วิธีปลูกเฟินสาย หรือ ฮูเปอร์เซียจากมืออาชีพ ต้นไม้แขวนฟอร์มสวยที่น่ามาปลูกในบ้าน

สวนโพธิ์เสด็จพันธุ์ไม้ จังหวัดนครศรีธรรมราช คือแหล่ง “ฮูเปอร์เซีย”(Huperzia) หรือ “ไม้สาย”(นิยมเรียกในชื่อ“เฟินสาย”) แหล่งใหญ่ที่สุดในภาคใต้ นอกจากจุดเด่นเรื่องสายพันธุ์ที่สวยงามแปลกตาแล้ว ที่นี่ยังมีการเพาะขยายพันธุ์เองจนมีลูกไม้สวยๆมากมาย ภายในโรงเรือนอันแสนสะอาดสะอ้านบนพื้นที่ไร่ครึ่งจึงเต็มไปด้วยฮูเปอร์เซียกว่า 30 สายพันธุ์ ซึ่งเกิดจากความตั้งใจของพี่ยงค์ – พยงค์ และ พี่เอ๋ – จิตทิมา  มาศบํารุง เจ้าของสวนที่อาศัยใจรักล้วนๆจนเนิร์สเซอรี่แห่งนี้เต็มไปด้วยต้นไม้สวยๆอย่างที่เห็น มาพบกับเคล็ดลับวิธีปลูกเฟินสายจากมืออาชีพกัน ในวันที่เราไปถ่ายทําเป็นจังหวะเวลาเดียวกับที่พี่ยงค์นําต้นไม้ขึ้นมาขายที่งานเฟินในกรุงเทพฯ พี่เอ๋จึงรับหน้าที่อธิบายเรื่องราวต่างๆในสวนแห่งนี้ โดยมีน้องเวฟ – เด็กชายศรัณยู  มาศบํารุง ลูกชายวัย 9 ขวบของทั้งสองเป็นผู้ช่วยหยิบจับต้นไม้ต่างๆ อย่างแข็งขัน พี่เอ๋บอกว่าจุดเริ่มต้นครั้งแรกคือตอนตั้งครรภ์น้องเวฟ ช่วงนั้นเธอเริ่มเบื่อกรุงเทพฯ ประกอบกับอยากให้ลูกได้เติบโตกับธรรมชาติ เมื่อขายบ้านที่กรุงเทพฯได้จึงตัดสินใจย้ายกลับมาอยู่ที่นครศรีธรรมราชบ้านเกิดของพี่ยงค์ โดยที่อาชีพเดิมของทั้งคู่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานด้านต้นไม้เลยพี่ยงค์เคยเป็นวิศวกรไฟฟ้า ส่วนพี่เอ๋เป็นเซลส์ขายคอมพิวเตอร์ แต่อาศัยว่ามีใจรักจึงเริ่มจากเปิดร้านขายต้นไม้ก่อน โดยลองรับมาจากแหล่งต่างๆ “เริ่มแรกรับไม้ประดับพวกกุหลาบและกล้วยไม้มาขาย แต่เจออุปสรรคคือพอมันหมดดอกแล้วขายไม่ได้ ฉีดปุ๋ยก็แล้ว เลยลองเสิร์จในอินเทอร์เน็ตว่าที่ใต้มีต้นอะไรพอจะขายได้ ก็เริ่มจากกล้วยไม้ป่าทางใต้จะมีตระกูลสิงโตเยอะ ลองมาทํา พอได้ฝักก็ส่งแล็บ โพสต์ขายในอินเทอร์เน็ตบ้าง กลุ่มที่รู้จักกันทางออนไลน์จะเรียกพี่ว่าเป็น ‘เจ้าแม่สิงโต’ พอตอนหลังพี่ยงค์ลองเอาพวกไม้สายมาเลี้ยง แต่เราไม่รู้หรอกว่าจะเลี้ยงอย่างไร ก็ลองๆ เลี้ยงดู มีตายบ้าง […]

