รวมศัพท์ช่าง ที่ฟังแล้วอาจงงว่าหมายถึงอะไรนะ?

หลายคนอาจเคยได้ยิน ศัพท์ช่าง บางคำที่ฟังแล้วอาจทำให้เราต้องนึกสงสัย หนวดกุ้งคืออะไร? ท้องช้างคือส่วนไหน? ไปดูที่มาของศัพท์ช่างเหล่านี้กัน ศัพท์ช่าง ที่ช่างมักจะพูดกันนั้น บางครั้งก็มีคำที่ฟังแล้วอาจจะพานนึกไปถึงอย่างอื่นได้อยู่บ่อยครั้ง แต่ศัพท์ช่างเหล่านั้นก็เป็นคำพูดที่ใช้กันมาจนเคยชินเสียแล้ว เพื่อให้สามารถสื่อสารกับบรรดาช่างๆ ได้เข้าใจมากขึ้น วันนี้บ้านและสวนจึงขอยก 30 ศัพท์ช่างที่ได้ยินอยู่บ่อยๆ มาเป็นตัวอย่างให้ท่านผู้อ่านกัน ตีเต๊า หมายถึง การสร้างแนวเส้นบนอาคารระหว่างก่อสร้างเพื่อใช้สำหรับการกำหนดระยะ วางตำแหน่งในการติดตั้งส่วนต่างๆบนอาคาร โดยใช้เครื่องมือตีเต๊า(บางคนก็เรียก เต๊า ปักเต๊า) ซึ่งจะทำให้เกิดสีเป็นแนวเส้นตามรอยของเชือกทำให้ช่างเห็นรอยในการวางตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ การตีเต๊านั้นจะใช้กับงานประเภท วางท่อ ผนัง ติดตั้งประตู หน้าต่าง มุงกระเบื้อง การทำเคาน์เตอร์ ทำราง หรือการโรยกรวด เป็นต้น ศัพท์ช่าง ต๊าปเกลียว คือ การทำให้เกิดเกลียวบนผิววัสดุ ส่วนใหญ่ช่างจะใช้ทำบนพื้นผิวท่อเหล็กหรืออลูมิเนียมให้ท่อเกิดเป็นเกลียวไว้สำหรับไปต่อประกอบกับอีกท่อหนึงได้ ต๊าปเกลียวมีทั้งการทำเกลียวในและเกลียวนอก โดยมีเครื่องจักรในการทำจนไปถึงเครื่องมือแบบพกพาในการทำต๊าปเกลียว (แนะนำให้ใช้เครื่องจักรดีกว่าเพราะเกลียวจะคงที่กว่าการทำมือ) สลัดดอก คือ การเตรียมพื้นคอนกรีตก่อนฉาบด้วยการเอาปูนซีเมนต์ธรรมดาผสมกับน้ำ ทราย และน้ำยาเพิ่มแรงยึดเกาะ แล้วใช้ไม้กวาดทางมะพร้าวมาจุ่มลงในน้ำปูน สลัดลงไปให้ทั่วบริเวณที่จะฉาบ ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน แล้วจึงค่อยมาฉาบทับไปอีกที ซึ่งเทคนิคสลัดดอกนี้จะช่วยให้ปูนฉาบเกาะกับผิวคอนกรีตได้ดีขึ้น ช่วยเรื่องการหลุดร่อนหรือการแตกร้าวของปูนฉาบไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคต […]

SIGH Collection ชุดโซฟาโยกแสนสบายที่ซ่อนประสบการณ์สนุกไว้ภายใน

งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ในบ้านที่มีความผ่อนคลายและสนุกสนานเป็นที่ตั้ง จะเป็นอย่างไรถ้าโซฟาในบ้านสามารถให้ประสบการณ์ดีๆได้มากกว่าความนั่งสบาย ความพริ้วไหวของการโยกตัวบนโซฟานุ่มๆ และเส้นสายรูปลักษณ์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับตัวโซฟาได้มากกว่าท่านั่งมาตรฐาน จึงเกิดเป็นชุดโซฟาโยกเรียบเท่ดูดี แต่แฝงความสนุกสนานขี้เล่นไว้ภายใน หากพูดถึงโซฟา หลายคนคงนึกถึงเฟอร์นิเจอร์หุ้มบุชิ้นใหญ่ทรงเหลี่ยมที่เอาไว้วางกลางห้องนั่งเล่นด้วยจุดประสงค์คือการนั่ง แต่คุณธาม แววเกกี (THAM VEOKEKI)ได้คิดไปมากกว่านั้น จะเป็นอย่างไรถ้าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนี้จะมีลูกเล่นที่ให้ได้มากกว่าความสบาย เส้นสายพริ้วไหวที่สื่อถึงความกระฉับกระเฉง ทำให้ SIGH Collection เป็นมากกว่าแค่โซฟาที่ดี THAM VEOKEKI โดยคุณ ธาม แววเกกี นักออกแบบอุตสาหกรรมจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม สาขาการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับคัดเลือกจากรุ่นพี่นักออกแบบกลุ่ม Design PLANT ให้เข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มนักออกแบบหน้าใหม่ หรือ Emerging PLANT ประจำปี 2021 เพื่อทำงานออกแบบภายใต้โจทย์ DOMESTIC และนำผลงานชิ้นนั้นมาจัดแสดงร่วมกับนักออกแบบรุ่นพี่อีกหลายสิบชีวิตภายในงาน Bangkok Design Week 2021 ที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ SIGH Collection ผลิตโดย Mobella Galleria แบรนด์ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่โดดเด่นในผลิตภัณฑ์หุ้มบุอย่างโซฟาหนัง โดยมี คุณ ต๊ะ อนุพล อยู่ยืน เป็นผู้อำนวนการ การออกแบบ […]

