รีโนเวทอพาร์ตเมนต์สู่บรรยากาศ มิดเซนจูรี่โมเดิร์น

ห้องชุดขนาด 2 ห้องนอน ใจกลางเมืองย่านอารีย์แห่งนี้ เป็นพื้นที่เริ่มต้นครอบครัวเล็ก ๆ ของคู่รักต่างชาติหนุ่มสาว พร้อมกับแมวอีกสองตัว ในบรรยากาศ มิดเซนจูรี่โมเดิร์น สไตล์ที่ได้รับอิทธิพลจากความเคลื่อนไหวด้านศิลปะและการออกแบบในยุค ค.ศ.1950-1960 ซึ่งเจ้าของห้องทั้งคู่ชื่นชอบ งานออกแบบภายใน รับหน้าที่โดย Otello Studio ที่มาช่วยเนรมิตห้องหน้าตามาตรฐานขนาดพื้นที่ใช้สอย 68 ตารางเมตร ให้กลายเป็นพื้นที่ใช้ชีวิตที่มีฟังก์ชันตอบโจทย์และถูกใจผู้อยู่อาศัย ภายใต้แรงบันดาลใจจากสไตล์ มิดเซนจูรี่โมเดิร์น (Mid-Century Modern) หลอมรวมชุดสีพิเศษอย่างสีเขียวไข่กา สีน้ำเงินแกมเขียว และสีเหลืองมัสตาร์ด เข้ากับวัสดุหวาย และไม้ที่ทั้งคู่ชื่นชอบ ความโมเดิร์นแบบยุค 50’s ที่ได้รับการลดทอนความจัดจ้านลง ช่วยให้อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันภายในห้อง ให้สามารถใช้งานอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด กระบวนการทำงานของดีไซเนอร์ นอกเหนือไปจากงานออกแบบพื้นที่ใช้สอยแล้ว ยังต้องออกแบบวิธีการทำงานเพื่อดึงความเป็นตัวตน และรสนิยมของเจ้าของห้องออกมาให้ได้มากที่สุด ด้วยการให้เจ้าของห้องร่วมทำการบ้าน เดินเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่ตัวเองชื่นชอบ ก่อนส่งรูปมาให้ทีมออกแบบทำงานต่อ ซึ่งนับว่าสอดคล้องเป็นอย่างดีกับมู้ดแอนด์โทนที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรก ในส่วนของการจัดสรรฟังก์ชันใช้งานภายในห้อง เริ่มต้นจากการตัดทอนพื้นที่ส่วนที่ไม่จำเป็นออก เพื่อให้สามารถใช้งานพื้นที่โดยรวมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น โดยประเมินจากความต้องการเบื้องต้น เช่น เจ้าของห้องต้องการพื้นที่สำหรับเก็บหนังสือ เก็บรองเท้า และเก็บของสำหรับเตรียมเดินทาง ดังนั้นเพื่อให้มีพื้นที่จัดเก็บที่เพียงพอ พื้นที่ตั้งอ่างอาบน้ำแบบลอยตัวเดิมที่โครงการให้มา ซึ่งไม่ได้ตอบสนองการใช้งานมากนัก […]

