มีดอรัญญิก จากเศษเหล็กเหลือใช้…สู่เครื่องมือในบ้านเรือน

          ที่ว่าเศษเหล็กเหลือใช้นั้นต้องบอกก่อนว่าเดิมทีเดียวการตีมีดนั้นจะต้องนำเหล็กจากต่างประเทศเข้ามาใช้และมีราคาแพง มีดอ

รัญญิก

มีดอรัญญิก ครั้นเมื่อปี พ.ศ.2519 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จ ณ ทุ่งมะขามหย่อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมีภาพที่ทรงเกี่ยวข้าวเป็นครั้งแรกก็ที่นี่ เคียวเกี่ยวข้าวที่ทำขึ้นมาถวายในครั้งนั้นก็ได้จากชุมชนบ้านต้นโพธิ์และบ้านไผ่หนองแห่งนี้เป็นผู้จัดทำถวายจึงทำให้ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จมาที่หมู่บ้านแห่งนี้เป็นการส่วนพระองค์โดยไม่มีหมายกำหนดการและเป็นที่มาของการนำเหล็กเก่ามาใช้แทนเหล็กใหม่ เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนการผลิต ว่าแล้วก็ติดตามอ่านเรื่องราวดีๆได้เลยครับ

มีดอรัญญิก

จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีเรื่องราวมากมายหลายเรื่องที่บางครั้งเราก็ไม่รู้ มีหลากหลายเรื่องราวที่ไม่เคยเห็น เคยแต่ได้ยินชื่อเสียง ผมได้ยินคำว่า “มีดอรัญญิก” มานานมากแต่ไม่เคยรู้ว่าอยู่ตรงไหน ปล่อยลืมๆผ่านๆไปจนได้ยินอีกครั้งถึงชื่อเสียงการตีมีดว่าต้องที่ “อรัญญิก” เท่านั้น จึงทำให้อยากลองมาเยี่ยมชมด้วยตาตัวเองสักครั้ง

มีดอรัญญิก

จริงๆแล้วมีดอรัญญิกนั้นไม่ใช่ของคนที่อรัญญิกผลิตเองจริงๆหรอกแต่เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมและศิลปะที่ตกทอดมาจากเวียงจันทร์เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงมอบหมายให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์เป็นผลให้เมื่อรบชนะต้องเกณฑ์ไพล่พลเชลยศึกกลับมายังแผ่นดินสยาม ด้วยชาวเมืองเวียงจันทร์มีฝีมือทางด้านการตีมีดและทำทอง ทำให้มีวิชาติดตัวมา จนตั้งรกรากในแผ่นดินสยามครั้นพอว่างจากศึกสงครามชาวบ้านที่มีวิชาความรู้ด้านการตีมีดก็มาทำเครื่องมือไว้ใช้ทำมาหากิน ส่วนที่เหลือจากการใช้งานก็นำออกวางขาย แต่ไม่มีตลาดสำหรับขาย ในละแวกใกล้กันมีหมู่บ้านอรัญญิก ถ้าคนโบราณจะเรียกว่าหมู่บ้านโรงบ่อนอรัญญิก คือในสมัยก่อนที่หมู่บ้านนี้จะมีตลาดและแหล่งเล่นการพนัน มีผู้คนคึกคัก ชาวบ้านต้นโพธิ์และชาวบ้านไผ่หนองจึงนำมีดที่ตัวเองทำไปวางขายที่อรัญญิก ด้วยความที่เป็นสินค้าที่มีคุณภาพดีจึงทำให้เกิดการพูดติดปาก จึงเป็นที่มาของ “มีดอรัญญิก” ตราบจนปัจจุบันก็กว่าสองร้อยปีแล้ว

มีดอรัญญิก

ครูบุญสม ศรีสุข ครูช่างที่สืบสานงานศิลปะการตีมีด จะมาเล่าถึงเรื่องราวดีๆในชุมชนคนตีมีดแห่งบ้านต้นโพธิ์และบ้านไผ่หนองให้ฟังกันครับ

