6 | ค้างถั่ว
โครงสร้างมีความแข็งแรงสูง ลักษณะเส้นที่มีทั้งแนวนอนและแนวตั้งเหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของพืชจำพวกถั่ว เช่น ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว ถั่วแขก อีกทั้งสามารถใช้เป็นค้างสำหรับไม้ประดับได้ดีอีกด้วย
7 | ค้างสี่เหลี่ยม
เก็บผลผลิตง่าย และสามารถปฏิบัติการจัดการต่างๆ ได้สะดวกสบาย ตัวค้างมีความสมดุล ไม่ล้มง่าย ควรระวังเรื่องทิศทางแถวในการปลูก โดยปลูกให้อยู่ในแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก เพราะต้นพืชจะได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง ค้างชนิดนี้ใช้กับพืชได้เกือบทุกชนิด อีกทั้งสามารถปรับเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ให้กลายเป็นซุ้มศาลาไม้เลื้อยสำหรับสวนสวยในบ้านได้ด้วย
8 | ค้างตารางหมากฮอส
ค้างแบบตารางหมากฮอส ลักษณะคล้ายกับค้างแบบสี่เหลี่ยม มีความแข็งแรง ทนทาน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้สะดวก เหมาะกับพืชมีเถาขนาดใหญ่ ซึ่งโดยมากแล้วกิ่งก้านจะยาวพันกันไปมาสานกันจนกลายเป็นหลังคาทึบ ทำให้การตัดแต่งกิ่งทำได้ค่อนข้างลำบาก ควรมีการตัดแต่งกิ่งที่ไม่มีผล หรือกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ออก เพื่อให้แสงแดดส่องถึงข้างใต้ทรงพุ่ม
9 | ค้างตัว H
ค้างแบบนี้สามารถใช้ได้นาน เนื่องจากนิยมใช้วัสดุ – อุปกรณ์ที่ทนทาน เช่น เสาปูน โลหะ มักพบในแปลงปลูกที่มีการลงทุนสูง การจัดการที่ดี ค้างชนิดนี้มีความคงทน เก็บผลผลิตได้มาก และเก็บผลผลิตได้นาน
10 | ค้างแบบซุ้ม
ค้างชนิดนี้เป็นค้างที่นิยมนำมาใช้จัดโชว์เพื่อความสวยงามมากกว่า สามารถใช้เป็นอุโมงค์ครอบเหนือทางเดินในสวน เป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ ทั้งให้ร่มเงา ประหยัดพื้นที่ ส่วนการเก็บผลผลิตก็สามารถทำได้ง่าย แต่การจัดการตัดแต่งกิ่งค่อนข้างยากหากตัวซุ้มมีความสูงมาก
เรื่อง Miss JJ
ภาพประกอบ ศิริภัสสร ศิริไล
แหล่งเรียนรู้วิธีปลูกผักปลอดสารพิษ สำหรับสวนผักคนเมือง
ปฏิทินปลูกผัก ปลูกอย่างไรให้มีผักกินทั้งปี
ชนิดผักและแบบสวนสำหรับปลูกผักพื้นบ้าน