คุยกับสถาปนิก JUN SEKINO เรื่องบ้านโครงสร้างเหล็ก
พูดคุยถึงการเลือกใช้โครงสร้างเหล็กในการออกแบบบ้าน กับ JUN SEKINO สถาปนิกหนุ่มเจ้าของหลากหลายผลงานบ้านโครงสร้างเหล็กสุดโดดเด่น
Junsekino A+D
ที่อยู่ : 189 ซอยพระรามเก้า 41 ถนนเสรี 9 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ : 0-2314 – 2228 Facebook : Junsekino Architect and Design Instagram :junsekinoarchitect Website : www.junsekino.com Email : [email protected]
โรงเรียนบ้านหนองบัว ห้องเรียนพอดีพอดี จาก JUNSEKINO ARCHITECT AND DESIGN
โรงเรียนบ้านหนองบัว 1 ใน 9 โรงเรียนจากโครงการ “ห้องเรียนพอดีพอดี” โดยกลุ่ม Design for Disaster ที่ออกแบบโดย Junsekino Architect and Design เพื่อบรรเทาวิกฤติจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.3 แมกนิจูดที่จังหวัดเชียงรายเมื่อปี 2557
จูน เซคิโน แห่ง JUNSEKINO ARCHITECT AND DESIGN สถาปนิกที่ขอแข่งกันช้าในโลกยุคดิจิทัล
จากนักฟุตบอลยุวชนชุดแชมป์โลก เด็กหลังห้องที่เกือบรีไทร์ กลายมาเป็นหนึ่งสถาปนิกที่โดดเด่นในวงการออกแบบไทย จูน เซกิโน่ แห่ง Junsekino Architect and Design ที่ขอแข่งกันช้าในโลกยุคดิจิตอล
“713 HOUSE”
ช่วงบ้าน “713 HOUSE” เจ้าของ พญ.เนตรนิภา พรหมนารท – คุณธาวิน เรืองสวัสดิ์ ออกแบบ JUN SEKINO Architect and Design
10 แบบบ้านโมเดิร์นชั้นเดียว มีระเบียง /เฉลียง / ชาน สำหรับนั่งเล่นเอกเขนกสบายๆ
แบบบ้านโมเดิร์นชั้นเดียว มีระเบียง / เฉลียง / ชาน ทั้ง 10 หลัง น่าจะเป็นบ้านในฝันของใครหลายคน แต่ละหลังก็มีดีไซน์โมเดิร์นในหลากรูปแบบ
รวม แบบบ้านสองชั้น หลากหลายสไตล์ สวย มีเอกลักษณ์
แบบบ้านสองชั้น ทั้ง 50 หลังนี้ มีดีไซน์ที่แตกต่างกันไป แต่ทุกหลังออกแบบได้อย่างมีเอกลักษณ์ และสามารถอยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย
บ้านและสวน | วันที่ 8 พฤษภาคม 2565 | EP.15
ช่วงบ้าน “บ้านห้อยขา” เจ้าของ : คุณอั๋น – คุณทิพ บุนนาค ออกแบบ : คุณจูน เซคิโน Jun Sekino A+D ออกแบบสวน : Kaizentopia ช่วงสวน “สวนญี่ปุ่นสร้างได้” ออกแบบ : คุณศักดิ์ – คุณลีลาวดี เรืองพร้อม บริษัท สวนลีลา จำกัด ช่วงมุมใหม่ “INFINITY WELLBEING” เจ้าของ : คุณเบ็นจี้ อธิวัฒน์ เพียร์ซ ออกแบบ : Space Popular
35 บ้านสวยยอดฮิตของบ้านและสวนในโลกอนิเมะ
บ้านการ์ตูนอนิเมะ น่าจะเคยเป็นบ้านในฝันของใครหลายคน เราขอนำบ้านสวยยอดนิยมของบ้านและสวนมาแปลงเป็น บ้านการ์ตูนอนิเมะ โดยใช้แอปดังอย่าง Loopsie
5 วิธี รักษาเนื้อเหล็ก ให้ทนทานแข็งแรง ลดการเกิดสนิม
