เต่าบก (Tortoise) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ปัจจุบันนี้ได้มีผู้นิยมหันมาเลี้ยงสัตว์ Exotic Pets กันมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) อาจด้วยเพราะ ความมีเสน่ห์ที่น่าหลงใหลในตัวเอง และที่สำคัญคือไม่ค่อยส่งเสียงร้อง อีกทั้งยังมีความสวยงาม แปลก มหัศจรรย์ไม่เหมือนใคร ซึ่งหนึ่งในสัตว์เลื้อยคลานที่นิยมเลี้ยงกันก็คือ “เต่าบก” นั่นเอง

สำหรับมือใหม่หรือผู้ที่คิดจะเลี้ยง เต่าบก ควรจะต้องศึกษาก่อนที่จะเลี้ยงว่า เต่าบกที่เราอยากจะเลี้ยงนั้น มีถิ่นกำเนิดมาจากที่ใด สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยในธรรมชาติเป็นอย่างไร อาหารที่รับประทานมีอะไรบ้าง เมื่อรู้ถึงธรรมชาติที่มาของน้องแล้ว ก็ต้องมาดูว่าเราเองมีเวลาที่จะดูแลเค้าหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน มีพื้นที่ที่จะเลี้ยงเขาอย่างเหมาะสมหรือไม่ มีเงินทุนสำหรับค่าอาหาร หรือค่ารักษาพยาบาลเมื่อไม่สบายหรือเปล่า ถ้าศึกษาจนมั่นใจแล้วว่า พร้อมที่จะเริ่มเลี้ยงแล้ว ก็ตาม บ้านและสวน Pets ไปลุยเลยค่ะ

1. เริ่มเลี้ยงเต่าบกต้องเตรียมตัวอย่างไร

  • จำแนกชนิดเต่าให้ถูก เต่าบก หรือ เต่าน้ำ
  • จำแนกจากชนิดการกินอาหาร
    – กินพืชเป็นหลัก
    – กินทั้งพืชและเนื้อ
    – กินเนื้อ
  • ศึกษาเรื่องสภาพแวดล้อม
    – แสงแดด
    – จุดให้น้ำ
    – เลี้ยงแบบ Indoor หรือ Outdoor
  • ศึกษาเรื่องอาหาร : เป็นวัชพืช ไม่ใช่ผักบุ้ง ถ้าเป็นผักแนะนำผักกวางตุ้ง เพราะมีกรดออกซาลิกต่ำ
  • เข้ากลุ่มคนเลี้ยงเต่า หรือเพจให้ความรู้
  • ทุนทรัพย์

2. อาหารสำหรับเต่าบก และอาหารเสริม

  • 50% อาหารหลักคือหญ้าเป็นหลัก ผสมกับผักใบเขียว เช่น กวางตุ้ง หรือแครอท
  • 50% อาหารเม็ด แต่ถ้าหากแสงแดด UV ถึงก็ไม่จำเป็นจจะต้องมีวิตามิน หรืออาหารเสริม
  • อาหารที่ส่งผลในแง่ลบในระดับแคลเซียม และฟอสฟอรัสในเต่า ได้แก่ ผักสลัด กล้วย มะเขือเทศ องุ่น แตงกวา

3. การเลือกหลอดไฟสำหรับเลี้ยงเต่าบก และการอาบแดดของเต่า

(หลอดไฟ UVA, UVB ดีต่อสัตว์ ส่วนหลอด UVC เป็นพิษกับสิ่งมีชีวิต)
หลอดไฟแบ่งเป็น 2 ประเภท

  1. UVA ช่วยให้การมองเห็น ให้ความร้อน ความอบอุ่น รู้สึกสบาย เพราะเต่าเป้นสัตว์เลือดเย็น
  2. UVB เต่าจำเป็นต้องใช้ในการเจริญเติบโต สังเคราะห์วิตามิน D3 ช่วยดูดซึมแคลเซียมไปใช้ สร้างกระดอง ป้องกันการเกิดโรคกระดองนิ่ม หรือ MBD Metabolic Bone Disease
    – เลือกซื้อจาก UV rating

