ระบบน้ำพุ่ง เพื่อการเกษตร ที่ต่อยอดมาจากระบบน้ำหยด

ระบบน้ำพุ่ง คือระบบอีกรูปแบบหนึ่งสำหรับให้น้ำไม้ยืนต้น ที่ต้องการความชุ่มชื้นบริเวณโคนต้น มากกว่าการให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด  อย่างที่เราเคยนำเสนอไปเเล้วก่อนหน้านี้ โดยคุณสามารถทำได้เองไม่ยุ่งยาก หรือแทบไม่ต้องเดินท่อน้ำใหม่ เพียงแค่เปลี่ยนจากเทปน้ำหยดเป็นเทปน้ำพุ่ง เท่านี้คุณก็จะสามารถให้น้ำต้นไม้ได้อย่างประหยัดเเละเพียงพอในช่วงหน้าเเล้งนี้เเล้ว

ระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตร ทำเองได้ช่วยประหยัดน้ำในช่วงหน้าแล้ง

อุปกรณ์จำเป็นสำหรับให้น้ำพืชด้วย ระบบน้ำพุ่ง

  1. ถังน้ำขนาด 2,000 ลิตร
  2. ถังน้ำขนาด 200 ลิตร
  3. ปั๊มหอยโข่ง 1 นิ้ว ขนาด 0.5 แรงม้า
  4. บอลวาล์ว ประมาณ 10 ตัว เพื่อปรับแรงดันในแต่ละช่วงของข้อต่อ
  5. ท่อพีวีซี 1.5 นิ้ว สำหรับเดินระบบถังสูบและจ่ายน้ำเข้าสู่ท่อน้ำหยด
  6. ท่อกรองน้ำเกษตร สำหรับกรองหยาบก่อนส่งน้ำเข้าท่อน้ำหยด
  7. เทปน้ำพุ่ง เลือกระยะรูของการให้น้ำตามลักษณะของพืชเเละการปลูก
  8. วาล์วน้ำหยด สำหรับต่อเทปน้ำพุ่ง
  9. ผ้าพลาสติกดำ มีหรือไม่มีก็ได้ ใช้สำหรับคลุมทับหน้าดิน เพื่อป้องกันวัชพืช เเละเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ดิน
ระบบน้ำพุ่ง นั้นสามารถประยุกต์จากที่เคยนำเสนอเรื่องระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตรไปแล้วได้ไม่ยากเลยโดยแทบไม่ต้องปรับเปลี่ยนใดๆเลย เพียงแค่ตัวเทปน้ำหยดให้กลายเป็นเทปน้ำพุ่ง เพียงเท่านี้เราก็จะได้วิธีการให้น้ำสำหรับพืชพันธ์ุที่เป็นไม้ยืนต้นซึ่งต้องการความชุ่มชื้นเป็นบริเวณที่กว้างขึ้นกว่าระบบน้ำหยดนั่นเอง

ข้อดีของระบบน้ำพุ่งมีดังนี้

  • ติดตั้งได้ง่ายเช่นเดียวกับระบบน้ำหยด โดยเจ้าของสวนสามารถทำเองได้ไม่ยุ่งยาก
  • ใช้แรงดันน้ำในท่อต่ำกว่าระบบสปริงเกอร์
  • ดูแลรักษาง่าย สามารถเปิดล้างตะกอนในท่อกรองเกษตรได้
  • สามารถให้น้ำได้ครอบคลุมพื้นที่มากกว่าระบบน้ำหยด เเละประยุกต์ใช้กับการให้น้ำพืชได้หลากหลายชนิด
  • ราคาย่อมเยาเมื่อเปรียบเทียบกับระบบการให้น้ำรูปแบบอื่น ๆ อย่างระบบสปริงเกอร์
  • เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศไทย
  • ประหยัดน้ำ ใช้ได้ดีในหน้าแล้ง
  • ประหยัดเวลา สามารถปล่อยทิ้งไว้และไปทำงานอื่นได้

จึงจะเห็นได้ว่าระบบน้ำพุ่งนี้ ครอบคลุมถึงพืชพันธ์ุที่มีขนาดใหญ่กว่าพืชในเเปลงปลูกที่ใช้ระบบน้ำหยด  เเถมยังมีระยะการให้น้ำที่ไปได้ไกลกว่าด้วย

สำหรับขั้นตอนการติดตั้งนั้น ผู้อ่านสามารถย้อนกลับไปดูวิธีการติดตั้งระบบน้ำหยด ซึ่งเราได้เเปะลิงก์ไว้ด้านล่างนี้