ร้านขายยาจีนเก่า ที่ปรับลุคให้ร่วมสมัย Tai Chang Tang Traditional Medicine Clinic

Curtis Chung จาก Dig Design สตูดิโอออกแบบตกแต่งภายในรุ่นใหม่ของไต้หวันได้เข้ามารับหน้าที่ปรับโฉมร้านขายยาจีนในตึกแถวเก่าย่านจงซาน ให้โมเดิร์นเข้ากับยุคสมัย และเป็นมิตรกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น สอดคล้องกับปณิธานของร้านที่จะสืบสานวิชา และตำรับยาโบราณจากบรรพบุรุษ ให้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ส่งต่อสู่คนรุ่นต่อไป เพื่อสร้างบุคลากรที่จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คน ผ่าน Tai Chang Tang ร้านขายยาและคลินิกแพทย์แผนจีนในกรุงไทเป ร้านขายยาจีนเก่า ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ร่วมสมัย กลิ่นเครื่องยาจีนที่อบอวล และตู้ลิ้นชักไม้เก็บสมุนไพรที่รายล้อมดูเหมือนจะเป็นหัวใจหลักซึ่งเชื่อมโยงบรรยากาศวันวานของ Tai Chang Tang ร้านขายยาและคลินิกแพทย์แผนจีนในกรุงไทเป เข้ากับวิถีชีวิตปัจจุบัน แม้ที่นี่จะไม่ใช่โรงพยาบาล แต่ก็เป็นหนึ่งในแหล่งบ่มเพาะศาสตร์และองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งฝังรากลึกในวัฒนธรรมของชาวไต้หวันมาอย่างยาวนาน มาวันนี้ เมื่อผู้ก่อตั้ง Tai Chang Tang ตั้งใจจะวางมือ และส่งต่อกิจการให้กับศิษฎ์ก้นกุฏิ ซึ่งเป็นทีมแพทย์แผนจีนรุ่นใหม่สามคน Curtis Chung จาก Dig Design สตูดิโอออกแบบตกแต่งภายในรุ่นใหม่ของไต้หวันจึงได้เข้ามารับหน้าที่ปรับโฉมร้านขายยาจีนในตึกแถวเก่าย่านจงซาน ให้โมเดิร์นเข้ากับยุคสมัย และเป็นมิตรกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น สอดคล้องกับปณิธานของร้านที่จะสืบสานวิชา และตำรับยาโบราณจากบรรพบุรุษ ให้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ส่งต่อสู่คนรุ่นต่อไป  เพื่อสร้างบุคลากรที่จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คน งานออกแบบปรับปรุงอาคารนี้เกิดขึ้นจากการตีความแนวคิดข้างต้น เพื่อปรับประยุกต์ใช้กับรูปแบบแบบสมัยนิยม พร้อมกับการสอดแทรกสัญลักษณ์ที่มีความหมาย องค์ประกอบต่าง […]

เจาะน้ำบาดาล ขออนุญาตอย่างไร เจาะโดยใคร และ 10 คำถามพบบ่อย

เจาะน้ำบาดาล ในพื้นที่ซึ่งหาแหล่งน้ำได้ยาก และไม่มีระบบน้ำประปาเข้าถึง มีขั้นตอนอย่างไร? การเจาะน้ำบาดาลคือตัวเลือกที่สำคัญในการใช้งานอุปโภคบริโภคและทำเกษตรกรรม แต่การจะเจาะน้ำบาดาลโดยพลการนั้นอาจสุ่มเสี่ยงให้แหล่งน้ำบาดาลนั้นเสียหายได้ และมากกว่านั้นยังมีความผิดตามกฏหมายหากเพิกเฉยต่อการขออนุญาตอีกด้วย บ้านและสวนจึงขอแนะนำขั้นตอนการขอเจาะน้ำบาดาล และ 10 คำถามพบบ่อยเกี่ยวกับเรื่องน้ำบาดาลมาบอกกล่าวกัน เจาะน้ำบาดาล ขออนุญาตอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไร ขั้นตอนที่ 1 เตรียมเอกสาร เจาะน้ำบาดาล  ผู้ต้องการขออนุญาตติดต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ในเขตน้ำบาดาดลโดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้ 1) หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน 2) หนังสือมอบอำนาจและสำเนาประจำตัวบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ (กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตฯ ไม่มายื่นด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท) 3) หนังสือใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (กรณีโรงงานอุตสาหกรรม) 4) หนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตฯ เป็นนิติบุคคล) โดยเจ้าพนักงานจะออกใบรับคำร้อง และดำเนินการตรวจสอบเอกสาร ภายใน 1 วัน หากถูกต้องครบถ้วน จึงเสนอผู้มีอำนาจดำเนินการพิจารณาออกใบอนุญาตแล้วก็ให้ชำระค่าธรรมเนียมเป็นอันเสร็จขั้นตอนแรก ขั้นตอนที่ 2 เจ้าพนักงานจะพิจารณาลักษณะของบ่อตามขนาดและพื้นที่ โดยบ่อขนาด 2-3 นิ้ว ปริมาณน้ำไม่เกิน 100 ลบ.ม. อาจใช้เวลาเพียง 1-2 วัน แต่หากเป็นบ่อที่มีขนาดใหญ่เช่น […]

