ชิวาวา

ชิวาวา (Chihuahua) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ชิวาวา
ชิวาวา

ประวัติสายพันธุ์ ชิวาวา

แม้ว่าจะมีข้อโต้แย้งที่แตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับต้นกำเนิดของชิวาวา หลายคนเชื่อว่า ประเทศเม็กซิโก ในยุคที่ชนเผ่ามายาและชนเผ่า Toltec ถือครองดินแดน เป็นต้นกำเนิดเริ่มแรกของ สุนัขพันธุ์ ชิวาวา (Chihuahua) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก โดยมีสีและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ต่าง ๆ มากมาย

ชิวาวา ถูกจำแนกออกเป็น 2 สายพันธุ์ตามความแตกต่าง คือ พันธุ์ขนสั้นและขนยาว ดวงตาที่กลมโต ปลายหูค่อนข้างแหลมตั้งขึ้น และร่างกายขนาดเล็กเป็นคุณสมบัติหลักของชิวาวา ความฉลาดเป็นอย่างมากของพวกมันก็เป็นอีกหนึ่งในคุณสมบัติที่เป็นที่ชื่นชอบในสายพันธุ์นี้

ลักษณะทางกายภาพ

โดยทั่วไปแล้วความสูงของชิวาวาไม่ได้ถูกกำหนดเอาไว้ มีเพียงน้ำหนักและคำอธิบายสัดส่วนโดยรวมของพวกมันที่ถูกระบุไว้ ส่งผลทำให้พวกมันมีความสูงที่แตกต่างกันมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ โดยทั่วไปแล้วชิวาวาจะมีความสูงอยู่ระหว่าง 6-10 นิ้ว แต่อย่างไรก็ตามชิวาวาบางตัวสามารถสูงได้ถึง 12-15 นิ้ว (30 ถึง 38 ซม.) จากมาตรฐานสายพันธุ์ของทั้งอังกฤษและอเมริกาได้ระบุไว้ว่าชิวาวาต้องหนักไม่เกิน 6 ปอนด์เพื่อความสอดคล้องกัน อย่างไรก็ตามมาตรฐานของอังกฤษระบุว่าชิวาวาควรมีน้ำหนัก 2-4 ปอนด์และถ้าหากสุนัขทั้งสองตัวดีพอ ๆ กันควรเลือกตัวที่มีขนาดเล็กกว่า

มาตรฐานของ Fédération Cynologique Internationale (FCI) มีความต้องการให้สุนัขในอุดมคติมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 1.5-3.0 กก. (3.3-6.6 ปอนด์) ถึงแม้ว่าจะเป็นขนาดที่เล็กกว่าแต่ก็สามารถยอมรับได้สำหรับการแสดงโชว์ ชิวาวาเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีคุณภาพมากกว่าเรื่องน้ำหนักของมัน (กล่าวคือมันถูกซื้อมาเพื่อเป็นเพื่อนมากกว่าการนำมาเป็นสุนัขแสดงโชว์) ชิวาวาที่มีน้ำหนักมากกว่า 10 ปอนด์จากการที่มันมีโครงสร้างกระดูกขนาดใหญ่หรือการมีน้ำหนักเกิน ไม่ได้หมายความว่าพวกมันไม่ใช่ชิวาวาพันธุ์แท้เพียงแต่ว่าพวกมันไม่ตรงกับข้อกำหนดที่สามารถนำมาแสดงโชว์ได้ ชิวาวาที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติสามารถพบได้ในสายพันธุ์ที่ดีที่สุดและแย่ที่สุด โดยทั่วไปแล้วมาตรฐานสายพันธุ์ของชิวาวาขนยาวและขนสั้นจะเหมือนกันยกเว้นลักษณะขน

ผู้เพาะพันธุ์ชิวาวามักใช้คำศัพท์ เช่น ขนาดจิ๋ว ถ้วยชา ของเล่นเล็ก ๆ หัวแอปเปิ้ล หรือหัวกวางเพื่อบรรยายลักษณะของลูกสุนัข คำศัพท์เหล่านี้ไม่ได้รับการยอมรับจากมาตรฐานสายพันธุ์และอาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้

