พืชพรรณ ผักพื้นบ้าน ในแต่ละท้องถิ่น ถือว่าเป็นเสน่ห์อีกอย่างที่ไม่ว่าแขกไปใคใครมาก็ต้องขอลิ้มลองรสชาติของผักพื้นบ้านดูซักครั้ง ผักแต่ละท้องถิ่นล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งเรื่องกลิ่น เรื่องรสชาติ รวมไปถึงชื่อเรียกก็แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นอีกด้วยค่ะ
ผักพื้นบ้าน แต่ละชนิดนั้นก็สามารถปลูกและหารับประทานได้ง่าย จึงนิยมนำมาประกอบอาหาร ทานคู่กับอาหารพื้นถิ่นหลากหลายเมนู นอกจากจะช่วยเสริมรสชาตินัว ๆ ให้กับอาหารแล้วยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารต่าง ๆ มีทั้งวิตามิน เกลือแร่ และแร่ธาตุ รวมถึงมีสรรพคุณเป็นยาที่จะช่วยให้สุขภาพร่างกายของเราสมบูรณ์แข็งแรงแบบยกกำลังสอง วันนี้ my home จะพาไปชมผักพื้นบ้านแต่ละภาคกันค่ะว่ามีอะไรบ้าง แบบที่เราเรียกกันด้วยภาษากลาง ภาคอื่นเขาเรียกเหมือน หรือต่างกับเรายังไงบ้าง ไปดูกันเลยจ้า
ภาคเหนือ
กอมก้อแดง , กอมก้อดำ (กะเพรา)
– อุดมไปด้วยเบต้า-แคโรทีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก เส้นใยอาหาร และฟอสฟอรัส
– ช่วยป้องกันโรคขาดเลือด ใช้แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และ ลดอาการจุกเสียด
กอมก้อ (โหระพา)
– อุดมไปด้วยเบต้า-แคโรทีน และ วิตตามิน เกลือแร่ เช่น วิตามินเอ,บี 1 , บี 2 , ซี และ แคลเซียม
– ช่วยป้องกันโรคหัวใจและ กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
กอมก้อขาว (แมงลัก)
– อุดมไปด้วยเบต้า-แคโรทีน ธาตุเหล็กและไนอาซีน
– ช่วยในการบำรุงเลือดขับลมในกระเพาะอาหาร และ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์
บะเขือส้ม (มะเขือเทศ)
– ประกอบไปด้วยสารจำพวกไลโคปีน แคโรทีนอยด์เบต้า-แคโรทีน และกรดอะมิโน
– ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่นสดใส ไม่แห้งกร้าน และ เพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย
ป้อมเป้อ (ผักชีฝรั่ง)
– อุดมไปด้วยเบตาแคโรทีน แคลเซียม ธาตุเหล็กกรดออกซาลิกวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ
– ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
ภาคอีสาน
ผักซี (ผักชีลาว)
– ประกอบด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระสารลิโมนีน และ สารฟลาโวนอยด์
– ช่วยหยุดยั้งการเติบโตของเชื้อโรคต่าง ๆ ในร่างกายลดคอเลสเตอรอล และ ทำให้นอนหลับสบาย
บักแค่ง , หมากแค่ง (มะเขือพวง)
– อุดมด้วยเส้นใยอาหาร และ สารเคมีที่สำคัญหลายชนิด เช่น สารเพกติน สารโซลาโซดีน
– ช่วยควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่สมดุลลดระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตสูง
ถั่วพู
– อุดมไปด้วยโปรตีน แคลเซียม และธาตุเหล็ก ให้พลังงานต่ำและมีเส้นใยมาก
– ช่วยลดกรดไขมันประเภทอิ่มตัว และช่วยในการย่อยอาหาร
ผักแค , ผักอีเลิด (ชะพลู)
– อุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินเอและสารเบต้า-แคโรทีน
– ช่วยบำรุงธาตุ ขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยในการขับเสมหะ
ภาคกลาง
ผักโขม
– อุดมไปด้วยแคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม กรดอะมิโน และ วิตตามิน
– ช่วยบำรุงสมอง สายตา เลือด และ ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง
บวบ
– ประกอบด้วยธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส เส้นใยอาหาร และ น้ำ
– ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ขับปัสสาวะแก้ร้อนในทำให้ชุ่มคอ ลดไข้ และบำรุงร่างกาย
แตงกวา
– ประกอบด้วยกากใยอาหาร วิตามินซี กรดคาเฟอิกแมงกานีส และแมกนีเซียม
– ช่วยควบคุมความดันเลือดลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกายและช่วยกักเก็บเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว
มะเขือเปราะ
– อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระสารฟีนอลวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด
– ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
ผักกาดกวางตุ้ง
– ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีนแคลเซียม วิตามินเอ และวิตามินซี
– ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย บำรุงสายตา และ ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
ภาคใต้
ไคร (ตะไคร้)
– อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมาย รวมถึงมีโฟลเลต แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และ แคลเซียม
– มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร ช่วยในการขับเหงื่อ ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
ขี้หมิ้น (ขมิ้นชัน)
– อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน
– ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและรักษาโรคความดันโลหิตสูง
ลูกตอ (สะตอ)
– อุดมไปด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และ วิตามิน
– มีส่วนช่วยบำรุงสายตา ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยลดความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด
ลูกนาว (มะนาว)
– อุดมไปด้วยวิตตามินซีและกรดที่ดีต่อร่างกาย เช่น กรดซิตริค กรดมาลิค และกรดแอสคอร์บิก
– ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ แก้อาเจียน เป็นลมวิงเวียน และ ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดหรือเลือดออกตามไรฟันได้
ดีปลี (พริก)
– บริเวณเยื่อแกนกลางสีขาว มีสารชื่อ “แคปไซซิน” (Capsaicin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้พริกมีความเผ็ดร้อน
– มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย และ มีสาร Endorphin ช่วยให้อารมณ์ดี
ยอดอม (ชะอม)
– อุดมด้วยวิตามินเอ ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และ แคลเซียมสูง
– ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก และ มีส่วนช่วยบำรุงเส้นเอ็น
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผักพื้นบ้านได้ที่ : หนังสือ Garden&Farm vol.5 ผักและสมุนไพรพื้นบ้าน
Story : สริดา จันทร์สมบูรณ์
Style : วรวัฒน์ ตุลยทิพย์
Photo : ณัฐวุฒิ เพ็งคำภู
ภาพประกอบ : หนึ่งนุช คล้ายดอน
อ่านเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติม
ปลูกต้นอ่อน ของผักต่างๆ รับปิดเทอม Summer kids, little green