ระบายความร้อน

12 เรื่อง ช่วย “บ้านร้อน” ให้เย็นลง

ระบายความร้อน
ระบายความร้อน

“บ้านร้อน” กับ “หน้าร้อน” เป็นของคู่กันก็จริง แต่ก็ “เลี่ยงได้” ครับ… เรามาสวัสดี “หน้าร้อน” โดยที่บ้านเราไม่ต้องร้อนกันเถอะ

my home ขอแนะนำ  12เรื่อง 12ไอเดียช่วย ระบายความร้อน ให้ “บ้าน” แล้วคนในบ้านก็จะอยู่เย็น และเป็นสุขใจได้ในที่สุด ว่าแต่ 12 เรื่อง ควรรู้มีอะไรบ้าง ไปดูกันครับ

12 เรื่อง ช่วย “ระบายความร้อน” ให้ “บ้านร้อน” เย็นลง

บ้านร้อน หลังคา
หลังคา สู้! สู้! (ร้อน)
  1. “หลังคา” ต้องช่วยสะท้อนร้อน ตั้งแต่แรก

“หลังคา” คือส่วนแรกของบ้าน ที่ต้องรับแดดโดยตรง ปกติหลังคาก็จะช่วยเรากันแดดกันฝน แต่ปัจจุบันมีแผ่นหลังคา ที่สามารถสะท้อนความร้อนได้ในตัว มีแผ่นสะท้อนกันร้อนเสริมใต้แผ่น ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิจากแสงแดดที่มาปะทะโดยตรง ความร้อนที่จะทะลุสู่ตัวโถงหลังคาก็จะน้อยลง

***** สาระน่ารู้ *****  “ความลาดชันของหลังคา” ช่วยหลบมุมแดดได้ เลี่ยงให้หลังคาต้องรับแดดพร้อมกันทั้งผืน แถมยังเพิ่มที่ใต้หลังคา (โถงหลังคา) ให้ระบายอากาศได้ดีอีกด้วย ความลาดชันหลังคาที่เหมาะสมอยู่ที่ 35-40 องศา

บ้านร้อน ชายคาบ้าน
ฝ้าชายคา มีรูระบายอากาศ ช่วยระบายความร้อนได้เร็วขึ้นอีกทาง
  1. “ฝ้าชายคา” ก็ช่วยระบายร้อนได้อีกแรง

ถ้าฝ้าชายคาของบ้านเรา มีรูระบายอากาศด้วย ก็ยิ่งดี เพราะสามารถช่วยลดอุณหภูมิภายในบริเวณโถงหลังคาได้เร็วขึ้น ปัญหาบ้านร้อนก็หมดไปไวขึ้น ดีกว่าอาศัย ช่องจั่วหลังคาระบายอากาศ เพียงทางเดียวแน่นอน

  1. “ฉนวนกันร้อน” กันความร้อนเข้าบ้าน

“ฉนวนกันร้อน” เป็นอีกหนึ่งด่าน (หลัก) ที่ช่วยไม่ให้ความร้อนผ่านเข้ามาภายในตัวบ้านได้ นอกจากนั้นฉนวนกันร้อนยังช่วยดูดซับเสียงจากสภาวะภายนอกต่างๆ ได้อีกด้วยนะ อาทิ ฝนตก เป็นต้น ฉนวนกันร้อนก็มีหลายแบบให้เลือกใช้

  1. ”กันสาด” ไม่ได้กันแค่ฝน

แม้จะชื่อ “กันสาด” บางคนอาจจะนึกถึงแต่หน้าฝน แท้ที่จริง “กันสาด” สามารถช่วยกันความร้อนเข้าสู่บ้านได้ดีเช่นกัน โดยควรเลือกติดตั้ง “กันสาด” ในฝั่งที่มีแดดส่องเข้าโดยตรงนั่นล่ะ และดูทิศทางประกอบที่เหมาะสม ส่วน “วัสดุ” ก็สำคัญไม่แพ้กัน ควรเลือกวัสดุที่ไม่สะสมความร้อน อาทิ ไม้ระแนง ไฟเบอร์ซีเมนต์ เป็นต้น

บ้านร้อน กระเบื้อง
พื้นเย็น บ้านก็เย็น
  1. พื้น “กระเบื้อง” แค่ปูข้างล่าง บ้านก็เย็นได้

รู้หรือไม่ว่า การเลือกปูพื้นชั้นล่าง (บ้าน) ด้วย แผ่น กระเบื้องเซรามิก กระเบื้องพอร์ซเลน กระเบื้องดินเผา หรือหินธรรมชาติอย่าง หินอ่อน หินแกรนิต นั้นช่วยเรากักเก็บความเย็นจากพื้นดินได้ และยังระบายความร้อนได้เร็ว เมื่อเท้าสัมผัส เราก็จะรู้สึกเย็นสบายกว่าวัสดุแบบอืนๆ และ “กระเบื้อง” ในปัจจุบันก็มีให้เราเลือกลวดลายมากมาย เลียนลายธรรมชาติก็ใกล้เคียง จนมองด้วยตานี่แทบจะแยกไม่ออก

  1. เน้น “สี” สว่าง บ้านจะไม่ร้อน

ภายในบ้าน ควรเลือกใช้ โทนสีอ่อน สีสว่าง หรือโทนสีพาสเทล เพราะโทนสีเหล่านี้จะไม่เก็บกักความร้อนเท่ากับโทนสีเข้มทั้งหลาย จึงไม่เก็บสะสมความร้อนไว้นาน (สีเข้ม บ้านร้อน) อีกทั้ง “โทนสีสว่าง” ยังมีผลต่ออารมณ์ของผู้อยู่อาศัย ช่วยให้รู้สึกเย็นตา สบาย ผ่อนคลาย ไม่อึดอัด อีกด้วย

อ่านต่อหน้า2