บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ ที่ถูกตีความใหม่ในแบบ BEAUTBUREAU

บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังนี้ แท้จริงเป็นบ้านโครงสร้างปูนซึ่งออกแบบโดยคุณบี วิทยถาวรวงศ์ โดดเด่นด้วยโครงไม้ที่ล้อมรัดพื้นผิวทั้งหมดที่ด้านบนของบ้านและดูคล้ายโครงฝาปะกนในบ้านไทยพื้นถิ่นดั้งเดิม ด้วยความที่เป็นสถาปนิกและมีความชื่นชอบสถาปัตยกรรมในแบบไทยประยุกต์อยู่เดิม เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำบ้านและออฟฟิศของตัวเอง การตีความบ้านไทยในบริบทปัจจุบันจึงเกิดขึ้น


DESIGNER DIRECTORY :
ออกแบบ : Beautbureau

เจ้าของ : คุณบี วิทยถาวรวงศ์

ก่อนจะมาเป็นบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้หลังนี้ คุณบีเล่าให้ฟังว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นบ้านเดิมที่คุณบีอาศัยอยู่มาตั้งแต่เด็ก จึงมีความคุ้นชินและผูกพันกับบ้านเดิม ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาเมื่อเรียนจบทางด้านสถาปัตยกรรมกลับมาจากต่างประเทศ จึงมีโครงการที่จะสร้างออฟฟิศของตัวเอง บนพื้นที่ของบ้านเดิมที่ทางครอบครัวได้รื้อทิ้งไปแล้ว และได้ขยายโครงการออกมาเป็นบ้านที่่แบ่งออกเป็น 3 ยูนิตอยู่อาศัย และพื้นที่ส่วนกลางที่มีทั้งห้องนั่งเล่น ชาน ระเบียง และสวน สลับจัดวางอยู่บนผังแบบ 9 Square Grid ซึ่งเป็นแบบฝึกหัดที่นักเรียนสถาปัตยกรรมทั่วไปอาจเคยประสบพบเจอเมื่อแรกเรียน

“พอเราวางออฟฟิศของเราเป็นก้อนอาคารทางด้านหน้าแล้ว และอีกสามส่วนที่จะกลายเป็นห้องนอนสามห้องแล้ว เราก็เลยเลือกที่จะใช้สวนเข้ามาคั่นกลางระหว่างแต่ละพื้นที่ ชั้นบนก็จะมีชาน คือถึงแม้ว่าจะเป็นครอบครัวเดียวกัน แต่ทุกคนก็น่าจะต้องการพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง แต่ในขณะเดียวกันก็มีชานและพื้นที่นั่งเล่นที่สามารถใช้เวลาร่วมกันได้ ซึ่งในการออกแบบตรงนี้ก็เหมือนเป็นความชอบของเราด้วย เพราะเราชอบที่จะทอนให้ Mass ของอาคารเป็นพื้นที่ย่อยๆไม่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่จนเกินไป เมื่อทำแบบนี้แล้ว การสอดแทรกพื้นที่ว่างให้มีแสงธรรมชาติ ต้นไม้ใบหญ้า และลมพัดผ่านก็จะเกิดขึ้นได้ด้วย”

“ถ้าพูดว่าเป็นบ้านของมนุษย์สักคนหนึ่ง โดยเฉพาะคนที่ออกแบบเองได้แล้ว เราว่ามันก็เหมือนกับเป็นแพ็กเกจบางอย่างที่บรรจุความทรงจำหรือ NOSTALGIA บางอย่าง”

และอย่างที่คุณบีได้อธิบายกับเรา บ้านหลังนี้แบ่งการใช้งานออกเป็นพื้นที่เอกเทศจากกันอย่างชัดเจนได้ด้วยสายตา แต่ก็ร้อยเรียงเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัวเช่นเดียวกัน เมื่อแรกเดินเข้าสู่บ้านเราจะได้พบกับพื้นที่รับแขกที่ออกแบบมารับกับส่วนออฟฟิศ พื้นที่ส่วนนี้จะมีสวนคั่นกลางก่อนจะเป็นพื้นที่ห้องนอนที่สวนมาช่วยให้รู้สึกเป็นส่วนตัวขึ้น ส่วนกลางของบ้านนั้นเป็นลานโล่ง ซึ่งทำให้เราสงสัยว่าทำไมไม่วางต้นไม้ใหญ่ไว้กึ่งกลางเหมือนที่มันจะเห็นอยู่บ่อยครั้ง “เพราะบีอยากให้ต้นไม้เป็นวิวของห้องนอนแต่ละห้อง และเปิดพื้นที่ตรงกลางให้เป็นที่ว่างมากกว่า” ซึ่งคำตอบนี้จะถูกขยายความอีกครั้งเมื่อคุณบีเล่าให้เราฟังถึงนิยามที่น่าสนใจของพื้นที่ว่างในแบบ Beautbureau

บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังนี้ แท้จริงเป็นบ้านโครงสร้างปูนซึ่งออกแบบโดยคุณ บี วิทยถาวรวงศ์ เอง โดดเด่นด้วยการตีความบ้านไทยในบริบทปัจจุบันจึงเกิดขึ้น
บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังนี้ แท้จริงเป็นบ้านโครงสร้างปูนซึ่งออกแบบโดยคุณ บี วิทยถาวรวงศ์ เอง โดดเด่นด้วยการตีความบ้านไทยในบริบทปัจจุบันจึงเกิดขึ้น
บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังนี้ แท้จริงเป็นบ้านโครงสร้างปูนซึ่งออกแบบโดยคุณ บี วิทยถาวรวงศ์ เอง โดดเด่นด้วยการตีความบ้านไทยในบริบทปัจจุบันจึงเกิดขึ้น

บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ในแบบ Beautbureau

แบบจำลองของบ้านหลังนี้ แสดงภาพลักษณ์ที่ชัดเจนของบ้านตั้งแต่เริ่มออกแบบ ความโปร่งเบาที่ชั้นล่างและความขรึม ทึบ หนักแน่นที่ชั้นบน คุณบีบอกกับเราว่ามันคือภาพแทนของ “บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้” ที่คุณบีมองว่าเป็นความร่วมสมัยแบบไทย บ้านที่มีทั้งองค์ประกอบสมัยใหม่ และองค์ประกอบแบบไทยพื้นถิ่นอยู่ด้วยกันอย่างลงตัว แต่มากกว่านั้นเมื่อสถาปนิกออกแบบบ้านของตัวเอง มันจะเป็นบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ธรรมดาได้อย่างไร

ด้วยความที่พื้นที่ของบ้านหลังนี้มีเพียง 120 ตารางวา สิ่งแรกที่คุณบีได้ออกแบบจึงเป็นการผลักดันให้ขอบเขตของบ้านออกไปอยู่ยังสุดขอบของที่ดินเท่าที่กฎหมายจะรองรับได้ จากตรงนี้เองที่การออกแบบแบบกลับนอกเข้าในเกิดขึ้น “ส่วนหนึ่งเพราะเราต้องการควบคุมบริบทธรรมชาติที่ดีให้ยังอยู่ต่อไปได้ในระยะยาวด้วย บ้านหลังนี้จึงมีพื้นที่ Outdoor และสวนอยู่ภายใน และสร้างขอบเขตที่เหมือนเป็นเส้นแบ่งภายนอกด้วยโครงไม้ที่เห็น” พื้นที่ภายในซึ่งไม่ใช่ก้อนอาคารเหล่านี้ สร้างสภาวะสบายที่ดีให้ผู้อยู่อาศัย ไม่ว่าจะการเกิด Cross Ventilation ที่ดี หรือแม้แต่เงาไม้ที่ทอดผ่านแต่ละพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดทั้งวัน สร้างความสุนทรีย์ให้การอยู่อาศัยได้อย่างดี

“เราเองก็ไม่ได้เป็นคนหวานมาก ก็อยากให้จากภายนอกบ้านนั้นมีคาแร็กเตอร์ของเราอยู่บ้าง จึงเลือกใช้วัสดุไม้และผนังสีเทาดำอย่างที่เห็น โครงไม้ที่เป็นฟาซาดมีเส้นสายเรียบง่ายเหล่านี้ ทำหน้าที่ร้อยรัดให้องค์ประกอบชั้นบนของบ้านแลดูเป็นกลุ่มก้อนที่ต่อเนื่องกันได้อย่างลงตัว”