10 เฟินใบสวย ปลูกเลี้ยงง่าย อึด ถึก ทน

เฟินเป็นไม้ใบประดับที่หลายคนมักล้มเลิกความตั้งใจในการปลูกเลี้ยงเพราะเข้าใจว่าเป็นพรรณไม้ที่บอบบาง อ่อนแอ และเลี้ยงยาก แต่เมื่อได้ศึกษา…

โลกทึ่ง “เฟินก้านดํา” หลายชนิด พบเพียงที่เดียวในโลก คือที่ประเทศไทย

รู้หรือไม่ว่ามีเฟินก้านดําหลายชนิดที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นพืชถิ่นเดียวหรือพืชเฉพาะถิ่น(EndemicPlants) ซึ่งพบเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น โดยพบขึ้นและแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติบนพื้นที่ที่มีลักษณะจํากัดทางระบบนิเวศ เช่น บนเกาะ ยอดเขา หน้าผาของภูเขาหินปูน แอ่งพรุ ฯลฯ ซึ่งถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมีสภาพจํากัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเฉพาะที่ ค้นพบเฟินก้านดำ เฟินเป็นไม้ใบประดับอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงในเมืองไทยมานานแล้ว โดยเฉพาะเฟินสกุลก้านดํา(Adiantum) ซึ่งก้านใบมีสีดําเป็นมันเงา แผ่นใบแลดูบอบบางพลิ้วไหว แถมยังมีเสน่ห์ตรงใบอ่อนมีสีสวย จนมีการนําเฟินป่าหลายชนิดมาปลูกเป็นไม้ประดับ และมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อคัดเลือกเฟินต้นใหม่ที่สวยงามมากขึ้นเรื่อยๆ รู้จักกับเฟินก้านดําถิ่นเดียวของไทย ซึ่งมีการนํามาทดสอบปลูกเพื่อการอนุรักษ์ หลายชนิดพบขึ้นเฉพาะบนภูเขาหินปูนหรือดินที่สลายมาจากหินปูน เช่น ก้านดําใบบาง ก้านดําคลองพนม ก้านดําทุ่งสง และก้านดําทองแถม โดยแต่ละชนิดมีความสวยงามแตกต่างกันไป ก้านดําทองแถม (A.thongthamii Suk-sathan) เฟินขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนก1ชั้น แผ่นใบรูปขอบขนาน ใบย่อยรูปพัดเกือบกลม ปลายใบมน ขอบหยักเป็นพู เนื้อใบหนาคล้ายหนัง มีขนสีเทาเงินปกคลุมหนาแน่นทั้งด้านบนและด้านล่าง พบที่เกาะช้าง จังหวัดตราด โดยขึ้นตามซอกหินบริเวณกลางแจ้งในป่าดิบแล้งบนภูเขา ก้านดําคลองพนม (A. phanomensis S.Linds & D.J.Middleton) เฟินขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนก1ชั้น แผ่นใบรูปขอบขนาน ใบย่อยรูปพัด ขอบใบด้านบนหยักเป็นพูตื้น ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสั้นนุ่มหนาสีน้ําตาลถึงเทา พบที่อุทยานแห่งชาติคลองพนมและอุทยานแห่งชาติเขาสก […]

เฟิน All about Ferns รวมชนิดและพันธุ์ปลูกสำหรับคนรักเฟิน

หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาตามหลักทางวิชาการของพืชกลุ่มเฟินและไลโคไฟต์ ได้แก่ ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจหลักการจัดจำแนก ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและวงจรชีวิต ข้อมูลด้านพืชสวนเกี่ยวกับการปลูกเลี้ยง การขยายพันธุ์ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สนใจพืชกลุ่มนี้สามารถปลูกเลี้ยงได้ประสบความสำเร็จมากขึ้น และส่วนสุดท้ายรวบรวมชนิดและพันธุ์ปลูก โดยจำแนกตามกลุ่มทางอนุกรมวิธาน พร้อมข้อมูลลักษณะประจำวงศ์และสกุลที่สำคัญ มีภาพชนิดและพันธุ์ปลูกต่าง ๆ ที่พบได้บ่อยในตลาดไม้ประดับ รวมถึงสอดแทรกชนิดที่น่าสนใจที่พบในธรรมชาติทั้งของไทยและต่างประเทศ มากกว่า 350 ชนิดและพันธุ์ปลูก ผู้เขียน : ผศ.ดร. ทัศไนย จารุวัฒนพันธ์ บาร์โค้ด : 9786161838102 ราคา : 395 บาท

