ว่านตะขาบ

พิษตะขาบ/ว่านตีนตะขาบ/Slipper Flower ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphorbia tithymaloides L. subsp. smallii (Millsp.) V.W.Steinm. วงศ์: EUPHORBIACEAE ประเภท: ไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: ลำต้นตั้งตรง สูง 50-80 เซนติเมตร ทุกส่วนอวบน้ำและมีน้ำยางสีขาวอยู่ภายใน ใบ: ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร ยาว 2-4 เซนติเมตร ปลายใบแหลม แผ่นใบอวบหนา สีเขียวเข้ม ไม่มีก้านใบ ดอก: ออกดอกยาก อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดปานกลางถึงตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับ และมีสรรพคุณเป็นสมุนไพร ตามตำราแพทย์โบราณของจีน ใช้ต้นและใบสดผสมกับเหล้าแล้วคั้นเอาแต่น้ำ ใช้ทาบริเวณที่โดนแมลงสัตว์กัดต่อย หรือมีอาการฟกช้ำ บวม ยอก เคล็ด […]

ว่านหนุมาน

ว่านเลือด/หนุมานนั่งแท่น/หัวละมานนั่งแท่น/Coral nut/Guatemala Rhubarb/Physic nut ชื่อวิทยาศาสตร์: Jatropha podagrica  Hook.f. วงศ์: EUPHORBIACEAE ประเภท: ไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: สูงได้ถึง 2 เมตร โคนลำต้นอวบน้ำ ขนาดใหญ่ สีน้ำตาล ทุกส่วนมีน้ำยางสีแดง ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับแน่นที่ปลายลำต้น รูปกึ่งทรงกลม ขอบใบมักหยักตื้นๆ เป็น 3 แฉก ก้านใบยาว กลมกลวง ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกแยกเพศ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีแดง เกสรเพศผู้ 10 อัน ผล: ผลแห้งแตกเป็น 3 แฉก รูปกึ่งทรงกลม เป็นพูตามยาว 3 พู เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล เมล็ดสีน้ำตาลปนดำ เป็นมัน […]

ว่านกลิ้งกลางดง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Dioscorea bulbifera L. วงศ์: DIOSCOREACEAE ประเภท: ไม้เลี้อย อายุหลายปี ลำต้น: มีหัวใต้ดินกลมแป้น สามารถแตกหัวย่อย (bulbil) ตามข้อใบได้ รูปทรงกลม สีน้ำตาล ผิวขรุขระ มีรอยนูนกึ่งกลางบุ๋ม ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจแกมรูปไข่ ขนาด 5-10 เซนติเมตร เส้นใบขนานตามยาวเป็นร่องลึก ดอก: ช่อดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อดอกยาว ดอกเพศผู้มีกลิ่นหอม อัตราการเจริญเติบโต: ช้า พักตัวในฤดูแล้ง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหัว โดยนำหัวย่อยมาปลูกใหม่ การใช้งานและอื่นๆ: ว่านชนิดนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ว่านพระฉิม ซึ่งแตกต่างกันที่ผิวของหัวย่อยนูนขึ้น ขณะที่ว่านกลิ้งกลางดงผิวเป็นรอยนูนกึ่งกลางบุ๋ม เป็นสมุนไพร โดยนำหัวมาฝนกับว่านเพชรหึง ใช้น้ำซาวข้าวเป็นกระสายยา ใช้กินและทาแก้โรคฝีกาฬ และระงับพิษร้อนให้เย็นได้ หรือใช้อาบเป็นยาแก้ร้อนใน ช่วยรักษาโรคไข้ทรพิษ ความเชื่อ: […]

