DESIGN IN MOTION OFFICE ออฟฟิศสถาปนิกที่โชว์ผิววัสดุ โครงสร้าง และสเปซคุณภาพ

ออฟฟิศสถาปนิก ที่โดดเด่นด้วยความโปร่งโล่งทั่วถึงกันตลอดทั้งอาคาร ด้วยการออกแบบ “บันได” เป็นองค์ประกอบหลัก จากการใช้โครงสร้างคอนกรีตโชว์ผิวที่โชว์ความงามของระบบโครงสร้างอย่างตรงไปตรงมา

เมื่อถึงโอกาสของการขยับขยายและย้ายที่ทำงานสู่สถานที่ใหม่ บริษัท Design In Motion จึงได้เปลี่ยนที่ดินว่างเปล่าผืนหนึ่งในซอกซอยซับซ้อนของถนนสุขุมวิท 71 ให้กลายเป็นอาคารสำนักงานมากเอกลักษณ์ ที่รวมทุกคุณสมบัติของสำนักงานคุณภาพ ทั้งเรื่องแสงสว่าง พื้นที่ส่วนกลาง และดีไซน์พิเศษมากฟังก์ชัน ซึ่งผ่านการคิดมาแล้วอย่างเป็นองค์รวม สมกับความเป็น ออฟฟิศสถาปนิก มากประสบการณ์

ออฟฟิศสถาปนิก design in motion บันได ออฟฟิศสถาปนิก design in motion บันได

“เรามีความต้องการที่จำเป็นอยู่ไม่กี่ข้อ” คุณธฤต ทศไนยธาดา หนึ่งในพาร์ทเนอร์ของบริษัท เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของสำนักงานแห่งใหม่ “แสงสว่างส่องถึง ให้ออฟฟิสสว่างๆ โล่งๆ ไม่ทึบ แล้วก็อยากมองเห็นกันในระหว่างทำงาน รวมถึงเรื่องงบประมาณค่าก่อสร้างด้วย”

คุณธฤตเล่าว่า สำนักงานของ Design In Motion ก่อนหน้านี้ เป็นเพียงห้องของตึกแถว 1 ห้องในย่านเอกมัย และพนักงานกว่า 10 คนทั้งทีมพาร์ทเนอร์และพนักงาน ก็นั่งทำงานรวมกันอยู่ในห้องเดียว ซึ่งถึงแม้ว่าจะเพียงพอ และไม่ถึงขั้นแออัดยัดเยียด แต่การขาดพื้นที่ส่วนกลางและความเป็นส่วนตัวในพื้นที่ทำงานของแต่ละคน ก็เป็นหนึ่งในปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมของที่ทำงาน ที่ทุกคนเห็นตรงกันว่าต้องการแก้ไข

ออฟฟิศสถาปนิก design in motion บันได ออฟฟิศสถาปนิก design in motion บันได ออฟฟิศสถาปนิก design in motion บันได

เมื่อย้ายมาที่ทำงานใหม่ การออกแบบให้สถานที่ทำงานโปร่งโล่ง และแบ่งเป็นสัดเป็นส่วนมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยแรกๆ ในขั้นตอนการออกแบบ

“แนวความคิดคือ เราจะแยกห้องทีมพาร์ทเนอร์กับทีมพนักงาน” คุณธฤตกล่าว “พาร์ทเนอร์เรามีประมาณ 5 คน ส่วนน้องๆ มีประมาณ 10 คนในตอนนี้ เมื่อก่อนนั่งในตึกแถวห้องเดียวกัน แทรกๆ กัน พอมาที่นี่ เรากั้นกระจกให้ยังพอมองเห็นกันอยู่ แต่แยกเป็นสัดส่วนเพื่อความเป็นส่วนตัวนิดหนึ่ง แล้วก็ได้แสงธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น”

การแยกห้องตามแนวความคิดที่ว่า เกิดขึ้นภายในกรอบอาคารขนาดราว 10 x 10 เมตร โดยผู้ออกแบบได้แบ่งสัดส่วนภายในออกเป็น 3 ชั้น แล้วการแบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น ซ้าย – ขวา ฝั่งละเท่าๆ กัน จากนั้นยกแต่ละชั้นขึ้นสลับ คล้ายขั้นบันไดสับหว่างกันขึ้นไป แล้วใช้การเว้นระยะห่างของ 2 ฝั่งออกจากกันราว 2 เมตร จากนั้นจึงค่อยใช้บันไดเชื่อมแต่ละชั้นเข้าหากันในส่วนในสุดและส่วนหน้าสุด

ออฟฟิศสถาปนิก design in motion บันไดออฟฟิศสถาปนิก design in motion บันได

อ่านต่อหน้า 2