© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
somewhere ประดิพัทธ์ คอมมูนิตี้ที่ประกอบไปด้วยอาคารทรงกล่อง 3 หลัง ซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านกาแฟ F.I.X. Coffee, ร้านไก่คาราเกะ 8 sqm. และออฟฟิศ JUNNARCHITECT
ทาวน์เฮ้าส์หลังนี้ได้รับการรีโนเวทใหม่ โดยไม่ยุ่งกับโครงสร้างเดิมเลย แต่ภายในได้กลายมาเป็น ทาวน์เฮ้าส์สไตล์ลอฟท์ ที่โล่ง เรียบ แต่แบ่งพื้นที่เป็นลำดับขั้นตามการใช้งาน ตั้งแต่ประตูหน้าบ้านไปจนสุดรั้วด้านหลังอย่างลงตัว
ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director แห่ง Imaginary Objects (IO) สตูดิโอออกแบบที่มองถึงผลลัพธ์จากการออกแบบเป็นสำคัญ โดยมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ไร้ขอบเขตเป็นเครื่องมือ
GRAIN คาเฟ่เชียงใหม่ โทนสีขาวหลังเล็กใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ที่โดดเด่นด้วยพื้นผิวเป็นคลื่นรูปซิกแซ็กโดยรอบตัวอาคาร คือจุดเด่นสำคัญที่ทำให้ลูกค้าแวะเวียนเข้ามาเช็คอินที่นี่ไม่ขาดสาย
Flexible House คือประเด็นเรื่อง แบบบ้านชั้นเดียว ที่ได้รับการพูดถึงกันมากในยุคที่ที่ดินในเมืองมีขนาดจำกัด กับการใช้งานพื้นที่ของบ้านให้คุ้มค่า อันเป็นโจทย์ท้าทายความคิดสร้างสรรค์ของสถาปนิกเป็นอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับบ้านหลังนี้ที่สถาปนิกได้ออกแบบพื้นที่ใช้สอยของบ้านไว้อย่างเเยบยล เพื่อเตรียมพร้อมสู่การใช้งานขยายในอนาคต DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Studiomake แต่ในขณะเดียวกัน ความหมายของบ้านที่ยืดหยุ่นไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเรื่องของการใช้งานพื้นที่ภายในอย่างคุ้มค่าเท่านั้น แต่สถาปนิกอย่างทีม Studiomake ยังทดลองและค้นหาแนวทางใหม่ ๆ ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบ แบบบ้านชั้นเดียว ไปสู่การออกแบบสร้างสรรค์เรื่องโครงสร้าง เพื่อให้บ้านสามารถพลิกแพลง หรือขยับขยายฟังก์ชันได้ในอนาคต หรือที่เรียกว่า “บ้านเตรียมโต” โดยทำการทดลองกับบ้านของ อาจารย์อำนวยวุฒิ และ รศ.พิศประไพ สาระศาลิน ซึ่งทั้งคู่ถือเป็นคุณตาคุณยายของครอบครัว Studiomake โดยมีทีมสถาปนิกและทีมช่างของออฟฟิศเป็นผู้รับหน้าที่ออกแบบก่อสร้างเองทั้งหมด เพราะเป็นบ้านพักอาศัยชั้นเดียวที่มีฟังก์ชันง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ซึ่งประกอบไปด้วยห้องพื้นฐานทั่วไปอย่าง ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ครัว และส่วนเซอร์วิส โดยการทดลองเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ชั้น 1 ซึ่งใช้เป็นส่วนออฟฟิศ กับการเลือกออกแบบโครงสร้างผนังรับน้ำหนัก รวมถึงการใช้ผนังเบากั้นระหว่างห้อง เผื่อสำหรับการเปลี่ยนแปลงฟังก์ชันพื้นที่ใช้งานภายใน ทั้งยังเผื่อไปถึงการต่อเติมพื้นที่เป็นบ้านสองชั้นในอนาคต โดยได้คำนวณการรับน้ำหนักของโครงสร้างไว้อย่างแข็งแรงทั้งหมดแล้ว อีกส่วนที่บ้านหลังนี้ให้ความสำคัญคือการเชื่อมต่อกับพื้นที่สวนธรรมชาติด้านนอก ด้วยการเปิดด้านยาวของอาคารทั้งหมดออกสู่วิวสวน ผ่านผนังกระจกบานใหญ่ยาวตลอดแนวระเบียง นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งจุดสำคัญของบ้านนั่นคือ […]
สลัว แห่งนี้คือพื้นที่สามชั้นกับ 3 ฟังก์ชั่นที่ทำหน้าที่ต่างกัน แต่มีจุดร่วมอยู่ที่การเป็นสเปซที่สร้างจุดเชื่อมต่อกันระหว่างศิลปะกับธุรกิจเหมือนๆ กัน โดยชั้น 1 เป็นส่วนของร้านกาแฟ “Palam Palam” พื้นที่แห่งชีวิตชีวาที่ต้อนรับผู้คนเข้าสู่สเปซอย่างเป็นมิตร ก่อนขึ้นสู่ชั้น 2 “เงาสว่าง” พื้นที่เปิดกว้างสำหรับกิจกรรมหลากรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแกลเลอรี่ ที่ทำงาน สตูดิโอ หรือห้องสมุด และชั้นบนสุด “แสงสลัว” ที่พักที่เปิดออกสู่บรรยากาศริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