เฟินสไบนาง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Nephrolepid sp. วงศ์: Lomariopsidaceae ประเภท: เฟินดิน ลำต้น: ลำต้นเป็นเหง้าสั้น ตั้งตรงหรือเอน มีเกล็ดหรือขนสีน้ำตาลปกคลุม รากเป็นเส้นยาว ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน ใบ: ใบประกอบแบบขนนกยาวได้ถึง 3 เมตร ใบย่อยรูปแถบ มีจำนวนมากถึง 100 คู่ ปลายใบเรียวมนถึงแหลม โคนป้าน ขอบจักฟันเลื่อยตื้น ก้านเรียวเล็ก ดูอ่อนช้อยมากกว่าเฟินใบมะขามชนิดเดิมที่จำหน่ายกันในตลาด กลุ่มอับสปอร์: รูปกลม อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลางถึงเร็ว ดิน: ชอบวัสดุปลูกระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดเต็มวันถึงรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แบ่งกอ เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้กระถางแขวนให้ใบห้อยตกลงมาจากกระถาง เลี้ยงง่าย ถ้าปลูกเลี้ยงในสภาพแสงแดดจัด ใบจะสั้นลงและมีสีอมเหลือง

เฟินก้านดำบนหินฟองน้ำ งดงามตามธรรมชาติ

หินฟองน้ำเป็นวัสดุตกแต่งสวนเฟินยอดนิยม เพราะมักจะมีมอสส์และเฟินขึ้นปกคลุมดูเป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะเฟินก้านดำที่ขึ้นง่าย โตไว และชอบขึ้นบนหินฟองน้ำมากเป็นพิเศษ

เฟินก้างปลา

เฟินใบมะขาม/กูดสร้อย/Fishbone Fern/Sword Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Nephrolepid cordifolia (L.) C. Presl วงศ์: Nephrolepidaceae ประเภท: เฟินดิน/ไม้ใบ ลำต้น: ลำต้นเป็นเหง้าสั้น ตั้งตรงหรือเอน มีเกล็ดหรือขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบ: ใบรูปใบหอกแกมรูปแถบ ปลายแหลม โคนสอบ แกนกลางใบด้านบนเป็นร่อง มีเกล็ดเล็กๆ ใบย่อยออกตรงข้ามเป็นคู่และเยื้องกันเล็กน้อย มีจำนวนมากถึง 100 คู่ เรียงถี่ ปลายใบเรียวมนถึงแหลม โคนตัดตรง ขอบจักฟันเลื่อยตื้น ใบบาง กลุ่มอับสปอร์: รูปไต มีเยื่อปิดอับสปอร์ด้านบน อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลางถึงเร็ว ดิน: ชอบเครื่องปลูกโปร่งระบายน้ำดี  แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกกอ ผ่าเหง้า การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกลงแปลง ปลูกเป็นไม้กระถางตั้งและแขวน และปลูกในอาคารได้ดี

เฟินบอสตัน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Nephrolepis exaltata (L.) Schott ‘Bostoniensis’ วงศ์: Lomariopsidaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ความสูง: 40-50 เซนติเมตร ใบ: แผ่โค้งเป็นพุ่มแน่น ยาว 40-60 เซนติเมตร ใบย่อยค่อนข้างบางและเรียบตรง เรียงชิดกันเป็นระเบียบ สีเขียวอ่อน อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี มีอินทรียวัตถุ อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบ ถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง ชอบความชื้นสูง แสงแดด: รำไรถึงค่อนข้างมาก ขยายพันธุ์: แยกกอ การใช้งานและอื่นๆ : นิยมปลูกเป็นไม้กระถางแขวนและใช้จัดสวน ปัจจุบันมีการกลายพันธุ์เป็นรูปแบบอื่นๆ อีกมากมาย