ว่านตีนจิ้งจก

ตีนตะขาบ/ตีนตุ๊กแก ชื่อวิทยาศาสตร์: Kalanchoe daigremontiana Raym.-Hamet & Perrier x K. tubifera (Harv.) Hamet วงศ์: CRASSULACEAE ประเภท: ไม้เนื้ออ่อน อายุหลายปี ลำต้น: ต้นสูง 20-25 เซนติเมตร ทุกส่วนอวบน้ำ ใบ: ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี โคนและปลายใบแหลมอวบหนา สีเขียวอมเทา มีแต้มสีน้ำตาลแดงกระจายทั่วใบ ขอบใบจักฟันเลื่อย สามารถแตกต้นอ่อนตามรอยหยักได้ ดอก: ดอกไม่ปรากฏ อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำยอด ใบ หรือต้นอ่อน การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และใช้เป็นสมุนไพรบรรเทาอาการแมลงกัดต่อยและฝี โดยนำใบมาผ่าครึ่งแปะบริเวณที่เกิดอาการ

ว่านนิรพัตร

คว่ำตายหงายเป็น/ฆ้องสามย่านตัวผู้/เบญจพัตร/เพลาะแพละ/ส้มเช้า ชื่อวิทยาศาสตร์: Bryophyllum pinnatum (Lam.) Oken วงศ์: Crassulaceae ประเภท: ไม้เนื้ออ่อน อายุหลายปี ลำต้น: ต้นสูงได้ถึง 1 เมตร ทุกส่วนอวบน้ำ เมื่อต้นแก่ ลำต้นจะแข็ง ใบ: ใบออกตรงข้าม ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ ปลายใบมน แตกต้นอ่อนตามขอบใบ ก้านใบยาว 2.5-3 เซนติเมตร ดอก: ช่อดอกออกที่ปลายยอดเป็นช่อกระจะแยกแขนง ชูสูงกว่า 30 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดห้อยลง ยาว 2-3 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ สีแดงเรื่อ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำต้น ปักชำใบ การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และใช้เป็นสมุนไพร โดยนำใบมาเผาไฟเล็กน้อย หรือตำให้ละเอียดจนมีน้ำเมือกลื่นๆ ใช้ทาบาดแผลไฟไหม้ […]

ว่านนิลพัตร

ไดคอนดรา/ว่านไก่ชน/Lawn Leaf/Gelenga Grass ชื่อวิทยาศาสตร์: Dichondra  micrantha Urb. วงศ์: CONVOLVULACEAE ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: มีลำต้นใต้ดินคล้ายเผือกขนาดเล็ก ลำต้นทอดเลื้อยไปตามผิวดินเป็นพุ่มสูง 15-30 เซนติเมตร รากออกตามข้อ ใบ: ใบรูปหัวใจ ออกใกล้กันเป็นกระจุก ขนาด 2-4 เซนติเมตร โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบมน แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก: ดอกเล็ก สีเหลืองอมเขียว อัตราการเจริญเติบโต: ช้า พักตัวในฤดูร้อนและฤดูหนาว ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไรถึงแดดจัด น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อหรือปักชำลำต้น การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับคลุมดินแทนหญ้า และเชื่อว่าเป็นว่านทางคงกระพันชาตรี สามารถป้องกันศัสตราวุธมีคมทั้งปวง ถ้านำหัวมาฝนใช้ทาตัว จะสามารถนอนบนกองไฟได้โดยไม่รู้สึกเจ็บ ปวดแสบปวดร้อน หากกินหัวว่านนี้เข้าไปด้วยจะสามารถแบกหาม ชักลากไม้ได้ตลอดโดยไม่เหน็ดเหนื่อย เมื่อนึกจะทำการใดๆ ก็สำเร็จดีสิ้นทุกอย่าง ถ้าทาที่แข้งไก่ชนอีกฝ่ายจะแพ้ไปเอง จึงนิยมใช้กันมาก และเรียกกันว่า […]