Citizen Tea Canteen of Nowhere คาเฟ่ชาไทยในโชว์รูมหัตถกรรม

ตึกแถวในตรอกเล็กซอยน้อยคือวิถีชีวิตอันคุ้นเคยและเปี่ยมเสน่ห์ของย่านเมืองเก่าในกรุงเทพฯ​ เช่นเดียวกันกับที่ “ย่านตลาดน้อย” แม้วันนี้เราจะมีร้านชาเปิดใหม่อย่าง Citizen Tea Canteen of Nowhere เป็นเป้าหมายซึ่งอยู่ไม่ไกลข้างหน้านี้ แต่ก่อนเลี้ยวเข้าร้าน ก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่าสุดปลายตรอกนี้จะมีอะไร และทะลุไปเดินเล่นที่ไหนต่อได้อีกบ้าง ช่วงสองสามปีนี้มานี้ คนรักงานออกแบบรับรองว่าต้องคุ้นเคยกันดีกับชื่อ Citizen of Nowhere แบรนด์หัตถกรรมร่วมสมัยของ คุณศรัณย์ เย็นปัญญา ดีไซเนอร์สุดป็อปแห่ง 56thStudio ผู้มุ่งมั่นปลุกวิญญาณศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาชายขอบที่ถูกลืมเลือนหรือด้อยค่า ให้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันยุคใหม่ และคอลเล็กชั่นหัตถกรรมของเขา ก็คือจุดเริ่มต้นของการเปิดแฟลกชิปสโตร์แห่งใหม่นี้ Citizen Tea Canteen of Nowhere ยังมาพร้อมคาเฟ่ชาไทยสีส้มหน้าตาคุ้นเคย ที่นำเสนอในภาษาใหม่ที่ละเมียดละไมขึ้น  “หลังจากแบรนด์เข้าสู่ปีที่สาม เรามีสินค้าค่อนข้างเยอะขึ้น เลยรู้สึกว่างานหัตถกรรมมันจะน่าสนใจและน่าซื้อมากขึ้นถ้าเราสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าได้มีปฏิสัมพันธ์ เลยเกิดเป็นโชว์รูมที่มีคาเฟ่ในตัว คนจะได้มอง ได้สัมผัส ได้สำรวจข้าวของได้แบบเพลิน ๆ” จากแกนหลักของแบรนด์หัตถกรรมที่ต้องการอุ้มชูวัฒนธรรมชายขอบ สวมเข้ากันพอดีกับคอนเซ็ปต์ของสภากาแฟหรือสภาชาแบบไทย ๆ ซึ่งเป็นเหมือนพื้นที่สำหรับการร่วมวงชวนคนใกล้เคียงมาสังสรรค์ แลกเปลี่ยนบทสนทนาผ่านเครื่องดื่มคาเฟอีนในมือ งานทั้งสองแบบแม้จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันในแง่ของระบบการจัดการ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการ Deconstruction – รื้อ ถอด ประกอบ […]

Wood and Mountain Cabin บ้านกระท่อม โฮมสเตย์กลางธรรมชาติ

ชวนคุณเดินทางไปอาบป่าพร้อมเยี่ยมเยือนโฮมสเตย์ใหม่ใน บ้านกระท่อม หลังน้อยท่ามกลางธรรมชาติที่  Wood and Mountain Cabin อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ของแบรนด์ Wood and Mountain และ If I were a carpenter แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ไทยผู้รักงานไม้และภูมิปัญญาดั้งเดิม พร้อมพูดคุยกับ Sher Maker ทีมสถาปนิกท้องถิ่นที่รักการศึกษาวัสดุ และสถาปัตยกรรมเป็นชีวิตจิตใจ ออกแบบ : Sher Maker บ้านกระท่อม หรือ Cabin คือคีย์เวิร์ดที่เจ้าของโครงการมอบเป็นความคิดตั้งต้น ก่อนที่ทีมสถาปนิกผู้รักในงานไม้จะนำมาพัฒนาต่อยอด ชนิดที่เรียกว่า ‘ได้ทดลองเต็มที่ทุกอย่างกับงานสถาปัตยกรรมประเภทกระท่อม’ ก่อนส่งมอบผลลัพธ์เป็นงานสถาปัตยกรรม ที่ตอบโจทย์ทั้งการใช้งานและใช้ชีวิต แม้จะเป็นงานที่เข้าทางและดูเหมือนง่าย แต่ก็แอบมีรายละเอียดที่ท้าทายอย่างมาก อีกงานหนึ่งของทีมผู้ออกแบบเลยก็ว่าได้ รูปทรง ภายใต้โปรแกรมการทำงานที่ธรรมดา กลับมีรายละเอียดของความไม่ธรรมดาซ่อนอยู่ ซึ่งถูกคิดคำนวณและจัดสรรมาอย่างดี ผ่านการทำความเข้าใจในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมร่วมกันระหว่างสถาปนิกกับเจ้าของ​ “เวลาพูดถึงเคบิน (Cabin) หลายคนมักจะใช้คำว่า Homestay แต่เจ้าของให้คำสำคัญกับเรามาเลยว่า Cabin in the Middle of […]

