอย่างพอดิบพอดี โดยบริษัทสถาปนิกที่รับหน้าที่รังสรรค์โจทย์นี้ได้อย่างลงตัวและน่าสนใจก็คือ Junsekino Architect and Design นั่นเอง ด้วยความที่คุณเติร์ท-ศักรภพน์ และคุณโจ-บุญสิตา จารยะพันธุ์ เจ้าของบ้านทำอาชีพเกี่ยวกับการบิน จึงทำให้โจทย์ของบ้านหลังนี้เริ่มต้นที่ความเบาสบายและกลมกลืนไปกับธรรมชาติตามสไตล์ที่อยากสร้างให้เป็นพื้นที่ซึ่งสื่อแทนความเป็นตัวเองอย่างแท้จริง ทั้งยังต้องดูแลรักษาได้ง่ายและสามารถมองเห็นกันและกันได้จากทุกจุดภายในบ้าน การจัดวางพื้นที่ภายในบ้านหลังนี้จึงใช้พื้นที่ส่วนกลางที่เป็นดับเบิ้ลวอลลุ่มสร้างเป็นพื้นที่หลัก จากหน้าบ้านนั้น เมื่อเดินผ่านพื้นที่จอดรถและประตูหน้าบ้านเข้ามา จะพบกับโถงบันไดที่มองเห็นต้นซิลเวอร์โอ๊คโดดเด่นอยู่กลางบ้าน ก่อนจะหันกลับไปพบกับพื้นที่หลักของบ้านที่เป็นทั้งพื้นที่นั่งเล่น ทานข้าว และห้องครัว ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นพื้นที่เดียวแบบดับเบิ้ลสเปซ โดยมีทางเชื่อมไปยังบ้านเดิมที่ฝั่งซ้าย และสระว่ายน้ำที่อยู่ติดกับต้นซิลเวอร์โอ๊คที่ฝั่งขวา จนเมื่อขึ้นไปยังชั้น 2 บ้าน จะเป็นห้องนอน 3 ห้อง และทางเชื่อมออกไปยังระเบียงขนาดใหญ่ที่หน้าบ้าน ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดนี้ถูกห่อหุ้มอยู่ในฟาซาดเหล็กฉีก ซึ่งทั้งเป็นส่วนกรองแสงแดดและสร้างความปลอดภัยให้กับพื้นที่ในบ้านไปในตัว ความโดดเด่นของพื้นที่ภายในบ้านหลังนี้คือการออกแบบที่ใส่ใจกับแสงธรรมชาติและการเปิดรับลมให้ไหลผ่านบ้านอย่างพอดี การวางองค์ประกอบต่าง ๆ ในบ้านจึงต้องออกแบบให้เป็นเส้นสายที่บางเบาของบ้านออกแบบเพื่อสร้างให้อาคารนั้นไม่ปิดกั้นผู้อยู่อาศัยกับธรรมชาติโดยรอบ ซึ่งนอกจากมุมมองแล้ว ยังมีการเปิดรับแสงธรรมชาติผ่านสกายไลท์ในหลายส่วน รวมทั้งการใช้เหล็กปรุเป็น ฟาซาด โดยรอบบ้านที่ช่วยกรองแสงแดดให้เบาบางลง แต่ไม่ปิดกั้นลมที่ไหลเวียน สร้างให้เกิดบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาให้กับบ้านในแบบ ทรอปิคัลโมเดิร์นอย่างพอดี พื้นที่ส่วนกลางที่เชื่อมโยงกับบ้านเดิม ทางด้านซ้ายของบ้านหลังนี้คือบ้านเดิมที่พ่อและแม่ของคุณเติร์ท ยังอาศัยอยู่ การออกแบบระเบียงรอบบ้านจึงไม่ใช่เพียงพื้นที่ที่ร่นเข้ามาเพื่อสร้างระยะชายคาที่พอดีกับร่มเงา เปรียบเสมือนหน้าบ้านอีกฝั่งหนึ่งที่เชื่อมโยงยุคสมัยของครอบครัวเข้าหากัน โดยที่หน้าบ้านฝั่งนี้จะตั้งอยู่ในแกนเดียวกับโต๊ะทานข้าว และสระว่ายน้ำ […]