มาเรียนรู้เทคนิคเพาะสปอร์เฟินก้านดำกัน

เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมไม้ประดับหลายชนิดที่ซื้อมาปลูกเลี้ยง ทั้งที่ปลูกลงในกระถางตั้ง กระถางแขวน และปลูกลงดินตกแต่งสวน นานวันเข้ากลับเกิดลูกออกหลานทั้ง ๆ ที่ก็ไม่ได้ลงมือขยายพันธุ์ด้วยตัวเอง

โรงเรือนเฟิน สวรรค์ของคนรักเฟิน

หากใครเป็นคนรักเฟิน ก็คงจะอยากมีสวน หรือ โรงเรือนเฟิน สวย ๆจัดไว้ที่บ้าน ดังเช่นสวนในบ้านหลังนี้ จากหนังสือ Garden and Farm Vol.10 โรงเรือนข้างบ้าน

เฟินก้านดำใบด่าง

Variegated Maidenhair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum raddianum C. Prest ‘Variegatum’ วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มขนาดกลาง ใบ: ก้านใบตั้งตรงขึ้น ใบแผ่ออกเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง ยาว 50-60 เซนติเมตร ใบย่อยขนาดเล็ก แต่ละใบสีเขียวและมีขีดด่างสีขาว ใบอ่อนสีเขียวอ่อน มักจะมีใบไม่สมบูรณ์ เพราะสร้างอาหารได้น้อยกว่าปกติ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง ชอบอากาศเย็น แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์

เฟินยอดนิยมใช้จัดสวน และเทคนิควิธีดูแลให้สมบูรณ์และสวยงาม

เฟิน เป็นต้นไม้คู่สวนที่นิยมปลูกเลี้ยงมานานซึ่งมีหลายสายพันธุ์มาก แต่ 9 ชนิดนี้ที่รวบรวมมานี้เป็น เฟินยอดนิยม ซึ่งพบเห็นได้ในสวนทั่วไปๆ

เฟินก้านดำ ปลูกอย่างไรไม่ให้แห้งตาย

ในสวนของคนที่รักต้นไม้ คาดว่าจะต้องมี “ต้น เฟินก้านดำ ” รวมอยู่ด้วยเป็นแน่ เฟินก้านดำ เพราะเป็นเฟินที่หลายๆคนหลงใหลในความอ่อนช้อยสวยงาม

มาเพาะสปอร์เฟินกัน

เฟินเป็นพืชที่ไม่มีดอก จึงไม่มีผลและเมล็ดไว้ขยายพันธุ์ ธรรมชาติจึงสร้างให้เฟินมีอับสปอร์ (sporangium) อยู่ที่ด้านหลังใบ ซึ่งจะแตกออกและปลดปล่อยสปอร์ที่มีลักษณะคล้ายฝุ่นผงเล็กๆสีน้ำตาลให้ปลิวไปตามลม เมื่อไปตกในบริเวณที่เหมาะสมก็จะเจริญเติบโต เราสามารถ “เพาะสปอร์เฟิน” เหล่านี้ได้ แต่มักไม่ค่อยนิยมทำ เพราะยุ่งยากและใช้เวลานานกว่าต้นจะเติบโตสวยงาม แต่เราก็มีโอกาสได้ต้นกลายพันธุ์ที่อาจเป็นเฟินชนิดใหม่ในโลกก็เป็นได้ ดังนั้นเรามาเพาะสปอร์เฟินกันดีกว่า เตรียมสปอร์เฟินให้พร้อมใช้ Tips สปอร์เฟินแต่ละชนิดมีอายุไม่เท่ากัน บางชนิดเก็บได้นานเป็นปี บางชนิดอายุสั้น ต้องรีบเพาะภายใน 1 – 2 เดือน ควรศึกษาชนิดของเฟินเพิ่มเติม การเพาะสปอร์ Tips วิธีฆ่าเชื้อวัสดุเพาะ คั่ววัสดุปลูกในกระทะให้ร้อน หรือใส่เตาอบนาน 15 – 20 นาที ทิ้งไว้ให้เย็นก่อนนำมาใช้ วัสดุเพาะที่นิยมใช้ ได้แก่ รากเฟินชายผ้าสีดา ดินเหนียวหรือดินสวนที่ฆ่าเชื้อแล้ว การเพาะสปอร์ใช้กับเฟินได้ทุกชนิด หรือใช้กับเฟินที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่นไม่ได้อย่างเฟินหายากต่างๆ เช่น บัวแฉก เฟินชนิดที่แบ่งกอแล้วทำให้รูปทรงต้นไม่สวยงาม เช่น เฟินข้าหลวง เฟินก้านดำบางชนิด เป็นต้น ข้อมูลจากหนังสือ มือใหม่หัดปลูกเฟิน โดยอุไร จิรมงคลการ สงวนสิทธิ์ โดย บมจ.อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง […]