ขั้นตอนการติดตั้ง ระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตร

เรียกได้ว่าทุกขั้นตอนของระบบน้ำพุ่งนั้น มีลักษณะคล้ายขั้นตอนการติดตั้งระบบน้ำหยดทุกประการ เเต่ต่างกันที่ขั้นตอนหลังการติดตั้งวาล์วน้ำหยดแล้ว ให้คุณเปลี่ยนมาเป็นเทปน้ำพุ่งแทน จากนั้นจึงวางแนวเทปไปตามพื้นที่ระหว่างกึ่งกลางของเเปลงปลูก เพื่อให้ต้นไม้ทั้งสองฝั่งได้รับน้ำอย่างทั่วถึง

ระบบน้ำพุ่ง นั้นสามารถประยุกต์จากที่เคยนำเสนอเรื่องระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตรไปแล้วได้ไม่ยากเลยโดยแทบไม่ต้องปรับเปลี่ยนใดๆเลย เพียงแค่ตัวเทปน้ำหยดให้กลายเป็นเทปน้ำพุ่ง เพียงเท่านี้เราก็จะได้วิธีการให้น้ำสำหรับพืชพันธ์ุที่เป็นไม้ยืนต้นซึ่งต้องการความชุ่มชื้นเป็นบริเวณที่กว้างขึ้นกว่าระบบน้ำหยดนั่นเอง

หากมองในแง่ของการใช้งานแล้ว การให้น้ำด้วยระบบน้ำพุ่งนี้ เปรียบเทียบได้กับการให้น้ำแบบมินิสปริงเกอร์ที่เดินระบบด้วยท่อ PE (ท่ออ่อน) โดยเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วการเดินระบบด้วยท่อ PE จะมีค่าใช้จ่ายเริ่มตั้งเเต่การติดตั้งที่สูงกว่าระบบน้ำพุ่งเกือบเท่าตัว แต่ข้อดีของระบบมินิสปริงเกอร์ในท่อ PE คือสามารถถอดล้างระบบได้หากเกิดการอุดตัน ส่วนระบบน้ำพุ่งจะเกิดปัญหานี้ได้ง่ายกว่า หากไม่วางระบบกรองเกษตรให้ดีเสียก่อน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความรอบคอบในการติดตั้งและเลือกใช้

ระบบน้ำพุ่ง นั้นสามารถประยุกต์จากที่เคยนำเสนอเรื่องระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตรไปแล้วได้ไม่ยากเลยโดยแทบไม่ต้องปรับเปลี่ยนใดๆเลย เพียงแค่ตัวเทปน้ำหยดให้กลายเป็นเทปน้ำพุ่ง เพียงเท่านี้เราก็จะได้วิธีการให้น้ำสำหรับพืชพันธ์ุที่เป็นไม้ยืนต้นซึ่งต้องการความชุ่มชื้นเป็นบริเวณที่กว้างขึ้นกว่าระบบน้ำหยดนั่นเอง

ทั้งนี้เราสามารถเลือกปรับใช้ระบบน้ำพุ่งร่วมกับระบบน้ำหยดได้ โดยการแบ่งโซนที่ใกล้กับปั๊มน้ำให้เป็นระบบน้ำพุ่ง และเมื่อแรงดันที่ปลายทางลดต่ำลงให้เลือกใช้ระบบน้ำหยด ซึ่งจะต้องออกเเบบแปลงปลูกพืชไว้ก่อนการวางระบบ ว่าเราจะปลูกพืชชนิดใดในพื้นที่ก่อนหลัง ซึ่งจะเป็นการช่วยให้เราสามารถปลูกพืชได้หลากหลาย ตามหลักการให้น้ำที่กล่าวไปข้างต้น

ระบบน้ำพุ่ง นั้นสามารถประยุกต์จากที่เคยนำเสนอเรื่องระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตรไปแล้วได้ไม่ยากเลยโดยแทบไม่ต้องปรับเปลี่ยนใดๆเลย เพียงแค่ตัวเทปน้ำหยดให้กลายเป็นเทปน้ำพุ่ง เพียงเท่านี้เราก็จะได้วิธีการให้น้ำสำหรับพืชพันธ์ุที่เป็นไม้ยืนต้นซึ่งต้องการความชุ่มชื้นเป็นบริเวณที่กว้างขึ้นกว่าระบบน้ำหยดนั่นเอง

ระบบน้ำพุ่งเพื่อการเกษตรทั้งหมดนี้ สามารถประกอบติดตั้งได้ในงบประมาณไม่เกิน 20,000 บาท สำหรับแปลงปลูกขนาดไม่เกิน 1 ไร่ และสามารถมีอายุการใช้งานได้ราว ๆ 5-10 ปี (เช่นเดียวกับระบบน้ำหยด) ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพของระบบท่อต่าง ๆ ที่เลือกนำมาใช้และการหมั้นดูแลรักษานั่นเอง

ติดตามบ้านและสวนได้ที่นี่