บ้านทาวน์โฮมสามชั้น สไตล์อินดัสเทรียล ที่อบอุ่น

บ้าน สไตล์อินดัสเทรียล หลังนี้ออกแบบได้น่าอยู่และดูอบอุ่นจริงๆ ยิ่งเพิ่มเติมของสะสมลงไป ก็ยิ่งสะท้อนถึงตัวตนของเจ้าของบ้านได้มากขึ้นเท่านั้น

[DAILY IDEA] แต่งบ้านสไตล์อินดัสเทรียลลอฟต์ ดิบเท่ นิ่ง และเรียบง่าย

ตกแต่งบ้านกลิ่นอาย อินดัสเทรียลลอฟต์ เน้นโชว์โครงสร้างงานสถาปัตยกรรม ความไม่สมบูรณ์แบบ ลุคเรียบเท่ กับเฟอร์นิเจอร์ย้อนยุคช่วงปี 1950

GREY LOFT & PINK FLAMINGO รีโนเวทบ้านทาวน์โฮมให้มีสไตล์อินดัสเทรียลลอฟต์

บ้านทาวน์โฮมสไตล์อินดัสเทรียลลอฟต์ของ สองคนกับหนึ่งแมว ที่ผสมผสานตัวตนของทุกคนไว้ได้อย่างครบถ้วน

รวม บ้านทาวน์เฮ้าส์รีโนเวต สวยสะดุดตา ทำเอาลืมภาพจำเดิมๆไปเลย

บ้านทาวน์เฮ้าส์รีโนเวต ทั้ง 25 หลังนี้ เราคัดเลือกมาให้แล้วว่าเป็นผลงานการรีโนเวตที่น่าประทับใจ เพราะสวยสะดุดตา ดูมีเอกลักษณ์

เทคนิคทำผิวสนิมให้สวยทน โชว์เสน่ห์อินดัสเทรียลลอฟต์

การโชว์ให้เห็นสภาพจริงของผิววัสดุ เป็นนิยามความดิบที่มีเสน่ห์ของสไตล์อินดัสเทรียลลอฟต์มักเลือกใช้ โดยเฉพาะวัสดุอย่าง “เหล็ก” ที่มักเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการตกแต่ง เพื่อแสดงถึงความแข็งแกร่ง ดุดัน และความมีตัวตน และจะยิ่งมีเสน่ห์มากขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อปรากฏสีส้มสนิมที่สวยงามแปลกตา สำหรับใครที่หลงใหลในเสน่ห์แห่งความไม่สมบูรณ์ของวัสดุ สู่ความงามของเนื้อแท้ งานเหล็กสีสนิมจึงนับเป็นอีกลูกเล่นหนึ่งที่คาเฟ่ หรือร้านอาหารหลาย ๆ แห่งเลือกนำมาใช้ตกแต่งสถานที่ วันนี้ room จึงมี เทคนิคทำผิวสนิม ให้สวยทนทานมาฝากว่ามีขั้นตอน และวิธีการอย่างไร เพื่อคงสภาพสีสันตามอย่างที่ต้องการไว้ให้คงทนยาวนาน เริ่มจากทำการล้างผิววัสดุ แล้วเคลือบด้วยกรดเกลือ (กรดไฮโรคลอริก HCI) ทิ้งไว้ เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาการกัดกร่อนระหว่างสารเคมีกับเหล็ก เสร็จแล้วล้างออก วิธีนี้จะทำให้วัสดุเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ เมื่อทิ้งไว้นาน ๆ กลายเป็นสีส้มสนิมที่สวยงามแปลกตา แล้วจึงค่อยทาน้ำยาเคลือบเพื่อหยุดปฏิกิริยาของการเกิดสนิมและคงสภาพสีสันแบบแผ่นเหล็กที่ชอบ หรือหากพื้นผิวเป็นไม้ละ เราก็สามารถตกแต่งสีให้ดูเหมือนสนิมได้เช่นกัน ด้วยการเพ้นต์สีโครเมียม หรือโลหะลงไปบนพื้นผิว จากนั้นใช้แปรงชุบสีเทาและดำปัดไปมาให้เกิดเส้นทีแปรงบาง ๆ สีสันไม่สม่ำเสมอกัน เป็นเสน่ห์ดิบ ๆ ให้พื้นผิวส่วนต่าง ๆ ของบ้านได้ นอกจากสีสนิมเหล็กแล้ว สีสนิมเขียว สนิมทองแดง สีแตกลายงาต่าง ๆ เราก็สามารถใช้สเปรย์พ่นเฉพาะจุดให้เกิดสีสนิมประเภทต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย […]