4. การดูเพศของเต่าบก

สามารถดูเพศได้ตั้งแต่เต่ามีขนาดตัว 15-20 นิ้ว

  • จุดสังเกตุเพศผู้
    – Scupe ใต้คอจะยาว
    – กลางลำตัวจะเว้า เป็นหลุมลงไป
    – หางจะยาวกว่า
    – Scupe ทางด้านหางจะเป็นตัววี
  • จุดสังเกตุเพศเมีย
    – Scupe ใต้คอจะกุด
    – หางสั้น
    – Scupe ทางด้านหางจะเป็นตัวยู

5.เต่าเป็นหวัดสังเกตอย่างไร

  • มีน้ำมูก
  • ซึม ไม่ขยับตัว
  • ไม่กินอาหาร
  • อ้าปากหายใจ พะงาบๆ
  • น้ำลายเหนียว
  • ยืดคอหายใจ

6.เต่าถ่ายเหลวเกิดจากอะไร

  • เกิดจากการติดเชื้อในกระเพาะ
  • ความไม่สมดุลของทางเดินอาหาร
  • พยาธิ/โปรโตซัว/แบคทีเรีย/เชื้อรา
  • เกิดจากอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น สารเคมี สิ่งแปลกปลอม
  • ทางเดินอาหารบีบตัวมากกว่าปกติ

7.การถ่ายพยาธิ และโปรโตซัวของเต่า

เต่าบก
  • ควรถ่าย ตั้งแต่ อายุ 4-5 เดือนขึ้นไป
  • ปีละ 2 ครั้ง
  • ไม่ควรถ่ายพยาธิ และโปรโตซัวเต่าด้วยตัวเอง

– ถ่ายพยาธิ มี 2 วิธี

  1. ผสมกับอาหาร
  2. ใช้ท่อป้อนยาโดยสัตวแพทย์

8.วิธีรักษาและป้องกันการเกิดฮีทสโตรคของเต่า

เต่าบก

ข้อสังเกต

  • เดินไม่หยุด ลุกลี้ลุกลน
  • เห็นฟองน้ำลายที่ปากเยอะ
  • น้ำมูก น้ำตาไหล
  • หอบ อ้าปากพยายามหายใจ
  • หัวส่ายไปมา
  • ขาหลังไม่มีแรง
  • ไม่เคลื่อนไหว
  • ไม่ขับถ่าย
  • ไม่ตอบสนอง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • พามาอยู่ในที่ร่ม
  • ค่อยๆลดอุณหภูมิ โดยใช้การสเปรย์น้ำไปที่ตัวเต่า หรือใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด
  • เพิ่มการไหลเวียนอากาศ โดยไม่โดนตัวเต่าโดยตรง

Tips

เต่าบก


– การแช่น้ำเต่าบกเพื่อการขับถ่ายที่ดี หากเป็นไปได้ควรแช่น้ำเต่า ช่วงเช้า ๆ ทุกวัน เพื่อให้เต่าขับถ่ายได้ดี หากไม่มีเวลา แนะนำให้เต่าบกแช่น้ำ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 ครั้ง
– การเลี้ยงเต่า Outdoor ให้นำเต่าไปอยู่กลางแจ้ง ในที่แสงแดดอ่อนๆ 48 ชั่วโมง และควรจัดที่ร่มให้น้องไว้ด้วย
– ไม่แนะนำให้เต่าเด็กอยู่ Out Door เพราะ เต่าเด็กติดเชื้อได้ง่าย และเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายจากสัตว์ชนิดอื่น
– การเลี้ยง In Door ให้เปิดไฟ UVB จำนวน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน และใช้ UVA เมื่อมีอุณหภูมิห้องต่ำกว่า 29 องศาเซลเซียส
– UVA ช่วยทำให้เต่าแอคทีฟ ช่วยกระตุ้นการกินและช่วยย่อยอาหาร ส่วย UVB ช่วยสังเคราะห์แคลเซียม และช่วยการเจริญเติบโต

ขอบคุณ : บทความ และภาพ จาก Exofood Thailand

ติดตามข้อมูล บ้านและสวน PETS ได้ที่นี่