2017 IFLA Asia-Pacific Regional Congress โดย สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย

บรรดาภูมิสถาปนิก นักออกแบบ รวมถึงผู้ที่สนใจด้านงานภูมิสถาปัตยกรรม ได้มารวมตัวกันที่งานนี้ 2017 IFLA Asia-Pacific Regional Congress การประชุมวิชาการระดับภูมิภาค จัดโดยสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย

งานนี้จัดขึ้นภายใต้แนวความคิด BLUE, GREEN AND CULTURE เพื่อสะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันระหว่างสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคมและชีวิต ระหว่างวันที่ 2-5 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 ที่ผ่านมาซึ่งปีนี้ประเทศไทยรับบทเป็นเจ้าภาพนั่นเอง

การประชุมครั้งนี้เป็นความร่วมมือกันในระดับนานาชาติ กับองค์กรวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมในกลุ่มภาคพื้นเอเซียแปซิฟิค โดยจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ พัฒนาองค์ความรู้ โดยเน้นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับน้ำ สภาพแวดล้อม และภูมิทัศน์วัฒนธรรมทั้งในเอเซียแปซิฟิกทั่วโลก

งานนี้นอกจากจะได้รับความรู้เกี่ยวกับบทบาท และความเคลื่อนไหวของงานภูมิสถาปัตยกรรมทั่วโลกแล้ว ยังก่อให้เกิดการเห็นถึงความสำคัญของ ภูมิสถาปนิก ซึ่งเป็นหนึ่งในวิชาชีพที่มีความสำคัญต่อสังคม เนื่องจากสามารถช่วยวิเคราะห์ หาทางออกในการแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมในสังคมเมืองได้อีกด้วย

IFLA Asia-Pacific Region คืออะไร

IFLA Asia-Pacific Region (IFLA APR) คือกลุ่มย่อยของ International Federation of Landscape Architects (IFLA) โดยการประชุมครั้งนี้ มีตัวแทนภูมิสถาปนิกจากทั่วโลกเข้าร่วม นับเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้ภูมิสถาปนิกจากหลากหลายประเทศได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการ ร่วมกันพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เมืองมีความน่าอยู่และคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลกที่ดีขึ้น

ภายในงาน มีกิจกรรมเสวนาอภิปรายในหัวข้อเรื่อง “Building a Better Future for Bangkok” ประกอบด้วยผู้มีส่วนร่วมในการวางแผนและกำหนดนโยบายจากภาครัฐ และนักพัฒนาจากภาคเอกชน เพื่ออนาคตที่ดียิ่งขึ้นของกรุงเทพ

นอกจากนี้ยังมีผู้เข้าร่วมที่มาจากสถาบันการศึกษาชั้นนำ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Harvard University’s Graduate School of Design, ภูมิสถาปนิกผู้ออกแบบ PTT Metro Park และ ภูมิสถาปนิกผู้ออกแบบ Yanghwa Riverfront Park in Seoul เป็นต้น

KEYNOTE SPEAKERS

โดยเริ่มกิจกรรมวันแรกเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา ณ The Great Hall ชั้น 7 โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค การประชุมและสนทนาวิชาการในหัวข้อ BLUE, GREEN AND CULTURE ในบริบทของ พื้นที่สีเขียว, ความหนาแน่นของพื้นที่เมือง

และพื้นที่สาธารณะอย่างโปรเจ็คต์ “วัน แบงค็อก” ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร ที่ถือเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อระหว่างคนกับชุมชน ประกอบด้วยฟังก์ชันต่างๆ อาทิ สวนสาธารณะและจัตุรัสส่วนกลาง ทางเดินสีเขียว พื้นที่กิจกรรมและพื้นที่ส่วนกลาง เป็นต้น โดยคำนึงถึงความยั่งยืนอย่างปลอดภัยและการเชื่อมต่อเทคโนโลยีระหว่าง สังคม คน และวัฒนธรรม

ไปดู การแลกเปลี่ยนแนวความคิดในหัวข้อต่างๆเกี่ยวกับงานภูมิสถาปัตยกรรม หน้าถัดไป คลิก