รวมบ้านโมเดิร์นที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายญี่ปุ่น

ชมงานสถาปัตยกรรมโมเดิร์นแบบญี่ปุ่นเที่น้อยแต่มาก ซึ่งเป็นไอเดียการออกแบบ บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น เหล่านี้กันได้เลย

TIDA Awards 2019 13 รางวัล กับ 11 ผลงานออกแบบตกแต่งภายในที่ดีที่สุดของเมืองไทย

TIDA Awards กลับมาอีกครั้งกับการประกาศรางวัลการออกแบบตกแต่งภายใน ประจำปี พ.ศ. 2562 โดยสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย ซึ่งได้ เริ่มจัดขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางของสมาคมฯในการสร้างสรรค์ความเจริญงดงามทางด้านสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ เพื่อรักษาอารยธรรมของชาติ ทั้งเสริมสร้าง และสนับสนุน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบุคลากรสายวิชาชีพทั้งในและนอกสมาคมฯ อ่าน : 10 MUST VISIT PLACES IN TAIWAN และแน่นอนที่ room ไม่พลาดจะนำผลงานน่าสนใจทั้ง 11 ผลงาน จาก 13 รางวัล มาอวดโฉมให้ผู้อ่านทุกท่านได้ชมกัน มีทั้งร้านอาหารและโรงแรมที่น่าสนใจมากมาย รวมทั้ง Office Space ดี ๆ หลากหลาย จะมีที่ใดบ้าง เลื่อนไปดูกันต่อได้เลย Best of Residential Design “Twisted House “ by Architect 49 House Design (A49HD) บ้านชานเมืองในรูปทรงเลขาคณิตที่แวดล้อมไปด้วยต้นฉำฉา […]

SACICT Craft Experience Day พลิกมุมมองศิลปหัตถกรรมไปกับโครงการ SACICT CONCEPT 2020

เปิดมุมมองใหม่ของงานศิลปหัตถกรรมไทยเปิดตัว 40 คอลเล็กชั่นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมหลากหลายประเภท ที่ได้รับการพัฒนาให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตปัจจุบันและเสริมศักยภาพในการต่อยอดเชิงพาณิชย์ ท่ามกลางบรรยากาศร่วมสมัยในงาน SACICT Craft Experience Day SACICT Craft Experience Day ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ณ บ้านสุริยาศัย ถนนสุรวงศ์ จัดแสดงผลิตภัณฑ์จากโครงการ SACICT Concept ซึ่งมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน และตอบรับกับความต้องการของผู้บริโภค งานทั้งหมดนี้ริเริ่มโดย ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) แต่ละคอลเล็กชั่นเกิดจากความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตงานหัตถกรรมและนักออกแบบรุ่นใหม่ไฟแรงที่พยายามค้นหาศักยภาพใหม่ของหัตถกรรมท้องถิ่น ผู้ผลิตงานหัตถกรรม 40 ราย จากหลากหลายสาขาความเชี่ยวชาญ อาทิ งานสิ่งทอ งานจักสาน งานไม้ งานเซรามิก งานโลหะ ฯลฯ ที่ได้รับการคัดเลือกจากทั่วประเทศ ได้ร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยมีที่ปรึกษาด้านการออกแบบช่วยดูแลตลอดระยะเวลาในกระบวนการพัฒนาชิ้นงาน จึงเป็นการทำงานสร้างสรรค์ร่วมกันระหว่างช่างฝีมือกับที่ปรึกษาด้านการออกแบบ เพื่อค้นหาศักยภาพและคุณค่าจากวัตถุดิบในท้องถิ่น และภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย ในงานนี้ SACICT ได้ส่งเทียบเชิญถึงเครือข่ายพันธมิตรทางการค้า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ จากทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมชมคอลเล็กชั่นผลิตภัณฑ์ เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็น และเสนอแนะความเป็นไปได้ใหม่ในการต่อยอดเชิงพาณิชย์รวมถึงเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ให้กับกลุ่มผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม SACICT Craft […]