ทาวน์โฮม สีขาวของช่างภาพผู้รักแสงธรรมชาติ

ทาวน์เฮาส์รีโนเวต ของช่างภาพสายสตรีท ADD Candid (instagram.com/addcandid) โดดเด่นด้วยสีขาวสะอาดตา การเล่นระดับ และการเปิดรับแสงธรรมชาติ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ:  INCHAN Atelier หากภาพภาพหนึ่งแทนคำได้เป็นล้านคำ บ้านหลังหนึ่งก็คงจะแทนภาพชีวิตของผู้อาศัยได้ เช่นเดียวกับบ้านทาวน์เฮ้าส์รีโนเวตสีขาวของคุณแอ๊ด-พีรพัฒน์ วิมลรังครัตน์ และคุณเมจิ ทาดา ที่ผ่านการรีโนเวตมาแบบไม่ธรรมดา ด้วยแนวคิดที่อยากให้บ้านเป็นเหมือนภาพสะท้อนบอกเล่าตัวตนของเจ้าของบ้านได้อย่างชัดเจน คล้ายผืนผ้าใบที่รอการแต่งแต้มจากผู้เป็นเจ้าของ “บ้านหลังนี้เป็นบ้านมือสองที่นำมาปรับปรุงใหม่ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของคุณแอ๊ด ตอนแรกตั้งใจว่าจะทำเป็นพื้นที่ให้บริการด้านความงามของคุณเมจิ สตูดิโอถ่ายภาพของคุณแอ๊ด และเป็นบ้านพักอาศัยด้วย แต่สุดท้ายก็ปรับเปลี่ยนในหลาย ๆ จุด จนเหลือแค่สตูดิโอกับบ้าน เป็นบ้านที่ค่อนข้างเปิดรับแสงธรรมชาติ เพราะด้วยความที่คุณแอ๊ดเป็นช่างภาพ แสงธรรมชาติจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเขา” คุณนนท์-อินทนนท์ จันทร์ทิพย์ แห่ง INchan atelier สถาปนิกผู้ออกแบบบ้านหลังนี้ เล่าให้เราฟัง “บริเวณชั้นสองออกแบบเป็นทั้งสตูดิโอ ถ่ายภาพและแกลเลอรี่แสดงภาพของคุณแอ๊ด โดยเฉพาะแกลเลอรี่เป็นพื้นที่ที่ทำให้บ้านหลังนี้ มีพลวัต (Dynamic) มากขึ้น เพราะคุณแอ๊ด ใช้เป็นทั้งพื้นที่แสดงงานและรับแขกไปในตัว มีการ สับเปลี่ยนหมุนเวียนภาพถ่ายในแต่ละเดือน ด้านใน เป็นห้องทำงานของคุณแอ๊ด โดยออกแบบให้อิง กับสไตล์อินดัสเทรียลลอฟต์ตามที่เขาตั้งใจด้วย ข้าวของจำพวกกล้องฟิล์ม อุปกรณ์ล้างอัด […]

รวมแบบ บ้านลอฟต์ กับแนวคิด สวย ดิบ เท่

บ้านลอฟท์ หรือบ้านลอฟต์ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในบ้านเรา เพราะส่วนใหญ่ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายอย่างไม้ เหล็ก และปูน ได้อารมณ์ดิบๆ เท่ๆ

รวมบ้านอิฐแสนน่าอยู่

อิฐเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในบ้านเรา สามารถนำมาตกแต่งให้เกิดลวดลาย ทำให้บ้านดูน่าสนใจได้ไม่ยาก ดังเช่น บ้านอิฐ ที่เรารวบรวมมาให้ชมกันเป็นไอเดีย

