DESIGN FOR SHARE 3 โปรเจ็กต์น่าแชร์ที่ออกแบบเพื่อแบ่งปัน

ในโลกที่ทุกคนถูกพร่ำบอกว่า ของฟรีไม่มีในโลก เป็นเรื่องน่าสนใจไม่น้อยเมื่อได้รู้ว่ามีใครสักคนลุกขึ้นมาสวนกระแสด้วยการให้ที่ไม่หวังผลตอบแทน ยิ่งความตั้งใจดีเหล่านั้นได้รับการกลั่นกรองมาจากความคิด สร้างสรรค์ผ่านงานดีไซน์ด้วยแล้วละก็ เรายิ่งอยากแบ่งปันเรื่องราวดี ๆ ให้ผู้อ่านได้รับรู้ผ่าน 3 สถานที่สุดเจ๋ง ที่คิดมาแล้วเพื่อสังคมของเรา

 

– 01 –
ศูนย์การเรียนรู้
เมืองฉะเชิงเทรา (KCC)

เพื่อให้คนแปดริ้วได้เข้าถึงแหล่งความรู้เจ๋ง ๆ นอกเหนือจากห้องเรียนโดยไม่ต้องเดินทางไกลไปยังกรุงเทพฯ ศูนย์การเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทรา (KCC) จึงได้ถือกําเนิดขึ้น ประจวบเหมาะกับได้สถาปนิกฝีมือดีอย่างศาสตราจารย์ ดร.ต้นข้าว ปาณินท์ และคุณธนาคาร โมกขะสมิต แห่ง Research Studio Panin มาช่วยออกแบบสถาปัตยกรรมให้ จึงทําให้ที่นี่มีความพิเศษจนอดไม่ได้ที่จะบอกต่อให้คุณได้รู้จักเช่นกัน

ตัวอาคารได้รับการออกแบบให้ดูเรียบนิ่งและเบี่ยงชั้นทั้ง 4 ชั้นออกจากกันเพื่อให้เกิดร่มเงา รวมถึงใช้ฟินช่วยลดความร้อนไม่ให้เข้าสู่ตัวอาคารโดยตรง นอกจากผลลัพธ์ที่ได้จะเพอร์เฟ็กต์แล้ว ยังให้ดีไซน์ที่ดูเท่สะกด ทุกสายตาเมื่อได้พบเห็น จนตึกนี้ดูเหมือนกองหนังสือ 4 เล่มวางซ้อนกัน

ภายในอาคารแบ่งพื้นที่ใช้งานตามความสนใจ การออกแบบที่ลื่นไหล ช่วยให้พื้นที่เชื่อมถึงกันทั้งหมด อย่างการทําทางเดินให้ ขนานไปกับโถงด้านล่างไม่ว่าใครจะอยู่มุมไหนก็สามารถมองเห็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นบริเวณจัตุรัสนัดฝันลานอเนกประสงค์ที่เปิด โอกาสให้เด็ก ๆ ได้มาแสดงความสามารถต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นทักษะการเข้าสังคมให้เด็ก ๆ

นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดสําหรับเด็กและบุคคลทั่วไป ซึ่งได้ TK PARK มาเป็นพี่เลี้ยงดูแลเรื่องระบบ และช่วยคัดสรรหนังสือน่าอ่านทั้งไทยและเทศกว่า 20,000 เล่ม และยังมีมุมไอที มุมนิทรรศการอินเตอร์แอ๊คทีฟ ห้องซ้อม ดนตรี ตลอดจนโรงภาพยนตร์ขนาดกะทัดรัด และที่น่ารักคือทุกวันหยุดทางศูนย์จะจัดให้มี คอร์สภาษา ดนตรี ศิลปะ ฯลฯ ให้ผู้สนใจ ได้เรียนกันแบบฟรี ๆ อีกด้วย

ก่อนจากกัน คุณดนย์ ทักศินาวรรณ ผู้จัดการศูนย์การเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทรา เล่าถึงความตั้งใจเริ่มแรกของนายกเทศมนตรี ผู้ริเริ่มโครงการนี้ได้อย่างน่าฟัง “เราอยากให้ ฉะเชิงเทราเป็นเมืองน่าอยู่ด้วยคนน่ารัก เพราะเราเชื่อว่าความรู้และการศึกษาจะทําให้ คนน่ารัก ถึงจะไม่เห็นผลในเร็ววัน แต่เมื่อเขาได้ใช้ความรู้ในทางสร้างสรรค์ วันข้างหน้าเด็ก ๆ ก็จะกลายเป็นต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงา แก่คนแปดริ้วรุ่นหลัง ๆ ต่อไป”

 

โครงอาคารเป็นคอนกรีต เสริมเหล็ก เน้นรูปทรงเรขาคณิตเข้าใจง่าย มีมิติน่าสนใจ ทว่ามองได้นานไม่น่าเบื่อ ศูนย์การเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทรา (KCC) 47/2 ถนนนรกิจ ตําบลหน้าเมือง อําเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดบริการ วันจันทร์ - ศุกร์ 10.00 น. - 18.00 น. วันเสาร์ - อาทิตย์ 9.00 น. - 18.00 น. โทร. 03-8511-6734 www.kcc.or.th
โครงอาคารเป็นคอนกรีต เสริมเหล็ก เน้นรูปทรงเรขาคณิตเข้าใจง่าย มีมิติน่าสนใจ ทว่ามองได้นานไม่น่าเบื่อ