ปัจจุบันนิยมใช้โครงสร้าง เหล็ก เป็นส่วนประกอบของอาคารมากขึ้น เนื่องจากเป็นการทำงาน “ระบบแห้ง” ทำให้การก่อสร้างเสร็จไวกว่า “ระบบเปียก” มีความแข็งแรง ทนต่อแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่าคอนกรีตเสริมเหล็ก ในแง่มุมด้านรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมนั้น เป็นวัสดุที่สามารถออกแบบให้อาคารดูเปรียวบาง ไม่เทอะทะ เรียบ เท่ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ลดการเกิดสนิม ลดการเกิดสนิม แต่ส่วนใหญ่มักมีข้อกังวลใจเรื่อง สนิม โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน บางครั้งหลายคนอาจมองเป็นเรื่องปกติ เพราะเราเห็นเกือบทุกฤดูกาลในชีวิตประจำวัน ซึ่งหากเกิด สนิม ในช่วงแรก จะส่งผลด้านความสวยงามของอาคาร แต่หากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน จนสนิมกินเนื้อเหล็กหายไปมากกว่า 0.7 มิลลิเมตร จะส่งผลกระทบต่อการรับน้ำหนักของอาคารได้ สร้างความเสียหาย หรือความสูญเสียที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารที่อยู่ใกล้ทะเล ดินเค็ม ลดการเกิดสนิม ลดการเกิดสนิม ปัจจัยที่ทำให้เกิดสนิม (rust) ปัจจัยประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกันคือ อากาศ น้ำ หรือความร้อน โดย สนิม ก็คือโลหะที่เปลี่ยนสภาพไปจากเดิมเพราะผิวของเหล็กทำปฏิกิริยาทางเคมีจากปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดสนิมในข้างต้น ผลที่ตามมาที่สำคัญคือทำให้โลหะมีคุณสมบัติแตกต่างไปจากเดิม เช่น สีที่เปลี่ยนไป มีความแข็งแรงลดลง และทำให้เกิดการผุกร่อนของเหล็ก หรือโลหะชนิดอื่น ๆ สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างอาคารโดยรวม ประเภทของสนิม สนิมทั่วไป […]
รวม แบบบ้านชั้นครึ่ง น่ารัก น่าอยู่
10 แบบบ้านชั้นครึ่ง ที่มีการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยเป็นส่วนของชั้นลอย สามารถใช้ประโยชน์ได้เพิ่มขึ้น เราได้รวมบ้านชั้นครึ่งที่น่าอยู่มาฝากกัน
รวม 80 แบบบ้านชั้นเดียว ที่ดีที่สุด สวยที่สุด จากบ้านและสวน
รวม แบบบ้านชั้นเดียว 80 หลัง เพื่อเป็นไอเดียสำหรับผู้ชื่นชอบบ้านรูปแบบนี้ ค่อยๆชมกันไปทีละหลังเลย รับรองว่าดีไซน์สวยงามและอยู่สบาย
รวมฮิต 50 บ้านปูน สร้างง่าย อยู่สบาย ดีไซน์สวย
รวมฮิต แบบบ้านปูนน่าอยู่ ไว้ถึง 50 หลัง มีทั้งบ้านปูนชั้นเดียว บ้านปูนใต้ถุนสูง บ้านปูนกลิ่นอายไทยๆ บ้านปูนอารมณ์ฝรั่ง บ้านปูนแบบลอฟต์ๆ ฯลฯ
ประกาศผลรางวัล 10 บ้านน่าอยู่ประจำปี 2565
เป็นประจำทุกปีที่นิตยสารบ้านและสวนจะมอบรางวัลให้แก่บ้านที่มีการออกแบบได้เป็นที่ประทับใจสำหรับผลรางวัล 10 บ้านน่าอยู่ประจำปี 2565 มีดังนี้
แก่นและแกนของความเป็นไทยในความคิดของ จูน เซคิโน