HACKING COFFEE FLAGSHIP เมื่อสถาปัตยกรรมทำหน้าที่เป็นเครื่องจักรล้ำสมัย

Hacking Coffee Flagship คาเฟ่ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเจ้าของเคยเป็นโปรแกรมเมอรืมาก่อน จึงนำมาตีแผ่ในรูปแบบของคาเฟ่

ALEMBIC REAL ESTATE นั่งทำงานในที่ออฟฟิศเน้นสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับพนักงาน

สำนักงานของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ Alembic Real Estate ในสถาปัตยกรรมเก่าแก่อายุกว่าครึ่งศตวรรษ ที่เน้นสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับพนักงาน

WAYCO RUZAFA เปลี่ยนโรงหนังเก่าแก่ให้กลายเป็นที่ทำงานแบบคอมมูนีตี้

WAYCO RUZAFA คือโปรเจ็กต์รีโนเวตที่เปลี่ยนโรงหนังเก่าแก่ ที่เคยเป็นร้านหนังสือให้กลายเป็นที่ทำงานแบบคอมมูนีตี้ โดยยังคงกลิ่นอายของเดิมไว้

เปลี่ยนทาวน์เฮ้าส์อายุ 10 ปีให้อุ่นละมุนปนดิบเท่

รีโนเวตทาวน์เฮ้าส์ อายุ 10 ปีให้อุ่นละมุนปนดิบเท่สไตล์อินดัสเทรียล ของช่างภาพที่ชื่นชอบในการแคมป์ปิ้ง นำมาสู่บ้านที่ดูโปร่งโล่ง แสงดี ถ่ายสวย

KIEW KAI KA ยกทัพสำรับไทย จัดเสิร์ฟในร้านบรรยากาศยุโรป

ร้านเขียวไข่กา l Kiew Kai Ka สาขาลาซาล อิ่มอร่อยกับอาหารไทยภาคกลาง-ใต้ ในร้านสีเขียวลุคเฟมินีน สวยหรูสไตล์วินเทจ อีกหนึ่งร้านอาหารไทยรสชาติถึงเครื่อง กับการขยายสาขาใหม่ล่าสุดมายังย่านบางนา ภายในโครงการ Sunny at Summer Lasalle โดยครั้งนี้ขอแตกต่างด้วยสไตล์การตกแต่งที่ฉีกแนวออกจากสไตล์อินดัสเทรียลสุดเคร่งขรึมในเรือนกระจก ซึ่งเป็นภาพที่แฟนประจำของร้านจดจำได้จากสาขาแรกที่ซอยนาคนิวาส มาสู่ลุคความเป็นเฟมินีนดูโก้หรู เจือกลิ่นอายย้อนยุค เมื่อมองเข้ามาจากถนนในซอยลาซาล ตัวร้านจะอยู่ใต้อาคารที่ยังคงโดดเด่นด้วยธีมสีเขียว เรียกว่ามองปราดเดียวก็รู้ว่านี่คือ ร้านเขียวไข่กา ผนังร้านถูกล้อมด้วยช่องแสงกระจกทรงโค้งตัดขอบด้วยกรอบสีทองดูหรูหรา แม้ตัวร้านจะเป็นส่วนหนึ่งของอาคารในโครงการ Sunny at Summer Lasalle แต่ก็ยังไม่ลืมภาพของความเป็นร้านอาหารบรรยากาศกลาสเฮ้าส์ ด้วยการนำมาสร้างสรรค์กับสาขานี้ด้วย ทั้งยังปรับเปลี่ยนจากสไตล์อินดัสเทรียล มาสู่บรรยากาศหรูหรา และมีความเป็นแฟมินีนมากขึ้น คุณดนัย สุราสา ได้เล่าถึงแนวคิดการออกแบบเขียวไข่กาสาขาลาซาลให้ฟังว่า “จากความต้องการของเจ้าของที่อยากให้สาขาใหม่ยังคงมีบรรยากาศแบบกลาสเฮ้าส์ เราจึงเลือก The Crystal Palace ในกรุงลอนดอน ซึ่งสร้างขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมมาเป็นต้นแบบ ด้วยการหยิบเอกลักษณ์การขึ้นโครงเหล็กทรงโค้งที่ดูบางเบามาเป็นไอเดีย โดยนำเส้นสายพวกนั้นมาใช้แบบกลับหัว ในส่วนของช่องแสงรอบผนังร้าน รวมถึงองค์ประกอบงานตกแต่งภายในต่าง ๆ ” เช่นเดียวกับธีมการใช้สีเขียวที่ครั้งนี้มีความเทรนด์ดี้มากขึ้น ด้วยการเลือกใช้สี Teal Blue […]