ความสนใจส่วนตัวของคุณบี คือเรื่องของการทดลองใช้วัสดุและรายละเอียดของงานก่อสร้างในวัสดุนั้นๆ ฟาซาดของบ้านหลังนี้จึงเป็นการใช้ไม้สังเคราะห์อย่าง Wood Plastic Composite ทำเป็นแผงแบบ prefab มาประกอบเข้าด้วยกันที่หน้างาน ในสัดส่วนที่ถ้าสังเกตดีๆจะเห็นว่ามีความสัมพันธ์ล้อกันไปหมดทั้งบ้าน ไม่ว่าจะสัดส่วนของโครงไม้ที่เป็นฟาซาด บานหน้าต่าง กรอบประตู หรือแม้แต่เส้นสายบนผนังปูนเลยทีเดียว

บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังนี้ แท้จริงเป็นบ้านโครงสร้างปูนซึ่งออกแบบโดยคุณ บี วิทยถาวรวงศ์ เอง โดดเด่นด้วยการตีความบ้านไทยในบริบทปัจจุบันจึงเกิดขึ้น

“จะบอกว่าต้นแบบคือบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ที่มีใต้ถุนก็คงได้ คือเราก็อยากทำให้บ้านมีใต้ถุนให้ได้นั่งในวันสบายๆเปิดรับลมธรรมชาติได้ยินเสียงนกเสียงต้นไม้บ้าง แต่ก็ออกแบบให้พื้นที่ใต้ถุนนี้สามารถเลื่อนบานผนังสร้างเป็นพื้นที่ปิดก็ได้ หรือจะเปิดให้ต่อเนื่องเชื่อมกันหมดกับพื้นที่บ้านก็ได้ เพราะอย่างพื้นที่ใต้สำนักงานตรงนี้ก็เป็นที่โปรดที่หากวันไหนทำงานแบบไม่ใช้คอมก็จะมานั่งสเก็ตช์งานอยู่ตรงนี้ซะเป็นส่วนใหญ่”

บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังนี้ แท้จริงเป็นบ้านโครงสร้างปูนซึ่งออกแบบโดยคุณ บี วิทยถาวรวงศ์ เอง โดดเด่นด้วยการตีความบ้านไทยในบริบทปัจจุบันจึงเกิดขึ้น
บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังนี้ แท้จริงเป็นบ้านโครงสร้างปูนซึ่งออกแบบโดยคุณ บี วิทยถาวรวงศ์ เอง โดดเด่นด้วยการตีความบ้านไทยในบริบทปัจจุบันจึงเกิดขึ้น
บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังนี้ แท้จริงเป็นบ้านโครงสร้างปูนซึ่งออกแบบโดยคุณ บี วิทยถาวรวงศ์ เอง โดดเด่นด้วยการตีความบ้านไทยในบริบทปัจจุบันจึงเกิดขึ้น
บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังนี้ แท้จริงเป็นบ้านโครงสร้างปูนซึ่งออกแบบโดยคุณ บี วิทยถาวรวงศ์ เอง โดดเด่นด้วยการตีความบ้านไทยในบริบทปัจจุบันจึงเกิดขึ้น
บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังนี้ แท้จริงเป็นบ้านโครงสร้างปูนซึ่งออกแบบโดยคุณ บี วิทยถาวรวงศ์ เอง โดดเด่นด้วยการตีความบ้านไทยในบริบทปัจจุบันจึงเกิดขึ้น
บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังนี้ แท้จริงเป็นบ้านโครงสร้างปูนซึ่งออกแบบโดยคุณ บี วิทยถาวรวงศ์ เอง โดดเด่นด้วยการตีความบ้านไทยในบริบทปัจจุบันจึงเกิดขึ้น
บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังนี้ แท้จริงเป็นบ้านโครงสร้างปูนซึ่งออกแบบโดยคุณ บี วิทยถาวรวงศ์ เอง โดดเด่นด้วยการตีความบ้านไทยในบริบทปัจจุบันจึงเกิดขึ้น
บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังนี้ แท้จริงเป็นบ้านโครงสร้างปูนซึ่งออกแบบโดยคุณ บี วิทยถาวรวงศ์ เอง โดดเด่นด้วยการตีความบ้านไทยในบริบทปัจจุบันจึงเกิดขึ้น