ร่วมพูดคุยหัวข้อ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณจูน เซคิโน สื่อด้วยผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ซึ่งเกิดจากการประกอบกันของไม้ขนาดเล็กเป็นโครงสร้างอย่างประณีต แต่เมื่อมองในองศาที่ต่าง แสงตกกระทบที่เปลี่ยนก็จะได้ภาพที่ต่างออกไป นั่นคือ คำตอบที่ชัดเจนที่สุดของ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณจูน เซคิโน ผู้ก่อตั้ง Junsekino A+D สถาปนิกผู้ดึงคนรอบข้างที่เร่งรีบให้เดินช้าลง และพินิจกับความคิดให้มากขึ้น ช่วงเริ่มต้นการเป็นสถาปนิก บ้านในไทยมีกระแสนิยมอย่างไร ช่วงนั้นประมาณ 20 ปีก่อน กระแสบ้านสไตล์โอเรียนทัลและทรอปิคัลจะพูดถึงกันบ่อย สมัยนั้นบ้านจัดสรรโครงการต่างๆ จะทำกันมาเป็นรูปแบบซ้ำๆ ตามความคุ้นเคย แต่ยังไม่ได้ปรากฏเป็นรูปแบบที่ชัดเจน จนคนเริ่มอยากมีบ้านเดี่ยวของตัวเอง ความต้องการก็ชัดเจนขึ้น จึงจ้างสถาปนิกเพื่อช่วยนำทาง และจัดการความต้องการบ้านในแบบของเขาให้เป็นจริงขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยแกนหลัก 3 ส่วน คือ การใช้วัสดุ รูปแบบงานสถาปัตยกรรม และความต้องการของลูกค้า ความนิยมในการสร้างบ้านปัจจุบันเป็นอย่างไร จากลูกค้าที่เข้ามา ปัจจุบันคนต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ความจำเพาะเจาะจงมากขึ้น ชอบความไม่เหมือนใคร ถ้าเปรียบเป็นอาหารก็ไม่ใช่ภัตตาคารหรู แต่คือ Chef Table […]
บ้านไม้อบอุ่น ชวนห้อยขาล้อมคอร์ตสีเขียว
บ้านไม้อบอุ่น อาจเป็นโจทย์ที่กว้าง ผลลัพธ์สุดท้ายอาจต่างจากบ้านทรงจั่วที่หลายคนคิดไว้แต่แรก และบ้านโมเดิร์นทรอปิคัลกลิ่นอายไทยๆ หลังนี้ ก็เช่นกัน ซึ่งสุดท้ายความสุขคือการกลิ้งตัวนั่งเล่นบนชานบ้านแห่งความสบายใจ เริ่มจากบ้านทรงจั่วสองชั้นที่เรียบง่าย ทำเลของบ้านหลังนี้อยู่ชานเมืองย่านฝั่งธนบุรี เป็นที่ดินเปล่าของครอบครัว เมื่อทางคุณอั๋นและคุณทิพ บุนนาค ต้องการสร้างบ้านใหม่ จึงมองหาสถาปนิกที่ชอบจากการติดตามผลงานที่ผ่านมา จนได้คุยกับ คุณจูน เซคิโนในตอนแรกคุณทิพย์อยากได้บ้านทรงจั่วสองชั้น ดูอบอุ่นเหมือนบ้านเก่าสมัยก่อน ไม่ได้มีความซับซ้อนหรือความต้องการอะไรมากนัก แต่หลังจากพูดคุยกันได้สักพัก คุณจูนก็เริ่มนำเสนอบ้านชั้นเดียวที่มีสวนคอร์ตยาร์ดตรงกลางให้ อยู่แบบพอดีในบ้านชั้นเดียวแสนอบอุ่น สถาปนิกมีเหตุผลในการออกแบบครั้งนี้ว่า พื้นที่จริงค่อนข้างใหญ่ และจากโจทย์การใช้งานของเจ้าของบ้านที่มีแค่สองคน จึงคิดว่าการทำบ้านชั้นเดียวน่าจะเพียงพอ ดังนั้นแนวคิดการใช้ชีวิตในบ้านแบบบ้านสมัยก่อน เช่น การนั่งเล่น การพักผ่อนหย่อนใจ จึงถูกตีความใหม่กลายเป็นชานบ้านขนาดใหญ่รับกับพื้นที่สวนสีเขียว