RANWAS SCHOOL อาคารเรียนกลางป่าที่ออกแบบมาเพื่อสู้กับสภาพอากาศอันโหดร้าย

อาคารเรียน ที่เห็นนี้ตั้งอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐวานูอาตู ประเทศที่มีลักษณะเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ใกล้กับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งหลายคนอาจจะไม่รู้จัก และด้วยความที่เป็นเกาะ จึงทำให้ที่นี่มักประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติตลอดเวลา

จนกระทั่งปี 2015 ได้เกิดเหตุการณ์พายุไซโคลนถล่มหมู่บ้านทำให้ที่นี่สูญเสีย อาคารเรียน ของหมู่บ้านไป เด็ก ๆ ต้องไปเรียนในที่พักพิงชั่วคราว จนกระทั่งองค์กร NGO ที่ให้ความช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการฟื้นฟูอาคารเรียนขึ้นมาใหม่ ให้ควบรวมฟังก์ชันห้องสมุดและออฟฟิศไว้ด้วยกัน โดยมีโจทย์ว่าต้องทนทานต่อสภาพอากาศที่รุนแรงของที่นี่ได้

อาคารเรียน แผ่นโพลีคาร์บอเนต ค่ายอาสา อาคารเรียน แผ่นโพลีคาร์บอเนต อาคารเรียน แผ่นโพลีคาร์บอเนต ผนังไม้ไผ่ อาคารเรียน แผ่นโพลีคาร์บอเนต ค่ายอาสา ผนังไม้ไผ่

โปรเจ็กต์นี้ถูกส่งต่อให้กับ CAUKIN Studio ทีมนักออกแบบรุ่นใหม่ที่ทำงานเพื่อสังคม ทำการชักชวนอาสาสมัครเเละสถาปนิกท่านอื่น ๆ จากหลากหลายเชื้อชาติกว่า 15 คน มาทำงานร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ เกิดเป็นความร่วมมือและมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการก่อสร้างอาคารเรียนหลังนี้จนเเล้วเสร็จ โดยใช้เวลาก่อสร้างเพียง 2 เดือนเท่านั้น

ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่บนเกาะกลางหุบเขา ทำให้ที่นี่มีฝนตกแทบตลอดทั้งปี ส่งผลให้การเก็บรักษาหนังสือและอุปกรณ์การเรียนเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง ทีมสถาปนิกจึงออกแบบอาคารที่ช่วยลดความชื้นสัมพัทธ์ ด้วยการเก็บหนังสือไว้ในห้องที่ออกแบบเป็นพิเศษ โดยเป็นห้องปิดที่มุงด้วยเมทัลชีทสีดำช่วยเก็บกักอุณหภูมิภายใน ลดความชื้น ประกอบกับช่องว่างใต้หลังคาที่ช่วยให้อากาศพัดพาความชื้นออกไป รวมไปถึงชั้นวางหนังสือที่เว้นระยะห่างจากผนัง

อาคารเรียน อาคารเรียน ค่ายอาสา อาคารเรียน ค่ายอาสา อาคารเรียน ค่ายอาสา ผนังไม้ไผ่

พื้นที่ภายในแบ่งออกเป็นห้องเรียนแบบโปร่งโล่ง และห้องสมุดขนาดเล็กซึ่งมีบันไดนำไปสู่ชั้นลอยขนาดกะทัดรัดเหนือห้องสมุด ช่วยให้เด็ก ๆ ได้หยิบหนังสือขึ้นไปนอนอ่านเล่นท่ามกลางแสงธรรมชาติในบรรยากาศสบาย ๆ ในส่วนของวัสดุเลือกใช้โครงสร้างไม้ ผนังไม้ไผ่ แผ่นพอลิคาร์บอเนต และหลังคาเมทัลชีท ที่มีความแข็งแรงทนทาน แสงธรรมชาติเข้าถึงได้เเละระบายอากาศดี ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน

ผนังของอาคารเลือกใช้วัสดุธรรมชาติที่สามารถหาได้ในพื้นที่อย่าง ไม้ไผ่ มาเป็นวัสดุหลัก เอื้อให้ชาวบ้านสามารถเปลี่ยนหรือซ่อมแซมได้เอง เมื่อเกิดปัญหาพังหรือชำรุด โดยไม่ต้องไปหาวัสดุราคาแพง อีกทั้งผนังไม้ไผ่ยังช่วยในการระบายอากาศได้ดีด้วย

เเละเมื่อวันที่ 6 เมษายน ที่ผ่านมา ที่นี่ได้เผชิญกับพายุไซโคลนแฮโรลด์ที่มีความรุนแรงระดับ 5 อีกครั้ง บ้านเรือนกว่า 90% บนเกาะได้รับความเสียหาย มีเพียงอาคาร 3 หลังเท่านั้นที่รอดมาได้ เเละหนึ่งในนั้นคืออาคารเรียนใหม่หลังนี้นั่นเอง

ออกแบบ : CAUKIN Studio (www.caukinstudio.com)
ภาพ : Katie Edwards


เรียบเรียง : Woofverine

อ่านต่อ โรงเรียนห้วยส้านยาววิทยา โรงเรียนที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับแรงสั่นไหวของแผ่นดินไหว

ห้วยส้านยาว Vin Varavarn Architects

 โรงเรียนบ้านคลองบอน สถาปัตยกรรมแห่งการเรียนรู้สำหรับเยาวชนและชุมชนมุสลิมบนเกาะยาวใหญ่ 

โรงเรียนบ้านคลองบอน

โรงเรียนบ้านหนองบัว ห้องเรียนพอดีพอดี 

โรงเรียนบ้านหนองบัว ห้องเรียนพอดีพอดี จาก Junsekino Architect and Design