แบบสำนักงาน

CHARCOAL DESIGN เมื่อบ้านเก่าถูกรีโนเวตให้เป็นออฟฟิศเก๋าเท่ของเหล่านักออกแบบ

แบบสำนักงาน
แบบสำนักงาน

ฝุ่นถ่านที่ละเลงไปบนกระดาษ…หลายสถาปัตยกรรมในโลกเริ่มต้นมาจากจุดนั้น แม้ว่าสำนักงานแห่งใหม่ของบริษัทออกแบบ “ Charcoal Design  จะไม่ได้เก่าแก่ถึงขนาดวาดด้วยมือหรือแท่งถ่าน แต่ก็มีจุดเด่นอยู่ที่หลักคิดของผู้ก่อตั้งที่ต้องการหวนกลับไปสู่วิธีการทำงานขั้นเบสิกของการออกแบบ ดังเช่นที่ปรากฏในชื่อของบริษัทนั่นเอง

Charcoal Design
แทนที่บ้านจัดสรรหลังเก่าด้วยอาคารกล่องสีขาวหลังใหม่จนแทบจะลืมภาพเดิมไปเลย นอกจากนี้ทีมออกแบบยังได้ขยายประตูรั้วเพื่อให้สามารถจอดรถได้มากกว่าเดิมและแทรกพื้นที่สีเขียวเล็ก ๆ สร้างบรรยากาศร่มรื่นให้สถานที่ทำงาน

คุณคณิต มีขนอน และ คุณสุธี ลิมมณี คือสองพาร์ตเนอร์ที่ร่วมกันเปิดบริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมมานานกว่า 6 ปี ผ่านงานออกแบบมาแล้วมากมาย โดยเฉพาะงานออกแบบเชิงพาณิชย์อย่างคอมมูนิตี้มอลล์ต่าง ๆ การตัดสินใจย้ายสถานที่มาสร้างบ้านหลังใหม่ให้ออฟฟิศออกแบบของพวกเขาครั้งนี้จึงนับเป็นอีกจุดเปลี่ยนหนึ่งที่สำคัญ

ปัจจุบันเรามีสมาชิกอยู่ประมาณ 17 – 18 คน ที่เดิมค่อนข้างเล็ก อีกทั้งเจ้าของไม่อนุญาตให้ปรับปรุงหรือต่อเติมอาคาร เราจึงต้องมองหาสถานที่ใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ทั้งพื้นที่และฟังก์ชัน

สถาปนิกทั้งสองเล่าให้ฟังถึงออฟฟิศเดิมไม่ตอบรับกับการใช้งาน บ้านจัดสรรหลังเก่าอายุราว 30 ปี บนเนื้อที่100 ตารางวา ไม่ไกลจากออฟฟิศเดิมย่านถนนพระราม 9แห่งนี้จึงได้รับเลือกให้เป็นออฟฟิศใหม่ ใช้เวลารีโนเวตไม่ถึง 1 ปีก็แล้วเสร็จเพื่อให้สามารถเข้าอยู่ได้เร็วที่สุด

โถงทางเดินหลักบนชั้น 2 เชื่อมจากบันไดไปสู่ห้องพักผ่อนและห้องทำงานของผู้บริหาร มีบรรยากาศโปร่งโล่งเป็นหนึ่งเดียวกันกับโถงทำงานชั้นล่าง

ห้องต่าง ๆ ในบ้านไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องครัว หรือห้องน้ำถูกรื้อออก แล้วแทนที่ด้วยฟังก์ชันใช้งานใหม่ ๆสำหรับรองรับทีมงานทั้งสถาปนิก อินทีเรียร์ดีไซเนอร์กราฟิกดีไซเนอร์ ให้มีพื้นที่ทำงานส่วนตัวที่กว้างขวางสะดวกสบาย ทั้งยังสามารถรองรับการขยายตัวและจำนวนพนักงานที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

เริ่มจากกำหนดพื้นที่ทำงานให้อยู่ตรงโถงกลางเพื่อ รองรับพนักงานได้ทั้งหมด โดยใช้โต๊ะทำงานขนาดใหญ่ ร่วมกัน มีห้องประชุมใหญ่อยู่บนชั้น 2 ลูกค้าสามารถ เดินผ่านส่วนต้อนรับขึ้นสู่ด้านบนได้เลยไม่ต้องเดินผ่าน โถงทำงาน ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถมองเห็นบรรยากาศ การทำงานในโถงเปิดโล่งชั้นล่างได้