CASA DE LASESTRELLAS โรงเรียนทางเลือกในคอสตาริกา ที่ออกแบบให้เด็กได้สัมผัสธรรมชาติแบบเต็มร้อย

ความท้าทายของที่นี่คือการนำแนวคิดการศึกษาของ โรงเรียน แปลงออกมาในรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีทั้งความโดดเด่น เปิดโล่ง ผนังโค้งดูลื่นไหล สี และวัสดุทำมาจากธรรมชาติ จุดเริ่มต้นเกิดจากความต้องการให้ โรงเรียน แห่งนี้เป็นหนึ่งเดียวกับพื้นที่ ดูกลมกลืนไปกับพื้นที่ป่ารอบ ๆ ให้มากที่สุด สถาปนิกจึงเลือกออกแบบอาคารเรียนเป็นแนวยาว ขนานไปกับชายหาด และรูปแบบภูมิสัณฐานของที่ตั้ง ตัวอาคารแยกออกเป็นก้อน ๆ เพื่อแบ่งการใช้งานตามระดับของชั้นเรียน ซึ่งมีความต้องการพื้นที่ใช้งานที่ต่างกัน อาคารหลักใช้เป็นห้องเรียนหลัก ห้องน้ำ ห้องครัว และพื้นที่รับประทานอาหาร ขนาบไว้ด้วยห้องแสดงศิลปะ ที่จอดรถ และห้องของเด็กชั้นเตรียมอนุบาล ซึ่งเเบ่งให้อยู่ด้านละฝั่ง ส่วนของชั้นเตรียมอนุบาลนั้น ตามหลักสูตรมุ่งเน้นให้เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมที่กระตุ้นการเรียนรู้ ดังนั้นรูปแบบของสถาปัตยกรรมจึงเน้นใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อช่วยสร้างแรงบันดาลใจผ่านความรู้สึก แผนผังของอาคารประกอบด้วยส่วนที่มีรูปทรงแบบก้นหอย ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่งในส่วนของทางเข้า แล้วค่อย ๆ ปิดทีละนิดตามเส้นทางที่คดเคี้ยว จนกระทั่งถึงห้องเรียนรวมที่เด็ก ๆ จะทำกิจกรรมร่วมกัน หลังคาของอาคารส่วนก้นหอยนี้ ทำขึ้นจากโครงสร้างไม้ไผ่ให้มีลักษณะคล้ายกระโจม แล้วมุงด้วยหญ้าแห้งเป็นชั้น ๆ แทนการมุงกระเบื้อง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านทางภาคใต้ของคอสตาริกา โดยส่วนของโครงสร้างหลังคาได้เว้นช่องตรงกลาง แต่มีหลังคาเล็ก ๆ แบบโปร่งแสงคลุมอีกชั้น เพื่อให้แสงอาทิตย์สามารถสาดส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในได้ ให้เด็ก […]

