
BRAND FOR ALL แบรนด์เพื่อมวลชน
ปัจจุบัน แนวคิด UD ได้รับการประยุกต์ใช้กับแบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภคหลากหลายระดับ รวมถึงองค์กรต่าง ๆ โดยคํานึงถึงสรีระของกลุ่มผู้ใช้งานที่ครอบคลุมไปถึงผู้พิการ หรือมีขีดจำกัดทางร่างกาย ในขณะที่อีกหลาย ๆ แบรนด์ให้ความสําคัญกับ UD ในระดับ User-Friendly ที่เน้นความยืดหยุ่นในการใช้งาน การออกแบบที่สื่อสารได้อย่างเป็นสากล และอาจผสมผสานแนวคิดน้ีเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาการออกแบบ
Dyson คือหนึ่งแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าจากอังกฤษท่ีมุ่งใช้ “นวัตกรรม” เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของผู้คน เน้นออกแบบ ผลิตภัณฑ์โดยไม่ยึดกับงานวิจัยทางการตลาดเหมือนแบรนด์อื่น ๆ แต่เน้นให้ความสําคัญกับงานศึกษาวิจัยเก่ียวกับ “ผู้ใช้งานจริง” จึงไม่แปลกถ้าผลิตภัณฑ์ของ Dyson จะเป็นที่นิยมท่ัวโลก และหลาย ๆ ดีไซน์ก็มีความเป็นมิตรกับผู้พิการและผู้สูงอายุเป็นพิเศษ

ยกตัวอย่างกรณีของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นชาติที่ผ่านสงครามและมีจํานวนผู้สูงอายุมากข้ึนเรื่อย ๆ จึงให้ความสําคัญกับ UD สูง ทั้งในงานสถาปัตยกรรม และพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ มีการออกแบบเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุมากเป็นพิเศษ แม้แต่แบรนด์ระดับโลกสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง MUJI เจตนารมณ์ของการออกแบบก็มีกลิ่นอายของUD อยู่ ผลิตภัณฑ์เกือบทุกชิ้นล้วนได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับผู้คนในวงกว้าง ไม่ว่า จะเป็นเรื่องของราคาที่ใคร ๆ ก็เข้าถึงได้ หรือรูปแบบที่แสน “สามัญ” ต่างก็ช่วยให้การใช้งานดูง่ายไม่ซับซ้อน แม้แต่การ ออกแบบบรรจุภัณฑ์และฉลากท่ีเป็นสากล ไม่ว่าชนชาติไหนก็เข้าใจและใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่จําเป็นต้องมีความเข้าใจในภาษาญี่ปุ่น

อีกหนึ่งแบรนด์ใกล้ตัวอย่าง Apple ที่ให้ความสําคัญกับ “ความแตกต่าง” ของ ผู้ใช้งาน นอกเหนือไปจากฟังก์ชันพื้นฐานของแก็ดเจ็ตท่ีเราใช้กันในชีวิตประจําวัน Apple ได้สอดแทรก “ทางเลือก” สําหรับผู้มีความต้องการพิเศษเข้าไว้ด้วยอย่างแนบเนียน จน Assistive Technology ได้กลายเป็นมาตรฐานหนึ่งของผลิตภัณฑ์ Apple ไปโดย ที่เราไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นระบบเสียงอ่านข้อความบนหน้าจอสำหรับผู้พิการทางสายตา ระบบการสัมผัสพิเศษหรือการสั่งงานด้วยเสียงสำหรับผู้มีปัญหาด้านร่างกาย หรือโปรแกรมการเรียนรู้พิเศษสําหรับผู้มีปัญหา ความบกพร่องด้านการอ่านและการเรียนรู้ทั้งหมดนี้ล้วนออกแบบให้ใช้งานง่าย ช่วยให้ผู้มีข้อจํากัดทุกคนสามารถใช้งานเทคโนโลยีในการเรียนรู้และการสื่อสารได้ใกล้เคียงกับผู้คนปกติท่ีสุด นอกจากผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ที่กล่าวมา ก็ยังมีแบรนด์อื่น ๆ ไปจนถึงดีไซเนอร์อีกมากมายท่ีใช้แนวคิดแบบ User-centered ซึ่งถือเป็นแนวโน้มท่ีดี และจะช่วยสร้างมาตรฐานใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น แม้อาจจะต้องใช้เวลาสักระยะก็ตาม

FIGHT FOR GOOD DESIGN ดีไซน์ดีคือสิทธิของเรา
ในปัจจุบันแนวคิด Universal Design กลายเป็นเกณฑ์พื้นฐานของ “ดีไซน์ท่ีดี” แต่อาจยังเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรโลก แต่ในโลกยุคอนาคตดีไซน์เพื่อมวลชนคือ เรื่องจําเป็นอย่างยิ่งในยุคที่วิทยาการก้าวกระโดด นวัตกรรมการยื้อชีวิตทําให้มนุษย์อายุยืนยาวขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ สงครามต่าง ๆ จะเพิ่มจํานวนผู้พิการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สังคมผู้สูงอายุจะพลิกโฉมโลกไปในทิศทางไหนยังยากจะคาดเดา แต่ท่ีแน่ ๆ วันหนึ่งข้างหน้าเราทุกคนคือคนชราอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง และเราจะวางแผนรับมือกับประชากรโลกที่มีความแตกต่าง และขีดจํากัดอันหลากหลายในอนาคตอย่างไร

การสร้างสรรค์ดีไซน์ที่คํานึงถึงสังคมส่วนรวมเป็นหลักจึงเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของดีไซเนอร์ การสอดแทรก UD ในผลิตภัณฑ์ทั่วไปในรูปแบบที่น่าดึงดูด คุ้มค่าราคา เข้าถึงง่าย และอาจกล่าวได้ว่า การเรียกร้องถึงผลิตภัณฑ์ดีไซน์ดังกล่าวก็เป็นหน้าท่ีของผู้บริโภคด้วยเช่นกัน เพราะหากยึดตามกลไกการตลาดแล้ว เมื่อมีอุปสงค์ก็ย่อมมีอุปทาน เมื่อเราเรียกร้องก็เหมือนเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวทั้งในแวดวงดีไซน์และธุรกิจ เหมือนกับท่ีเคยเกิดขึ้นมาแล้วกับสินค้าออร์แกนิก หรือผลิตภัณฑ์ท่ีใส่ใจในผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมระยะยาว

(ขวา) OXO อีกหนึ่งแบรนด์อุปกรณ์เครื่องครัวและเครื่องใช้ในบ้านท่ีข้ึนชื่อว่าใส่ใจในทุก รายละเอียดของการใช้งาน จากดีไซน์แรกของท่ีปอกเปลือกมันฝรั่งที่ออกสู่ตลาด เมื่อสองทศวรรษก่อน จนบัดนี้มีผลิตภัณฑ์กว่า 1,000 รายการที่ช่วยให้การใช้ชีวิตในบ้านง่ายข้ึน (photo : johnlewis.com)
ไม่ว่าจะรวยล้นฟ้าหรือจนแร้นแค้น เราทุกคนคือมนุษย์ท่ีล้วนมีความต้องการพื้นฐานส่ิงเดียวกัน หากเราดีไซน์สินค้าเพื่อตอบสนองความเป็น “มนุษย์” มากกว่าเพื่อตอบสนองอำนาจการใช้จ่ายของผู้ใช้งาน เมื่อนั้นดีไซน์ก็จะ “รับใช้” มนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมและยั่งยืน