SOI SQUAD OFFICE รียูสวัสดุก่อสร้างรอบตัวเป็นสำนักพิมพ์ที่เข้ากับบริบท

SOI SQUAD OFFICE สำนักพิมพ์ที่หยิบยก “ชั้นวางของเหล็ก” มาทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดฟังก์ชันและแบ่งสเปซของออฟฟิศได้อย่างลงตัว ตอบโจทย์การใช้งาน

Amornyont รีโนเวทตึกแถว สู่พื้นที่ของครอบครัวและธุรกิจ

หจก.อมรยนต์ จากธุรกิจของครอบครัวที่ก่อตั้งมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ถึงคราวจำเป็นจะต้องย้ายมายังที่ตั้งแห่งใหม่ในย่านหัวลำโพง จึงถือเป็นโอกาสดีที่เจ้าของรุ่นลูกจะได้ รีโนเวทตึกแถว ให้เหมาะสมกับการทำงาน พร้อมกับพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยและใช้ชีวิตของครอบครัวในอาคารพาณิชย์ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ออกแบบ: Lynk Architect โดย คุณณัฐศิษฐ์ วงบุญ โปรเจ็คต์ รีโนเวทตึกแถว แห่งนี้ เกิดขึ้นภายใต้โจทย์ที่มาจากความต้องการอันหลากหลายของเจ้าของ แตกแขนงออกเป็นพื้นที่ขายปลีก พื้นที่คลังสินค้า และพื้นที่พักอาศัย ซึ่งอยู่ในอาคารหลังเดียวกัน ก่อนนำทุกอย่างมาเรียบเรียงใหม่ให้เรียบง่ายตรงไปตรงมา โดยใช้งานดีไซน์เป็นเครื่องมือจัดการทั้งเรื่องฟังก์ชันและความงาม เปลือกอาคารและการเลือกใช้สี จุดโดดเด่นและสะดุดตาที่สุดของอาคารแห่งนี้ คือเปลือกอาคารที่เป็นแผ่นอะลูมิเนียมคอมโพสิตเจาะรูพับเป็นแพตเทิร์น เว้นจังหวะช่องเปิดของอาคารตามฟังก์ชันการใช้งานภายใน ส่วนเหตุผลที่เลือกใช้วัสดุนี้ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดเริ่มต้น ที่ต้องการให้อยู่ในบรรทัดฐานของความเรียบง่ายและใช้งานได้จริง  “เปลือกอาคารเป็นสิ่งหนึ่งที่เราพยายามคิดถึงเรื่องวัสดุ และการตีความทุกอย่างแบบตรงไปตรงมา คำตอบที่ตรงโจทย์ที่สุดก็คือแผ่นอะลูมิเนียมคอมโพสิตเจาะรู ซึ่งมีข้อดีเรื่องน้ำหนักเบาจึงเหมาะกับงานรีโนเวตอาคารเก่า ทั้งยังช่วยในเรื่องการควบคุมปริมาณแสงและความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะพื้นที่ภายในที่ต้องการแสงไม่เท่ากัน ถ้ามองจากด้านในจะเหมือนกับการมองผ่านผ้าม่านโปร่ง แต่คนที่อยู่ภายนอกมองเข้าไปจะทึบหมด ช่วยปกปิดส่วนที่ไม่อยากให้มองเห็น เช่น พื้นที่เก็บสินค้า ส่วนรีเทลก็จะเปิดมากหน่อยเพื่อต้อนรับ และส่วนที่พักอาศัยก็เปิดกลาง ๆ กำลังดี” เพราะแผ่นอะลูมิเนียมมีความแข็งแรงน้อย จึงต้องใช้การพับเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับตัวมันเองให้มากที่สุด แพตเทิร์นที่เลือกใช้ในการพับจึงร้อยเรียงมาจากบริบทของอาคารที่อยู่ในย่าน ไม่ว่าจะเป็นหัวลำโพง หรือเส้นสายของอาคารเพื่อนบ้านให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน แม้จะเกิดใหม่ในยุคสมัยที่แตกต่างกันก็ตาม ส่วนเรื่องการใช้สี แม้สีเขียวเป็นสีหลักของแบรนด์ แต่คุณแบงค์กลับที่จะเลี่ยงใช้สีนี้ แล้วหันไปใช้การจับคู่สีเพื่อมองหาสีอื่นที่จะมาเป็นแบ็กกราวน์ให้กับสีเขียวแทน เพื่อช่วยเน้นอัตลักษณ์ของแบรนด์ให้เด่นชัดยิ่งขึ้น […]