ADVENTUROUS GLOBAL SCHOOL อาคารเรียนที่ใช้ล็อกเกอร์เป็นทั้งผนังและที่เก็บของ

นี่คือ อาคารเรียน ในหมู่บ้านที่พระตะบอง ประเทศกัมพูชา โดย Orient Occident Atelier สำนักงานออกแบบจากฮ่องกงต้องการให้ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงอาคารเรียนแบบเน้นการบรรยายทั่วไป แต่ใช้สำหรับเป็นพื้นที่เรียนรู้ด้านการออกแบบ ก่อสร้าง รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งในระหว่างกระบวนการก่อสร้างนั้นเด็ก ๆ จะได้มีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกับทีมสถาปนิกด้วย อาคารเรียน มีลักษณะสองชั้น ชั้นล่างออกแบบให้เป็นพื้นที่เเบบใต้ถุนสูง ซึ่งเป็นลักษณะบ้านเรือนดั้งเดิมของชาวกัมพูชา โดยประยุกต์เป็นห้องเรียนแบบเปิดโล่งสามารถเชื่อมต่อกับชุมชนและวิวท้องนารอบ ๆ ที่จะใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมการเรียนรู้ เอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างชาวบ้านให้ได้รับรู้ถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน ทั้งยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้นั้น ๆ ได้ตลอดเวลาโดยไม่รู้สึกเคอะเขิน พื้นที่ชั้นสอง ออกแบบเป็นห้องสองฝั่งแบบโอเพ่นสเปซ สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น โดยมีผนังที่เรียกว่า “Griddy” ผนังโครงเหล็กสองชั้นกรุด้วยแผ่นไม้สลับกับแผ่นพอลิคาร์บอเนตทำหน้าที่เป็นทั้งผนังอาคาร ล็อกเกอร์ และชั้นวางของ โครงสร้างอาคารแบบยกสูง นอกจากจะเกิดเป็นพื้นที่ใช้งานแบบใต้ถุนแล้ว ยังช่วยป้องกันเรื่องน้ำท่วม และเป็นการเก็บรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการอยู่อาศัยไว้ ในส่วนของกระบวนการก่อสร้าง สถาปนิกได้เลือกใช้วิธีการและวัสดุแบบท้องถิ่น อย่างการใช้อิฐและไม้ที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ซึ่งเป็นการประหยัดค่าก่อสร้าง ทั้งยังแป็นวัสดุที่ช่างพื้นถิ่นคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ในแง่ของการออกแบบใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมแบบ Bottom-up ทำให้อาคารที่ออกมายังสะท้อนถึงบริบทของชุมชน เพราะทีมผู้ออกแบบเชื่อว่าอาคารเรียนที่ดีต้องเกิดจากความร่วมมือของครูผู้สอน เด็กนักเรียน และคนในชุมชนร่วมกับผู้ออกแบบ ถึงจะได้พื้นที่ใช้งานที่ทั้งถูกต้องและถูกใจ […]

