Design for Young Gen : ดีไซน์ของวัยเติบโต

การออกแบบบ้านสำหรับเด็ก
ตั้งแต่ชาวเจนวายหรือมิเลนเนียมเติบโตขึ้นมา ก็มีเทคโนโลยีอย่างคอมพิวเตอร์และสิ่งอำนวยความสะดวกรายล้อมรอบตัวแล้ว แต่นั่นยังไม่เทียบเท่าเด็กๆ ‘Gen Z’ ที่เกิดระหว่างปีค.ศ. 2005 – 2009 เพราะตั้งแต่พวกเขาลืมตาดูโลก ก็มีสมาร์ทโฟนและอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอนุญาตให้พวกเขาก้าวสู่อีกโลกคู่ขนานได้เพียงนิ้วสัมผัส

ยิ่งไปกว่านั้น คือเด็กๆ ในเจนเนอเรชันต่อไป กล่าวกันว่า ‘เจนอัลฟ่า’ (Alpha Generation) หรือเด็กๆ ที่เกิดตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 – 2025 จะกลายเป็นเจเนอเรชันที่ไม่เพียงใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ แต่รวมเทคโนโลยีเข้ากับวิถีชีวิตจนเป็นหนึ่งเดียวกับมัน เหมือนที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘Screenagers’ หรือ ‘Generation Glass’

การดูแลรวมถึงการสร้างพื้นที่ให้เด็กรุ่นใหม่ได้เติบโต จึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่จะเหมาะกับพวกเขาโดยแท้ เพราะนอกเหนือจากความแตกต่างทางเจเนอเรชันและเทคโนโลยี เราเชื่อว่าเด็กไม่ได้เป็นแค่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ความต้องการ รวมถึงสิ่งที่จะเหมาะสมกับพวกเขานั้นย่อมแตกต่างจากคนที่โตกว่า ของใช้หรือ การออกแบบบ้านสำหรับเด็ก จึงย่อมไม่ใช่เพียงการย่อส่วน แต่ต้องเป็นสิ่งที่เหมาะกับพวกเขาจริงๆ

บ้านคุณขวัญชัย – เพียงฤดี ไชยชุ่มศักดิ์

01 Mini Terrace
บ้านที่พอจะมีบริเวณ คงจะดีถ้าจะมีต้นไม้สักต้นกับสนามหญ้ารอบๆ ออกแบบพื้นที่รอบๆ บ้าน ให้เป็นที่เล่น ที่นั่งพักผ่อนสำหรับเด็กๆ และครอบครัว อาจยกระดับเป็นชานเล็กๆ ใต้ต้นไม้ หรือสร้างเป็นบ้านไม้หลังเล็กๆ เข้าชุดกัน ก็ชวนให้ครอบครัวออกไปขยับแข้งขยับขาดีกว่าขลุกตัวอยู่ในบ้านได้บ้างเหมือนกัน

 

02 Treehouse
บ้านต้นไม้ที่เกาะเกี่ยวไปกับกิ่งก้านแข็งแรง เป็นพื้นที่ส่วนตัวให้เด็กๆ เหมือนได้ครอบครองอาณาจักรส่วนตัวของตัวเอง แบบที่สร้างนั้นก็ตามแต่กำลัง โดยอาจออกแบบให้ไม่สูงมาก เพื่อเติมไอเดียสไลเดอร์ลงไป มีราวกั้น เพื่อคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ แต่คงจะดีไม่น้อยหากเด็กๆ จะได้เป็นผู้ออกแบบบ้านของเขาเองร่วมกันไปด้วย

 

03 Workshop House beneath the sun
ในบรรยากาศต้นไม้เขียวครึ้ม เติมสวนด้วยบ้านไม้หลังเล็กๆ ให้สมาชิกในครอบครัวได้ทำในสิ่งที่ชอบในที่แห่งนี้ มุมเล็กๆ ที่ปรับเปลี่ยนสร้างสรรค์ ดึงความสนใจจากโลกหน้าจอ น่าจะช่วยเติมเวลาว่างของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้อย่างเต็มเปี่ยมด้วยจินตนาการ

 

โรงเรียน Shrewsbury International School

04 Playable landscape
สนามเด็กเล่น ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องเล่นจำพวกไม้กระดก กระดานลื่น หรือชิงช้าเสมอไป บางครั้งการมีเพียงลานโล่งๆ กับแนวผนังกั้นเป็นเขาวงกต หรือล้อมรั้วเป็นซุ้มขนาดเล็ก – ใหญ่ ก็ช่วยให้เด็กสามารถใช้จินตนาการกับพื้นที่โดยรอบได้เอง เล่นตรงไหนก็ได้ ตามที่ต้องการโดยไม่ยึดติดกับเครื่องเล่น โดยอาจใช้วัสดุอย่างพื้นยางสังเคราะห์นุ่มๆ ช่วยกำหนดขอบเขตพื้นที่เล่นให้กับพวกเขา

 

บ้านคุณแกมกาญจน์ มณีโรจน์

05 Sandbox
บ้านที่มีพื้นที่จำกัดหน่อย แต่ต้องการให้วัยซนมีที่ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างดินทราย การกั้นกระบะทรายไว้ก็เป็นไอเดียที่ไม่เลว แต่อาจดีไปกว่านั้น ถ้าลองประยุกต์ให้เข้ากับระเบียงเล็กๆ หน้าบ้านหรือหลังบ้าน ออกแบบระเบียงโดยเว้นพื้นที่เป็นกระบะขนาดพอเหมาะไว้  บ่อทรายแบบนี้ได้ประโยชน์ตรงที่ไม่เลอะเทอะ และน้องๆ หนูๆ ยังจะได้สนุกไปกับการจินตนาการกับการเล่นอีกด้วย

อ่านต่ออีก 6 ไอเดีย คลิกที่นี่