ปลูกเฟินต้องใส่ปุ๋ยหรือไม่

มีหลายคนเข้าใจว่าเฟินขึ้นง่าย โตเร็ว ขอแค่ที่ร่มๆ อากาศชื้นๆ ก็พอ  จริงๆ แล้วธรรมชาติของเฟินก็เหมือนต้นไม้อื่นๆ ที่ต้องการน้ำและธาตุอาหารเพื่อให้ต้นเจริญงอกงาม แต่ก็มีข้อที่แตกต่างตรงที่ เฟินไม่ได้ต้องการปุ๋ยหรือธาตุอาหารมากนัก โดยเฉพาะต้นที่ดูแลดีๆ เปลี่ยนวัสดุปลูกอยู่เสมอ การให้ปุ๋ยเฟินจึงคล้ายกับกล้วยไม้ คือ ให้ทีละน้อย แต่ให้บ่อยๆ   ปุ๋ยแบบไหนที่เฟินชอบ ในตลาดมีปุ๋ยจำหน่ายหลายแบบหลายยี่ห้อ ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ฯลฯ และปุ๋ยเคมี มีทั้งชนิดเม็ด ชนิดน้ำ ซึ่งสามารถใช้กับเฟินแต่ละชนิดได้ดีและขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ปลูกเลี้ยง ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นวัสดุจากธรรมชาติ จึงเหมาะกับพืชทุกชนิดรวมทั้งเฟิน แต่อาจมีวัชพืชหรือเชื้อราติดมา ทำให้ต้นพืชเกิดปัญหา ดังนั้นก่อนใช้งาน ควรตากแดดให้แห้งหรืออบฆ่าเชื้อก่อน ถ้าใช้ปุ๋ยคอกจากมูลหมู ควรหมักทิ้งไว้ให้โซดาไฟที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนมาสลายก่อนนำมาใช้ ในกรณีของปุ๋ยน้ำชีวภาพ ควรเจือจางก่อนนำมาใช้ เพราะมีส่วนผสมของกากน้ำตาล ถ้าใช้แบบเข้มข้นอาจทำให้ใบไหม้ได้ นอกจากนี้ก็มีปุ๋ยอินทรีย์อีกชนิดที่ปลอดภัยกับเฟินก็คือปุ๋ยปลา ซึ่งมีราคาแพงและหายาก ปุ๋ยเคมี ที่นิยมใช้มีหลายแบบ ควรใช้น้อยกว่าที่ระบุไว้บนฉลาก ในกรณีของปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยละลายช้าให้หว่านรอบโคนต้น โดยเว้นระยะห่างจากโคนต้นพอสมควร เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม เฉพาะปุ๋ยละลายช้าจะมีสูตร 3 เดือน 6 เดือน จึงไม่จำเป็นต้องใส่บ่อยๆ ส่วนปุ๋ยเกล็ดละลายช้า […]

