KOSHISH HOUSE สถาปัตยกรรมยั่งยืน เล่าการใช้งานใหม่ให้วัสดุมีหน้าที่ไม่จำกัด

สร้างความเป็นไปได้ใหม่ให้กระเบื้องดินเผากว่า 14,858 ชิ้น วัสดุดั้งเดิมในรัฐ Kerala ประเทศอินเดีย ให้กลายเป็นส่วนประกอบหนึ่งของบ้านกึ่งสตูดิโอออกแบบดีไซน์โมเดิร์น บอกเล่านิยาม ” สถาปัตยกรรมยั่งยืน “

บ้านกึ่งสตูดิโอออกแบบแนวคิด สถาปัตยกรรมยั่งยืน ที่ประเทศอินเดีย เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติผ่านดีไซน์และวัสดุ โดยเฉพาะการหาแนวทางใหม่ให้กับกระเบื้องหลังคาดินเผาที่ถูกลดความนิยมลง กลายเป็นส่วนประกอบของผนังอาคารทำหน้าที่ที่ต่างออกไป ช่วยให้อาคารมีรูปลักษณ์น่าสนใจยิ่งขึ้น

สถาปัตยกรรมยั่งยืน แบบบ้านอิฐ
สถาปัตยกรรมยั่งยืน แบบบ้านอิฐ
สถาปัตยกรรมยั่งยืน แบบบ้านอิฐ

โดยสถาปนิกเจ้าของและผู้ออกแบบถ่ายทอดเรื่องราวว่า ที่นี่สร้างขึ้นบนฐานความคิดแห่งความยั่งยืน ใช้เวลาก่อสร้างไม่ถึงหกเดือน โครงสร้างประกอบไปด้วยเหล็ก กระเบื้อง และกระจก โดยเฉพาะกระเบื้องดินเผาดั้งเดิมนั้น ปัจจุบันถูกลดการใช้งานลงตามยุค การนำมาออกแบบอาคารครั้งนี้ จึงเป็นเสมือนบททดลอง เปลี่ยนหน้าที่เก่าให้มีศักยภาพผ่านหน้าที่ใหม่ โดยยังคงคุณสมบัติที่ช่วยให้อาคารเย็นและระบายอากาศ โดยนำมาใช้ออกแบบตกแต่งอาคารนี้ ทั้งในส่วนของทางเดิน ผนัง และหลังคา

สถาปัตยกรรมยั่งยืน แบบบ้านอิฐ
สถาปัตยกรรมยั่งยืน แบบบ้านอิฐ
สถาปัตยกรรมยั่งยืน แบบบ้านอิฐ

อาคารแบ่งการใช้งานเป็น 3 ชั้น ชั้นล่างประกอบด้วยระเบียงที่อยู่ติดกับบ่อปลาคาร์พ ห้องน้ำ และพื้นที่อเนกประสงค์ ล้อมผนังชั้นล่างด้วยเฟรมเหล็กติดกระจกที่สามารถหมุนเปิดออกได้ เพื่อระบายอากาศ โดยยังคงมองเห็นสวนได้รอบ ๆ มีขั้นบันไดเหล็กทอดตัวขึ้นสู่ชั้นสอง ซึ่งใช้เป็นพื้นที่ทำงานและห้องสมุด อยู่ล้อมรอบ Void หรือพื้นที่เปิดโล่งตรงกลางช่องบันได ที่เดินเชื่อมหากันได้รอบทิศ พื้นปูด้วยหินขัดเรียบง่าย กำหนดทิศทางของระเบียงให้อยู่ทางทิศเหนือ ขณะที่ผนังกระจกหน้าบ้านหันหน้าสู่ทิศตะวันออก ผนังใช้การเรียงต่อกันของกระเบื้องดินเผาโชว์ให้เห็นสัน กลายเป็นแพตเทิร์นไปในตัว สลับกับผนังกระจกใสช่วยสร้างบรรยากาศปลอดโปร่ง มีแสงสว่างทั่วถึง มองเห็นวิวยอดไผ่ที่เขียวสบายตา สร้างประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อของธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน

สถาปัตยกรรมยั่งยืน แบบบ้านอิฐ
สถาปัตยกรรมยั่งยืน แบบบ้านอิฐ

ชั้นสุดท้ายทำหน้าที่เป็นห้องประชุมระดมความคิด สามารถมองเห็นพื้นที่ชั้นต่าง ๆ ได้ผ่านเฟรมกระจก ผู้ใช้งานจะได้สัมผัสกับลำดับของความสูงจากมากไปน้อย ระหว่างที่พวกเขาเปลี่ยนผ่านจากพื้นที่หนึ่งไปสู่อีกพื้นที่หนึ่ง นอกจากนี้การเล่นกับแสงแดดและเงาที่ทาบลงมายังพื้นที่ภายในผ่านหน้าต่างกระจกรอบบ้าน ยังช่วยเพิ่มมิติของแสงเงาให้อารมณ์และบรรยากาศตามฤดูกาลและช่วงเวลา ภายใต้การให้ความสำคัญกับแนวคิดที่ยั่งยืนผ่านการใช้วัสดุที่ลดการสิ้นเปลืองพลังงานให้มากที่สุด

ออกแบบ : Koshish
ภาพ : Justin Sebastian
เรียบเรียง : Phattaraphon

Schoonschip ชุมชนลอยน้ำอัจฉริยะ ยั่งยืนด้วยพลังงานหมุนเวียน