เครื่องทำน้ำอุ่น Haier G2 พร้อมนวัตกรรมยับยั้งแบคทีเรีย AG+

ความผ่อนคลายอย่างเหนือระดับที่มาพร้อมกับสุขภาพที่ดีของทุกคนในบ้าน เพราะเครื่องทำน้ำอุ่นดิจิตัล Haier รุ่น G2 มาพร้อมกับนวัตกรรมซึ่งผสานการออกแบบทางสุนทรียศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ไม่เพียงรูปลักษณ์ที่ดูดีกับตัวเครื่อง สีแชมเปญโกลด์ (Champagne Gold)   แต่ยังมาพร้อมฟังก์ชัน จอ LEDที่แสดงผลสถานะอุณหภูมิระหว่างการใช้งาน ทั้งยังสามารถจดจำอุณหภูมิสำหรับการอาบน้ำของทุกคนในบ้านได้ถึง 3 ค่าอุณหภูมิ และระบบการทำงานภายในนั้นยังพิเศษไม่เหมือนระบบแท๊งค์น้ำแบบเดิม  ด้วยการทำความร้อนแบบ Circular Clean Heater นั้น น้ำจะถูกทำให้ร้อนผ่านการถ่ายเทความร้อนด้วยอะลูมิเนียมอัลลอยด์ ตัวทำความร้อนจะถูกแยกออกจากน้ำ เพราะท่อน้ำจะไม่ได้สัมผัสกับตัวทำความร้อนโดยตรง  ทำให้ไม่มีคราบภายในเครื่องทำความร้อน แม้จะใช้งานไปนานหลายปีแล้วก็ตาม เนื่องจากไม่มีแท็งค์น้ำแบบดั้งเดิมจึงไม่มีการสะสมของตะกรันที่ด้านล่างของถัง อีกทั้งยังหุ้มด้วยอลูมิเนียมหล่อขึ้นรูปทำให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้น เป็นผลให้น้ำอุ่นที่ออกมาจาก เครื่องทำน้ำอุ่นดิจิตัล Haier รุ่น G2 มีความสะอาดและเป็นมิตรต่อผิวที่บอบบาง มากกว่านั้น ด้วยหัวฝักบัวที่ผลิตจากวัสดุซึ่งผสมซิลเวอร์นาโน จึงมีคุณสมบัติยับยั้งและต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย โดยมุ่งเน้นไปที่ เชื้อโรคอีโคไล และ เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ซึ่งหัวฝักบัวที่ผลิตจากวัสดุซึ่งผสมซิลเวอร์นาโนสามารถต้านเชื้อแบคทีเรียในน้ำทันที ด้วย Ag+ ถึง 99% หัวฝักบัวของ เครื่องทำน้ำอุ่นดิจิตัล Haier รุ่น G2 […]

บ้าน Neoclassical ที่ออกแบบมาเพื่อเป็นพื้นที่ของครอบครัว

บ้าน Neoclassical หลังนี้ ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบรับการใช้งานคนสามวัย ให้ทุกๆคนได้มีพื้นที่ส่วนตัว และพื้นที่ส่วนรวมที่พอดิบพอดี องค์ประกอบแบบ Neoclassical สร้างให้บ้านแลดูเหมือนงานศิลปะ ในขณะที่แฝงไว้ด้วยความชอบในไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้าน และพื้นที่งานอดิเรกที่บอกเลยว่าจริงจัง สถาปนิก: INCHAN ATELIER โดยคุณอินทนนท์ จันทร์ทิพย์ เจ้าของ: คุณพล – คุณอภิญญา ศรีพงศ์เพา บ้านที่จะเป็นพื้นที่ของทุกๆคน บ้าน Neoclassical หลังนี้เป็นบ้านที่สร้างขึ้นมาใหม่บนที่ดินเดิมด้วยความที่บ้านเดิมนั้นเริ่มมีการทรุดตัว ประกอบกับการที่เป็นหมู่บ้านจัดสรรค์มาก่อน การจะหาแบบแปลนของบ้านเพื่อทำการรีโนเวทจึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก และด้วยความต้องการที่เปลี่ยนไป คุณต้อง และคุณเชอร์รี่ (คุณพล – คุณอภิญญา ศรีพงศ์เพา) จึงตัดสินใจทุบบ้านหลังเดิมทิ้งและสร้างใหม่ขึ้นมาตั้งแต่ต้นแทน เมื่อเป็นบ้านที่เริ่มต้นจากหนึ่งใหม่แล้ว สิ่งแรกที่ถูกตั้งเป็นโจทย์จึงเป็นเรื่องของการใช้งาน บ้านหลังนี้ตั้งใจให้สามารถเป็นที่รวมญาติๆ พ่อแม่ พี่น้อง และเด็กๆได้ในทุกเทศกาล(หรือไม่ใช่เทศกาลก็ตาม) เพราะการใช้เวลาร่วมกันของครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้อง และคุณเชอร์รี่ให้ความสำคัญ การออกแบบพื้นที่ที่สามารถรองรับจำนวนสมาชิกที่มากไปกว่าครอบครัวของคุณต้องเองจึงเป็นสิ่งที่ถูกหยิบขึ้นมาคิด ภายในบ้านหลังนี้นั้นจะต้องมีพื้นที่ที่ทุกๆคนจะได้ใช้เวลาร่วมกัน และในขณะเดียวกันก็ต้องมีพื้นที่ส่วนตัวให้ทุกๆคนสามารถอยู่กับสิ่งที่ชอบของตัวเองได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเราจะเห็นได้จากการวางผังและแบ่งพื้นที่ในแต่ละชั้นของบ้านหลังนี้ อย่างที่สองคือความชื่นชอบในศิลปะ และแฟชั่นของคุณต้องและคุณเชอร์รี่ เมื่อจะเริ่มทำบ้านหลังใหม่ รูปแบบของบ้านจึงต้องตอบโจทย์และตอบใจของเจ้าของบ้านด้วยนั่นเอง ซึ่งในที่สุดก็กลายออกมาเป็นสไตล์ Neoclassical ที่เจือกลิ่นอาย Modern และแฝงอารมณ์ Street Art […]

โฉนดที่ดิน มีกี่ประเภท ครุฑแดง/ครุฑเขียว/ครุฑดำ/ส.ป.ก. และอื่นๆ

โฉนดที่ดิน ทั้งแบบที่มีตราครุฑแดง ครุฑดำ หรือครุฑเขียว รวมทั้งโฉนดแบบอื่นๆ แตกต่างกันอย่างไร มีข้อควรระวังในการซื้อขายโอนสิทธิ์อย่างไร