AREE CONDO คอนโดแสนสงบใจกลางป่าคอนกรีต

รีโนเวตคอนโด ใจกลางอารีย์ โดยใช้ ‘ความเงียบสงบ – Tranquility’ มาเป็นแนวความคิดหลักตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบ จนได้ที่พักสุดอบอุ่นเหมือนอยู่โฮมสเตย์

82 District จุดเริ่มของชุมชนครีเอทีฟแห่งใหม่ย่านเจริญกรุง 82

เมื่อสำนักงาน คาเฟ่ ร้านค้า และม็อกเทลบาร์แห่งใหม่ได้สร้างความเคลื่อนไหวล่าสุดให้กับหัวมุมซอยเจริญกรุง 82 ที่นี่จึงได้ชื่อว่า 82 District ย่านใหม่ของชุมชนนักสร้างสรรค์ ที่ดูเหมือนจะมีจุดเริ่มต้นมาจากการขยับขยายสำนักงานใหม่ของ Trimode Studio หนึ่งในสตูดิโอออกแบบแนวหน้าของไทย อาจกล่าวได้ว่า การย้ายสำนักงานมายังอาคารแห่งใหม่ของ Trimode พร้อม ๆ กับการเปิดตัว Tangible ซึ่งเป็นทั้งพื้นที่คาเฟ่ และไลฟ์สไตล์ช็อปในที่เดียวกันคือจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่ช่วยปลุกบรรยากาศของปากซอยเจริญกรุง 82 หรือ 82 District ให้เริ่มคึกคัก ทีมงานจึงอยากต่อยอด พร้อมความตั้งใจที่จะส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ เป็นพื้นที่ใหม่ให้ผู้คนมาเยี่ยมเยือน พร้อมเสพงานดีไซน์ดี ๆ “ตั้งแต่มีร้าน Tangible คนก็เริ่มมาเดินเล่นในซอยกัน เราเลยนึกถึงโมเดลในต่างประเทศ ที่ร้านรวงต่าง ๆ จะช่วยสร้างความเป็นย่าน จึงพยายามดึงงานดีไซน์ หรือศิลปะมาสร้างจุดสนใจให้ย่านนี้” คุณชินภานุ อธิชาบดี หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Trimode Studio เริ่มต้นเล่าให้เราฟังว่าเมื่อผู้เช่าอาคารพาณิชย์ฝั่งตรงข้ามของร้าน Tangible ย้ายออกไปพอดี ทางทีมงานจึงทำการขยับขยายให้ภาพของย่านสร้างสรรค์แห่งนี้ชัดเจนขึ้น โดยปรับเปลี่ยนชั้นล่างของอาคารใหม่แห่งนี้ ให้กลายเป็นงานออกแบบร้านค้าหรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ในแบบที่ Trimode ไม่เคยทำมาก่อน […]

รวม 35 แบบลายเหล็กดัด สวยๆ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้บ้านแบบมีดีไซน์

แบบลายเหล็กดัด ที่ดูซ้ำซากจำเจก็สามารถเปลี่ยนให้กลายเป็นความสนุกสนานที่จะทำให้บ้านคุณดูเก๋และโดดเด่นไม่ซ้ำใคร

ร้านขายยาจีนเก่า ที่ปรับลุคให้ร่วมสมัย Tai Chang Tang Traditional Medicine Clinic

