ไอเดียในการวางผังบริเวณบ้าน

ไอเดียในการ วางผังบ้าน จากหนังสือ Home and Location

ไอเดียในการวางผังบริเวณบ้าน
ไอเดียในการวางผังบริเวณบ้าน

หลังที่ 2

ที่ดินของบ้านหลังนี้อยู่ติดกับเขตป่าไม้ของเมืองเชียงใหม่ มีบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติแสนสงบ ได้เห็นวิถีของชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบๆ ซึ่งบางคนยังเก็บเห็ดและของป่าเพื่อการดำรงชีวิต เขตป่าไม้แบบนี้ไม่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงง่าย ทิวทัศน์โดยรอบจึงยังคงเขียวขจีและเพิ่มมากขึ้น เพราะมีคนมาปลูกป่าทุกเดือน แต่บางคราวก็ต้องแลกกับความเสี่ยงเรื่องไฟป่า เพราะบริเวณนี้อยู่ห่างจากแหล่งน้ำ เจ้าของบ้านให้คำแนะนำสำหรับการอยู่ในที่แบบนี้ว่า สิ่งที่ต้องทำคือช่วยกันเป็นหูเป็นตา โทรแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ทันท่วงที และแจ้งข่าวแก่เพื่อนบ้าน จะได้เตรียมพร้อมหากไฟลุกลามเข้ามาใกล้ และวางแผนว่าจะขุดบ่อน้ำตรงที่ดินด้านหน้า เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับไฟป่าที่อาจมาแบบไม่ทันตั้งตัว

วางตำแหน่งบ้านให้ซ่อนตัวอยู่หลังต้นไม้ใหญ่
ไอเดียในการวางผังบริเวณบ้าน
พื้นชั้น 1
พื้นชั้น 2

อธิบายผังบริเวณ

  • ที่ดินมีระดับต่ำว่าเขตป่าไม้และถนน และมีด้านยาวขวางทางน้ำ นอกจากยกพื้นบ้านให้สูงขึ้นแล้ว ยังออกแบบให้ตัวบ้านมีด้านรับน้ำสั้นที่สุด วางตัวบ้านในตำแหน่งด้านหลังที่ดิน โดยเปิดพื้นที่ด้านหน้าเป็นสนามหญ้า เพื่อป้องกันปัญหาน้ำไหลแรงจากภูเขามาปะทะตัวบ้าน
  • ผิวพื้นบนที่ดินส่วนที่นอกเหนือจากตัวบ้านและที่จอดรถ ปล่อยให้เป็นหญ้า ต้นไม้ และดิน ช่วยซับน้ำ ลดการสะสมความร้อนและการสะท้อนความร้อนเข้าสู่บ้านได้ดีกว่าคอนกรีต
  • พื้นที่นั่งเล่นต่อเนื่องกับส่วนกินข้าว มีฝ้าเพดานสูงและช่องเปิดบานใหญ่ที่มองออกไปเห็นทิวทัศน์อันเขียวขจีของป่าไม้ แม้จะอยู่ริมถนน แต่จัดตำแหน่งบ้านให้ถูกพรางตาด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ด้านนอกที่ดิน

เพิ่มความสดชื่นให้มุมนั่งเล่นด้วยกระถางต้นไม้เล็กๆที่เคลื่อนที่ได้ง่าย ช่วยลดความกระด้างของผนังปูนเปลือยได้ดี
โถงนั่งเล่นที่มองทิวทัศน์ภายนอกได้เต็มตา

ไอเดียในการวางผังบริเวณบ้าน
บ้านที่อยู่ใกล้พื้นที่ป่าไม้ โอบล้อมด้วยธรรมชาติ

เจ้าของ : วราพงษ์ มาเตียง
ภาพประกอบ : ปิติรัตน์ ยศวัฒน
ภาพ : ปรัชญา จันทร์คง

หนังสือ Home and Location

หนังสือบอกเล่าถึงเรื่องราวและเหตุผลในการเลือกสภาพแวดล้อมเพื่ออยู่อาศัย บางคนเลือกบ้านในเมืองที่พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก แต่ต้องรับมือกับปัญหารถติด บางคนยอมทิ้งทำเลใกล้รถไฟฟ้าเพื่อไปอยู่ชานเมืองที่มีอากาศดีกว่า และบางคนพาตัวเองออกไปอยู่ในวิถีชนบทที่แสนสงบ แต่ไฟฟ้าจากส่วนกลางไปไม่ถึง พวกเขามีวิธีปรับตัวอย่างไรเมื่อไปอยู่ในที่ที่ไม่คุ้นเคย และการออกแบบบ้านให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในบริบทใหม่นั้นทำได้อย่างไรบ้าง และด้วยสไตล์ที่แตกต่างกันก็ทำให้เราได้รับไอเดียดีๆในการตกแต่งบ้านหลากหลายรูปแบบเป็นของแถมมา อย่างน้อยสิ่งเหล่านี้ก็พิสูจน์ได้ว่า เราสามารถนำตนเองและครอบครัวไปอยู่ในที่ที่ทำให้เราสบายใจ และใช้ชีวิตประจำวันได้เหมาะเจาะกับธรรมชาติของเรามากที่สุด


เรื่องที่น่าสนใจ