[Live] คุยกับ ยศพล บุญสม และทอม โพธิสิทธิ์ บนต้นแบบสวนสาธารณะลอยน้ำ ในเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ

[Live] คุยกับ ยศพล บุญสม และทอม โพธิสิทธิ์ บนต้นแบบสวนสาธารณะลอยน้ำ ในเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ

กระตุ้นเศรษฐกิจ (ความคิด) เมือง และผู้คน ด้วยทางเดินสีเขียวจากพื้นที่รกร้างไร้ประโยชน์ในกทม.

เดินคุยกับ ยศพล บุญสม ที่ใต้ทางด่วน ซึ่งเขาเป็นผู้ริเริ่มโครงการ “BKK Green Link ทางเชื่อมสีเขียวมหานคร” พลิกโฉมพื้นที่รกร้างกลางกรุงให้น่าเข้ามาใช้งาน ปลอดภัยขึ้น ทั้งยังกระตุ้นให้คนในชุมชนในพื้นที่โดยรอบเข้ามามีส่วนในการดูเเล พัฒนา และกระตุ้นเศรษฐกิจให้แก่ย่านเหล่านั้นไปพร้อมกัน

สวนลอยน้ำ สวนสมมุติทำได้จริงในงาน Bangkok Design Week 2018

ต้นแบบ สวนลอยน้ำ สวนสาธารณะแห่งแรกในเมืองไทยที่เคลื่อนที่ได้ ผลงานการออกแบบของยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิกแห่ง SHMA ส่วนหนึ่งของงาน Bangkok design week 2018

Green Passion and Urban Landscape – ภูมิสถาปนิกกับเมืองน่าอยู่

พูดคุย ค้นหาความหมายของ Passion และทำความรู้จัก คุณยศ – ยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิกคนเก่ง หนึ่งในกรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งบริษัท ฉมา จำกัด

ส่องไอเดีย สวน 15 นาที ทั่วกรุงเทพ แก้ปัญหา มุมอับ รกร้าง แหล่งมั่วสุม

สวน 15 นาที โครงการนำร่องพัฒนาพื้นที่สาธารณะเชื่อมกิจกรรมของชุมชน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ทองหล่อ – เอกมัย การประชันและประนีประนอมในย่านสร้างสรรค์

” ทองหล่อ – เอกมัย เมืองที่มีประวัติศาสตร์ มีเรื่องราว ควรรักษาและพัฒนาให้ร่วมสมัย เพราะไม่เพียงสร้างคุณค่าและความภูมิใจ เอกลักษณ์ยังสร้างมูลค่ามากกว่าสิ่งใหม่ที่ใครๆก็สร้างได้”

LITTLE ISLAND สวนสาธารณะลอยน้ำกลางแม่น้ำฮัดสัน

LITTLE ISLAND สวนสาธารณะลอยน้ำกลางแม่น้ำฮัดสัน ที่ตั้งอยู่บนกระถางคอนกรีตยักษ์จำนวนกว่า 132 กระถางที่เชื่อมกันจนเกิดเป็นสวน พร้อมพันธุ์ไม้นานาพรรณ

โชว์สวนดอกไม้ ณ ป้อมมหากาฬ พื้นที่ที่แลกมาด้วยชุมชนชานกำแพงพระนครแห่งสุดท้าย

ก่อนจะเป็น สวนสาธารณะป้อมมหากาฬ พื้นที่ตรงนี้คือชุมชนป้อมมหากาฬซึ่งเป็น “ชุมชนชานกำแพงพระนคร” ที่เหลืออยู่แห่งสุดท้ายของเกาะรัตนโกสินทร์ ผ่านมากว่า 2 ปีกับการรื้อถอนชุมชนออกเพื่อปรับเป็นสวนสาธารณะอย่างในปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้ทางกรุงเทพมหานครได้จัดงาน “ยลป้อมมหากาฬยามสายัณห์…ในวันดอกไม้บาน” เป็นสวนดอกไม้ในพื้นที่ 4 ไร่ ที่เปิดให้คนกรุงได้ชมเชยระหว่างเวลา 05.00 – 21.00 น. ทุกวัน จนถึงต้นปีหน้ากันเลย สวนสาธารณะป้อมมหากาฬ นอกเหนือจากการไปชมความสวยงามของดอกไม้แล้ว เราควรตระหนักถึงความสำคัญของพื้นที่ทางประวัติศาสตร์แห่งนี้ จึงต้องย้อนกลับไปตั้งคำถามว่า สวนแห่งนี้ได้ทำหน้าที่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ตามที่ กทม.ใช้เป็นเหตุผลในการรื้อชุมชนกลบหน้าประวัติศาสตร์ออกไปหรือไม่ เรามาฟังความคิดเห็นของ ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ สถาปนิกผู้เป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และ คุณยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิกผู้ชำนาญการพัฒนาเมืองและการมีส่วนร่วมของชุมชน ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นสถาปนิกและนักประวัติศาสตร์ผู้ทำวิจัยเรื่องบ้านโบราณในชุมชนมานานก่อนการไล่รื้อครั้งสุดท้าย และเป็นส่วนหนึ่งที่เสนอให้เก็บบ้านเก่าไว้คู่กับวิถีชีวิตชุมชนเพื่อทำให้เป็น “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” ร่วมกับหลายองค์กรภาคสังคม รวมถึงเป็นผู้หนึ่งที่ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมหลายแห่งรอบเกาะรัตนโกสินทร์มาเป็นเวลาไม่น้อย ได้ให้ความคิดเห็นว่า สวนสาธารณะที่ถูกปิดล้อม “ตั้งแต่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬมาเป็นสวนสาธารณะกว่า 2 ปี ตามที่เห็นกัน ถือเป็นสวนสาธารณะที่ล้มเหลวตามที่คาดการณ์ไว้ ด้วยตำแหน่งที่ตั้งและบริบทไม่เหมาะกับการทำเป็นสวนสาธารณะอยู่แล้ว เพราะเป็นพื้นที่ค่อนข้างปิด ขนาบด้วยคลอง และกำแพงเมืองเก่า จึงเข้าถึงพื้นที่ด้านในยาก […]