บ้านที่สื่อชัดในตัวตนของ บี วิทยถาวรวงศ์

“คือถ้าพูดว่าเป็นบ้านของมนุษย์สักคนหนึ่ง โดยเฉพาะคนที่ออกแบบเองได้แล้ว เราว่ามันก็เหมือนกับเป็นแพ็กเกจบางอย่างที่บรรจุความทรงจำหรือ nostalgia บางอย่าง เพราะหลายๆองค์ประกอบในบ้าน นึกๆย้อนไปเป็นสิ่งที่เราชอบหรือผ่านประสบการณ์หลายๆอย่างมารวมกัน อย่างสีดำนี่ก็มาทางอาชีพ วัสดุและสไตล์งานจากออฟฟิสที่เคยทำงานอยู่สมัยอยู่ต่างประเทศ บางวัสดุอย่าง Terrazzo นี่ก็มาจากความชอบพวกม้าหินสมัยเด็กๆ พวกองค์ประกอบไม้ต่างๆก็มาจากบ้านญาติที่ต่างจังหวัดที่อยู่ในความทรงจำ มันมีหลายอย่างเข้ามาผสมกันและด้วยความที่เราเป็นสถาปนิกจึงต้องหาจุดลงตัวของสิ่งเหล่านี้ให้ได้”

การเลือกใช้สี และการออกแบบ “ดีเทล” ในบ้านหลังนี้จึงเป็นสิ่งท้าทายที่ทำให้บ้านหลังนี้มีสเน่ห์แบบที่รู้สึกได้ทันทีและมีเสน่ห์ยิ่งขึ้นเมื่อได้เพ่งมองลงไป “บีเลือกแต่ละองค์ประกอบแม้แต่ชิ้นส่วนเล็กๆอย่างตั้งใจ ซึ่งการทำแบบนี้มันทำให้เราต้องใช้เวลามากกว่าปกติ แต่ในเมื่อนี่เป็นบ้านเราแล้ว เราก็อยากให้เป็นแบบที่เราตั้งใจให้มากที่สุด โดยเฉพาะกับวัสดุต่างๆที่เราอยากใช้”

“มากกว่านั้นบ้านหลังนี้ก็เหมือนเป็นห้องทดลองขนาดใหญ่ที่เราใช้ทดสอบวัสดุที่เราสนใจกับตัวเองก่อนที่จะไปออกแบบให้ลูกค้า หรือแม้แต่พื้นที่บางพื้นที่ก็คิดว่าคงมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตเช่นพื้นที่ชานที่ชั้นสองที่น่าจะปรับไปในอนาคต ซึ่งเรื่องการทดลองกับวัสดุ วิธีการประกอบและก่อสร้างแบบ customนี่ก็เป็นแนวทางที่ได้มาจากออฟฟิศที่เคยทำงานที่ต่างประเทศเช่นกัน ก็ซึมซับมาจนกลายเป็นวิธีทำงานของเราไปในที่สุด”

บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังนี้ แท้จริงเป็นบ้านโครงสร้างปูนซึ่งออกแบบโดยคุณ บี วิทยถาวรวงศ์ เอง โดดเด่นด้วยการตีความบ้านไทยในบริบทปัจจุบันจึงเกิดขึ้น
บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังนี้ แท้จริงเป็นบ้านโครงสร้างปูนซึ่งออกแบบโดยคุณ บี วิทยถาวรวงศ์ เอง โดดเด่นด้วยการตีความบ้านไทยในบริบทปัจจุบันจึงเกิดขึ้น

ลมโชย และความพิเศษของ “ความโล่ง”

