กล้องวงจรปิด

ตัวช่วยป้องกันโจร สัญญาณกันขโมยและอื่นๆ

กล้องวงจรปิด
กล้องวงจรปิด

เมื่อพูดถึงอุบัติภัยต่างๆ ในบ้านก็มีหลากหลายรูปแบบ เช่น ภัยจากกระแสไฟฟ้า ภัยจากการเกิดเพลิงไหม้ ภัยจากการโจรกรรม ฯลฯ ภัยต่างๆ ที่กล่าวมานี้ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น สัญญาณกันขโมย

แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็ควรได้รับการแก้ไขไม่ให้ลุกลามกลายเป็นปัญหาน้ำผึ้งหยดเดียว ที่สำคัญถ้าเราสามารถป้องกันภัยได้ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง อย่างไรก็ดีแม้เราจะมีตัวช่วยแล้วก็ตาม แต่ก็ต้องมีสติและตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาทเช่นกัน สัญญาณกันขโมย

1. ระบบเตือนภัยหรือ สัญญาณกันขโมย

สัญญาณกันขโมย

ระบบการเตือนภัยเพื่อป้องกันการบุกรุกในบ้านนั้น ปัจจุบันมีให้เลือกใช้ทั้งเทคโนโลยีที่ผลิตได้ในบ้านเราและนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ก็ยังไม่แพร่หลายเหมือนกับ  “เหล็กดัด”  ที่เราคุ้นเคยกัน ทั้งที่เมื่อพิจารณาดีๆ แล้ว ราคาติดตั้งก็ไม่แตกต่างกันมากมายนัก (ยกเว้นระบบไฮเทคมากๆ)

ระบบ สัญญาณกันขโมย โดยทั่วไปจะประกอบด้วยอุปกรณ์พื้นฐานคล้ายๆกัน คือ

1.1 อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ (SENSOR)

ทำหน้าที่ตรวจจับสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ และส่งสัญญาณไปยังเครื่องรับหรือชุดควบคุมเพื่อเตือนภัย โดยมีอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันทั่วไป ได้แก่

ผลิตภัณฑ์ป้องกันภัย สัญญาณกันขโมย

  • สวิตช์แม่เหล็ก ใช้ติดตั้งที่ประตูหรือหน้าต่าง เมื่อประตูหน้าต่างถูกงัดหรือเปิดออก สัญญาณก็จะดังขึ้น
  • อุปกรณ์ตรวจจับแรงสั่นสะเทือน เหมาะสำหรับบ้านที่มีกระจกบานใหญ่ๆ โดยติดตั้งกับบานประตูหรือหน้าต่าง การทำงานจะตรวจจับแรงสั่นสะเทือนเมื่อมีการกรีดหรือทุบกระจก
  • อุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว ใช้รังสีอินฟาเรดในการตรวจจับในพื้นที่เป็นมุมกว้าง เมื่อมีสิ่งบุกรุกตัดผ่านลำแสงหรือคลื่นดังกล่าว สัญญาณเตือนภัยก็จะทำงาน

นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณชนิดอื่นให้เลือกใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น เครื่องตรวจจับความร้อน และควันไฟ โดยจะส่งสัญญาณทันทีเมื่อมีควันหรือความร้อนผิดปกติ

1.2 เครื่องรับสัญญาณหรือชุดควบคุม (RECEIVER OR CONTROL UNIT)

เป็นหัวใจของการทำงานของระบบรักษาความปลอดภัยในบ้าน เพราะการเปิด-ปิดเครื่อง ตลอดจนการเลือกรูปแบบการทำงานต่างๆ จะต้องทำในส่วนนี้เพื่อควบคุมอุปกรณ์ต่างๆให้สัมพันธ์กัน โดยจะทำหน้าที่รับสัญญาณจากอุปกรณ์ตรวจจับทุกจุดในบ้าน อาทิ ห้องนอน ตู้เซฟ และส่งสัญญาณเตือนภัยให้เจ้าของบ้านรับรู้เมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น

1.3 ส่วนแจ้งเหตุเตือนภัย (ALARM SECTION)

ส่วนนี้ก็คืออุปกรณ์ส่งสัญญาณเสียง (SIREN) หรือพวกสัญญาณไฟต่างๆนั่นเอง และยังรวมถึงระบบโทรศัพท์ที่สามารถแจ้งเหตุไปยังสถานที่ที่เราต้องการได้ เช่น ป้อมยามหน้าหมู่บ้าน ศูนย์รับแจ้งเหตุ หรือสถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุดได้ด้วย

ในความเป็นจริงแล้วการป้องกันและเตือนภัยจากการบุกรุกนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะต้องใช้อุปกรณ์เตือนภัยดังกล่าวทั้งหมด แต่ขึ้นอยู่กับหลักการป้องกัน ความจำเป็นและรูปลักษณ์ของบ้านหรืออาคารที่แตกต่างกัน

Tip

ระบบเตือนภัยจากการโจรกรรมหรือสัญญาณกันขโมยที่มีอยู่ในท้องตลาดมีอยู่หลายรุ่นหลายยี่ห้อ ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายแต่ละบริษัทก็มีรายละเอียดของระบบและการนำมาใช้ที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการขอข้อมูลเพื่อนำมาเปรียบเทียบคุณสมบัติในด้านต่างๆจากผู้จำหน่ายหลายๆ รายก่อนการตัดสินใจเลือกใช้งานจะเป็นประโยชน์อย่างมาก และสิ่งที่ควรนำมาพิจารณาควบคู่ไปด้วยกันก็คือ เรื่องการรับประกันและบริการหลังการขาย ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ของเจ้าของบ้านเป็นสำคัญนั่นเอง


