ชมศิลป์ในถิ่นกลางเมืองก่อนงาน BAB 2020

เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ นี้มีกำหนดจัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี และสำหรับครั้งนี้ BAB 2020 : Bangkok Art Biennale 2020 ได้กลับมาปลุกความอาร์ตให้กรุงเทพฯ ที่กำลังเผชิญหลายวิกฤตให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง พร้อมสร้างความอลังการและความยิ่งใหญ่ให้กับวงการศิลปะไทยกับแนวคิดหลักสุดท้าทาย “Escape Routes” หรือ “ศิลป์สร้าง ทางสุข”

อ่าน : 3 ภัณฑารักษ์ไทย เปิดตัวรายชื่อ 16 ศิลปินกลุ่มแรกที่พร้อมมาจัดแสดงผลงานในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ BANGKOK ART BIENNALE 2020

โดยมีหัวเรือใหญ่อย่าง บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่ผสานความร่วมมือครั้งกับภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย บอกเล่าความเป็นไทยไปทั่วโลก ถือเป็นโครงการสำคัญที่จัดขึ้นมาเพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางแห่งการท่องเที่ยวที่สำคัญทางด้านศิลปะร่วมสมัยในอันดับต้น ๆ ของโลก และเป็นจุดหมายของนักเดินทางผู้รักงานศิลปะจากทั่วโลก

ผลงานจัดแสดงที่ The PARQ ชั้น 15 “Tooth Clinic” โดย Note Kritsada

กำหนดเวลาการจัดงาน ผู้สนใจสามารถมาเยี่ยมชมได้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2564 ตลอดระยะเวลาการจัดงานกว่า 3 เดือน ทุกคนจะได้พบกับผลงานศิลปะกว่า 200 ชิ้น โดย 82 ศิลปินชั้นนำทั่วโลก จาก 35 ประเทศ รวม 5 ทวีป ที่จะนำมาจัดแสดงบน 10 สถานที่สำคัญใจกลางกรุงเทพมหานคร

ได้แก่
  • The PARQ (เดอะ ปาร์ค)
  • BAB Box @ONE BANGKOK
  • The Prelude @ONE BANGKOK (จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2563)
  • วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
  • วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
  • วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
  • หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
  • ล้ง 1919
  • มิวเซียมสยาม
  • ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก

“Tooth Clinic”
โดย Note Kritsada
โน้ต กฤษดา จะขยายประสบการณ์ของเขาตั้งแต่วัยเด็กที่มีประสบการณ์กับการไปคลินิกหมอฟัน ซึ่งแฝงฝังอยู่ในความทรงจำออกมาเป็นผลงานหลากหลายสื่อตามที่เขาถนัด ทั้งงานวาดเส้น ประติมากรรม และ 3D แอนิเมชัน เพื่อพาผู้ชมไปสู่ประสบการณ์ใหม่ในโลกของเขา และอาจกระทบใจต่อประสบการณ์ของผู้ชมเองด้วย เนื่องด้วยการพบหมอฟัน กลายเป็นสิ่งปกติของทุกคน ความสวยงามของฟันคือการจัดระเบียบทางความงามแก่ร่างกายที่ผ่านการดัดแปลง ควบคู่มากับการรักษา คือความงามที่แลกมาด้วยความเจ็บปวดมาตั้งแต่เด็ก แม้แต่ตอนโตขึ้นมาจนแก่ ผู้คนยังต้องพบหมอฟันอยู่เสมอด้วยสาเหตุที่หลากหลาย โน้ต กฤษดา ยังคงใช้อารมณ์ขันที่เสียดสีตัวเอง รวมถึงชีวิตประจำวันของคนอื่นๆ นั่นหมายถึงโลกแฟนตาซีของประสบการณ์แห่งการดูแลรักษาฟันและสิ่งนี้ก็คือความหมายของคำว่า Escape Routes ของเขา เพราะมันเป็นช่องทางที่เขาอยากหลีกหนีตั้งแต่เด็ก เป็นเส้นทางที่เข็ดขยาดหวาดกลัว และก็กลายมาสู่เส้นทางที่ทาบทับระหว่างการดูแลรักษาตัวเองกับภาพลักษณ์ของยิ้มที่สวยงามซึ่งสำเร็จออกมาในตอนโตที่พร้อมจะมอบให้กับผู้คนเมื่อได้พบเห็นสุขภาพฟันที่ดีนั่นเอง