Curtis Chung จาก Dig Design สตูดิโอออกแบบตกแต่งภายในรุ่นใหม่ของไต้หวันได้เข้ามารับหน้าที่ปรับโฉมร้านขายยาจีนในตึกแถวเก่าย่านจงซาน ให้โมเดิร์นเข้ากับยุคสมัย และเป็นมิตรกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น สอดคล้องกับปณิธานของร้านที่จะสืบสานวิชา และตำรับยาโบราณจากบรรพบุรุษ ให้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ส่งต่อสู่คนรุ่นต่อไป เพื่อสร้างบุคลากรที่จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คน ผ่าน Tai Chang Tang ร้านขายยาและคลินิกแพทย์แผนจีนในกรุงไทเป ร้านขายยาจีนเก่า ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ร่วมสมัย กลิ่นเครื่องยาจีนที่อบอวล และตู้ลิ้นชักไม้เก็บสมุนไพรที่รายล้อมดูเหมือนจะเป็นหัวใจหลักซึ่งเชื่อมโยงบรรยากาศวันวานของ Tai Chang Tang ร้านขายยาและคลินิกแพทย์แผนจีนในกรุงไทเป เข้ากับวิถีชีวิตปัจจุบัน แม้ที่นี่จะไม่ใช่โรงพยาบาล แต่ก็เป็นหนึ่งในแหล่งบ่มเพาะศาสตร์และองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งฝังรากลึกในวัฒนธรรมของชาวไต้หวันมาอย่างยาวนาน มาวันนี้ เมื่อผู้ก่อตั้ง Tai Chang Tang ตั้งใจจะวางมือ และส่งต่อกิจการให้กับศิษฎ์ก้นกุฏิ ซึ่งเป็นทีมแพทย์แผนจีนรุ่นใหม่สามคน Curtis Chung จาก Dig Design สตูดิโอออกแบบตกแต่งภายในรุ่นใหม่ของไต้หวันจึงได้เข้ามารับหน้าที่ปรับโฉมร้านขายยาจีนในตึกแถวเก่าย่านจงซาน ให้โมเดิร์นเข้ากับยุคสมัย และเป็นมิตรกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น สอดคล้องกับปณิธานของร้านที่จะสืบสานวิชา และตำรับยาโบราณจากบรรพบุรุษ ให้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ส่งต่อสู่คนรุ่นต่อไป  เพื่อสร้างบุคลากรที่จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คน งานออกแบบปรับปรุงอาคารนี้เกิดขึ้นจากการตีความแนวคิดข้างต้น เพื่อปรับประยุกต์ใช้กับรูปแบบแบบสมัยนิยม พร้อมกับการสอดแทรกสัญลักษณ์ที่มีความหมาย องค์ประกอบต่าง […]

การศึกษาศิลปะ อย่างไร้ขีดจำกัด ในทรรศนะของ ผศ.นันทพล จั่นเงิน

ตั้งแต่ช่วงมีนาคมที่ผ่านมา เราเริ่มเห็นชีวิตชีวาของมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กลับมาอีกครั้ง และอีกสถานที่หนึ่งที่หลายคนตั้งตารอคอยการกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง นั่นคือหอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้การออกแบบและบริหารโดย อาจารย์โอ๊ต – ผศ.นันทพล จั่นเงิน อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ Design Director ของ JUNNARCHITECT เจ้าของ somewhere สเปซน่ารักของชุมชนคนประดิพัทธ์ การศึกษาศิลปะ อย่างไร้ขีดจำกัด ในทรรศนะของ ผศ.นันทพล จั่นเงิน จะเป็นอย่างไร วันนี้เราจึงชวนคุณมาคุยกับอาจารย์โอ๊ตถึงบทบาทหลากหลายที่ทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” เปิดพื้นที่เพื่อเรียนรู้ “บทบาทหลักที่คิดว่าทิ้งไม่ได้ก็เป็นอาจารย์” อาจารย์โอ๊ตรับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนระดับปริญญาตรีและโท ส่วนหลักในรายวิชาอาคารสาธารณะ “เพราะว่าเด็กปีหนึ่งสองจะเริ่มก้าวจากงานออกแบบบ้าน ที่พักอาศัย มาสู่ความเป็นสาธารณะ ส่วนปริญญาโท ก็เน้นเรื่องแนวความคิด แต่ไม่ว่าทั้งปริญญาตรีหรือโทก็ต้องมีเรื่องแนวความคิดนั่นแหละ แค่ว่ากลุ่มคนต่างกัน” และจากบทบาทด้านการศึกษานี่เอง ทำให้อาจารย์โอ๊ตได้รับโอกาสจากทางมหาวิทยาลัย เริ่มจากการเป็นผู้อำนวยการหอศิลป์เป็นเวลา 8 ปี ก่อนจะเดินทางมาสู่ตำแหน่งล่าสุดคือผู้อำนวยการหอสมุดวังท่าพระ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะได้นำเอาความเป็นศิลปะและการออกแบบเข้าไปจับกับห้องสมุดในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ ที่นี่จึงนับเป็นห้องสมุดศิลปะเต็มรูปแบบแห่งแรกของประเทศไทย “จริงๆ ถ้าพูดถึงห้องสมุดศิลปะ ทุกคนอาจจะมองว่าแค่มีหนังสืออาร์ตหรือดีไซน์ ซึ่งพวกเจ้าหน้าที่ก็เข้าใจว่า ศิลปากร วังท่าพระ […]

