Wisdom Goods Expo งานหัตถกรรมไทย ภูมิปัญญาไทยสู่สากล

          สำหรับคนที่สนใจ งานศิลปหัตถกรรม เครื่องปั้น เสื้อผ้าย้อมคราม งานจักสานผักตบชวา ฯลฯ ต้องไม่พลาดงานนี้ครับ Wisdom Goods Expo งานหัตถกรรมไทย

จัดขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาชุมชน 4 จังหวัดทวารวดี ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร งานมีตั้งแต่วันที่ 15 – 19 พฤศจิกายน 2560 เวลา 11.00 – 18.00 น.ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา จังหวัดนครปฐม งานหัตถกรรมไทย

งานหัตถกรรมไทย

          ภายในงานได้รวบรวมผลิตภัณฑ์ของชุมชนทวารวดีเดิม 4 จังหวัดได้แก่ นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี และสุพรรณบุรี มาจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจทั่วไปนอกจากนี้สำนักงานพัฒนาชุมชนยังได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากรจัดทำโครงการ “ศิลปะการออกแบบเพื่อการพัฒนาสินค้าคืนสู่มาตรฐานสินค้าระดับสากลและการแสดงสินค้าเชิงปัญญา”ซึ่งถือเป็นไฮไลต์ของงานนี้ โดยได้นักออกแบบผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่เข้ามาร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมให้มีรูปแบบสวยงามและเหมาะแก่การใช้งานมากขึ้น ภายใต้ชื่อแบนด์ dvadva(ทวา ทวา)เพื่อเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นๆ อีกทั้งยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบการได้มองเห็นเส้นทางในการพัฒนาผลงานต่อไป

รองศาสตราจารย์ปรีชา ปั้นกล้ำ ประธานกรรมการหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาศิลปะการออกแบบ ในฐานะประธานโครงการนี้กล่าวถึงที่มาของงานว่า “หลักสูตรศิลปะการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รับผิดชอบในการสร้างพลวัตด้านศิลปะการออกแบบ สร้างมหาบัณฑิตเข้าสู่สังคมเพื่อเป็นฟันเฟืองพัฒนาประเทศในด้านศิลปวัฒนธรรม ก่อนหน้านี้คณาจารย์ได้ลงพื้นที่เพื่อเฟ้นหา 40 ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนระดับ 4-5 ดาว ซึ่งมีศักยภาพในเขตจังหวัดทวารวดี มีการประเมินศักยภาพเพื่อเข้าร่วมเวิร์คชอปและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักออกแบบที่มีผลงานประจักษ์ในเวทีระดับโลก เพื่อเติมความรู้ เสริมไอเดีย และเพิ่มมูลค่า เป็นสินค้าเชิงปัญญา หรือ Wisdom Goods อันหมายถึงสินค้าที่สร้างสรรค์ขึ้นอย่างมีอัตลักษณ์ เพื่อนำเสนอภูมิปัญญาไทยสู่ระดับสากล”  สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับคือ องค์ความรู้ด้านการออกแบบและแนวคิดเรื่องการดัดแปลงวัสดุเหลือใช้มาสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดรวมถึงการมองเห็นตลาดสำหรับสินค้าของตนเองและเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ใครชื่นชอบงานหัตกรรมที่ทั้งสวยและมีเอกลักษณ์อย่าลืมมาร่วมสนับสนุนและส่งเสริมผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่ผ่านการตีความใหม่ได้ที่งานนี้นะครับ

 

 

เรื่อง: “ไตรรัตน์ ทรงเผ่า”
ภาพ: ไตรรัตน์ ทรงเผ่า และเอกสารประชาสัมพันธ์


คนทำ หัวโขน : งานศิลป์ชั้นสูงที่ทุกคนสามารถทำได้

ผ้าซิ่นตีนจก

l l l ll l l ll l l l l l ll l l ll l l ll