2. กล้องวงจรปิด (CCTV)

กล้องวงจรปิด
กล้องวงจรปิด
กล้องวงจรปิด
ภาพจาก https://www.bendigoadvertiser.com.au/

เป็นอุปกรณ์ที่เข้ามาช่วยเสริมระบบรักษาความปลอดภัยในบ้านหรือร้านค้า ทั้งนี้ระบบ CCTV มีอุปกรณ์หลักเป็นกล้องซึ่งติดตั้งไว้ตามจุดต่างๆโดยเฉพาะจุดที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุก เช่น ประตูทางเข้าออก ห้องเก็บสิ่งของมีค่า ฯลฯ เพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และใช้เป็นหลักฐานในการจับกุมหรือหาตัวคนร้ายได้ในภายหลัง นอกจากนี้กล้องวงจรปิดรุ่นใหม่ๆ สามารถเรียกดูภาพออนไลน์ผ่านมือถือได้ทุกที่ทุกเวลา และยังต่อเชื่อมเข้ากับระบบเตือนการบุกรุกได้อีกด้วย


3. ตู้เซฟ Sentry Safe

ตู้เซฟ

ตู้เซฟ

เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยปกป้องทรัพย์สินมีค่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกขนาดเล็ก หรือเอกสารสำคัญต่างๆ ไม่ให้เสียหายจากไฟไหม้และน้ำท่วม โดยผ่านการทดสอบแล้วว่า สามารถป้องกันไฟได้ราว 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง และสามารถป้องกันเอกสารและสิ่งของมีค่าจากน้ำท่วมได้ 72 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับรุ่นของตู้เซฟ) การเปิด-ปิดตู้นิรภัย มีให้เลือกใช้งานทั้งระบบกุญแจ รหัสอิเล็กทรอนิก และระบบสแกนลายนิ้วมือ นอกจากนี้สามารถยึดตู้เซฟเข้ากับพื้นหรือผนัง เพื่อป้องกันการยกย้าย


4. ไฟฉุกเฉินอัตโนมัติ

ไฟฉุกเฉิน

เป็นโคมไฟฉุกเฉินที่มาพร้อมกับหลอดไฟแฮโลเจนหรือหลอดไฟแอลอีดี สามารถช่วยเราได้กรณีเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้องหรือไฟดับ โดยจะให้แสงสว่างทันทีและจะดับเองเมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่สภาวะปกติ ทั้งนี้ระยะเวลาการส่องสว่าง โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 2-8 ชั่วโมง ซึ่งขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่ที่มาพร้อมกับตัวเครื่องนั่นเอง แบตเตอรี่ไฟฉุกเฉินส่วนใหญ่จะมีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี หลังจากนั้นจะค่อยๆเสื่อมสภาพลง เราจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้เพื่อให้ไฟฉุกเฉินมีประสิทธิภาพและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

 

5. ประตู-หน้าต่างนิรภัย MAJESTEC

มุ้งลวดนิรภัย

เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของประตูหน้าต่าง เพื่อช่วยปกป้องทรัพย์สินในบ้านและปลอดภัยจากการบุกรุก ด้วยการนำแผ่นตาข่ายสเตนเลสเกรด 304 ที่ผลิตด้วยเครื่องจักรทันสมัย มีความแข็งแกร่งและทนต่อแรงดึง มาผสานกับกรอบบานอะลูมิเนียมคุณภาพสูง ช่วยให้การมองจากภายในสู่ภายนอกบ้าน ไม่ถูกบดบังด้วยเหล็กดัดแบบเดิมๆ และช่วยสร้างความเป็นส่วนตัว ให้กับผู้อยู่อาศัยเมื่อมองจากภายนอกเข้ามา นอกจากนี้แผ่นตาข่ายยังป้องกันยุง แมลง และสัตว์เลื้อยคลานได้ ที่สำคัญทนต่อการกรีด การกระแทก และการงัดแงะ เพราะมีความแข็งแรงมากกว่ามุ้งลวดทั่วไป จึงช่วยให้คุณอุ่นใจมากขึ้น

•รู้จักมุ้งลวดให้ดี ก่อนติดตั้งที่บ้าน

ภัยจาการบุกรุกเป็นภัยหนึ่งที่มีตัวอย่างให้เห็นบ่อยๆ และมีการพัฒนารูปแบบอยู่ตลอดเวลา ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นการกระตุ้นเตือนให้เจ้าของบ้านเกิดความระมัดระวัง และแม้ว่าจะมีการป้องกันที่ดีแล้ว พึงระลึกเสมอว่าการตั้งอยู่ในความไม่ประมาทเป็นการดีที่สุดครับ


เรื่อง : สุพจน์ เพชรวงศ์ศักดิ์


10 เรื่องไฟฟ้าในบ้านที่คุณต้องรู้

ถังดับเพลิง เลือกอย่างไรดี!

ควรติดมุ้งลวดที่ด้านนอกหรือด้านในของบ้านดี