เบื้องหลังเครื่องประดับฝีมือชั้นครู Jewel of Thailand บนเวที Miss Universe 2016

เบื้องหลังเครื่องประดับที่ช่วยส่งเสริมชุด Jewel of Thailand ให้สมบูรณ์แบบที่สุดบนเวที Miss Universe 2016
บทความโดย คุณพลัฏฐ์ จิรพุฒินันท์
ผู้ออกแบบเครื่องประดับ
WSP_8901
เครื่องประดับที่ใช้ในชุดประจำชาติ Jewel of Thailand ซึ่งออกแบบโดยคุณหิรัญกฤษฏิ์ ภัทรบริบูรณ์กุล เพื่อการประกวด Miss Universe 2016 ที่ประเทศฟิลิปปินส์นั้น ถือเป็นอีกส่วนที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าชุดไทยศิวาลัยประดับเพชรและงานปักจากช่างฝีมือชั้นครูทีเดียว
Miss Universe 2016
ซึ่งแนวความคิดของชุดโดยรวมจะพูดถึงความร่ำรวยทางศิลปวัฒนธรรมของไทย ถ่ายทอดผ่านชุดไทยศิวาลัย อันเป็นชุดไทยพระราชนิยมในสมเด็จพระนางเจ้าบรมราชินีนาถ ดังที่คุณหิรัญกฤษณ์ได้กล่าวไว้ในหลายสื่อไว้บ้างแล้ว
แต่หากจะกล่าวถึงแนวความคิดที่พัฒนาจนมาเป็นผลงานเครื่องประดับนั้น ก็เรียกได้ว่ามีความน่าสนใจไม่แพ้กันเลย ซึ่งในส่วนเครื่องประดับนี้มีผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ ได้แก่ ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับร่วมสมัยอันน่าตื่นตาตื่นใจ อีกทั้งในโครงการนี้ยังได้รับการสนับสนุน Cubic Zirconia จาก Swarovski Gemstones โดยบริษัท ซิกนิตี้ ประเทศไทย จำกัด เป็นมูลค่านับสามแสนบาท มาสร้างความระยิบระยับจับใจผู้ชมอีกด้วย
15542444_272492506499092_2733722105991425012_n
แรงบันดาลใจสำหรับสร้างงานเครื่องประดับ เกิดจากการเข้าไปขอคำปรึกษากับ อาจารย์พีรมณฑ์ ชมธวัช ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องประดับลักษณะไทย ในเรื่องของการเทียบยุคอาร์ตเดโคกับช่วงเวลาในประเทศไทย ซึ่งตรงกับช่วงปลายรัชกาลที่ 5 จากนั้นจึงได้เริ่มหารูปภาพตัวอย่างมาทำการวิเคราะห์ จนไปพบกับภาพสร้อยของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ซึ่งออกแบบโดย Van Cleef นักออกแบบเครื่องประดับชาวฝรั่งเศส ซึ่งพบว่าลวดลายไทยที่ใช้นั้นมีชื่อว่า ลายกรวยเชิง ซึ่งเป็นลายเดียวกันกับลายที่จะปักบนชายกระโปรงและสไบของชุด จึงจัดแจงนำลายกรวยเชิงนี้มาทำการศึกษาต่อ
IMG_8663
ในระหว่างการศึกษาลวดลายก็ได้มีโอกาสปรึกษากับ อาจารย์ทัศน์ฐรสชง ศรีกุลกรณ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุภาวี ศิรินคราภรณ์ ทั้งในด้านกระบวนการออกแบบและการผลิตผลงาน ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา จึงสรุปได้ว่าในงานออกแบบเครื่องประดับครั้งนี้ จะต้องเป็นการออกแบบในเชิงอุตสาหกรรม โดยจะต้องออกแบบส่วนประกอบในขนาดและรูปแบบที่ต่างกัน จากนั้นนำมาทำซ้ำให้ได้จำนวนที่ต้องการ จากนั้นจึงนำมาจัดองค์ประกอบเป็นเครื่องประดับ
IMG_8205
IMG_8221
IMG_8384
อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ในโครงการนี้มีข้อจำกัดเรื่องเวลา เราจึงได้เลือกการทำงาน 3D printing เข้ามาช่วยในการออกแบบ เนื่องมาจากเราสามารถขึ้นต้นแบบและตรวจสอบจากในจอคอมพิวเตอร์ เพื่อดูว่าตรงตามความต้องการหรือไม่ สามารถปรับแก้ได้ง่าย อันเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายด้านวัสดุได้มากกว่าการขึ้นตัวเรือนโลหะหรือการแกะต้นแบบแวกซ์ อีกทั้งยังสามารถคำนวณน้ำหลักของโลหะมีค่าที่ต้องใช้ เพื่อกำหนดงบประมาณในการทำงานได้ด้วย
โดยในส่วนของงาน 3D printing นั้นเราได้รับความอนุเคราะห์จาก Proto Factory โดยคุณอัฏฐกาล วชิราวุฒิชัย เข้ามาช่วยสร้างผลงานที่จับต้องได้จำนวน 13 ชิ้น ด้วยระยะเวลาที่ไม่นานเกินรอเลย
IMG_8492
Packshot-026
หลังจากที่ได้ส่วนประกอบของงานเครื่องประดับมา เราก็ได้ทำการออกแบบและจัดทำเครื่องประดับจนแล้วเสร็จ ทั้งหมด 6 อย่าง ประกอบด้วย สร้อยคอแผง, ต่างหูระย้า, พาหุรัด (เครื่องประดับต้นแขน), ปั้นเหน่งหรือเข็มขัด, แหวน และ รัดเกล้ายอด ซึ่งได้ คุณอนุศักดิ์ แก้วกระจ่าง ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำเครื่องประดับศีรษะเข้ามาช่วยดูแลในส่วนนี้
Packshot-018
Packshot-072 Packshot-048 Packshot-035 Packshot-032 Packshot-027
ในกระบวนการทำเครื่องประดับในครั้งนี้ มีผู้มีส่วนร่วมเข้ามาช่วยลงแรงไม่ต่ำกว่า 50 ท่าน และปฏิเสธไม่ได้เลยว่า นอกจากจำนวนบุคลากรที่เข้ามาทำงานนั้นมีผลต่อความรวดเร็วในการทำงานจนแล้วเสร็จแล้ว การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในงานเครื่องประดับก็ถือเป็นเครื่องทุ่นแรง ทุ่นเวลา ทุ่นเงินทุน ที่สำคัญและน่าสนใจในยุคปัจจุบั
ในฐานะผู้ออกแบบและดูแลการผลิตเครื่องประดับชุดนี้ เราก็ได้เรียนรู้จากการทำงานว่าการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม กระบวนการที่เหมาะสม และบุคลากรที่เหมาะสมนั้น มีผลต่อผลสำเร็จของงาน ในปัจจุบันเองกระบวนการ 3D pringting ก็มีหลากหลายรูปแบบ วัสดุ ซึ่งหากท่านได้ศึกษาหรือขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว เชื่อได้ว่ากระบวนการนี้ก็จะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างมาก และอาจจุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับวงการอุตสาหกรรมเครื่องประดับ รวมถึงวงการเครื่องประดับร่วมสมัยในประเทศไทย
WSP_8958

ชาวไทยสามารถโหวตให้ น้ำตาล ชลิตา ได้ 4 ช่องทาง ได้จนถึงวันที่ 29 ม.ค. คือ

1. โหวตผ่านแอพ VODI (โหวตได้วันละครั้งเท่านั้น)
2. โหวตผ่านเว็บ vote.missuniverse.com
3. โหวตผ่านแอพพลิเคชั่น Miss U
4. โหวตผ่านทวิตเตอร์ โดยการทวีตหรือรีทวิต พร้อม hashtag #MissUniverse แล้วตามด้วย #Thailand

a4_26

เรื่อง : คุณพลัฏฐ์ จิรพุฒินันท์
Jewellery Designer
Part-time Instructor at The Golden Jubilee Royal Goldsmith College
ภาพ: กองประกวด Miss Universe Thailand