POWWOWWOW คอมมูนีตี้มอลล์กลางเอกมัย ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกับงานดีไซน์

POWWOWWOW community mall เล็ก ๆ ซ่อนตัวอยู่อยู่กลางเอกมัยกับพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ ร้านกาแฟ และร้านอาหารที่นั่งชิลได้สบายตลอดทั้งวันแม้จะไม่มีเครื่องปรับอากาศ

‘SOMEWHERE’ FOR EVERYONE สเปซที่เชื่อมกาแฟ-ผู้คน-สถานที่

somewhere ประดิพัทธ์ คอมมูนิตี้ที่ประกอบไปด้วยอาคารทรงกล่อง 3 หลัง ซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านกาแฟ F.I.X. Coffee, ร้านไก่คาราเกะ 8 sqm. และออฟฟิศ JUNNARCHITECT

น้อยแต่เนี้ยบในทาวน์เฮ้าส์สไตล์ลอฟท์

ทาวน์เฮ้าส์หลังนี้ได้รับการรีโนเวทใหม่ โดยไม่ยุ่งกับโครงสร้างเดิมเลย แต่ภายในได้กลายมาเป็น ทาวน์เฮ้าส์สไตล์ลอฟท์ ที่โล่ง เรียบ แต่แบ่งพื้นที่เป็นลำดับขั้นตามการใช้งาน ตั้งแต่ประตูหน้าบ้านไปจนสุดรั้วด้านหลังอย่างลงตัว

คุยกับ ญารินดา บุนนาค แห่ง IMAGINARY OBJECTS ผู้ต่อยอดจินตนาการสู่ความสุขในงานสถาปัตยกรรม

ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director แห่ง Imaginary Objects (IO) สตูดิโอออกแบบที่มองถึงผลลัพธ์จากการออกแบบเป็นสำคัญ โดยมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ไร้ขอบเขตเป็นเครื่องมือ

GRAIN คาเฟ่ที่เล่นกับเส้นสายและแสงเงาผ่านอาคารรูปคลื่นซิกแซก

GRAIN คาเฟ่เชียงใหม่ โทนสีขาวหลังเล็กใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ที่โดดเด่นด้วยพื้นผิวเป็นคลื่นรูปซิกแซ็กโดยรอบตัวอาคาร คือจุดเด่นสำคัญที่ทำให้ลูกค้าแวะเวียนเข้ามาเช็คอินที่นี่ไม่ขาดสาย

FLEXIBLE HOUSE บ้านเตรียมโตที่ออกแบบไว้เผื่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