6 Ideas for XS Cafe Design ไอเดียออกแบบคาเฟ่ขนาดเล็กสไตล์รูม

สำหรับบ้านและสวนแฟร์ Select 2021 ณ ไบเทคบางนาในครั้งนี้ room มาพร้อมกับคาเฟ่ไซซ์เล็กแต่สเป็คดี The Moustache Coffee ที่ได้มาเปิดร้านอยู่ใน room Showcase ส่วนนิทรรศการของเรา การออกแบบร้านกาแฟขนาดเล็กนั้นเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ด้วยว่าทำเลได้ง่าย และลงทุนไม่มาก จึงเหมาะกับผู้ที่สนใจเริ่มธุรกิจกาแฟ และคาเฟ่แต่ยังกล้า ๆ กลัว ๆ อยากที่จะลองเชิงดูก่อน และนี่คือ 6 ไอเดียในการออกแบบและเลือกสรรแนวทางการทำร้านกาแฟขนาดเล็กที่ The Moustache Coffee ได้นำมาบอกเล่าแก่เรา IDEA 1 : พื้นที่ไม่ใหญ่ ใช้แต่ของที่จำเป็น หมดสมัยแล้วกับคาเฟ่ที่ตกแต่งด้วยของกระจุกกระจิก เมื่อเลือกอุปกรณ์มาดีแล้วก็ใช้เหล่าอุปกรณ์กาแฟทั้งหลายนั่นแหละเป็นของตกแต่งไปเสียเลย การออกแบบบาร์ที่ดูคล้ายโต๊ะทดลองทางวิทยาศาสตร์และเหล่าอุปกรณ์ จะสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ร้านได้ แลดูสะอาดสะอ้าน และเห็นชัดในทุกขั้นตอน การออกแบบบาร์ที่เป็นระนาบเดียวจึงเข้ากับแนวทางนี้ได้ดีที่สุด IDEA 2 : ประหยัดพื้นที่ด้วยการใช้งานแนวตั้ง ยืนดื่ม บาร์สูง หรือการออกแบบพื้นที่จัดเก็บของในแนวตั้ง จะช่วยให้ร้านเล็ก ๆ มีพื้นที่การใช้งานที่มากขึ้น มากกว่านั้นการออกแบบให้มีพื้นที่ยืนดื่ม หรือกึ่งนั่งกึ่งยืน นอกจากจะทำให้ร้านดูมีไดนามิกหรือมีชีวิตชีวาแล้ว […]

คุยกับ ANTON NEGODA ชาวรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญบ้านไม้ไผ่ บนเกาะพะงัน

บ้านไม้ไผ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้ไปปลูกสร้างบนเกาะสวย ๆ อย่างพะงันแล้วละก็ เชื่อว่าเป็นฝันของใครหลาย ๆ คนที่รักทะเลเป็นแน่แท้ วันนี้ room ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับชาวรัสเซียที่ลงมือปลูกบ้านไม้ไผ่ด้วยตัวเอง จนกลายเป็นความเชี่ยวชาญในที่สุด บ้านไม้ไผ่ที่ปลูกเองได้ จนถึงวิธีการจัดการไม้ไผ่จะเป็นอย่างไร เลื่อนลงไปอ่านได้เลย Bamboo design : derived from passion “ผมไม่ได้เรียนเรื่องการก่อสร้าง แต่ผมจบด้านการทำอาหารมา ไม่น่าเชื่อว่าตอนนี้ผมกลับหลงใหลในการสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ เรียกว่าตอนนี้ผมปรุงไม้ไผ่แทนอาหารก็แล้วกัน“ Anton Negoda ชายหนุ่มชาวรัสเซีย เปิดบทสนทนากับเราได้น่ารักมาก ๆ เขาเริ่มหลงรักและสนใจในวัสดุไม้ไผ่เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ตอนที่มาเกาะพะงันใหม่ ๆ “ตอนมาถึงที่นี่ครั้งแรก หลังจากเดินทางหลายประเทศในเอเชีย ผมมีความรู้สึกว่าที่นี่เป็นบ้าน รู้สึกอบอุ่น และถูกยอมรับจากพลังงานธรรมชาติบนเกาะ ในช่วงเริ่มแรกผมสนใจในการทำ dome สำหรับ Inipi ( sweat lodge ) ceremony ซึ่งมันคือพิธีกรรมโบราณของชาวอินเดียนแดง เพื่อชำระล้างจิตวิญญาณ กาย ใจ ให้บริสุทธิ์ ด้วยการเข้าไปนั่งในกระโจม หรือโดมที่มีหินร้อนอยู่ข้างใน คล้ายกับการซาวน่า หรือสตรีม ซึ่งรูปแบบของกระโจมก็เป็นตัวแทนของครรภ์มารดา  ซึ่งโครงสร้างของโดม หรือกระโจมนั้น ผมทำจากไม้ไผ่ ซึ่งขนาดที่ใช้ในพิธีกรรมไม่ได้ใหญ่มาก คนเข้าไปได้ประมาณ 10 คน หลังจากนั้นผมก็ทดลองทำขนาดที่ใหญ่ขึ้นในรูปทรงแบบโดมเหมือนเดิม แต่ปิดด้านนอกด้วยใบจาก ซึ่งโปรเจ็กต์แรกที่ทำ ผมสร้าง Play House ในโรงเรียนอนุบาล หลังจากนั้นผมก็ทดลองสร้างในขนาดที่ใหญ่ขึ้น กับรูปแบบการใช้งานที่ต่างออกไป ทั้งในศูนย์วิปัสสนา วัด โรงโยคะ โรงเรียนอนุบาล ไม่ใช่สำหรับ Sweat Lodge เท่านั้น ซึ่งในแต่ละครั้ง มันเหมือนเป็นการทดลอง ใน 2 ปีนี้ผมมีความเข้าใจและค้นพบเทคนิคต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์การลองผิดลองถูกมากขึ้น และที่น่าประทับใจมาก ๆ ก็คือตอนนี้ผมมีลูกทีมถึง 6 คน ที่มาช่วยทำในโปรเจ็กต์ต่าง ๆ ซึ่งคนเหล่านี้ไม่เคยจับงานไม้ไผ่มาก่อนเลย พวกเขาถนัดแต่งานคอนกรีต แต่ว่าตอนนี้พวกเขากลับหลงรัก และได้แรงบันดาลใจในงานไม้ไผ่เหมือนผม” งานไม้ไผ่ช่วงแรกของ Anton ตอนที่เริ่มทำ Sweat Lodge เป็นไม้ไผ่ที่บาง แต่พอเขาขยับขึ้นมาทำงานที่ใหญ่ขึ้น เขาก็เริ่มหาข้อมูลการทำโครงสร้างไม้ไผ่ที่แข็งแรงและทนทาน อีกทั้งยังมีความยั่งยืน ใช้งานได้ยาวนาน ด้วยเทคนิคที่แตกต่างออกไป  “ หลายคนคิดว่างานไม้ไผ่ไม่คงทน เสียหายได้ง่ายจากสภาพอากาศและแมลง เพราะความคิดเหล่านี้ทำให้บ้านไม้ไผ่ไม่เป็นที่นิยม แต่ความจริงแล้วถ้าเราทรีตไม้ไผ่อย่างดี และสร้างถูกหลักการ โครงสร้างไม้ไผ่ก็สามารถอยู่เป็น 100 ปี ได้เช่นกัน  […]