บ้านมิกซ์แอนด์แมตช์ ผสมความดิบและวินเทจ

บ้านทรงกล่องหลังนี้ มีความกลมกล่อมในเรื่องการผสมผสานสไตล์ที่แตกต่างกันระหว่างความดิบเปลือยของวัสดุสไตล์อินดัสเทรียลดีไซน์ให้เข้ากับของตกแต่งสไตล์วินเทจแบบผู้หญิง ที่ทำให้บ้านดูไม่แข็งจนเกินไป กลายเป็นบ้าน มิกซ์แอนด์แมตช์ ที่นำความชอบจากหลายๆ สิ่งมารวมกันได้อย่างลงตัว เจ้าของ : คุณชนกวนันท์ รักชีพ ออกแบบ : คุณสุวาสน์ เมฆคงถาวร “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน” ยังคงใช้ได้ดีมาทุกยุคทุกสมัย แต่ฉันรู้ซึ้งกับความหมายของคำพังเพยนี้ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อได้มาเยี่ยมชมบ้านของคุณชนกวนันท์ รักชีพ เบื้องหลังบ้านทรงกล่องสไตล์ มิกซ์แอนด์แมตช์ บนพื้นที่หนึ่งไร่ในย่านเลียบทางด่วนรามอินทรานี้ ใครจะทราบบ้างว่ามีเรื่องราวเริ่มต้นมาจากเสื้อผ้า คุณตุ๊กเล่าให้ฟังว่า “ตุ๊กชอบเสื้อผ้าแบรนด์ WWA ของ พี่วาสน์(คุณสุวาสน์ เมฆคงถาวร) มากๆ แรกๆ ตุ๊กก็เป็นลูกค้า ชอบที่ดีไซน์และความเนี้ยบของเขา จนวันหนึ่งมีโอกาสไปเยี่ยมบ้านพี่วาสน์ รู้สึกประทับใจในสไตล์ของเขามากๆ จนเอ่ยปากว่า ถ้ามีบ้านจะให้พี่วาสน์ออกแบบให้ แล้วก็สมใจค่ะ” เมื่อถามถึงสไตล์การออกแบบของบ้านหลังนี้กับคุณวาสน์บ้าง เขาก็ตอบยิ้มๆ ว่า “ผมไม่ได้เจาะจงว่าบ้านนี้เป็นสไตล์ไหน เพราะวาดออกมาจากความรู้สึก โดยเอาความต้องการของเจ้าของบ้านเป็นหลัก ตอนแรกน้องบอกว่าบ้านของเขาไม่ใหญ่ แต่พอลิสต์ความต้องการแล้วก็รู้ว่าไม่เล็ก ผมจึงเริ่มจากการสเก็ตช์ทุกอย่างเป็นกล่องย่อยๆ แล้วค่อยนำมาต่อรวมกัน จากนั้นถึงออกแบบตัวอาคารครอบ “ผมว่าเรื่องของสไตล์เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์นะครับ อย่างคลาสสิกก็มาจากยุคหนึ่ง โมเดิร์นในแต่ละช่วงเวลาก็ไม่เหมือนกัน บ้านนี้ผมว่าเป็นบ้านแบบไม่มีแพตเทิร์น แต่นำความชอบพื้นที่กว้างโล่งและวัสดุแบบเปลือยๆ […]

CRYE PRECISION HQ รีโนเวตโรงงานต่อเรือเก่าเป็นออฟฟิศเขียวชอุ่ม

CRYE PRECISION HQ โปรเจ็กต์รีโนเวตโรงงานต่อเรือเก่าย่านริมน้ำ Brooklyn Navy Yard เมืองนิวยอร์ก ให้กลายเป็นออฟฟิศสไตล์ Modern Industrial Park