“Woven Chronicle, 2020”
โดย Reena Saini Kallat

ความทรงจำเกี่ยวกับพ่อที่เติบโตในเมืองลาฮอร์ก่อนการขีดเส้นแบ่งอินเดียในปี พ.ศ. 2490 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อ รีนา ไซนี กัลลัต ศิลปินที่อาศัยและทำงานในเมืองมุมไบ เช่นเดียวกับความต้องการของครอบครัวเธอที่จะหลบหนีและทิ้งทุกสิ่งไว้ข้าง

Woven Chronicle ทำซ้ำครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 และเวอร์ชั่นขนาดใหญ่ของผลงานจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (The Museum of Modern Art) ในมหานครนิวยอร์กในปี พ.ศ. 2559. หลังเมื่อ “ชาวฮินดู มุสลิมและซิกข์มากกว่าสิบล้านคน ต้องดิ้นรนข้ามพรมแดนที่เพิ่งขีดขึ้นใหม่โดยเอาศาสนาเป็นที่ตั้ง ไปยังฝั่งประเทศที่ต้องการ”

ผลงานของรีนาที่ผสมผสานประติมากรรม การวาดภาพ การทอผ้า การถ่ายภาพและเสียงเข้าไว้ด้วยกัน เป็นการตอบสนองทั้งต่อการขีดเส้นแบ่งอินเดียและต่อความไม่สงบและความรุนแรงที่ตามมาจากการแบ่งแยกทางศาสนา Woven Chronicle ซึ่งเป็นเวอร์ชันใหม่สำหรับจัดแสดงในงานบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ 2020 โดยเฉพาะ สร้างสรรค์ออกมาในรูปแบบภาพวาดแผนที่โลกบนผนังถักทอจากลวดไฟฟ้าและลวดหนาม มีเครือข่ายท่อร้อยสายเสียงที่เป็นตัวแทนกระแสการเคลื่อนที่ของมนุษย์ โดยเส้น สีและความหนาแน่นจะเปลี่ยนตามการเดินทางของนักเดินทาง ผู้อพยพ แรงงานและการค้าข้ามพรมแดน และมีฉากหลังเป็นอุปสรรคระดับชาติ นอกจากนี้ยังส่งเสียงต่างๆ อย่างเช่นเสียงการจราจรทางโทรคมนาคม เสียงกระแสไฟฟ้าแรงสูง เสียงโดรนบิน เสียงบีบแตรเรือ และเสียงไซเรนโรงงาน ผสมผสานกับเสียงเพลงของนกอพยพ สำหรับเธอแล้ว ผลงานชิ้นนี้สะท้อนให้เห็นถึง “การเพิ่มขึ้นของลัทธิชาตินิยมคับแคบท่ามกลางกระแสบทสนทนาข้ามพรมแดนผ่านเทคโนโลยี ทุกวันนี้แม้กระทั่งในขณะที่เรากำลังกระชับพรมแดนระหว่างประเทศท่ามกลางความกลัวการรับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย เราก็ตระหนักถึงการพึ่งพาซึ่งกันและกันมากขึ้น “ทุกสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อเราบางคน ล้วนส่งผลกระทบต่อเราทุกคนแทบจะในทันที”

สำหรับงานบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 เธอจะถักทอผลงานชิ้นนี้ โดยใช้สายไฟ สายเคเบิล ลวดลายและเสียงที่หาได้ในท้องถิ่น โดยคำนึงถึงมุมมองและรูปแบบการอพยพในท้องถิ่น