MAYDAY ผู้รังสรรค์ป้ายรถเมล์เปลี่ยนเมือง

ระบบขนส่งสาธารณะเป็นทางเลือกหนึ่งของคนเมืองในการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แต่ระบบขนส่งสาธารณะเหล่านี้ก็มีมากมายหลากรูปแบบ บ่อยครั้งที่การเดินทางเป็นไปได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่างง! จะขึ้นรถไปต่อเรือ หรือหาสายรถเมล์ที่ถูกต้องช่างยากเหลือเกิน MAYDAY ทีมนักออกแบบที่เรียกได้ว่าเป็น “นักสื่อสาร” จึงลุกขึ้นมาทำให้ระบบต่าง ๆ สามารถทำงานเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว ทั้งยังเข้าใจได้ง่ายขึ้นโดยผ่านงานออกแบบ และ room ก็ได้มีโอกาสในการพูดคุยกับพวกเขาถึงมุมมองและวิธีคิดเพื่อให้ระบบขนส่งสาธารณะในประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น MAYDAY นักสื่อสารระบบขนส่งสาธารณะ room : MAYDAY คืออะไร? MAYDAY : “จริง ๆ คนชอบมองว่า เราเป็นนักออกแบบ แต่มากกว่านั้น เราทำเรื่องการพัฒนาสิ่งที่เป็นสาธารณะของสังคมมากกว่า ผ่านการลงพื้นที่ ทำความเข้าใจ เก็บข้อมูล และทำวิจัย จนปลายทางมันออกมาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ “สาธารณะ” ดีขึ้นได้ ในที่นี้พอเป็นป้ายรถประจำทาง จึงเป็นการพัฒนาให้กับ “ระบบขนส่งสาธารณะ” นั่นเอง” ระบบขนส่งสาธารณะแบบเชียงใหม่ room : ล่าสุดที่เห็นป้ายรถประจำทางใหม่ของเชียงใหม่ที่ทาง MAYDAY ได้ไปออกแบบไว้ ส่วนตรงนี้คิดว่า ต่างกับกรุงเทพฯ มากน้อยแค่ไหน MAYDAY : “อย่างในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ […]