ขน

Kennel Club ในสหราชอาณาจักรและ American Kennel Club ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่ทำการจำแนกชิวาวาออกเป็นสองสายพันธุ์ คือ พันธุ์ขนยาวและขนเรียบที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับขนสั้น แต่ตามพันธุกรรมพวกมันถือว่าเป็นสายพันธุ์เดียวกัน คำว่าขนเรียบไม่ได้หมายความว่าขนจำเป็นจะต้องเรียบลื่นเสมอไป เนื่องจากเส้นขนสามารถให้สัมผัสที่เหมือนกับกำมะหยี่ไปจนถึงสัมผัสที่เหมือนกับไม้กวาด ส่วนชิวาวาที่มีขนยาวจะสัมผัสได้ถึงความลื่น ความอ่อนนุ่ม เส้นขนที่ละเอียดและขนชั้นในที่อ่อนนุ่ม ซึ่งทำให้พวกมันมีลักษณะขนที่ปุกปุย ชิวาวาที่มีขนยาวต้องการการทำความสะอาดน้อยมากและไม่จำเป็นต้องมีการตัดแต่งขนซึ่งต่างจากสุนัขสายพันธุ์อื่น ๆ จำนวนมากที่มีขนยาว และตรงกันข้ามกับความเชื่อส่วนใหญ่เนื่องจากชิวาวาพันธุ์ขนยาวมักจะผลัดขนน้อยกว่าพันธุ์ขนสั้น มันอาจใช้เวลานานถึง 2 ปีหรือมากกว่านั้นก่อนที่ขนจะยาวเต็มที่

 สีขน

สีขนของชิวาวาภายใต้มาตรฐานของ American Kennel Club คือ “สีเดียวล้วน ๆ มีแต้ม หรือมีลวดลาย” ซึ่งมีตั้งแต่สีดำล้วนไปจนถึงสีขาวล้วน สีน้ำตาลเข้ม เป็นแต้ม ๆ หรือสีและลวดลายอื่น ๆ ที่หลากหลาย ตัวอย่างบางส่วนได้แก่ สีน้ำตาลแกมเหลือง (Fawn), สีแดง (Red), สีครีม (Cream), สีช็อคโกแลต (Chocolate), สีน้ำเงิน (Blue) และสีดำ (Black)

ส่วนสีลายหินอ่อน (Merle) คือสีที่มีการแต้มด้วยจุดด่าง โดยรูปแบบทั้งหมดทั้งแบบที่มีหรือไม่มีแต้มสีขาวประกอบไปด้วยสีน้ำตาลเข้ม (sable), ลายเสือ (Brindle), จุดสีแทน (Tan points), สีแดง (Red), สีขาว (White), สีดำ (Black), ลายหินอ่อน (Merle), สีส้ม (Orange), สีน้ำตาลแกมเหลือง (Fawn), สามสี (Tricolor), สีน้ำตาลที่เข้มมาก ๆ (Dark brown), สีน้ำเงิน (Blue) เป็นต้น

รูปแบบขนที่เป็นลายหินอ่อน (merle) ไม่ถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานสายพันธุ์ โดยในเดือนพฤษภาคม ปีค.ศ.2007 Kennel Club ของสหราชอาณาจักรได้ตัดสินใจที่จะไม่จดทะเบียนให้กับลูกสุนัขที่มีสีขนเป็นลายหินอ่อน เนื่องจากความเสี่ยงด้านสุขภาพที่มีความเกี่ยวข้องกับยีน และในเดือนธันวาคมของปีนั้นก็ได้มีการแก้ไขมาตรฐานสายพันธุ์อย่างเป็นทางการเพื่อระบุสีขนของชิวาวาว่าเป็นสีใด ๆ หรือเป็นส่วนผสมของสีที่ไม่ใช่ลายหินอ่อน Fédération Cynologique Internationale เป็นองค์กรซึ่งมี Kennel club 84 ประเทศสมาชิกที่ยังขาดคุณสมบัติลายหินอ่อน ส่วน Kennel Club ของประเทศอื่นที่มีคุณสมบัตินี้ประกอบไปด้วยประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเยอรมนี อย่างไรก็ตามในเดือนพฤษภาคม ปีค.ศ.2008 Chihuahua Club of America ได้ทำการโหวตว่าสุนัขที่มีลายหินอ่อนจะไม่ถูกตัดสิทธิ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและพวกมันสามารถจดทะเบียนได้อย่างเต็มที่และสามารถแข่งขันในทุกกิจกรรมของ American Kennel Club (AKC) ได้

การจำแนกสีขนของชิวาวามีความซับซ้อนเนื่องจากมีความเป็นไปได้จำนวนมาก ตัวอย่างเช่น ลายเสือสีน้ำเงินหรือสีช็อคโกแลตและสีแทน โดยสีและลวดลายสามารถนำมารวมกันและส่งผลทำให้เกิดความแตกต่างในระดับสูงได้ สีพื้นฐานของชิวาวายังคงเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง (fawn) ไม่มีสีหรือลวดลายใดที่มีค่ามากไปกว่าสีอื่น ๆ ถึงแม้ว่าสีน้ำเงินจะถือว่าเป็นสีที่หายากก็ตาม