เฟินก้านดำ Adiantum

Adiantum นักเขียน: ภัทรา แสงดานุช เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-18-1452-6 พิมพ์ครั้งแรก: สิงหาคม 2559 จำนวน: 176 หน้า ราคา: 495 บาท เฟินก้านดำ เป็นเฟินชนิดหนึ่งของพืชกลุ่มเฟิน พืชไร้ดอกที่ถือเป็นพืชกลุ่มแรกๆ ที่กำเนิดขึ้นในโลก เฟินก้านดำมีลักษณะเด่นอยู่ที่ก้านสีดำอันบอบบาง มีรูปแบบใบที่หลากหลาย ดูอ่อนช้อยสวยงาม และมีชนิดพันธ์ุจำนวนมาก ทั้งที่เป็นพันธุ์แท้และพันธ์ุปลูกที่เกิดจากการผสมข้ามพันธ์ุในธรรมชาติและพัฒนาโดยมนุษย์ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมไว้หลายร้อยชนิด พร้อมแนะนำวิธีปลูกเลี้ยง ขยายพันธ์ุ ตลอดจนการบำรุงดูแลให้เฟินสวยงาม และการนำไปใช้ตกแต่งสวน จากประสบการณ์ของนักปลูกเลี้ยงและสะสมเฟินมืออาชีพ   ”เฟินก้านดำ” ปลูกอย่างไรไม่ให้แห้งตาย  

ปลูกเฟิน

เฟิน เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกประดับสวน โดยเฉพาะบริเวณที่ร่มรำไร ให้บรรยากาศของสวนสไตล์เมืองร้อนที่ดูชุ่มเย็น เฟินที่ใช้เป็นไม้ประดับมีหลายชนิด หลายพันธุ์ ส่วนใหญ่ปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม เลี้ยงง่าย โตเร็ว ขอเพียงเข้าใจลักษณะนิสัยของเฟิน และดูแลอย่างถูกวิธี วัสดุปลูก อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า เฟินที่นิยมใช้เป็นไม้ประดับมีหลายชนิด ทั้งชนิดที่เป็นเฟินดิน เฟินหิน เฟินอิงอาศัย เฟินน้ำ ฯลฯ ซึ่งแต่ละชนิดก็ใช้วัสดุปลูกที่แตกต่างกัน ตามลักษณะการอยู่อาศัยในธรรมชาติ  เฟินดิน คือเฟินที่เจริญเติบโตอยู่บนพื้นป่าที่ชุ่มชื้น มีซากใบไม้ผุทับถมกัน เช่น เฟินก้านดำ เฟินนาคราช เฟินกีบแรด เป็นเฟินที่ใช้ “ดิน” เป็นวัสดุปลูก แต่จะผสมทรายหยาบ ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุ ฯลฯ เพื่อให้เนื้อดินโปร่ง ระบายน้ำและอากาศได้ดี ตามแบบที่เฟินแต่ละพันธุ์ต้องการ Tips สูตรดินปลูกเฟิน โดย รศ.มล.จารุพันธุ์ ทองแถม ดินตะกอนหรือดินร่วน 1 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุ 4 ส่วน […]

ปลูกเฟิน

เฟิน เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกประดับสวน โดยเฉพาะบริเวณที่ร่มรำไร ให้บรรยากาศของสวนสไตล์เมืองร้อนที่ดูชุ่มเย็น เฟินที่ใช้เป็นไม้ประดับมีหลายชนิด หลายพันธุ์ ส่วนใหญ่ปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม เลี้ยงง่าย โตเร็ว ขอเพียงเข้าใจลักษณะนิสัยของเฟิน และดูแลอย่างถูกวิธี วัสดุปลูก อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า เฟินที่นิยมใช้เป็นไม้ประดับมีหลายชนิด ทั้งชนิดที่เป็นเฟินดิน เฟินหิน เฟินอิงอาศัย เฟินน้ำ ฯลฯ ซึ่งแต่ละชนิดก็ใช้วัสดุปลูกที่แตกต่างกัน ตามลักษณะการอยู่อาศัยในธรรมชาติ  เฟินดิน คือเฟินที่เจริญเติบโตอยู่บนพื้นป่าที่ชุ่มชื้น มีซากใบไม้ผุทับถมกัน เช่น เฟินก้านดำ เฟินนาคราช เฟินกีบแรด เป็นเฟินที่ใช้ “ดิน” เป็นวัสดุปลูก แต่จะผสมทรายหยาบ ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุ ฯลฯ เพื่อให้เนื้อดินโปร่ง ระบายน้ำและอากาศได้ดี ตามแบบที่เฟินแต่ละพันธุ์ต้องการ Tips สูตรดินปลูกเฟิน โดย รศ.มล.จารุพันธุ์ ทองแถม ดินตะกอนหรือดินร่วน 1 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุ 4 ส่วน […]