we!park แพลทฟอร์มที่ชวนให้ทุกคนเป็นเจ้าของสวนในเมือง

we!park องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่เชิญชวนทุกคนมามีส่วนร่วมในการสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวด้วยการหยิบพื้นที่ว่าง หรือยกพื้นที่รกร้างในเมืองกรุงมาพัฒนาให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม เพราะเชื่อว่าพื้นที่สีเขียวเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดว่า เมืองนั้นมีคุณภาพที่ดีหรือไม่?  แล้วจะเป็นอย่างไร ถ้าเราสามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียวขนาดเล็ก หรือ Pocket Garden ได้ในทุก ๆ 400 เมตร โดยแพลตฟอร์มนี้เกิดจาก คุณยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้ง ที่ตั้งข้อสงสัยว่า หากเรามีองค์ความรู้เรื่องการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม และความรู้สึกอยากช่วยเหลือหน่วยงานรัฐในการสร้างสวน หรือพื้นที่สาธารณะ จะต้องมีขั้นตอน และกระบวนการอย่างไร หรือหากองค์กรไหนมีเงินทุนที่สนใจจะสร้างสวนสาธารณะ เขาต้องเดินเข้าไปติดต่อหน่วยงานไหน  นำมาสู่การสร้างสรรค์แพลตฟอร์มเพื่อทำหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ในการเชื่อม “หน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชน” เข้าหากัน โดยปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหลัก wepark “เราทำหน้าที่เป็นกลไกกลางในการเชื่อม เช่น ใครมีที่ดินว่างเอามา เดี๋ยวเราเชื่อมกับหน่วยงานรัฐให้ หานักออกแบบมาให้ หรือใครมีเงินอยากบริจาคเพื่อทำสวน เราก็ดูว่าทางกทม.กำลังมีโครงการแบบนี้อยู่ไหม กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยในการช่วยดึงทรัพยากร โดยเราใช้วิธีการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานคือคุยกับชุมชน คุยกับผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อนำความรู้กลางมาสร้างให้เกิดเป็นรูปธรรมจริง ๆ” เริ่มต้นจากสวนขนาดเล็ก “ตอนนี้เราเน้นขับเคลื่อนการสร้างพื้นที่สวนขนาดเล็ก หรือ Pocket Park […]

เกร็ดจากเวทีเสวนาในงาน TSX กับประเด็น ออกแบบอย่างไรให้ยั่งยืน ยั่งยืนอย่างไรให้เป็นจริง