ชานบ้านแบบลำลองด้านหลังอยู่ติดกับคลองขนาดเล็กที่กั้นหมู่บ้าน บริเวณนี้ทำชายคายื่นยาว รวมไปถึงการใช้วัสดุอย่างไม้ให้รับกับโครงบ้านสีขาว ทำให้รู้สึกเหมือนนั่งเล่นอยู่ในคาเฟ่แบบญี่ปุ่นหรือไต้หวันที่แฝงไว้ซึ่งความเรียบง่ายแบบมินิมัล สวนที่ต้นไม้ไม่ต้องเยอะ แต่ใช้งานได้จริง คอร์ตยาร์ดกลางบ้านทำหน้าที่เป็นจุดศูนย์กลางของบ้าน ทุกห้องสามารถรับวิวความสดชื่นได้ โดยการวางผังการใช้งานเป็นรูปตัวแอล (L) ล้อมไว้ ตรงกลางปลูกต้นบุนนาคเป็นไม้ประธาน เนื่องจากเป็นนามสกุลของเจ้าของบ้าน ถือเป็นไม้มงคลน่าปลูกและให้ร่มเงาได้ดี บริเวณนี้ปลูกต้นไม้ไม่ต้องเยอะ เน้นดูแลง่าย พื้นปลูกสะระแหน่ประดับโดยรอบ สวนนี้ออกแบบโดย Kaizentopia และกลายเป็นจุดนั่งเล่นของบ้าน จะนั่งบนชาน หรือนั่งห้อยขาแบบศาลาริมคลองก็ได้ขณะที่สวนด้านหลังที่ติดคลอง ทำรั้วเป็นตะแกรงช่วยบังตาและกรองแดด มีชานบ้านรับสวนส่วนนี้เช่นกัน […]
10 บ้านสวย น่าอยู่ที่มียอดเข้าชมสูงสุด ประจำปี 2021
ประกาศ 10 บ้านสวย น่าอยู่ ที่มียอดเข้าชมสูงสุดในเว็บไซต์บ้านและสวน และก็ไม่ผิดจากที่คาด เมื่อเหล่าบ้านไม้พาเหรดเข้ามายึดครองความนิยม
10 บ้านน่าอยู่ประจำปี 2564
เป็นประจำทุกปีที่นิตยสารบ้านและสวนจะมอบรางวัล 10 บ้านน่าอยู่ ที่มีการออกแบบได้เป็นที่ประทับใจกองบรรณาธิการนิตยสารบ้านและสวน สำนักพิมพ์บ้านและสวน และ room ซึ่งในปี 2564 นี้ ก็ถือเป็นครั้งแรกที่เราจะมีการมอบรางวัลย่อยให้แก่บ้านแต่ละหลัง โดยทั้งเจ้าของบ้านและผู้ออกแบบจะได้รับโล่รางวัลที่นิตยสารบ้านและสวนตั้งใจจัดทำขึ้นเป็นพิเศษ โดยร่วมงานกับสตูดิโอ Bope ในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการนำเศษขยะพลาสติกเหลือทิ้งมาผ่านกระบวนการ Upcycle สร้างคุณค่าใหม่ให้กลายเป็นโล่รางวัลสีสวยภายใต้รูปสัญลักษณ์ของบ้านที่เรียบง่ายและสวยงามอยู่บนฐานไม้ที่ดูอบอุ่น อ่านต่อ >> เบื้องหลังการทำโล่รางวัล 10 บ้านน่าอยู่ 10 สวนสวยประจำปี 2564 ไปชมกันเลยว่ามีบ้านหลังไหน และได้รับรางวัลอะไรกันบ้าง 1. บ้านไม้แบบไทยๆ กลิ่นอายโมเดิร์นของป๊อด – ธนชัย อุชชิน เจ้าของ: คุณธนชัย อุชชิน สถาปนิก: Erix Design Concepts โดยคุณณัฐภาคย์ พัฒนาพรหมชัย บ้านหลังนี้ได้รับรางวัลอยู่อย่างไทย แม้อาจบอกไม่ได้ว่าองค์ประกอบส่วนใดของบ้านที่แสดงตัวตนของลักษณะไทย แต่เมื่อเข้าไปสัมผัสสเปซ วิถีชีวิต และแก่นความคิด จะรู้สึกถึงกลิ่นอายแบบบ้านไม้ไทยๆที่ออกแบบตามบริบทพื้นถิ่น อยู่ร่วมกับธรรมชาติ ใช้เส้นสายที่เรียบง่ายเข้ากับยุคสมัย เสมือนเป็นศาลาโล่งซึ่งอยู่กับธรรมชาติรายรอบอย่างเป็นมิตร จนคุณป๊อดเปรียบว่าคล้ายศาลาวัด และตั้งชื่อบ้านว่า “วิลล่าสติ” […]