บ้านหลังนี้มี “ความโล่ง” เป็นองค์ประกอบใหญ่ แม้จากภายนอกจะดูเหมือนทึบตัน แต่แท้จริงแล้วพื้นที่เกินครึ่งของบ้านหลังนี้เป็นที่โล่ง ลมโชย มีเงาไม้ และนั่งได้ในเกือบทุกเวลา “จะบอกว่าเรา Romanticise กับความโล่งนี้ก็ได้ คือความโล่ง และการได้นั่งเงียบๆกับธรรมชาติ มันเป็นสิ่งที่ออกจะพิเศษนะ แต่ก็มีความท้าทาย อย่างบ้านเรามีทั้งฝุ่น ฝน นก แมลง และมลพิษตั้งหลายอย่าง แต่เราชอบไง ที่จะปล่อยให้มีพื้นที่โล่งสอดแทรกตัวอยู่ทั่วไป ถ้าเป็นบ้านคนอื่นก็ไม่รู้ว่าเขาจะชอบการเปิดโล่งแบบนี้เหมือนเราหรือเปล่า”

บ้านที่ผ่านเวลา ด้วยการใช้วัสดุ
ที่ใส่ใจอย่างไม่ปรุงแต่ง

สังเกตได้ว่าวัสดุต่างๆของบ้านหลังนี้เปิดเผยตัวตนออกมาอย่างชัดเจนแทบไร้สิ่งปรุงแต่ง และถูกออกแบบให้ดูเป็นของที่เหมือน “ผ่านเวลา” มาแล้วอย่างลงตัว ทั้งวัสดุทองเหลืองและไม้ในวงศ์ไม้แดงเป็นสิ่งที่คุณบีเลือกสรรนำมาใช้ วัสดุมือจับและบานพับทองเหลืองรมดำนั้นถูกเลือกมาให้เข้าได้ดีกับวัสดุไม้จริง(และรวมถึงไม้เทียมที่ฟาซาด) ซึ่งคุณบีก็แอบเล่าให้ฟังว่าในทีเแรกนั้นตั้งใจที่จะทาสีขาวทับลงไปบนวงกบและกรอบบานไม้ชั้นล่างทั้งหมด เพื่อให้ตัดกันชัดเจนกับฟาซาดสีดำชั้นบน แต่เมื่อเริ่มก่อสร้างก็ตัดสินใจให้ส่วนใหญ่เป็นสีไม้ตามธรรมชาติซึ่งเห็นว่าสวยงามอยู่แล้ว “เราอยากให้บ้านดูผ่านเวลา ตั้งแต่วันแรก มันเป็นความรู้สึกที่คุ้นชิน มากกว่าบ้านใหม่เอี่ยม จึงเลือกวัสดุต่างๆให้มีร่องรอยอยู่ในตัวเอง อย่างไม้นี่คือเหมือนสิ่งมีชีวิตเลยนะ หดบ้าง ขยายบ้าง มีการแอ่นบิดตัว ก็ต้องมีความ “เข้าใจ” เขาอยู่ประมาณนึงถึงจะใช้งานได้ดี แต่ที่แน่ๆคือต้องมีการออกแบบในรายละเอียดที่มากขึ้นตามไปด้วย แต่พอเสร็จออกมาแล้วก็ถือว่าคุ้มกับที่ได้ทำไปนะ อย่างน้อยก็ได้ทดลองเพื่อไปออกแบบให้บ้านคนอื่นต่อไป”

นอกจากรายละเอียดงานไม้ดังที่ว่าแล้ว ในส่วนอื่นๆของบ้านก็ล้วนแล้วแต่เปี่ยมรายละเอียดเหล่านี้ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นงานพื้น Terrazo ที่ก่อไล่ไปจนถึงเคาน์เตอร์ครัวอย่างไร้รอยต่อ งานก่อผนังอิฐเปลือยทาสี งานทำผิวผนังภายนอกที่ต้องเลือกสีให้เข้ากันอย่างพอดิบพอดีกับงานโครงไม้ที่ฟาซาด ที่คุณบีและผู้รับเหมาร่วมกันออกแบบโครงสร้างและวิธีการประกอบติดตั้ง ซึ่งเชื่อเหลือเกินว่าแม้จะไม่ได้เห็นด้วยตาเหมือนผู้เขียน แต่คุณผู้อ่านก็คงสัมผัสได้ถึงความใส่ใจในแบบ Beautbureau จากบ้านหลังนี้


ภาพ : ศุภกร ศรีสกุล
สไตล์ : วรวัฒน์ ตุลยทิพย์
เรื่อง : Wuthikorn Suthiapa

HOUSE BT บ้านโมเดิร์นทรงกล่อง ที่โปร่งโล่งเบื้องหลังผนังอิฐ