ซ่อมแซมชานบ้าน

[ before & after ]ซ่อมแซมชานบ้าน เรื่องง่ายๆ ทำได้ชิลๆ

ซ่อมแซมชานบ้าน
ซ่อมแซมชานบ้าน

ชานบ้านของเดิมที่ ตากแดด ตากฝน หมดสภาพยับเยิน ผุพัง แถมกระดำกระด่างไปหมด คงจะได้เวลา ซ่อมแซมชานบ้าน ของเราให้กลับมาสวยพร้อมใช้งานสักที !!

วันนี้ my home จะพาไปชมการ ซ่อมแซมชานบ้าน แสนเก่าที่เราละเลยมันไป ให้กลายมาเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ของครอบครัวกันอีกครั้งค่ะ

สภาพก่อนลงมือ

ซ่อมแซมชานบ้าน
พื้นกระดานที่ยับเยิน ผุพัง กระดำกระด่าง หลุดออกมาเป็นแผ่นๆ น่าหวาดเสียว จับรื้อออกให้หมด ทำให้เห็นสภาพโครงสร้างด้านล่างที่ผุพัง
  • พื้นผุพัง พยายามซ่อมไปหลายครั้ง แต่ยิ่งนานวันยิ่งผลัดกันพัง จุดนั้นที จุดนี้ที
  • พื้นยกระดับขึ้นมา ทำให้มีสิ่งสกปรกเข้าไปหมักหมมอยู่ด้านใต้
ซ่อมแซมชานบ้าน
แบบแปลนชานบ้าน

ความต้องการจากเจ้าของบ้าน

  • ปรับรูปแบบให้ดูทันสมัยขึ้น แต่ให้คงฟังชั่นการใช้งานเดิมไว้
  • ความสูงไม่มากนัก เดินขึ้น-ลงสะดวก
  • ใช้ประโยชน์ได้จริง
  • แก้ปัญหาความสกปรกที่มักจะไปหมักหมมอยู่ด้านใต้
  • ใช้วัสดุที่ทนแดดทนฝน ดูแลง่าย

หลังจากเขียนแบบ และ แก้ไขจนเป็นที่พอใจแล้ว เราก็เริ่มลงมือกันได้เลย

ซ่อมแซมชานบ้าน

1. ก่ออิฐ ฉาบปูน และขัดมัน ส่วนที่เป็นพื้นปูนยกระดับก่อน หลังจากนั้นทำโครงสร้างเหล็กสำหรับรองรับส่วนที่เป็นพื้นไม้สมาร์ทวูด เสริมส่วนโครงสร้างพื้นให้มีระยะห่างที่เหมาะสม

ซ่อมแซมชานบ้าน

2. นอกจากระดับความสูงที่ถูกต้องแล้ว ช่างจะวัดระดับน้ำเสมอ ตลอดการทำโครงสร้างเหล็ก และทาสีกันสนิมให้ทั่วโครงเหล็กเพื่อยืดอายุการใช้งาน

ซ่อมแซมชานบ้าน

3. ปูพื้นสมาร์ทวูดแบบชนชิดและโป๊วเก็บรอยหัวน๊อตให้เรียบร้อย อย่าลืมเก็บสีพื้นสมาร์ทวูดให้สวยงามดูเหมือนไม้จริงมากที่สุด

ซ่อมแซมชานบ้าน

4. พื้นด้านบนเว้นช่องสำหรับวางกระถางต้นไม้ และเจาะรูให้สามารถระบายน้ำได้ วางกระถางต้นไม้ลงไปในช่องจะได้กำแพงต้นไม้สีเขียว

 

ซ่อมแซมชานบ้าน

5. เสร็จเรียบร้อย ได้ชานบ้านใหม่ที่เล่นระดับสวยงามและแข็งแรงพร้อมรับมือกับปาร์ตี้แล้วจ้า

>> คำแนะนำดีๆ สำหรับการต่อเติมชานบ้าน <<

ซ่อมแซมชานบ้าน

ปาร์ตี้เริ่มแล้ว มาสนุกกันเลย !!

คำแนะนำดีๆ สำหรับการต่อเติมชานบ้าน

  • การต่อเติมอะไรก็ตาม ส่วนสำคัญคือ ฐานราก และ ตอม่อ อย่าต่อเติมลงไปบนดินเฉยๆ เพราะในอนาคตอาจจะมีการทรุดตัวเกิดขึ้นได้ ยอมเสียเงินเพิ่มอีกสักนิดสำหรับส่วนของฐานรากจะดีกว่า
  • สำรวจพื้นที่ให้ดีก่อนลงมือทำ ถ้ามีรอยแยกระหว่างพื้นกับตัวบ้าน อาจหมายถึงพื้นบ้านยังคงมีการทรุดตัวอยู่
  • การเลือกใช้วัสดุภายนอกบ้าน ควรเป็นวัสดุที่สามารถทนแดดทนฝน หรือถ้าเลือกใช้ไม้จริงควรมีการดูแลรักษาทุกปี จะช่วยยืดอายุการใช้งานได้

ซ่อมแซมชานบ้าน

เรื่อง-ภาพประกอบ jOhe
ภาพ ณัฐวุฒิ เพ็งคำภู, อุ้ม เชาวนปรีชา, อนุพงษ์ ฉายสุขเกษม

อ่านเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม

รวมจุดซ่อมเองได้ภายในบ้าน

วิธีซ่อมแซมผนังสีบ้านหลุดร่อนและน้ำรั่วซึมตามวงกบหน้าต่าง