RANWAS SCHOOL อาคารเรียนกลางป่าที่ออกแบบมาเพื่อสู้กับสภาพอากาศอันโหดร้าย

อาคารเรียน ที่เห็นนี้ตั้งอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐวานูอาตู ประเทศที่มีลักษณะเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ใกล้กับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งหลายคนอาจจะไม่รู้จัก และด้วยความที่เป็นเกาะ จึงทำให้ที่นี่มักประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติตลอดเวลา จนกระทั่งปี 2015 ได้เกิดเหตุการณ์พายุไซโคลนถล่มหมู่บ้านทำให้ที่นี่สูญเสีย อาคารเรียน ของหมู่บ้านไป เด็ก ๆ ต้องไปเรียนในที่พักพิงชั่วคราว จนกระทั่งองค์กร NGO ที่ให้ความช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการฟื้นฟูอาคารเรียนขึ้นมาใหม่ ให้ควบรวมฟังก์ชันห้องสมุดและออฟฟิศไว้ด้วยกัน โดยมีโจทย์ว่าต้องทนทานต่อสภาพอากาศที่รุนแรงของที่นี่ได้ โปรเจ็กต์นี้ถูกส่งต่อให้กับ CAUKIN Studio ทีมนักออกแบบรุ่นใหม่ที่ทำงานเพื่อสังคม ทำการชักชวนอาสาสมัครเเละสถาปนิกท่านอื่น ๆ จากหลากหลายเชื้อชาติกว่า 15 คน มาทำงานร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ เกิดเป็นความร่วมมือและมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการก่อสร้างอาคารเรียนหลังนี้จนเเล้วเสร็จ โดยใช้เวลาก่อสร้างเพียง 2 เดือนเท่านั้น ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่บนเกาะกลางหุบเขา ทำให้ที่นี่มีฝนตกแทบตลอดทั้งปี ส่งผลให้การเก็บรักษาหนังสือและอุปกรณ์การเรียนเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง ทีมสถาปนิกจึงออกแบบอาคารที่ช่วยลดความชื้นสัมพัทธ์ ด้วยการเก็บหนังสือไว้ในห้องที่ออกแบบเป็นพิเศษ โดยเป็นห้องปิดที่มุงด้วยเมทัลชีทสีดำช่วยเก็บกักอุณหภูมิภายใน ลดความชื้น ประกอบกับช่องว่างใต้หลังคาที่ช่วยให้อากาศพัดพาความชื้นออกไป รวมไปถึงชั้นวางหนังสือที่เว้นระยะห่างจากผนัง พื้นที่ภายในแบ่งออกเป็นห้องเรียนแบบโปร่งโล่ง และห้องสมุดขนาดเล็กซึ่งมีบันไดนำไปสู่ชั้นลอยขนาดกะทัดรัดเหนือห้องสมุด ช่วยให้เด็ก ๆ ได้หยิบหนังสือขึ้นไปนอนอ่านเล่นท่ามกลางแสงธรรมชาติในบรรยากาศสบาย ๆ ในส่วนของวัสดุเลือกใช้โครงสร้างไม้ ผนังไม้ไผ่ แผ่นพอลิคาร์บอเนต และหลังคาเมทัลชีท […]

5 ที่พักฟาซาดเด็ด ตอนที่ 2

นอกเหนือไปจากสเปซและฟังก์ชันการใช้งานที่ดี ซึ่งเอื้อให้ที่พัก โฮสเทล และโรงแรมแต่ละที่น่านอนแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่าแต่ละที่ที่เราจะเลือกเข้าพักนั้น เราดูรูปลักษณ์ภายนอกเป็นอันดับแรก และสิ่งที่เราสามารถพบเห็นก่อนสิ่งใดนั่นก็คือ “ฟาซาด” หรือ  “เปลือกอาคาร” นั่นเอง หลาย ๆ ที่จึงให้ความสำคัญกับ ฟาซาด เพราะช่วยสร้างความน่าสนใจ อีกทั้งยังสร้างความเป็นส่วนตัว พรางงานระบบต่าง ๆ ที่ต้องการปิดไปในตัว room จึงรวบรวมที่พักที่มีการคำนึงถึงการออกแบบเปลือกอาคาร ตอนที่ 2 มาใช้ชมกันอย่างจุใจ ย้อนดู  5 ที่พักฟาซาดเด็ด ตอนที่ 1 ได้ที่นี่ 01 | L’ATELIER POSHTEL โฮสเทลภูเก็ตแนวใหม่ในบรรยากาศคอนเทมโพรารีกอทิก พอชเทลที่ภูเก็ต ณ โครงการบายพาส สแควร์ ไม่ใกล้ไม่ไกลนักจากย่านเมืองเก่า ที่เกิดจากการรีโนเวตอาคารพาณิชย์เก่า 4 ชั้น ให้กลายเป็นที่พักแบบโฮสเทลที่มีบรรยากาศของความหรูหรา ลึกลับ น่าค้นหา ผ่านการหลอมรวมสไตล์ของงานศิลปะที่เขาหลงใหลส่วนตัว ออกแบบโดยนำเอาสไตล์กอทิก คลาสสิก ลอฟต์ เเละโมเดิร์นมารวมกัน อาจเรียกว่าโมเดิร์นกอทิก หริอคอนเทมโพรารีกอทิกก็ได้ การตกแต่งจึงผสมผสานศาสตร์ต่าง […]

