การยื่นภาษีปี 2560

การยื่นภาษีปี 2560 กับปี 2559 มีความแตกต่างกันอย่างไร

การยื่นภาษีปี 2560
การยื่นภาษีปี 2560

ใกล้จะสิ้นปีแล้ว เตรียมตัวเรื่อง การยื่นภาษีบุคคลธรรมดา กันหรือยังคะ ที่สำคัญรู้หรือเปล่าว่า การยื่นภาษีปี 2560 นี้ทางกรมสรรพากรได้มีการแก้ไขอยู่หลายรายการ ซึ่งแตกต่างจากการยื่นภาษีปี  2559 ที่ผ่านมา หากใครยังไม่ทราบ อ่านรายละเอียดได้ที่นี่เลยจ้า

การยื่นภาษีรายได้บุคคลธรรมดาปี 2559 กับ การยื่นภาษีปี 2560 มีความแตกต่างกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการหักค่าลดหย่อนที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายรายการ ซึ่งส่งผลต่อการคิดคำนวณภาษี และอัตราภาษีที่ต้องชำระ ดังนี้ค่ะ

1. ลดหย่อนค่าใช้จ่าย

เดิม : หักได้ร้อยละ 40  แต่ต้องไม่เกิน  60,000  บาท 

ใหม่ : หักได้ร้อยละ 50  แต่ต้องไม่เกิน  100,000 บาท

2. ลดหย่อนผู้มีเงินได้

เดิม : 30,000 บาท

ใหม่ : 60,000 บาท

3. ลดหย่อน สามี ภริยา (ไม่มีรายได้)

เดิม :  30,000 บาท

ใหม่ : 60,000 บาท

4. ลดหย่อนบุตร

เดิม :  คนละ 15,000 บาท  ลดหย่อนบุตรได้ไม่เกิน 3 คน

ใหม่ : คนละ 30,000บาท ไม่จำกัดจำนวนบุตร  (กรณีบุตรบุญธรรมลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน)

5. ค่าเล่าเรียนบุตร

เดิม :  คนละ 2,000 บาท

ใหม่ : ยกเลิก

6. ค่าลดหย่อน กองมรดก

เดิม :  30,000บาท

ใหม่ : 60,0000บาท

7. ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป  คนละ 30,000 บาท  (ไม่มีการแก้ไข)

8. ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ คนละ 60,000 บาท (ไม่มีการแก้ไข)

9.  ค่าเบี้ยประกันชีวิต (กรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป) ไม่เกิน100,000 บาท  (ไม่มีการแก้ไข)

10. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา  ไม่เกิน 15,000 บาท  (ไม่มีการแก้ไข)

11. *ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 15%ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน  200,000 บาท  (ไม่มีการแก้ไข)

12. *เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  15%ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน  500,000 บาท  (ไม่มีการแก้ไข)

13. *เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)  15%ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท  (ไม่มีการแก้ไข)

14. *เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ  ไม่เกิน 500,000  บาท  (ไม่มีการแก้ไข)

15. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)  15%ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท (ไม่มีการแก้ไข)

16. ดอกเบี้ยกู้ยืมซื้อบ้าน  ไม่เกิน 100,000 บาท  (ไม่มีการแก้ไข)

17. เงินสมทบประกันสังคม เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน  9,000  บาท  (ไม่มีการแก้ไข)

18. เงินบริจาคทุนการศึกษา  ลดหย่อนได้2เท่าแต่ไม่เกินร้อยละ 10  หลังจากหักลดหย่อนแล้ว  (ไม่มีการแก้ไข)

19. บริจาคทั่วไป  เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 หลังจากหักลดหย่อนแล้ว  (ไม่มีการแก้ไข)

* หมายเหตุ ประกันชีวิตแบบบำนาญ เงินสะสมสำรองเลี้ยงชีพ ซื้อหน่วยลงทุนRMF เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ซื้อทุกอย่างรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ที่มาของข้อมูล: พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ.2560

>>วิธีการยื่นภาษี และระยะเวลาการยื่นภาษี<<