ว่านเถาวัลย์หลง

เครือเขาหลวง/เถาหมาหลง/มันฤาษี/ฮ้านผีป้าย ชื่อวิทยาศาสตร์: Argyreia  splendens (Hornem.) Sweet วงศ์: CONVOLVULACEAE   ประเภท: ไม้เลี้อย อายุหลายปี ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ใต้ใบมีขนสีขาวปกคลุม ดอก: ช่อดอกออกจากซอกใบเป็นกระจุก มี 4-6 ดอก แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย มี 5 กลีบ สีขาวและสีม่วง อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี  แสงแดด: แสงแดดครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำต้นแตกจากราก ปักชำเถา การใช้งานและอื่นๆ: มีสรรพคุณเป็นสมุนไพร ช่วยรักษาแผล โดยนำต้นมาตำให้ละเอียด ใช้พอกแผล ช่วยให้หายเร็ว ความเชื่อ: คนโบราณเกือบทุกภาคนิยมปลูกไว้หน้าบ้าน เพราะเชื่อว่าเป็นว่านเสน่ห์เมตตามหานิยม ทำให้ค้าขายดี โบราณว่า หากเดินป่าแล้วข้ามเถาต้นเถาวัลย์หลง […]

ว่านสบู่เหล็ก

ว่านสามพันตึง ชื่อวิทยาศาสตร์: Xanthosoma nigrum (Vell.) Mansf. วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูงประมาณ 2 เมตร มีลำต้นใต้ดินคล้ายเผือก แตกหน่อและไหลสั้นๆ รอบต้นแม่จำนวนมาก  ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวกว่า 15 เซนติเมตร โคนใบเงี่ยงลูกศร ปลายใบแหลม แผ่นใบหนา สีเขียวคล้ำ เห็นเส้นใบสีเขียวเทา และมีนวลปกคลุม ใต้ใบสีเขียวเทา ก้านใบกลม สีม่วงคล้ำ ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับรองรับช่อดอกสีเขียวอมม่วง ตอนบนสีขาว ปลีดอกสีขาวนวล อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดครึ่งวันถึงตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ แยกไหล การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับ […]

ว่านพญาหอกหัก

ตะพิด ชื่อวิทยาศาสตร์: Typhonium flagelliforme (Lodd.) Blume วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีลำต้นใต้ดินคล้ายหัวเผือก รูปทรงกลม ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปใบหอกแคบ โคนใบรูปหัวลูกศร ปลายใบแหลม ก้านใบกลมยาวสีเขียว  ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอกสีเขียว ปลายสีแดงอ่อน ปลีดอกสีเหลือง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร พักตัวในฤดูหนาว น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: ใช้เป็นสมุนไพรแก้โรคผิวหนัง เชื่อว่าเป็นว่านทางคงกระพันชาตรี หากกินจะรู้สึกคันมากเหมือนมีอะไรมาแทงลิ้น เนื่องจากสารแคลเซียมออกซาเลตที่อยู่ในต้นนั่นเอง

ว่านปรอท

ชื่อวิทยาศาสตร์: Typhonium  sp. วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูงประมาณ 20 เซนติเมตร มีลำต้นใต้ดินคล้ายหัวเผือก รูปทรงกลมขนาดเล็ก ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่กว้างหรือรูปหัวใจ เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวเข้ม เส้นใบเด่นชัด ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอกสีขาวนวล มีจุดประสีแดง ปลีดอกสีเหลือง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า  ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับ ในทางสมุนไพรใช้เป็นยาถอนพิษ ฝี และอาการปวดแสบปวดร้อนจากน้ำร้อนลวกหรือไฟลวก โดยนำหัวหรือใบมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว พอกบริเวณที่เกิดอาการจะช่วยบรรเทาอาการลงได้ แต่หัวว่านนี้เมื่อกินเข้าไปแล้วจะคันมาก เนื่องจากมีสารแคลเซียมออกซาเลตในเนื้อ หมายเหตุ: ว่านปรอทที่ปลูกเลี้ยงกันในปัจจุบันมีหลายพันธุ์ แต่ส่วนใหญ่เป็นต้นที่เรียกว่า ว่านตะพิดเล็ก หรือ อุตพิดเล็ก (Typhonium sp.) ซึ่งเป็นพืชอีกชนิดหนึ่ง นอกจากนี้ว่านปรอทในบางตำราก็เป็นพืชในวงศ์ขิงด้วย

ว่านคางคก (มะอะอุ)