มุมมองจากห้องพักผ่อนชั้น 2 โครงหลังคาเดิมถูกยกสูงขึ้นเพื่อ เพิ่มความโปร่งโล่ง กรุฝ้าเพดานไม้ เทียมสีอบอุ่น คุมบรรยากาศโดยรวม ให้มีความน่าอยู่เหมือนบ้าน มีโต๊ะ ทำงานที่เชื่อมต่อกันเป็นโต๊ะเดียว นอกจากจะช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ ระหว่างกันแล้ว พนักงานแต่ละคน ยังสามารถตกแต่งพื้นที่ทำงานของ ตัวเองไม่ให้ดูจำเจได้ด้วย

มุมมองทั่วทั้งออฟฟิศดูปลอดโปร่งเนื่องจากทุบผนังและพื้นชั้นสองบริเวณที่ตรงกับโถงชั้นล่างออก โดยยังคงเหลือกรอบโครงสร้างเสาและคานปูน 2 อันไว้เพื่อรับน้ำหนักและรองรับโครงหลังคาเดิมที่ยกสูงขึ้น ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดูกว้างขวาง มองทะลุถึงกันได้ทั้งหมด

และเนื่องจากตัวอาคารหันไปทางทิศใต้ พื้นที่ทำงานตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก สถาปนิกจึงออกแบบพื้นที่ใช้สอยใหม่ให้เกาะไปกับโถงโครงสร้างเก่าเป็นรูปตัวยู (U)ครอบทิศเหนือ ใต้ และทิศตะวันตกเอาไว้ กำหนดให้พื้นที่ทึบตันหรือมักไม่ค่อยใช้งานอย่างห้องน้ำและห้องเก็บของอยู่ทางทิศตะวันตกและทิศใต้ ซึ่งเป็นทิศที่จะได้รับความร้อนจากแสงแดดยามบ่ายมากกว่าทิศอื่น เพื่อให้ช่วยลดความอับชื้นและมีสุขอนามัยที่ดี งานออกแบบส่วนที่เหลือจึงเป็นเรื่องของการทำพื้นที่ให้อยู่สบาย เรียบง่ายและน่าใช้งาน

ล่าง โถงห้องทำงานโปร่งโล่งโชว์คานปูนขนาดใหญ่ ใกล้กันมี ทางเดินเชื่อมสู่ห้องประชุมเล็ก กลางห้องจัดวางโต๊ะกระจก ซึ่งเป็นโต๊ะทำงานเดิมของผู้บริหารที่นั่งทำงานร่วมกันตั้งแต่เริ่ม ก่อตั้งบริษัท

ส่วนหนึ่งคือเราอยากให้มีที่จอดรถ ให้มากที่สุด พื้นที่เศษเหลือก็เอาต้นไม้ มาแทรก บ้านเดิมเคยมีสวนอยู่ข้างหน้า หลังนี้ก็อยากให้มีด้วย แต่เนื่องจากมี พื้นที่จำกัด เพราะเราสร้างออฟฟิศใหม่ เต็มพื้นที่ จึงต้องหันมาใช้การจัดวาง ไม้กระถางแทน ส่วนบรรยากาศของโซน ด้านในเราอยากให้ทุกคนรู้สึกผ่อนคลาย เลยออกแบบบรรยากาศให้เหมือนบาร์ หรือร้านกาแฟ มีมุมสีเขียวสบายตา นั่ง กันได้นาน

จากบ้านเปลี่ยนมาเป็นออฟฟิศที่มีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นเท่าตัวท่ามกลางบรรยากาศดี ๆ ไม่เพียงแต่ตอบโจทย์การใช้งานของเหล่า นักออกแบบ แต่ยังช่วยเพิ่มพลังในการคิดริเริ่มและ สร้างสรรค์โปรเจ็กต์ต่าง ๆ ให้เต็มไปด้วยไอเดียสดใหม่ด้วย

 


ออกแบบ Charcoal Design Co., Ltd.
www.facebook.com/charcoaldesigncompany

เรื่อง Korakada ภาพ นันทิยา
เรียบเรียง Parichat K.