LAEKHONNONBAI ชวนแลวิถีชีวิตของชาวนคร ผ่านฟาซาดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากระแนงและแคร่ไม้

“แลคอนนอนบาย” ที่พักในนครศรีธรรมราช ที่ถ่ายทอดวิถีชีวิตและเอกลักษณ์ความเป็นอยู่ของนครศรีธรรมราช ผ่านทางฟาซาดของงานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น จนคว้ารางวัลด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมมาแล้ว เริ่มต้นงานออกแบบจากรูปทรงของระแนงและแคร่ไม้เฟอร์นิเจอร์พื้นบ้านแสนคุ้นเคยของชาวนคร ร่วมด้วยวัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายและช่างในท้องถิ่นทำได้ไม่ยุ่งยาก วัสดุหลักจึงได้แก่ เหล็กเส้นหน้าตัดกลม (Round bar) ไม้ อิฐ และอิฐแก้วหรือกลาสบล็อก งานหลักจึงเน้นที่การทดลองใช้งานวัสดุ เพื่อสร้างรูปทรงที่ช่วยลดความทึบตันของอาคาร ด้วยการใช้ Steel Curtain หรือม่านของเหล็กเส้นกลม ซึ่งเป็นการติดตั้งบนไซต์งานจริงด้วยรูปแบบและวิธีการใหม่ ๆ ให้เหมาะกับตัวอาคาร จากการทดลองเล่นกับวัสดุได้ขยายผลสู่การสร้างฟอร์มของฟาซาดที่ดูแปลกตาน่าสนใจ จนเป็นเหมือนพระเอกให้กับงานสถาปัตยกรรมของที่นี่ จากเดิมที่ติดตั้งเหล็กเส้นกลมเพียงชั้นเดียวแบบโมดูลาร์ ผู้ออกแบบได้ทดลองซ้อนเหล็กเส้นเป็นสองเลเยอร์ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นช่วยให้อาคารเกิดความลึกและสร้างมิติที่ชวนมอง อีกฝั่งของอาคารใช้วัสดุอื่น ๆ อย่างอิฐ และไม้ เพื่อสร้างภาษาของงานสถาปัตยกรรมที่ใกล้ชิดท้องถิ่น ด้วยการจัดเรียงอิฐสำหรับเป็นช่องลมแบบเว้นจังหวะสม่ำเสมอ อีกนัยหนึ่งยังมีประโยชน์ในแง่ของการระบายอากาศ ป้องกันลม และฝนที่ตกชุกเกือบทั้งปี และช่วยกรองแสงแดดที่ค่อนข้างแรงของภาคใต้ ข้อดีขออิฐแก้วที่นำมาใช้กั้นพื้นที่ตามจุดต่าง ๆ นั้น นอกจากช่วยพรางตา ยอมให้แสงภายนอกส่องผ่านเข้ามาสู่พื้นที่ในอาคารได้ ช่วยให้บรรยากาศดูไม่มืดทึบ หรืออึดอัดจนเกินไป ทั้งยังเหมาะนำมาใช้ปิดบังความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยของช่องงานระบบ เพื่อให้โรงแรมอวดความงามได้ทุกมุมมอง ภายในห้องพักเลือกใช้วัสดุไม้บนระนาบผนัง และฝ้าเพดาน เพื่อเพิ่มบรรยากาศอบอุ่น ลดทอนความแข็งกระด้างของวัสดุเปลือยผิวของตัวอาคารได้อย่างดี   IDEA TO STEAL […]

15 บ้านหลังคาหน้าจั่วที่คุ้นเคยในลุคโมเดิร์นสุดเท่

15 บ้านหลังคาหน้าจั่วโมเดิร์น ที่ยังสามารถใช้ประโยชน์เรื่องการระบายอากาศ การระบายน้ำฝนในสภาพอากาศแบบทรอปิคัล และการบังแสงแดดได้อย่างมีประสิทธิภาพ