เสียงเห่า ของน้องหมาแต่ละภาษา

โลกเรามีภาษาที่ใช้ในการสื่อสารแตกต่างกันไป แม้แต่คนในประเทศเดียวกันก็ยังมีภาษาถิ่นที่ต่างกันไปอีกด้วย ภาษาถือเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละชุมชน แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการติดต่อเชื่อมโยงกันของคนในโลกแต่อย่างใด

หากจะตั้งคำถามว่า ถ้าภาษาของคนเราแตกต่างกันขนาดนี้ เมื่อเวลาที่เราเดินทางไปต่างประเทศ หากเราเรียกน้องหมา เขาจะเข้าใจภาษาของเราหรือป่าวนะ? ในแต่ละประเทศมีการออกเสียงสัตว์ไม่เหมือนกัน ไม่เพียงแต่เฉพาะเสียงเห่าน้องหมานะ ยังรวมไปถึงน้องแมว น้องไก่ น้องหมู และสัตว์อื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

นั่นเกิดจากการถอดเสียงจากธรรมชาติให้ตรงกับคำที่มาใช้แทนภาษา ความจริงแล้วคนทุกคนได้ยินเสียงน้องหมาเหมือนกัน แต่ภาษาถิ่นนั้นต่างกัน การแทนเสียงธรรมชาติด้วยการเทียบเคียงคำในภาษาของตนนั้นจึงออกมาแตกต่างกัน บางภาษามีเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษานั้นไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เสียงของน้องหมาเลยออกมาต่างกัน เราเรียกว่า Onomatopoeia หรือการสร้างคำ นั่นเอง

Onomatopoeia คือ การสร้างคำเพื่อเลียนเสียงธรรมชาติ ทั้งเสียงสัตว์ เสียงฟ้าร้อง เสียงน้ำกระทบ เสียงกรีดร้อง และอื่นๆ ซึ่งภาษาไทยเราเรียกว่า สัทพจน์ คือ ทำให้เกิดภาพพจน์ตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน ช่วยให้คนเราสื่อสารเห็นภาพและรู้สึกเหมือนได้ยินเสียงนั้น ๆ เห็นกิริยาอาการของสิ่งนั้น เช่น เสียงปืน ดัง โป้งๆ หรือ ปังๆ เสียงฟ้าผ่า ดังเปรี้ยง เป็นต้น ซึ่งก็ทำให้คนที่สื่อสารภาษาเดียวกันนั้นเข้าใจ ดังนั้นเมื่อต่างภาษากัน การออกเสียงจึงไม่เหมือนกัน เอาล่ะ! เกริ่นมาซะยาว มาฟังเสียงน้องหมา “เห่า” ในแต่ละภาษากันดีกว่าว่าออกเสียงยังไงบ้าง ต้องขอบคุณ ดร.เจมส์ แชปแมน ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงสากล ที่ได้เปรียบเทียบการออกเสียงของสัตว์ต่างๆ เราจึงมีคู่มือประกอบเสียงสัตว์ทั่วโลก Soundimals ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ เสียงเห่าของน้องหมาด้วย предложения по ипотеке от банков

ที่มา: chapmangamo.tumblr.com

สัตว์เลี้ยงช่วยคลายเหงา ทำให้ผู้สูงวัยสดชื่นแจ่มใส