วิธีแก้ไขปัญหาเหล็กเส้นคอนกรีตขึ้นสนิม

เหล็กเส้นคอนกรีตขึ้นสนิม อาจดูน่ากลัวสำหรับเจ้าของบ้าน โดยอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ปัญหานี้สามารถจัดการได้ไม่ยากอย่างที่คิด เหล็กเส้นคอนกรีตขึ้นสนิม เกิดขึ้นได้จากสาเหตุที่หลากหลาย โดยปกติแล้ว เหล็กเส้นและเหล็กข้ออ้อยที่ใช้เสริมในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นก็มักจะมีสนิมผิวอยู่บ้าง ซึ่งเชื่อกันว่าจะช่วยให้ปูนยึดเกาะกับเหล็กเสริมโครงสร้างได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง ประเภทของสนิม สนิมผิว สนิมประเภทนี้จะเกาะตามเนื้อเหล็กกล้าที่ยังไม่ได้ถูกเคลือบหรือทำผิว สนิมเหล่านี้มักเป็นผงบางๆเกาะอยู่บนผิวสามารถใช้แปลงทองเหลืองปัดออกได้ไม่ยากนัก สนิมขุม เป็นสนิมที่เกาะกินจนลุกลามเกิดเป็นโพรงสนิมกินลึกเข้าไปในเนื้อเหล็ก สนิมแบบนี้ค่อนข้างอันตรายเพราะเริ่มทำให้เหล็กเสียหายไปเยอะแล้ว แต่ในโครงสร้างเหล็กที่มีความหนาเช่นเหล็ก H Beam หรือเหล็กเส้น เหล็กข้ออ้อยมักจะไม่พบสนิมขุมบ่อยนัก (หากไม่ได้ปล่อยโครงสร้างเปลือยทิ้งเอาไว้เป็น 10-20 ปี แต่ในโครงสร้างเหล็กที่เป็นเหล็กกล่อง หรือเหล็กแบบ Light Guage นั้น หากเกิดสนิมแล้วก็มักจะลุกลามกัดกินจนเสียหายได้อย่างรวดเร็ว เพราะเนื้อเหล็กที่บางเสียหายได้ง่ายนั่นเอง เสาคานระเบิดน่ากลัวหรือไม่? เกิดจากจากอะไร? ฟังดูแล้วเหมือนจะน่ากลัว แต่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยปกติแล้ว การที่เสาหรือคานคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นจะมีอาการแตก ผุ ร่อน กระเทาะออกมา หากสังเกตแล้วไม่ใช่อาการว่าคานหัก หรือเสาหักกลางลำ และเมื่อพื้นที่ด้านบนไม่ได้มีการต่อเติม หรือ มีน้ำหนักที่ทำให้คานและเสาต้องแบกรับมากจนเกินไป ก็อาจจะเกิดจากความชื้นที่เข้าไปทำให้ เหล็กเสริม เกิดสนิมจนดันปูนระเบิดออกมานั่นเอง ส่วนสาเหตที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นก็คือการปริร้าวของคอนกรีตอันเป็นผลให้เกิดความชื้นเข้าไประหว่างเหล็กเสริมและโครงสร้างคอนกรีตนั่นเอง นานวันไปจึงเกิดเป็นสนิม และดันจนโครงสร้างคอนกรีตแตกออกมาจากภายในในที่สุด เพราะฉะนั้นทางแก้จึงเป็นการซ่อมแซมเนื้อคอนกรีต และปิดช่องทางของความชื้นที่จะเข้าไปทำให้เกิดสนิมนั่นเอง เหล็กเส้นคอนกรีตขึ้นสนิม ผุ […]

บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ ที่ถูกตีความใหม่ในแบบ BEAUTBUREAU

บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังนี้ แท้จริงเป็นบ้านโครงสร้างปูนซึ่งออกแบบโดยคุณบี วิทยถาวรวงศ์ โดดเด่นด้วยโครงไม้ที่ล้อมรัดพื้นผิวทั้งหมดที่ด้านบนของบ้านและดูคล้ายโครงฝาปะกนในบ้านไทยพื้นถิ่นดั้งเดิม ด้วยความที่เป็นสถาปนิกและมีความชื่นชอบสถาปัตยกรรมในแบบไทยประยุกต์อยู่เดิม เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำบ้านและออฟฟิศของตัวเอง การตีความบ้านไทยในบริบทปัจจุบันจึงเกิดขึ้น DESIGNER DIRECTORY :ออกแบบ : Beautbureau เจ้าของ : คุณบี วิทยถาวรวงศ์ ก่อนจะมาเป็นบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้หลังนี้ คุณบีเล่าให้ฟังว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นบ้านเดิมที่คุณบีอาศัยอยู่มาตั้งแต่เด็ก จึงมีความคุ้นชินและผูกพันกับบ้านเดิม ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาเมื่อเรียนจบทางด้านสถาปัตยกรรมกลับมาจากต่างประเทศ จึงมีโครงการที่จะสร้างออฟฟิศของตัวเอง บนพื้นที่ของบ้านเดิมที่ทางครอบครัวได้รื้อทิ้งไปแล้ว และได้ขยายโครงการออกมาเป็นบ้านที่่แบ่งออกเป็น 3 ยูนิตอยู่อาศัย และพื้นที่ส่วนกลางที่มีทั้งห้องนั่งเล่น ชาน ระเบียง และสวน สลับจัดวางอยู่บนผังแบบ 9 Square Grid ซึ่งเป็นแบบฝึกหัดที่นักเรียนสถาปัตยกรรมทั่วไปอาจเคยประสบพบเจอเมื่อแรกเรียน “พอเราวางออฟฟิศของเราเป็นก้อนอาคารทางด้านหน้าแล้ว และอีกสามส่วนที่จะกลายเป็นห้องนอนสามห้องแล้ว เราก็เลยเลือกที่จะใช้สวนเข้ามาคั่นกลางระหว่างแต่ละพื้นที่ ชั้นบนก็จะมีชาน คือถึงแม้ว่าจะเป็นครอบครัวเดียวกัน แต่ทุกคนก็น่าจะต้องการพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง แต่ในขณะเดียวกันก็มีชานและพื้นที่นั่งเล่นที่สามารถใช้เวลาร่วมกันได้ ซึ่งในการออกแบบตรงนี้ก็เหมือนเป็นความชอบของเราด้วย เพราะเราชอบที่จะทอนให้ Mass ของอาคารเป็นพื้นที่ย่อยๆไม่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่จนเกินไป เมื่อทำแบบนี้แล้ว การสอดแทรกพื้นที่ว่างให้มีแสงธรรมชาติ ต้นไม้ใบหญ้า และลมพัดผ่านก็จะเกิดขึ้นได้ด้วย” “ถ้าพูดว่าเป็นบ้านของมนุษย์สักคนหนึ่ง โดยเฉพาะคนที่ออกแบบเองได้แล้ว เราว่ามันก็เหมือนกับเป็นแพ็กเกจบางอย่างที่บรรจุความทรงจำหรือ […]