 

ห้องสมุดมีชีวิตที่ใช้สีแดงสดใสกระตุ้นให้ เกิดความตื่นตัวมีชีวิตชีวา ภายในห้องอัดแน่นด้วยหนังสือไทยและเทศหลากหลายแขนง ตอบโจทย์ความต้องการของคนทุกเพศทุกวัย
ห้องสมุดมีชีวิตที่ใช้สีแดงสดใสกระตุ้นให้ เกิดความตื่นตัวมีชีวิตชีวา ภายในห้องอัดแน่นด้วยหนังสือไทยและเทศหลากหลายแขนง
ตอบโจทย์ความต้องการของคนทุกเพศทุกวัย

 

city-guide-DESIGN-FOR-SHARE-5
ความรู้ไม่ได้อยู่แค่ในตํารา แต่ยังอยู่ในโรง ภาพยนตร์ขนาดกะทัดรัด 70 ที่นั่ง ท่ีคัดสรรภาพยนตร์ทั้งสนุกและมีสาระมาให้ชมกันทุกเดือน

 

– 02 –
พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เงินทองล้วนมายา ข้าวปลาสิของจริง ” ผ่านไปกี่ยุคสมัยคํากล่าวนี้ก็ยังคงสะท้อนความจริงของชีวิตได้ไม่เคยเปลี่ยน และคํากล่าวนี้ดูจะเป็นจริงยิ่งขึ้นเมื่อเราได้มาเยือนพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรแบบครบวงจรยุคใหม่ที่จะช่วยผสานช่องว่าง ระหว่างคนรุ่นใหม่และธรรมชาติให้กลับมาสนิทชิดเชื้อกันอีกครั้ง ในวันที่ เทคโนโลยีและค่านิยมสมัยใหม่กําลังพาเราห่างไกลจากภูมิปัญญาอันเป็น รากเหง้าของเราเอง ผ่านโซนพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่เปิด โอกาสให้ทุกคนได้เข้ามาเรียนรู้และลงมือสัมผัสชีวิตเกษตรกรกันแบบใกล้ชิด ตั้งแต่การประยุกต์ใช้เกษตรทฤษฎีใหม่บนพื้นที่ 1 ไร่ ตามไปดูการปลูกข้าว สมุนไพร และพืชผัก ปลอดสารพิษในพื้นที่จํากัด รวมถึงสาธิตนวัตกรรมพลังงานทดแทนอย่าง กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าและโซลาร์เซลล์เพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างสมบูรณ์

ภายในอาคารแบ่งโซนการเรียนรู้เป็น 5 โซนหลัก
ๆ ได้แก่ ในหลวงรักเราต่อยอดความคิดกับพระราชกรณียกิจด้านการเกษตรของในหลวง ตามด้วยการพามารู้จักพืชพื้นถิ่นของไทยแบบถึงแก่นใน
มหัศจรรย์พันธุกรรมตื่นเต้นไปกับการผจญภัย ในป่าและเรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างสมดุลระหว่างคนกับธรรมชาติ ในโซนป่าดงพงไพร เรียนรู้วิถีชีวิตของคนต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ผ่านภาพยนตร์สี่มิติที่โซนวิถีน้ำ ก่อนสนุกไปกับการตะลุยโลกดินจําลอง ในโซนดินดล หรือหากใครสนใจอยากผันตัว มาเป็น เกษตรกรอย่างจริงจังที่นี่ก็มีคอร์สให้ เลือกเรียนหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเห็ด การปลูกผักสําหรับคนเมือง การสร้าง บ้านดิน การทําสบู่ ฯลฯ แถมทุกเสาร์ – อาทิตย์ต้นเดือนยังมีตลาดนัดให้เราได้มา เลือกซื้อสินค้าปลอดสารพิษ ข้าวของจาก ภูมิปัญญาชาวบ้าน ตลอดจนพรรณไม้กลับ ไปสร้างสวนป่าที่บ้านอีกด้วย

 

ใครว่าคนเมืองปลูกผักไม่ได้ นี่คือแปลงผักปลอดสารพิษที่เราสามารถทดลองปลูกขึ้นได้เองในพื้นที่จำกัด
ใครว่าคนเมืองปลูกผักไม่ได้ นี่คือแปลงผักปลอดสารพิษที่เราสามารถทดลองปลูกขึ้นได้เองในพื้นที่จำกัด

 

พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หมู่ 13 ถนนพหลโยธิน ตําบลคลองหน่ึง อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เปิดบริการ วันอังคาร - วันอาทิตย์ 9.30 น.- 15.30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2529-2212-3 www.wisdomking.or.th, www.facebook.com/wisdomkingfan
พื้นที่สําหรับการเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อการพึ่งพาตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ท้ังปลูกข้าว เลี้ยงเป็ด ไก่ ปลา กบ และปลูกผักบนพื้นท่ี 1 ไร่