บ้านมินิมัล เปิดรับธรรมชาติ อยู่แล้วไม่เศร้าซึม

บ้านมินิมัล อยู่แล้วสุขภาพดีทั้งกายและใจ โดยลดขอบมุมในบ้านให้น้อยเพื่อไม่เป็นที่กักเก็บฝุ่น ลดการใช้พรมแต่เน้นวัสดุที่ดูแลรักษาง่าย

EASTERNGLASS CAFE คาเฟ่ในโรงงานทำแก้วแฮนด์เมด ได้อารมณ์อินดัสเทรียลสุดเท่แบบแท้ ๆ

ปรับตัวเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจในยุคโควิด-19 ให้คนไทยรู้จักแบรนด์แก้วทำมือสุดประณีตรายใหญ่แห่งเดียวในกรุงเทพฯ กับการเปลี่ยนพื้นที่ในโรงงานให้เป็นคาเฟ่ เต็มอิ่มกับบรรยากาศอินดัสเทรียลสุดเท่ ๆ พร้อมเล่าเรื่องราวความเป็นมาของโรงงานแก้วบูรพา หรือ EasternGlass Manufacturer Co., Ltd ที่ดำเนินงานมากว่า 70 ปี EasternGlass Cafe จากพื้นที่ที่เคยเป็นส่วนของสำนักงานด้านหน้า มาวันนี้ได้รับการปรับเปลี่ยนใหม่ให้กลายเป็น EasternGlass Cafe สไตล์อินดัสเทรียลสุดเท่ ให้บรรยากาศของการมาเยือนโรงงานแท้ ๆ เชื่อมต่อกับโกดังขนาดใหญ่ เปิดต้อนรับลูกค้าให้เข้ามาพักผ่อนจิบกาแฟอร่อย ๆ พร้อมกับช้อปปิ้งแก้วแฮนด์เมดสวย ๆ เกรดส่งออกสุดประณีต โดยฝีมือจากช่างเป่าแก้วชาวไทย ซึ่งยังคงดำรงวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมมาตลอด ที่นี่จึงถือเป็นโรงงานผลิตแก้วทำมือเพียงแห่งเดียวและเก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพฯ ตลอดการดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่การทำโป๊ะแก้วครอบโคมไฟสมัยคุณปู่ เรื่อยมาถึงรุ่นคุณพ่อ คุณแม่ และคุณอา ที่เน้นส่งออกผลิตภัณฑ์แก้วหลากหลายรูปแบบ จนถึงทายาทรุ่นที่สามในยุคปัจจุบัน สินค้าของโรงงานเน้นส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศกว่าแปดสิบเปอร์เซ็นต์ กระทั่งเกิดวิกฤตโควิด-19 ไปทั่วโลก ทำให้ไม่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่เป็นโรงแรม ร้านอาหาร และแบรนด์ของตกแต่งบ้าน ในแถบประเทศยุโรปและสแกนดิเนเวียน โรงงานจึงถึงคราวต้องปรับตัวเร็วกว่าที่ตั้งใจไว้ ด้วยการบริหารของคุณปีเตอร์-พีรัท จงอัศญากุล โดยเขาได้เล่าถึงการกลับมาตีตลาดในไทย และเปิดพื้นที่ให้ลูกค้าได้เข้ามาสัมผัสคาเฟ่ในโรงงานว่า “ช่วงหลังเราเพิ่งเห็นเทรนด์เมืองไทยว่า ลูกค้าให้ความสนใจกับการตกแต่งบ้านมากขึ้น รวมทั้งเหล่าดีไซเนอร์ที่ต้องการพร็อปส์ที่เป็นงานคราฟต์ […]

บ้านที่ออกแบบมาให้ WFH อย่างมีความสุขภายใต้บรรยากาศแบบกึ่งเอ๊าต์ดอร์

บ้านหลังนี้เกิดจากไอเดียที่ต้องการให้แสงอาทิตย์เข้ามาในบ้านที่ดูคล้ายโรงเรือนปลูกต้นไม้เพื่อสร้างบรรยากาศที่สดชื่นยามต้องทำงานอยู่ บ้านในช่วง Work From Home