ถ่านไฟฉาย หน้าตาคล้ายๆ แต่ใช้ไม่เหมือนกัน

แบตเตอรี่พกพา ถ่านไฟฉาย ถ่าน Dry Cell ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไร เจ้าอุปกรณ์เก็บประจุไฟฟ้าเล็กๆเหล่านี้ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดในปัจจุบัน ซึ่งถ่านไฟฉายเองก็มีหลากหลายขนาดและชนิดของสารประกอบที่นำมาใช้ในการผลิต ซึ่งบ้านและสวนก็ขอนำมาเสนอในแบบที่มักจะพบกันได้ทั่วไปเป็นขนาดและชนิดที่นิยมใช้กัน ถ่านไฟฉายคืออะไร? ถ่านไฟฉาย เป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่ไม่ใช้สารละลายที่เป็นของเหลว จึงเรียกว่า เซลล์แห้ง (Dry cell) ผู้ที่สร้างเซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดนี้คือ เลอ คังเช George Leclanché ผู้ที่สร้างถ่านไฟฉาย ดังนั้น จึงอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เซลล์เลอคังเช โดยทั่วไปนั้นสำหรับถ่านไฟฉายทั่วไปที่เรียกว่า เซลล์แบบ Zinc Chloride ประกอบด้วยแท่งแกรไฟต์อยู่ตรงกลางเป็นขั้วแคโทดมีอิเล็กโทรไลต์เป็นส่วนผสมของแมงกานีส (IV) ออกไซด์ (MnO2) แอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) ซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) แป้งเปียก ผงคาร์บอน และน้ำคลุกเคล้าอยู่ด้วยกันในลักษณะเป็นอิเล็กโทรไลต์ชื้น สารทั้งหมดบรรจุอยู่ในกล่องสังกะสีอาจหุ้มด้วยกระดาษ แผ่นพลาสติกหรือโลหะสแตนเลส เพื่อป้องกันไม่ให้สารภายในรั่วออกมา ด้านบนของแท่งแกรไฟต์ครอบด้วยโลหะสังกะสีอีกชิ้นหนึ่ง ส่วนด้านล่างมีแผ่นสังกะสีทำหน้าที่เป็นขั้วแอโนด และเมื่อครบขั้นจึงเกิดเป็นพลังงานวิ่งผ่านเซลล์และนำไปใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง ถ่านไฟฉายแบบใช้แล้วทิ้งมีสารประกอบที่เป็นพิษบรรจุอยู่จึงไม่ควรแกะออก ปัจจุบันได้มีความตระหนักถึงปัญหาขยะมีพิษที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก เราจึงควรทิ้งถ่านไฟฉายให้ถูกที่เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีเป็นการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมไปได้ในตัว แบ่งตามขนาด ขนาด LR44 เป็นถ่านกระดุม ให้กำลังไฟ 1.5 V มีส่วนประกอบเป็น Alkaline สามารถใช้ถ่าน SR44 ทดแทนได้ มักใช้ในกล้องถ่ายภาพและเครื่องคิดเลข ขนาด CR2032 […]

รู้จักหน้าตา สกรู โบลต์ นัท อะไรเรียกว่าอะไรกันบ้างนะ?

สกรู โบลต์ นัท เป็นอุปกรณ์สำหรับการยึดเกาะที่เห็นได้บ่อยมากในงานช่าง แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้แตกต่างกันอย่างไร และอาจซื้อผิดได้ สกรู โบลต์ นัท ใช้สำหรับจับยึดแบบชั่วคราว คือสามารถขัน ไข ออกจากกันได้ มีลักษณะเป็นเกลียว เรียกแบบช่างทั่วไปได้ว่าเกลียดละเอียด และเกลียวปล่อย ซึ่งในที่นี้มีการใช้งานแตกต่างกัน บ่อยครั้งที่แม่บ้านถูกวานให้ไปซื้อสกรู โบลต์ หรือ นัท ให้กับพ่อบ้านที่กำลังง่วนซ่อมแซมอุปกรณ์ในบ้านอยู่ แต่ครั้นพอไปถึงร้านก็ไม่แน่ใจว่าที่ขอให้ไปหามานั้นเรียกว่าอะไร วันนี้บ้านและสวนจึงนำตัวอย่าง สกรู โบลต์ นัท แบบต่างๆมานำเสนอให้คุณผู้อ่านได้พอรู้จักกัน อ่าน : มีดทำสวน มีดการเกษตร และการเลือกใช้งานที่เหมาะสม โบลต์ (Bolt) หรือ สลักเกลียว ลักษณะเป็ฯแท่งโลหะมีหัวกลมหรือเหลี่ยมที่เปลาย มีเกลียวสำหรับยืดติดกับนัท(แป้นเกลียว) ส่วนประกอบหลักคือ แกนโบลต์ (Body) เกลียว (Thread) และ หัว (Head)   สกรู (Screw) เป็นโบลต์รูปแบบหนึ่งที่มีขนาดเล็กและหลากหลายตามการใช้งาน มีหัวแตกต่างกันไปทั้งให้เหมาะกับการใช้งาน และเพื่อจำเพาะไว้สำหรับอุปกรณ์ไขเฉพาะทางเท่านั้น เช่นสกรูหัวสามเหลี่ยมสำหรับเครื่องเกม Nintendo เป็นต้น […]