อายุขัย

ชิวาวามีอายุขัยโดยเฉลี่ยที่ยาวนานอย่างน่าประหลาดใจอยู่ที่ระหว่าง 13-17 ปี ซึ่งยาวนานกว่าสายพันธุ์ส่วนใหญ่อย่างมีนัยสำคัญและอาจเป็นเพราะว่ามันมีขนาดตัวที่เล็ก

ลักษณะนิสัย

สายพันธุ์ชิวาวาดูมีความบกพร่องในเรื่องของขนาดแต่ก็สามารถที่จะทดแทนได้ด้วยบุคลิกภายนอกที่ดูดี พวกมันมีการผสมผสานกันอย่างลงตัวทั้งความเย่อหยิ่งและความน่ารักซึ่งทำให้พวกมันมีลักษณะที่ไม่เหมือนใคร

ชิวาวาเป็นสุนัขที่รักและชอบใกล้ชิดกับผู้คน ถึงแม้ว่าพวกมันจะมีขนาดตัวที่เล็กแต่พวกมันมีนิสัยที่ตื่นตัวจึงทำให้สามารถเป็นสุนัขเฝ้าบ้านที่ยอดเยี่ยมได้

ชิวาวาเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่ฉลาดซึ่งสามารถทำการฝึกอบรมได้โดยใช้ความอดทน พวกมันจำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นทางทางความคิดบ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยรวมแล้วสุนัขสายพันธุ์นี้ต้องการความรักและเป็นสัตว์เลี้ยงที่ยอดเยี่ยมสำหรับทุกครอบครัว

การเข้ากับเด็ก

ชิวาวาเข้ากับเด็ก ๆ ได้ดี แต่อย่างไรก็ตามปัญหาอาจเกิดขึ้นได้ถ้าทั้งเด็กและสุนัขมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน จึงไม่แนะนำให้เลี้ยงชิวาวาหากมีเด็กวัยหัดเดินอยู่ในบ้าน เนื่องจากขนาดที่บอบบางของพวกมันส่งผลให้เด็กสามารถทำให้สุนัขได้รับบาดเจ็บได้ง่ายหากมีการปฏิบัติตนอย่างไม่ถูกต้อง หากคุณมีทั้งชิวาวาและเด็กเล็กอยู่ในบ้านเดียวกันควรทำการดูแลอย่างใกล้ชิด การเข้าสังคมตั้งแต่เนิ่น ๆ สำหรับชิวาวาจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการสอนให้พวกมันรู้ถึงวิธีการปฏิบัติตนกับผู้คนและสัตว์อื่น ๆ

การดูแล

การออกกำลังกาย

เนื่องจากชิวาวามีขนาดที่เล็กมากพวกมันต้องการการออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย การเดินทุกวันก็เพียงพอสำหรับการออกกำลังกายตามคำแนะนำแล้ว คุณควรทราบว่าชิวาวาทนอยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็นได้ไม่ดีนัก ดังนั้นหากเดินในฤดูหนาวอย่าลืมที่จะหาเสื้อเพื่อให้ความอบอุ่นกับพวกมัน

อาหาร

ชิวาวาต้องการอาหารในปริมาณที่น้อยมาก เพื่อสุขภาพที่ดีควรอาหารที่มีคุณภาพสูงในปริมาณ ¼-½ ถ้วยตวงและแบ่งออกเป็นสองมื้อก็เพียงพอแล้วสำหรับการบริโภคในแต่ละวัน และจะต้องมั่นใจว่ามีน้ำสะอาดให้กับพวกมันอยู่เสมอ

โรคประจำพันธุ์

โรคประจำพันธุ์ที่พบในชิวาวา ได้แก่

  • โรคระบบประสาท
    • ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus)
    • โรควิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)
    • โรคลมชัก (Epilepsy)
    • โรคไข้สมองอักเสบ (Encephalitis)
    • โรควิตกกังวล (Anxiety)
  • โรคระบบหมุนเวียนโลหิตและหัวใจ
    • โรคลิ้นหัวใจพัลโมนารีตีบ (Pulmonic Stenosis)
    • โรคลิ้นหัวใจไมทรัลรั่ว (Mitral Regurgitation)
    • ภาวะหลอดเลือดดำที่ตับลัดเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด (Portosystemic shunts)
  • โรคไตและทางเดินปัสสาวะ
    • ภาวะนิ่วในไต (Kidney Stones)
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
    • ภาวะหลอดลมตีบ (Collapsed trachea)
  • โรคระบบกระดูก เอ็น และข้อต่อ
    • โรคกระดูกสะบ้าเคลื่อน (Patellar Luxation)
    • โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือด (Legg-Calve-Perthes disease)
  • โรคตา
    • โรคจอประสาทตาเสื่อม (Progressive Retinal Atrophy)
  • โรคในช่องปาก

เรื่อง : ธันยพร แท่นนอก

ติดตามข้อมูล บ้านและสวน PETS ได้ที่นี่