แมวดมอาหารแต่ไม่ยอมกิน, โรคช่องปากในแมว, โรคช่องปากอักเสบในแมว, โรคแมว, โรคเหงือกอักเสบ, โรคช่องปากอักเสบ

แมวดมอาหารแต่ไม่ยอมกิน อาจเกิดจากโรคเรื้อรังในช่องปาก

แมวดมอาหารแต่ไม่ยอมกิน, โรคช่องปากในแมว, โรคช่องปากอักเสบในแมว, โรคแมว, โรคเหงือกอักเสบ, โรคช่องปากอักเสบ
แมวดมอาหารแต่ไม่ยอมกิน, โรคช่องปากในแมว, โรคช่องปากอักเสบในแมว, โรคแมว, โรคเหงือกอักเสบ, โรคช่องปากอักเสบ

แมวดมอาหารแต่ไม่ยอมกิน กินอาหารลดลง มีกลิ่นปาก และน้ำลายไหลมากกว่าปกติ อาจเกิดจาก โรคเหงือกและช่องปากอักเสบเรื้อรังในแมว รีบปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนสุขภาพน้องแมวจะแย่ลง

โรคเหงือกและช่องปากอักเสบเรื้อรังในแมว หรือทางการแพทย์เรียกว่า feline chronic gingivostomatitis เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในแมว และเป็นสาเหตุให้แมวกินอาหารลดลงเนื่องจากเจ็บช่องปาก โดยจะส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลงด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า แมวจะมีกลิ่นปากที่ไม่พึงประสงค์ น้ำลายไหลมากกว่าปกติ น้ำลายเหนียวเลอะบริเวณขอบปาก และเกิดเป็นคราบดำรอบ ๆ ริมฝีปาก มีอาการน้ำลายไหลปนเลือดออกจากช่องปาก ในขณะที่กินอาหารจะเคี้ยวลำบาก กลืนอาหารลำบาก หรือ แมวดมอาหารแต่ไม่ยอมกิน ภาวะนี้ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยเรื้อรังจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของน้องแมวได้อย่างมาก

แมวดมอาหารแต่ไม่ยอมกิน, โรคช่องปากในแมว, โรคช่องปากอักเสบในแมว, โรคแมว, โรคเหงือกอักเสบ, โรคช่องปากอักเสบ
ภาพถ่าย Felice Wölke

สาเหตุของการเกิดโรคเหงือกและช่องปากอักเสบในแมว

สาเหตุที่พบได้บ่อยคือ การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก โรคเกี่ยวกับฟันและปริทันต์อักเสบ ภาวะเหงือกและช่องปากอักเสบแบบไม่ทราบสาเหตุ การติดเชื้อไวรัสเอดส์และลิวคีเมีย การติดเชื้อไวรัส calicivirus เรื้อรัง ภาวะการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในช่องปากมากเกินไป ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่พบได้ เช่น การติดเชื้อราในช่องปาก เนื้องอกและมะเร็งในช่องปาก ภาวะช่องปากอักเสบจากยูเรียในกระแสเลือดสูง กลุ่มอาการ Eosinophilic granuloma complex เป็นต้น

โรคเหงือกและช่องปากอักเสบพบได้ในทุกช่วงอายุแต่มักพบได้บ่อยในแมวอายุ 2 ปีขึ้นไป และแมวที่มีอายุมากเช่น 7 ปีขึ้นไป ที่มักมีปัญหาโรคหินปูนและโรคปริทันต์ ในแมวที่อายุน้อยช่วงอายุ 7-10 เดือน จะสามารถพบกลุ่มอาการที่เรียกว่า ภาวะเหงือกอักเสบในแมวเด็ก (feline juvenile gingivitis) โดยพบมากในแมวสายพันธุ์ไทย เมนคูน และ Siamese

แมวดมอาหารแต่ไม่ยอมกิน, โรคช่องปากในแมว, โรคช่องปากอักเสบในแมว, โรคแมว, โรคเหงือกอักเสบ, โรคช่องปากอักเสบ
ภาพถ่าย Jesse Borovnica

การตรวจวินิจฉัย

สัตวแพทย์จะสอบถามอาการจากเจ้าของแมว และตรวจช่องปากและฟันอย่างละเอียด ดูจากลักษณะรอยโรคในช่องปาก การตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยแยกแยะโรคในระบบร่างกาย รวมถึงการตรวจโรคไวรัส เช่น เอดส์ และลิวคีเมีย เป็นต้น รวมไปถึงการเอกซเรย์ช่องปากโดยเครื่องเอกซเรย์สำหรับช่องปากโดยเฉพาะ ซึ่งโดยส่วนมากจะทำภายใต้การวางยาสลบหรือให้ยาซึม และอีกหนึ่งวิธีคือ การเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อในช่องปากเพื่อส่งวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา

การรักษาและการดูแลช่องปากน้องแมว

การรักษาโรคเหงือกและช่องปากอักเสบเรื้อรังในแมวขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ตรวจพบ และมักจะต้องใช้การรักษาร่วมกันหลายวิธี รวมถึงการดูแลสุขภาพช่องปากแมวเป็นประจำในระยะยาว เพื่อบรรเทาอาการเนื่องจากเป็นโรคเรื้อรัง และบางสาเหตุอาจจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

แมวดมอาหารแต่ไม่ยอมกิน, โรคช่องปากในแมว, โรคช่องปากอักเสบในแมว, โรคแมว, โรคเหงือกอักเสบ, โรคช่องปากอักเสบ
ภาพถ่าย Kabo

การรักษา สัตวแพทย์อาจพิจารณาการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรีย การให้ยาลดอักเสบ การให้ยากดภูมิคุ้มกัน การขูดหินปูนและถอนฟันที่มีความผิดปกติบางส่วน หรือการถอนฟันทั้งช่องปาก รวมไปถึงการใช้น้ำยาล้างช่องปาก

สำหรับการดูแลและป้องกันโรคช่องปากในแมวแนะนำให้ฝึกการแปรงฟันแมวเป็นประจำทุกวันเพื่อช่วยลดการเกิดคราบหินปูน ลดแบคทีเรียในช่องปาก และป้องกันการเกิดโรคในช่องปากได้อีกด้วย

เรื่อง สพ.ญ. ปิยวรรณ ภู่ระหงษ์
สัตวแพทย์ประจำคลินิกแมว PURRfect Cat Hospital


เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ดูแลสุขภาพช่องปากของแมว ด้วยการแปรงฟัน

วิธีกำจัดปัญหากลิ่นปากของสัตว์เลี้ยงแบบง่ายๆ ไม่มีเวลาก็ทำได้