ชวนเด็กๆ มาทำไอศกรีมสองสีจาก ดอกอัญชัน กัน!

ดอกอัญชัน ไอศกรีมกับเด็ก ๆ เป็นของคู่กัน ยิ่งเวลาอากาศร้อนๆ การได้ไอศกรีมสักแท่งเป็นรางวัลจะทำให้หัวใจเด็กน้อยพองโตขึ้นมาทันที ไอศกรีมหรือที่คนไทยเรียกกันทั่วไปว่าไอติมมีหลายชนิดแตกต่างกันไป

ดอกอัญชัน ไอศกรีมเจลาโต้ที่มีนมและครีมเป็นส่วนประกอบ ไอศกรีมกะทิของไทย ไอศกรีมทำจากถั่วเหลืองสำหรับคนเลี่ยงการกินนมวัว ไอศกรีมโยเกิร์ตผลไม้ของคนรักสุขภาพ ซอร์เบต์สำหรับคนชอบเปรี้ยว ซึ่งแต่ละชนิดคนทำไอศกรีมก็สามารถใส่ลูกเล่นต่างๆ ลงไปตามความชอบและส่วนผสมที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น เนื้อผลไม้ชนิดต่างๆ สมุนไพร หรือสีสวยๆ จากดอกไม้ใบไม้

ดอกอัญชัน

เมื่อไอศกรีมเป็นของโปรดปรานของทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะเจ้าตัวน้อยเราอาจทำไอศกรีมง่าย ๆ ไว้รับประทานกันในบ้านจากของใกล้ตัว เช่น ดอกไม้ในสวนอย่างอัญชันที่ให้สีฟ้า อีกทั้งให้เด็ก ๆ ได้เล่นสนุกกับสีด้วยการเติมมะนาวลงไปในอัญชันและทำไอศกรีมสองสีกัน

ส่วนผสม

น้ำ 2.5 ลิตร
น้ำตาล ครึ่งกิโลกรัม
ดอกอัญชัน 50 ดอก
น้ำมะนาว 3 ลูก

วิธีทำ

1. นำดอกอัญชันห่อผ้าขาวบางต้มในน้ำให้เดือด
2. ใส่น้ำตาล คนให้ละลาย
3. นำน้ำอัญชันขึ้นจากเตา ทิ้งไว้ให้เย็น
4. แบ่งน้ำอัญชันออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งบีบน้ำมะนาวใส่ลงไป
5. ตักน้ำอัญชันใส่ในพิมพ์ไอศกรีมครึ่งหนึ่ง นำไปแช่ในช่องแช่แข็งรอจนไอศกรีมแข็งตัวจึงเติมน้ำอัญชันมะนาวลงไป นำกลับไปแช่ในตู้เย็นอีกครั้งจนแข็ง เราก็จะได้ไอศกรีมอัญชันสองสีสวย ในช่วงฤดูร้อนอากาศแผดเผา ไอศกรีมเย็น ๆ สีสวย ๆ สักแท่งคงช่วยบรรเทาร้อนและทำให้เด็ก ๆ ชื่นใจได้ไม่น้อย

อัญชัน

เป็นไม้เลื้อยเถาเล็ก มีชื่อภาษาอังกฤษว่า butterfly pea หรือ blue pea มีดอกสีน้ำเงินม่วง นิยมปลูกไว้ในสวนของบ้าน เพราะปลูกง่าย ออกดอกสีสวยและมีสรรพคุณทางสมุนไพรมากมาย นิยมนำไปเป็นส่วนผสมในแชมพูหรือครีมนวดผมดอกอัญชันนำมาคั้นสีให้สีสวยไว้ใส่ขนม เช่น ขนมช่อม่วง ขนมบัวลอยและขนมไทยอีกหลายชนิด สมัยโบราณบ้านไหนอยากให้ลูกหลานมีคิ้วดกดำคุณย่าคุณยายจะนำดอกอัญชันมาวาดคิ้วสวยให้เด็กๆ

เด็กๆ ได้อะไรจากการทำไอศกรีมการทำไอศกรีมรับประทานเองในบ้านมีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้นมากมาย เด็ก ๆ ได้ช่วยกันเก็บดอกอัญชันเพื่อเตรียมไว้ต้มน้ำอัญชันสำหรับไอศกรีมสีสวย เด็ก ๆ ได้ฝึกฝนการเป็นนักสังเกตเมื่อเห็นสีที่เปลี่ยนไปของน้ำอัญชันจากสีฟ้ากลายเป็นสีม่วงซึ่งสำหรับเด็กเล็ก ๆ เราไม่จำเป็นต้องรีบอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ว่าทำไมสีจึงเปลี่ยนไปเก็บไว้ให้เป็นความสงสัยในใจ เมื่อโตขึ้นเขาจะเจอคำตอบเอง และเป็นคำตอบที่ไม่ใช่เป็นเพียงแต่ข้อมูล แต่เป็นคำตอบที่เกิดจากความเข้าใจของเขาเอง

ถ้าหากสนใจกินกรรมอื่นๆสำหรับเด็ก สามารถดูเพิ่มเติมได้จาก “หนังสือเล่นกับดอกไม้ใบหญ้า” โดยสำนักพิมพ์บ้านและสวน

 

เรื่อง ศิริลักษณ์ ริ้วบำรุง
ภาพ อภิรักษ์ สุขสัย

ถ้าหากสนใจกินกรรมอื่นๆสำหรับเด็ก สามารถดูเพิ่มเติมได้จาก “หนังสือเล่นกับดอกไม้ใบหญ้า” โดยสำนักพิมพ์บ้านและสวน

สั่งซื้อได้ที่นี่

l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l