Flexible House คือประเด็นเรื่อง แบบบ้านชั้นเดียว ที่ได้รับการพูดถึงกันมากในยุคที่ที่ดินในเมืองมีขนาดจำกัด กับการใช้งานพื้นที่ของบ้านให้คุ้มค่า อันเป็นโจทย์ท้าทายความคิดสร้างสรรค์ของสถาปนิกเป็นอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับบ้านหลังนี้ที่สถาปนิกได้ออกแบบพื้นที่ใช้สอยของบ้านไว้อย่างเเยบยล เพื่อเตรียมพร้อมสู่การใช้งานขยายในอนาคต DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Studiomake แต่ในขณะเดียวกัน ความหมายของบ้านที่ยืดหยุ่นไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเรื่องของการใช้งานพื้นที่ภายในอย่างคุ้มค่าเท่านั้น แต่สถาปนิกอย่างทีม Studiomake ยังทดลองและค้นหาแนวทางใหม่ ๆ ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบ แบบบ้านชั้นเดียว ไปสู่การออกแบบสร้างสรรค์เรื่องโครงสร้าง เพื่อให้บ้านสามารถพลิกแพลง หรือขยับขยายฟังก์ชันได้ในอนาคต หรือที่เรียกว่า “บ้านเตรียมโต” โดยทำการทดลองกับบ้านของ อาจารย์อำนวยวุฒิ และ รศ.พิศประไพ สาระศาลิน ซึ่งทั้งคู่ถือเป็นคุณตาคุณยายของครอบครัว Studiomake โดยมีทีมสถาปนิกและทีมช่างของออฟฟิศเป็นผู้รับหน้าที่ออกแบบก่อสร้างเองทั้งหมด เพราะเป็นบ้านพักอาศัยชั้นเดียวที่มีฟังก์ชันง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ซึ่งประกอบไปด้วยห้องพื้นฐานทั่วไปอย่าง ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ครัว และส่วนเซอร์วิส โดยการทดลองเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ชั้น 1 ซึ่งใช้เป็นส่วนออฟฟิศ กับการเลือกออกแบบโครงสร้างผนังรับน้ำหนัก รวมถึงการใช้ผนังเบากั้นระหว่างห้อง เผื่อสำหรับการเปลี่ยนแปลงฟังก์ชันพื้นที่ใช้งานภายใน ทั้งยังเผื่อไปถึงการต่อเติมพื้นที่เป็นบ้านสองชั้นในอนาคต โดยได้คำนวณการรับน้ำหนักของโครงสร้างไว้อย่างแข็งแรงทั้งหมดแล้ว อีกส่วนที่บ้านหลังนี้ให้ความสำคัญคือการเชื่อมต่อกับพื้นที่สวนธรรมชาติด้านนอก ด้วยการเปิดด้านยาวของอาคารทั้งหมดออกสู่วิวสวน ผ่านผนังกระจกบานใหญ่ยาวตลอดแนวระเบียง  นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งจุดสำคัญของบ้านนั่นคือ […]

SLURE พื้นที่คลุมเครือ เพื่อแสดงออกถึงตัวตน

สลัว แห่งนี้คือพื้นที่สามชั้นกับ 3 ฟังก์ชั่นที่ทำหน้าที่ต่างกัน แต่มีจุดร่วมอยู่ที่การเป็นสเปซที่สร้างจุดเชื่อมต่อกันระหว่างศิลปะกับธุรกิจเหมือนๆ กัน โดยชั้น 1 เป็นส่วนของร้านกาแฟ “Palam Palam” พื้นที่แห่งชีวิตชีวาที่ต้อนรับผู้คนเข้าสู่สเปซอย่างเป็นมิตร ก่อนขึ้นสู่ชั้น 2 “เงาสว่าง” พื้นที่เปิดกว้างสำหรับกิจกรรมหลากรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแกลเลอรี่ ที่ทำงาน สตูดิโอ หรือห้องสมุด และชั้นบนสุด “แสงสลัว” ที่พักที่เปิดออกสู่บรรยากาศริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

คุยเฟื่องเรื่องฝันกับรชยา วัฒนศิริชัยกุล เจ้าของนามปากกา SHERRAE ผู้วาดฝันผ่านลายเส้นลงในสมุดสเก็ตช์

รชยา วัฒนศิริชัยกุล เจ้าของนามปากกา SHERRAE สถาปนิกสาวผู้ร่างเส้นเป็นความฝันที่จับต้องได้ รังสรรค์สถาปัตยกรรมมากแรงบันดาลใจลงบนสมุดสเก็ตช์