โอลิมปิกกับญี่ปุ่น จุดเริ่มต้นของ “ปฏิหาริย์ร้านชำคุณนามิยะ”

หนังสือแต่ละแนวมักมี ประเด็นที่มีประโยชน์ซ่อนอยู่ในนั้น ผ่านการเล่าของผู้เขียนและชั้นเชิงในการให้แง่คิด ให้ผู้อ่านเปิดโลกได้กว้างขึ้น ซึ่งโครงการ The Happy Read ส่งความรู้ สร้างความสุข” ได้เห็นความสำคัญและสนับสนุนการอ่านทุกรูปแบบ โดยความร่วมมือบริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กระทรวงศึกษาธิการ และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หนังสือน่าอ่านอีกเล่มที่นักอ่านนักเขียนรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ต่างออกมารีวิวถึงเนื้อหาอันเข้มข้น ความแยบยลของการวางโครงเรื่อง และกลายเป็นหนังสือขายดีที่มียอดพิมพ์กว่า 12 ล้านเล่ม นั่นคือ ปฏิหาริย์ร้านชำของคุณนามิยะ เขียนโดย ฮิงาชิโนะ เคโงะ นักเขียนชาวญี่ปุ่น  เนื้อหาในเล่มจะตื่นเต้น ซับซ้อนมากแค่ไหน ต้องอ่านเองเท่านั้นถึงจะได้อรรถรส แต่ครั้งนี้จะเล่าถึงประเด็นบางส่วนที่เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องคือ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่ตัวละครปริศนาได้เขียนจดหมายส่งมาที่ร้านชำคุณนามิยะ เพื่อปรึกษาถึงปัญหาชีวิตของตนเองและแฟนหนุ่มของเธอ ทั้งคู่เป็นนักกีฬาทีมชาติญี่ปุ่น และต่างฝึกซ้อมอย่างหนักเพื่อการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กำลังจะมาถึง

กีฬาโอลิมปิกในหนังสือไม่ใช่ปี 2020 ที่กำลังจะจัดขึ้นที่ญี่ปุ่น ในเร็วๆ นี้ แต่หากเป็นในช่วงปี 1980 ที่จัดขึ้นในกรุงมอสโค  รัสเซีย ปีนั้นเกิดสงครามเย็นทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต อเมริกาบอยคอตการแข่งขันครั้งนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่าสหภาพโซเวียตบุกโจมตีอัฟกานิสถาน  และเรียกร้องให้ประเทศอื่นๆ ทำตาม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือประเทศญี่ปุ่น ตัวละครปริศนาจึงตัดสินใจไม่ไปเก็บตัวฝึกซ้อมแต่หันมาดูแลคนรักจนวาระสุดท้ายของชีวิต ตามคำปรึกษาที่ได้รับจากร้านชำคุณนามิยะ

ปี 2020 ประเทศญี่ปุ่นได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโฮลิมปิกครั้งที่ 32 ณ กรุงโตเกียว หลังจากเคยป็นเจ้าภาพมาแล้วในปี 1964 ซึ่งเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่มีการจัดแข่งขันโอลิมปิกในทวีปเอเชียเป็นครั้งแรก ความน่าสนใจในครั้งนี้คือแนวคิดในการจัดงานที่ว่า Be Batter Together-for the planet and the people  ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ลดการใช้ขยะ ทั้งผลิตเหรียญรางวัลจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือจะเป็นคบเพลิงรูปดอกซากุระที่ 30% ผลิตมาจากอะลูมิเนียมที่เคยเป็นบ้านพักผู้ประสบภัยชั่วคราว

ในปี 1964 สนามกีฬาที่ใช้ในการแข่งขันคือสนามกีฬาโยโยงิ ยังคงอยู่เป็นอนุสรณ์มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนสนามกีฬาที่จะถูกใช้เป็นสนามหลักในการแข่งขันครั้งนี้คือ Tokyo 2020 Olympic Stadium  ออกแบบโดย Kengo Kuma สถาปนิกผู้ทรงอิทธิพลของญี่ปุ่น ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนก่อสร้างที่ใกล้สมบูรณ์ เพื่อรองรับการแข่งขัน ในวันที่ 24 ก.ค.-9 ส.ค.63 ที่จะถึงนี้

 

ขอบคุณภาพจาก Japan Sports Council / via Curbed