 

city-guide-DESIGN-FOR-SHARE-9
นอกจากพืชผักต่างๆ เด็กๆยังจะได้รู้จักระบบปศุสัตว์ของไทย เช่น การรีดนมวัวและ การเลี้ยงไก่

 

– 03 –
โรงเรียนบ้านดอยช้าง

“สิ่งที่เราอยากทําคือ อยากให้ความรู้ในการ สร้างอาคารไม้ไผ่ แน่นอนว่าโรงเรียนเป็น สถานที่ให้ความรู้กับ นักเรียนอยู่แล้ว แต่จะทําอย่างไรให้อาคารแห่งนี้เป็นสถานที่ให้ความรู้แก่คนในชุมชนได้เช่นกัน”

เพราะคาดหวังให้ที่นี่เป็นมากกว่าโรงเรียน หากแต่เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นความรู้ด้านงานไม้ไผ่แก่ชุมชน ทีมสถาปนิก อย่าง Site-Specific จึงลงมือออกแบบโรงเรียนให้กับโรงเรียน บ้านดอยช้าง อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเสียหาย จากแผ่นดินไหวโดยใช้ไม้ไผ่ วัสดุคุณภาพดีหาง่ายในชุมชน มาเป็นพระเอกในการก่อสร้าง ควบคู่ไปกับโครงสร้างเหล็ก ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง สามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้ดี ออกแบบ เป็นอาคารเรียนขนาดสองชั้นตามลักษณะพื้นที่ที่ทั้งแคบและชัน โดยมีหัวใจสําคัญเป็นคอร์ตขนาดอบอุ่นสําหรับใช้ทํากิจกรรมต่าง ๆ ของทั้งนักเรียนละผู้คนในชุมชน

ในสายตาคนทั่วไปโปรเจ็กต์นี้อาจเป็นเพียงโรงเรียนที่ ออกแบบมาเพื่อเป็นสถานที่เรียนรู้ แต่ในสายตาของสถาปนิก ที่นี่คือจุดเริ่มต้นขององค์ความรู้ด้านงานออกแบบเพื่อพร้อมรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว แต่สําหรับเด็กๆ แล้ว โรงเรียนบ้านดอยช้างคือดินแดนในฝันที่สวยเกินคําว่าโรงเรียน

“สิ่งที่น่าทึ่งมากคือ เด็ก ๆ พูดว่าเรากําลังจะสร้างรีสอร์ตให้ พวกเขาอยู่เขากําลังจะได้เรียนในรีสอร์ต ซึ่งผมยังจํารีแอ๊คชั่น ของเด็กๆที่เห็นโมเดลของเราได้จนถึงวันนี้” คุณชุตยเวศ สินธุพันธุ์ ผู้ก่อตั้ง Site-Specific เล่าถึงความสุขที่เกิดขึ้นจาก การแบ่งปันให้เราฟัง ก่อนที่คุณใหม่และคุณนุ้ยหนึ่งในทีมงาน จะช่วยเสริมด้วยรอยยิ้มว่า “ถ้าไม่มีแผ่นดินไหว เราคงไม่รู้ว่า ดอยช้างไม่ได้มีดีแค่กาแฟ และเราคงไม่ได้มาทําอะไรร่วมกับคนเยอะๆ มีทั้งคนที่ช่วยหาเงินให้เรา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไม้ไผ่ แม้จะเหนื่อยแต่ก็สนุก เพราะเราต้องพยายามมากในการทําให้คนในชุมชนเห็นว่าไม้ไผ่มีข้อดีและใช้งานได้จริง แต่ในขณะเดียวกัน เราก็มีความสุขที่เห็นเด็กๆตื่นเต้นไปกับโมเดลตรงหน้า”

 

city-guide-DESIGN-FOR-SHARE-10
บ้านต้นไม้สําหรับทริปผจญภัยของเด็กๆท่ามกลางแปลงผัก ช่วยให้น้องๆ ได้สัมผัสธรรมชาติแบบใกล้ชิดกว่าท่ีเคย

 

เพื่อทดแทนการใช้คอนกรีตท่ีมีต้นทุนสูง ทีมงานจึงเลือกใช้เหล็กมาทําเป็นโครงสร้างด้านในสุด ก่อนครอบด้วยโครงสร้างไม้ไผ่อีกช้ัน ช่วยให้อาคารเรียนมีความยืดหยุ่นและสามารถออกแบบ ให้รับแรงส่ันสะเทือนได้ถึง 6 แมกนิจูด แถมยังคิดฟอร์มอาคารให้ระบายน้ําฝนและรับลมเย็นตลอดปีไปพร้อมๆกับดึงเอาความยืดหยุ่นของไม้ไผ่มาสร้างรูปทรงอาคารให้มีเอกลักษณ์อ่อนช้อย สวยงาม

 

เรื่อง : ploythinkp+, MonoGoFarming
ภาพ : ดํารง, ศิริศร