รชยา วัฒนศิริชัยกุล เจ้าของนามปากกา SHERRAE สถาปนิกสาวผู้ร่างเส้นเป็นความฝันที่จับต้องได้ รังสรรค์สถาปัตยกรรมมากแรงบันดาลใจลงบนสมุดสเก็ตช์
“อยู่อย่างเป็นศิลปะ” คือนิยามการอยู่อาศัยในฝันของใครหลายคนในยุคนี้ หากแต่ความหมายของคำนี้ได้ถูกแปลภาพแตกต่างกันไปอย่างอิสระ ตามแต่การตีความจากประสบการณ์และรสนิยมของแต่ละบุคคล เช่นเดียวกับงานสถาปัตยกรรมที่แม้หลายชิ้นจะได้รับการพูดถึงว่าเป็นงานนอกกรอบ แต่จุดประสงค์ของผู้ใช้งานเองต่างหากที่เป็นปลายทางสำคัญ โดยมีวิธีการทางสถาปัตยกรรมเข้ามาช่วยส่งเสริมให้ปลายทางนั้นเป็นไปตามความตั้งใจ เช่นเดียวกันกับ บ้านกึ่งแกลเลอรี่ หลังนี้ Zimmermann Private Contemporary Art Collection คือตัวอย่างที่ดีของการใช้เนื้อหาจากผลงานศิลปะของเจ้าของ อย่าง คุณคริสตอฟ – คุณรานี ซิมเมอร์มานน์ ซึ่งเป็นนักสะสมผลงานศิลปะร่วมสมัย มาเป็นหัวใจสำคัญเพื่อสร้างพื้นที่สำหรับส่งเสริมงานศิลปะทุกชิ้นได้อย่างเท่าเทียม ตามที่ คุณศิริศักดิ์ ธรรมะศิริ สถาปนิกผู้ออกแบบที่นี่ได้กล่าวกับเราไว้ว่า “ไม่ได้คิดมาก่อนว่าจะทำอาคารให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือวงกลม แต่มีเจตนาคืออยากให้ภาพทุกภาพที่อยู่ในนี้มีความเสมอภาคกัน เพราะศิลปินแต่ละคนมีแพสชั่นและความตั้งใจเหมือนกัน แต่วิธีการอาจจะแตกต่างกัน ผมว่ามันไม่มีดัชนีชี้วัดว่ารูปนี้สวยกว่ารูปนี้เพราะอะไร” ความต้องการแรกของเจ้าของคือ ต้องการแกลเลอรี่มากกว่าบ้าน จึงเลือกส่วนพักอาศัยเป็นเรื่องรอง แล้วไปโฟกัสเรื่องการออกแบบสเปซสำหรับผลงานศิลปะ และเพราะงานศิลปะส่วนใหญ่เป็นงานร่วมสมัย สถาปนิกจึงนำความเป็นนามธรรมของงานศิลปะมาถ่ายทอดผ่านรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ไม่มีลำดับขั้น ไม่มีฟอร์ม หรือมิติซับซ้อน “ผมเลือกฝีแปรงของการ stroke งานแบบแอ๊บสแตร็กต์ที่เน้นความรู้สึกล้วน ๆ มาเป็นต้นแบบ โดยทดลองตัดแปะฟังก์ชันและความต้องการต่าง ๆ เข้าไปตามขอบเขตของที่ดิน แบ่งตามโปรแกรมได้ 2 อาคาร หลังหนึ่งใช้เป็นแกลเลอรี่เพื่อเปิดเป็นสาธารณะ อีกหลังเป็นที่พักอาศัยและแกลเลอรี่ส่วนตัวสำหรับเก็บภาพที่มีมูลค่าสูง” อาคารหลังแรกที่เปิดเป็นแกลเลอรี่สาธารณะ รูปลักษณ์การออกแบบเปรียบเหมือนการทดลองปาดฝีแปรงลงกระดาษในน้ำหนักที่หนาหนักและรุนแรง จนเกิดเป็นอาคารที่มีแต่ละด้านไม่เท่ากันเลย […]
เรื่องราวที่ซ่อนอยู่ภายในสถาปัตยกรรมหลายอย่างถูกบอกเล่าผ่านงานดีไซน์ที่มองเห็นได้ด้วยตา หากแต่ยังมีอีกหลายความผูกพันที่สัมผัสได้ก็ต่อเมื่อเข้าไปอยู่ในสถานที่แห่งนั้น
อาคารอิฐ ของโรงเรียนอนุบาล ChuonChuon Kim 2 Kindergarten ณ กรุงโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ที่ออกแบบเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และเน้นเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กๆ
ยาโยอิ คุซามะ (Yayoi Kusama) หรือ เจ้าแม่ลายจุดในตำนาน โดยในเทศกาลครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่เธอจะนำผลงานมาจัดแสดงในประเทศไทย ในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนา เล่ 2018 หลังจากเมื่อปีที่แล้วได้จัดนิทรรศการแบบเต็มรูปแบบครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สิงคโปร์
อากาศร้อนๆแบบนี้ทำให้อยากมีสระว่ายน้ำขึ้นมาทันที่ ปัจจุบันการมีสระว่ายน้ำนั้นง่ายและประหยัดกว่าเดิม เพราะมี สระว่ายน้ำสำเร็จรูป แล้วด้วย