มะโนรา/ว่านมหาอุด/ว่านมหาอุตมะ/ว่านมะอะอุก้านเขียว/อุตพิด ชื่อวิทยาศาสตร์: Typhonium trilobatum (L.) Schott วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวคล้ายเผือก รูปกึ่งทรงกลม แตกหน่อเป็นปุ่มหัว ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ เมื่อต้นขนาดเล็ก ใบรูปหัวใจ เมื่อเจริญเต็มที่หยักเป็นแฉก 3-5 แฉก ปลายใบแหลม เส้นใบเป็นร่องตื้น ก้านใบกลม สีเขียวหรือดำ ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอกสีเขียว ปลีดอกสีแดง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง ต้องการความชื้นในอากาศสูง แสงแดด: แสงแดดรำไร พักตัวในฤดูหนาว น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: เป็นสมุนไพรแก้โรคเรื้อนกวางและโรคผิวหนังอื่นๆ โดยนำหัวมาทุบผสมกับเหล้า ทาบริเวณที่เกิดอาการ หมายเหตุ: ว่านต้นนี้คืออุตพิดสายพันธุ์หนึ่งนั่นเอง ดอกก็มีกลิ่นเหม็นคล้ายอุตพิด แต่กลิ่นอ่อนกว่ามาก […]

ว่านกวักพระพรหม

สาลิกาลิ้นทอง ชื่อวิทยาศาสตร์: Schismatoglottis sp. วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: ลำต้นเหนือดินสูง 30-40 เซนติเมตร มีข้อปล้องเด่นชัด  ใบ: ใบรูปรีแกมรูปไข่ แนวเส้นใบเป็นร่องตื้น สีเขียว มีลายสีขาวเหลือบเงินเป็นแถบตามยาวทั้งสองด้านของแผ่นใบ ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับรองรับช่อดอกสีเขียวอ่อน ปลีดอกสีขาว อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี โดยเฉพาะดินใบก้ามปู แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมปลูกเพื่อความเป็นสิริมงคล เมตตามหานิยม และช่วยให้ค้าขายดี บางถิ่นเรียกว่า สาลิกาลิ้นทอง

ว่านเสน่ห์จันทร์มหาโพธิ์

ชื่อวิทยาศาสตร์: Homalomena  sp. วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูง 30-50 เซนติเมตร ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปหัวใจกว้าง สีเขียว ก้านใบสีม่วงแดง ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ก้านช่อดอกสีขาวมักโค้งลง ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอกสีเขียว ปลีดอกสีขาวนวล อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับ

ว่านเสน่ห์จันทร์ศรีมหาโพธิ์

ว่านเสน่ห์จันทร์มหาโพธิ์ ชื่อวิทยาศาสตร์: Homalomena  lindenii (Rodigas) Lindl. วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: ลำต้นเหนือดินสูง 30-50 เซนติเมตร ทุกส่วนมีกลิ่นหอม  ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปหัวใจ สีเขียว กาบใบสีเขียวมีขอบขาว ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอกสีเขียว ปลีดอกสีขาวนวล อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับ ความเชื่อ: สรรพคุณเหมือนว่านเสน่ห์จันทร์มหาโพธิ์ หมายเหตุ: ว่านต้นนี้คาดว่ากลายพันธุ์มาจากว่านเสน่ห์จันทร์ขาว ใบและก้านใบมีสีเขียว แต่อ่อนแอต่อเพลี้ยแป้ง จึงทำให้ใบดูหยาบด้านกว่าว่านเสน่ห์จันทร์ขาว

ว่านเสน่ห์จันทร์ขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์: Homalomena lindenii (Rodigas) Lindl. วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูงประมาณ 30 เซนติเมตรทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปหัวใจ มีเส้นใบสีขาวชัดเจน ก้านใบสีขาว ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ก้านช่อดอกสีขาวมักโค้งลง ใบประดับคล้ายกาบรองช่อดอกสีขาว ปลายสีเขียวอ่อน ปลีดอกสีขาว อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับ เชื่อว่าเป็นว่านทางเสน่ห์เมตตามหานิยม ในสมัยโบราณหญิงและชายนิยมปลูกเลี้ยงไว้เพื่อเป็นเสน่ห์แก่ตน ตามตำรากบิลว่านและต้นยาวิเศษนานาชนิดของคุณพยอม วิไลรัตน์ (2504) มีอีกชื่อหนึ่งว่า ว่านเสน่ห์จันทร์มหาโพธิ์