“การตีมีดเป็นอาชีพที่ทำต่อเนื่องกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษเดิมทีที่หมู่บ้านนี้ตีเหล็กตีมีดยังไงก็ตีอยู่อย่างนั้นพอมาถึงรุ่นผมจึงเริ่มมีการนำรูปแบบต่างๆมาใช้โดยการแบ่งแยกประเภทของมีด เช่นมีดที่ใช้ในครัวเรือน มีดที่ใช้ในการเกษตร มีดที่ใช้ขึ้นโต๊ะอาหาร มีดที่ใช้ประกอบในการถ่ายทำภาพยนตร์ เพื่อให้ชาวบ้านอยู่ได้และเป็นอาชีพที่เลี้ยงครอบครัวได้ โดยยึดหลักตามพระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเวลาที่เราออกแบบมาแล้ว เราก็มาส่งต่อให้บ้านอื่นๆในชุมชน บ้านนี้ถนัดทำมีดอีโต้ บ้านนี้ถนัดทำมีดถางหญ้า เราก็จะส่งงานไปตามความถนัดของแต่ละบ้าน งานตีมีดเป็นงานที่หนักมาก รายได้ไม่คุ้มค่ากับแรงงานที่เสียไปช่างที่ทำก็เริ่มน้อยลงทางชุมชนก็ริเริ่มให้มีการสอนตีมีดให้แก่ผู้ที่สนใจทั่วไปเพื่อเป็นการสืบสานศิลปะและวัฒนธรรมาการตีมีดให้คงอยู่สืบไป”

สิ่งที่ภูมิใจมากที่สุดคือเมื่อปี พ.. 2519 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาดูการทำมีดของหมู่บ้านอรัญญิก เมื่อท่านมาเห็นแล้วท่านรับสั่งว่า ไม่เคยคิดว่าที่นี่ยังตีมีดอยู่ และยังแนะนำชาวบ้านด้วยว่า ควรไปเอาเหล็กแหนบมาตีชุบด้วยน้ำมันเครื่องจะได้มีความแข็งเหนียว ส่วนถ่านก็ต้องไปเอาต้นยูคาลิปตัสมาเผาเป็นถ่านแทนต้นไผ่ที่หมดไปมากไปกว่านั้นคือการได้รับโอกาสให้ไปจำลองมีดและศาตราวุธในพิพิธภัณฑ์ ของเก่าชำรุดเสียหาย ของใหม่จะได้เข้าไปทดแทน” ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและรู้ซึ้งถึงศิลปะอันทรงคุณค่า จึงทำให้ชาวบ้านทั้งสองชุมชนมีพลังและกำลังใจสืบสานงานศิลป์ตราบจนทุกวันนี้

“เพราะเชื่อในคำพ่อสอน ถึงได้มีทุกวันนี้อาชีพจากบรรพบุรุษ ได้รับการส่งเสริมจากในหลวงรัชกาลที่ 9 เราจะลืมได้อย่างไร”

และนี่คือคำบอกเล่าเรื่องราวจากครูบุญสม ศรีสุข ครูผู้ที่อุทิศตัวเพื่อศิลปะงานตีมีดให้เป็นที่รู้จักในระดับโลกและจะยังคงทำเช่นนี้ต่อไปจนกว่าจะยกค้อนไม่ไหว

มีดอรัญญิก มีดอรัญญิก

ขอบคุณ

ครูบุญสม ศรีสุข (ส.อรัญญิก)
สนใจเยี่ยมชมและซื้อมีดได้ที่
190/2 หมู่ 6 บ้านต้นโพธิ์ ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โทรศัพท์ 08-9253 – 6584 , 08-4086 – 9863 , 08-4 340 – 7082

เรื่อง: “ไตรรัตน์ ทรงเผ่า”
ภาพ: โกศล ผ่ายเผย


“ซูเปอร์ อั้งโล่ ” เตาประหยัดถ่านของดีเมืองราชบุรี

คนทำ หัวโขน : งานศิลป์ชั้นสูงที่ทุกคนสามารถทำได้

 l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l