เกร็ดจากเวทีเสวนา Designer Panel ในหัวข้อ Sustainability Design Cycle ออกแบบอย่างไรให้ยั่งยืน ยั่งยืนอย่างไรให้เป็นจริง ส่วนหนึ่งของงาน TSX ณ สามย่านมิตรทาวน์ หนึ่งในความท้าทายที่สุดของแนวคิดความยั่งยืน คือทำอย่างไรให้ลงมือทำและขับเคลื่อนสังคมได้จริง กิจกรรมเสวนาภายใต้หัวข้อ “Sustainability Design Cycle ออกแบบอย่างไรให้ยั่งยืน ยั่งยืนอย่างไรให้เป็นจริง” ในงาน Thailand Sustainability Expo 2020 ( TSX ) จึงชักชวน 4 นักออกแบบ และ 1 สื่อด้านการออกแบบมาร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งหลายท่านไม่ได้เริ่มต้นงานออกแบบที่ปลายทางเท่านั้น แต่ยังคิดวิเคราะห์เพื่อมุ่งเข้าไปปรับกระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นทาง จนขับเคลื่อนสู่ตลาดและสังคมได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม ใครพลาดไม่ได้มาร่วมฟังเสวนาในหัวข้อ Sustainability Design Cycle ในงานนี้ นี่คือบทสรุปข้อคิดและแนวทางที่ประสบความสำเร็จให้นำไปตั้งคำถามและหาคำตอบกับตัวเองต่อไปว่า จะยั่งยืนอย่างไรให้เป็นจริง ชมย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/tsxofficial/videos/639442543423536/  “ถ้าความยั่งยืนกลายเป็น passion จึงไม่ควรมีผลิตภัณฑ์ไหนที่ไม่ยั่งยืนอีกแล้ว มันควรเป็นเรื่องปกติของการทำงานและใช้ชีวิตจริง ๆ “ศักยภาพของภูมิสถาปนิกไม่ใช่เพียงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เมือง แต่เป็นการเชื่อมผู้คนแต่ละส่วนให้มาเจอกัน นี่แหละคือความยั่งยืนในกระบวนการของเรา” […]

BETTERISM DESIGN TALK งานเสวนาของนักออกแบบเจ้าของแนวคิดที่อยากให้โลกดีขึ้น

กิจกรรม DESIGN TALK กลับมาอีกครั้งในงาน “ บ้านและสวนแฟร์ select 2020 ” วันศุกร์ที่ 21 ถึงอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์นี้ ณ ROOM SHOWCASE เสาเลขที่ 27 ฮอลล์ 9 อิมแพ็ค เมืองทองธานี 

BETTERISM – GOOD DESIGN FOR A BETTER WORLD นิทรรศการผลงานการออกแบบที่มุ่งหมายจะสร้างสรรค์เพื่อโลกที่ดีขึ้น

บู๊ธ room ในงาน บ้านและสวนแฟร์ select 2020 มาในรูปแบบของแกลอรี่นำเสนอนิทรรศการ BETTERISM – Good Design for a Better World จัดแสดงผลงานการออกแบบที่มุ่งหมายจะสร้างสรรค์เพื่อโลกที่ดีขึ้น

THONG-EK CREATIVE NEIGHBORHOOD สำรวจสองฝั่งย่านเพื่อนบ้านสร้างสรรค์ ทองหล่อ-เอกมัย

สำรวจโปรแกรม “ทองเอก” ที่นำชื่อขึ้นต้นของสองย่านเพื่อนบ้านอย่าง ทองหล่อ (ซอยสุขุมวิท 55) และ เอกมัย (ซอยสุขุมวิท 63) เขตวัฒนา มารวมกันให้กลายเป็นชื่อเฉพาะกิจสำหรับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในงาน Bangkok Design Week 2020

7 ข้อสรุปเรื่องฝุ่น PM 2.5 จาก 2 เวทีเสวนาจากต้นเหตุสู่หนทางแก้ปัญหา

ประเด็นในการสัมมานาสาธารณะวิชาการ TGWA ครั้งที่11 ในหัวข้อ “ข้อมูลใหม่-มลพิษอากาศ PM 2.5  ของประเทศไทย : กลไกและแนวทางแก้ไข” ผ่านข้อมูลของนักวิชาการ

THINKK TOGETHER นิทรรศการผลลัพธ์จากการสมรู้ร่วมคิดเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่

Thinkk Together นิทรรศการแห่งการร่วมมือระหว่าง THINKK Studio และเหล่าผู้สมรู้ร่วมคิด เพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดของกันและกัน ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่ง

BANGKOK OBJECTS นิทรรศการสะท้อนความเป็นกรุงเทพฯ ผ่านการ REDESIGN สิ่งของใกล้ตัว

นิทรรศการ Bangkok Object โดยกลุ่มนักออกแบบ DesignPLANT นำ Object ใกล้ตัวที่หลายคนมองเห็นแต่มองข้ามไป กลับมานำเสนอแง่มุมของกรุงเทพฯผ่านการ Redesign โดยไม่จำกัดแนวคิดและรูปแบบ

2017 IFLA Asia-Pacific Regional Congress โดย สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย

บรรดาภูมิสถาปนิก นักออกแบบ รวมถึงผู้ที่สนใจด้านงานภูมิสถาปัตยกรรม ได้มารวมตัวกันที่งานนี้ 2017 IFLA Asia-Pacific Regional Congress การประชุมวิชาการระดับภูมิภาค จัดโดยสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย

ESCAPE KHAO YAI หนีความวุ่นวายสู่อ้อมกอดของขุนเขา

หนีความวุ่นวายมาสู่อ้อมกอดของภูเขาเขียวชอุ่ม ธารน้ำธรรมชาติ และพรรณไม้พื้นถิ่นนานาพรรณ…