ว่านเสน่ห์จันทร์ดำ

บอนส้ม/ว่านเต่าเขียด/โหรา/ซอยโบ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์: Homalomena cf. aromatica (Spreng.) Schott วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูง 30-50 เซนติเมตร ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปหัวใจ สีเขียว มีเส้นใบสีแดงอ่อน ก้านใบสีม่วงแดง เมื่อต้นโตเต็มที่ แผ่นใบจะแผ่กว้างขึ้น ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ก้านช่อดอกสีขาวมักโค้งลง ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอก สีแดง ปลีดอกสีขาวนวล อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: เป็นสมุนไพร หัวมีกลิ่นหอม นำมาบดเป็นผงใช้ผสมกับใบยาสูบและยานัตถุ์ได้ เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันหอมสีเหลือง มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ความเชื่อ: แต่เดิมไม่ได้ใช้ประกอบกับว่านเสน่ห์จันทร์ขาว ว่านเสน่ห์จันทร์เขียว และว่านเสน่ห์จันทร์แดง แต่มีกลิ่นหอมและมีประโยชน์ ภายหลังจึงจัดเข้าชุดไว้ด้วยกัน […]

ว่านสาวน้อยประแป้ง

ว่านสาวน้อยประแป้ง สาวน้อยประกายเพชร/ไอ้ใบ้/Dumb Cane ชื่อวิทยาศาสตร์: Dieffenbachia seguine (Jacq.) Schott ว่านสาวน้อยประแป้ง วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูง 50-80 เซนติเมตร มีน้ำยางใสทุกส่วนของลำต้น ข้อปล้องชัดเจน สีเขียว เมื่อมีอายุมากขึ้น ลำต้นมักทอดเลื้อยไปตามผิวดิน  ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรี ปลายใบแหลมมีติ่งแหลมสีเขียว มีจุดประสีขาวกระจายทั่วไป ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำยอด ปักชำข้อ การใช้งานและอื่นๆ: เป็นไม้ประดับจากต่างประเทศที่นำเข้ามาปลูกนานแล้ว และมักกลายพันธุ์ไปอีกหลายแบบ ใบเป็นสีขาวแกมเหลืองเกือบทั้งใบ ขอบใบสีเขียว ทุกส่วนของต้นมีสารแคลเซียมออกซาเลต เมื่อถูกน้ำยางจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองอย่างแรง ก่อนใช้ควรศึกษาให้ดีก่อน ความเชื่อ: เป็นว่านเสี่ยงทายโชคลาภ เสน่ห์เมตตามหานิยม หากปลูกไว้หน้าบ้านจะช่วยให้ค้าขายดี

ว่านสิงหโมรา

ผักหนามแดง/ผักหนามฝรั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyrtosperma johnstoni  (N.E.Br.) N.E.Br. วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูง 50-80 เซนติเมตร  ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปสามเหลี่ยม โคนใบรูปเงี่ยงลูกศร ปลายใบแหลม แผ่นใบหนา สีเขียวเข้มเป็นมัน เส้นใบสีแดง ก้านใบสีขาวอมเขียวอ่อน มีลายขวางตามยาวสีดำ มีหนามแข็งทั่วไป ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอกสีม่วงดำ ปลีดอกสีเหลืองนวล อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินชุ่มชื้นหรือมีน้ำขังตื้นๆ แสงแดด: แสงแดดครึ่งวันถึงตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับ และเป็นสมุนไพรโดยนำกาบต้นมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ดองเหล้า ทำเป็นทิงเจอร์ กินครั้งละครึ่งถ้วยชา หรือประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ ก่อนอาหาร ช่วยให้เจริญอาหารและบำรุงโลหิต แก้โรคโลหิตจาง ซูบซีด หน้ามืดเป็นลมวิงเวียนบ่อยๆ […]