โรงเรียน ที่เน้นเล่นเพื่อเรียน(รู้) Kensington Learning Space

โรงเรียน แนวคิดใหม่ที่ออกแบบโดยบริษัท Plan Architect แห่งนี้ ไม่ใช่เพียงรูปทรงอาคารที่น่าสนใจและแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป แต่เบื้องหลังของรูปทรงที่เกิดขึ้น ล้วนมาจากแนวคิดของการเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ใช้พื้นที่ตามจินตนาการ ค้นหาการรับรู้ใหม่ผ่านพื้นที่ “เล่น” ที่ปลุกเร้าความสนใจ ด้วยรูปทรงอิสระและผนังโค้งที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติ และนี่ก็คือ Kensington Learning Space โรงเรียนสอนพิเศษ ที่เชื่อว่าการเล่นคือ การเรียนรู้ที่ดีที่สุด หรือที่เรียกว่าหลักสูตร Play-based Learning นั่นเอง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Plan Architect “เรียน ผ่าน การเล่น” กับโรงเรียนที่เป็นเหมือนกับโรงเรียนสอนพิเศษ มีกิจกรรมที่หลากหลาย การสร้างทักษะต่าง ๆ รวมถึงการเรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการเล่นเป็นหลัก เพื่อสร้างความรู้สึกให้ผู้เรียน “อยากไปโรงเรียน” เพราะในวัยแรกเรียนรู้เช่นนี้ การสร้างทัศคติที่ดีต่อการเรียนเป็นเรื่องที่สำคัญ ด้วยเหตุนี้เองจึงส่งผลให้พื้นที่ต่าง ๆ ของโรงเรียน ได้รับการออกแบบให้มีบรรยากาศน่าสนใจและไม่จำเจ เหมือนห้องเรียนที่อยู่ในกล่องสี่เหลี่ยมอย่างที่เราทุกคนคุ้นชินเมื่อพูดถึง “โรงเรียน” จาก ห้องสี่เหลี่ยม สู่ อาคารรูปวงกลม สำหรับรูปทรงของอาคารแห่งนี้ ทีมสถาปนิกได้เริ่มต้นจากการกำหนดพื้นที่ใช้งานขึ้นก่อน และแบ่งพื้นที่สีเขียวออกตามขนาดที่ดิน จากนั้นได้มีการเรียบเรียงการเข้าถึงแต่ละพื้นที่ด้วยรูปแบบ Linear ไล่เรียงกันไป ด้วยวิธีการนี้ การเข้าถึงแต่ละพื้นที่ทั้งการใช้งานและธรรมชาติโดยรอบ จึงสามารถทำได้ทั้งสองฝั่งของอาคาร การออกแบบอาคารในรูปแบบ Linear ข้างต้นนั้น […]

ทาวน์เฮาส์รีโนเวท จากร้านของชำ 2 ชั้นบนถนนเจริญนคร ที่ดูร่วมสมัยและใช้งานได้ดี

ทาวน์เฮาส์รีโนเวท หลังนี้มีการจัดการกับพื้นที่และการเข้าถึงคือหัวใจสำคัญของการรีโนเวท เพราะด้วยความที่เป็นร้านของชำติดริมถนน จึงทำให้พื้นที่ส่วนตัวและความเป็นสาธารณะนั้นไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด สถาปนิกจึงเลือกที่จะกำหนดขอบเขตของพื้นที่ขึ้นจากองค์ประกอบภายในบ้านเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของการใช้งานแต่ละพื้นที่ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: OPH Architects อ่าน : F HOUSE บ้านไม้ที่ใช้ม่านแบ่งห้อง และมีหน้าผาจำลองให้เด็กได้ปีนป่าย ประตูบานม้วนเหล็กถูกใช้กำหนดพื้นที่ระหว่างคนเดินถนนกับภายในบ้าน เคาน์เตอร์กระจกและชั้นวางถูกใช้ในการกำหนดขอบเขตของร้านของชำ จากนั้นด้วยภาษาทางสถาปัตยกรรม การคุมโทนสีขาวและพื้นผิวไม้ที่ดูสะอาดตา พื้นที่เหล่านั้นจะกลายเป็นพื้นที่ส่วนตัวไปโดยปริยาย สร้างให้การใช้งานบ้านมีระเบียบและรู้สึกเป็นส่วนตัวมากขึ้น ผนังกระจกและบานกระทุ้งนั้นถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความหลากหลายในการใช้งาน นั่นคือการเปิดและปิดที่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด แต่มากกว่านั้น จากปัญหาที่พบก่อนการรีโนเวทนั่นคือลักษณะที่ค่อนข้างมืดและการระบายอากาศที่ถ่ายเทได้ไม่ดี ด้วยเหตุนี้เองผนังกั้นที่ชั้น 2 ของบ้านจึงถูกรื้อออกและแทนที่ด้วยบานกระจกฝ้าที่สามารถกระจายแสงธรรมชาติสู่พื้นที่กลางบ้านได้ รวมทั้งการใส่บานกระทุ้งก็สร้างให้การถ่ายเทอากาศทั่วทั้งบ้านเป็นไปอย่างมีประสิทธิ เมื่อพูดถึงการรีโนเวท บ่อยครั้งที่เราจะนึกภาพไปถึงการเปลี่ยนโฉมจากรูปแบบเดิมๆของอาคาร แต่สำหรับบ้านหลังนี้ สถาปนิกเลือกที่จะใส่ใจกับความคุ้นชินเดิมๆและแก้ปัญหาในการใช้งานเสียมากกว่า เพื่อให้ภาพลักษณ์เมื่อเสร็จสิ้นแล้วยังคงความเป็นมิตรที่ดูอบอุ่นสำหรับชุมชน ลูกค้า และผู้ที่เดินผ่านไปมาเมื่อเช่นเดิม ไม่ทำให้เกิดความตะขิดตะขวงใจในการเดินเข้ามาซื้อสินค้าในร้านชำ ซึ่งนี่ก็คือความใส่ใจที่มากไปกว่าแค่งานออกแบบที่น่าสนใจในรูปแบบเพียงเท่านั้น ออกแบบ : OPH Architects โดย ไพลิน หงษ์วิทยากร และ กิตติศักดิ์ ศุภคติธรรภาพ : Napat Pattrayanondเรื่อง : Wuthikorn Sut อัพเดตโลกดีไซน์ได้ทุกวันที่ facebook.com/roomfan

ระวังเสียที่ดิน! จากการ ครอบครองปรปักษ์ เกิน 10 ปี

ครอบครองปรปักษ์ ใครที่สนใจในแวดวงอสังหาริมทรัพย์และมีที่ดินที่ต้องดูแลอยู่บ้างน่าจะต้องผ่านหูกันมาบ้าง อันที่จริงแล้วการครอบครองปรปักษ์นั้น สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์