“A Child’s World in the Days of Adults, 2014-2016”
โดย Narongyot Thongyu

ณรงค์ยศทุ่มเทกับการค้นหา “ความจริงเกี่ยวกับวัสดุ” และการเปิดเผยแก่นแท้ของความจริงนั้น ผลงานของเขากระตุ้นให้ผู้ชมเปรียบเทียบความเป็นจริงกับจินตนาการ ในผลงานชุด A Child’s World in the Days of Adults ในปี พ.ศ. 2561 เขาใช้กระบวนการประดิษฐ์ของเล่นในการหวนกลับไปหาความทรงจำของเขา ตุ๊กตาตาบอดหลายตัวแสดงถึงความต้องการที่จะหลีกหนีความรู้สึกโดดเดี่ยวที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวันและการย้ายถิ่น

“Anatomii A, 2020”
โดย Lolay

สำหรับงาน BAB 2020 ครั้งนี้ ผลงานของโลเล ประกอบด้วยงานจิตรกรรมและประติมากรรมที่ต้องการแสดงถึงสภาพร่างกายที่เปรียบเหมือน สังคม ชุมชน เมือง ประเทศ และโลก ที่มีคาแรคเตอร์ และอาการแสดงผลบางอย่างในทางจินตนาการที่มาจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่มนุษย์ในช่วงเวลานี้ได้รับผลกระทบ ตั้งแต่ภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ เช่น โรคระบาดหรือภัยแห่งความขัดแย้งของมนุษย์ด้วยกันเองทั้งในทางการเมืองและการก่อสงคราม สงครามที่มีตั้งแต่ระดับในสังคม จนไปถึงระหว่างประเทศ และรวมไปถึงซีกโลก

“We have found in the ashes what we have lost in the fire (2018)”
โดย Rushdi Anwar

ในผลงานวิดีโอ I AM NOT FROM EAST OR WEST . . . MY PLACE IS PLACELESS ในปี พ.ศ. 2561 อันวาร์ได้พบกับผู้ลี้ภัยที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน และจดบันทึกการดำรงอยู่ของพวกเขาในค่ายผู้ลี้ภัย เน้นย้ำให้เห็นถึงความเปราะบางของการดำรงอยู่และความหวังที่อยู่ภายในนั้น ในศิลปะจัดวาง We have found in the ashes what we have lost in the fire ในปี พ.ศ. 2562 ภาพถ่ายโบสถ์แห่งหนึ่งในบาชิกาที่ถูกทำลายจัดแสดงอยู่ข้างเศษซากและสิ่งของจากโบสถ์ในกล่องความทรงจำ โดยกล่องและสิ่งของเหล่านี้จะพาผู้ชมไปสำรวจความคล้ายคลึงอันน่ากระอักกระอ่วนใจระหว่างการทำลายล้าง การดำรงอยู่เพียงชั่วคราว และการกลับคืนสู่สภาพเดิมที่ชุมชนพลัดถิ่นและถูกถอนรากถอนโคนทั่วโลกต้องเผชิญ

Bangkok Art Biennale (BAB) is a biannual art festival set in the capital of Thailand.
BAB spans across a period of 4 months in which the bustling city of Bangkok is transformed into a live hub that celebrates art, creativity, and culture.

‍Visitors are able to immerse themselves in an array of artworks and performances from a diverse range of artists, both local and international, throughout the heart of Bangkok, in galleries, public spaces, and iconic landmarks

In addition, they are accompanied by conferences, workshops, guided visits, and publications to ensure a memorable and holistic experience.

This year marks the second installment of BAB which commences from 29 October 2020 through to 31 January 2021.


เรื่อง Wuthikorn Sut
ภาพ ฤทธิรงค์ จันทองสุข, วุฒิกร สุทธิอาภา, เจรมัย!