รายการค่าลดหย่อนภาษีประจำปี 2561

รายการค่าลดหย่อนภาษีประจำปี 2561

รายการค่าลดหย่อนภาษีประจำปี 2561
รายการค่าลดหย่อนภาษีประจำปี 2561

กลุ่มที่ 3 : ค่าลดหย่อนกลุ่มประกันชีวิตและการลงทุน

ลดหย่อนภาษี 2561

1. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือ เงินฝากแบบมีประกันชีวิตตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 100,000 บาท ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ การหักค่าเบี้ยประกันจะหักได้สูงสุด 10,000 บาท แต่ถ้าหากคู่สมรสมีรายได้จะหักสูงสุดได้ถึง 100,000 บาท

เรื่องของเงื่อนไขนั้น จะมีเรื่องของระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย ได้รับเงินคืนไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี ฯลฯ สำหรับใครที่สงสัยว่าประกันชีวิตของตัวเองเป็นแบบไหน ให้สอบถามจากตัวแทนประกันชีวิตหรือจะดูจากใบเสร็จรับเงินค่าประกันที่เราจ่ายไปก็ได้ค่ะ ว่าเรามี  “เบี้ยประกันชีวิต” ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้จำนวนเท่าไหร่

 

2. เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 15,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไปหรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท โดยเบี้ยประกันสุขภาพนั้นหมายถึงกลุ่มต่อไปนี้

  • ประกันที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เนื่องจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บ ชดเชยทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะเนืองจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
  • ประกันอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
  • การประกันภัยโรคที่ร้ายแรง
  • การประกันภัยการดูแลระยะยาว

 

3. เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 15,000 บาท ตรงนี้เน้นว่า ต้องเป็นเบี้ยประกันสุขภาพของคุณพ่อคุณแม่เท่านั้นนะคะ โดยความหมายของประกันสุขภาพนั้นใช้หลักการเดียวกันกับประกันสุขภาพของเราค่ะ โดยเบี้ยประกันสุขภาพของคุณพ่อคุณแม่นั้น เราสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี หากเรามีการซื้อประกันสุขภาพให้ท่าน สามารถนำค่าเบี้ยประกันสุขภาพมาลดหย่อนได้สูงสุดถึง 15,000 บาท และค่าเบี้ยประกันสุขภาพนี้สามารถหารแบ่งกันสำหรับลูกหลายๆคนได้ด้วย

 

4. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 200,000 บาท สำหรับเงื่อนไขประกันชีวิตแบบบำนาญนั้นจะมีเรื่องของ ระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป  ทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และมีการ จ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ และกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เมื่อเรามีอายุตั้งแต่ 55-85 ปี หรือมากกว่านั้น รวมถึงต้องจ่ายเบี้ยประกันครบก่อนได้รับผลประโยชน์อีกด้วย

5 . เงินประกันสังคม สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท

 

ลดหย่อนภาษี 2561

6. กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เป็นกองทุนรวมอีกประเภทหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระยะยาว โดยเน้นลงทุนในตลาดหุ้นเป็นหลัก ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงและสูงสุดไม่เกินจำนวน 500,000 บาท โดยกองทุนรวม LTF นั้นมีเงื่อนไขเพิ่มเติม คือ ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปีปฎิทินด้วยครับ สำหรับการซื้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 – 31 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป

 

7. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่ลงทุนไว้ในสินทรัพย์หลากหลายประเภท ซึ่งมีวัตถุประสงค์ไว้ใช้ในการวางแผนเกษียณของเรา นำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงและสูงสุดไม่เกินจำนวน 500,000 บาท โดยกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF มีเงื่อนไขเพิ่มเติมตามนี้ค่ะ

  • ต้องซื้อติดต่อกันทุกปี (แต่ถ้าผิดเงื่อนไขสามารถผิดได้ 1 ปี)
  • ต้องซื้อเป็นจำนวนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือ 5,000 บาท
  • ต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี และอายุครบ 55 ปี จึงจะสามารถขายได้

8. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / กบข. /กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท ซึ่งเราสามารถสะสมเพิ่มได้โดยขอเปลี่ยน % ที่กำหนดกับนายจ้างไว้

 

9. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงแต่สูงสุดไม่เกินจำนวน 13,200 บาทอันนี้เป็นกองทุนอีกรูปแบบหนึ่งที่ภาครัฐกำหนดให้เพื่อเป็นช่องทางการออมขั้นพื้นฐานให้กับคนที่ยังไม่ได้มีการวางแผนจัดการเรื่องนี้ ให้ได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบของบำนาญ ซึ่งปัจจุบันกำหนดให้ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ในการคำนวณภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาทค่ะ

***** สำหรับกลุ่มค่าลดหย่อน ประกันชีวิตและการลงทุน จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับค่าลดหย่อนภาษีที่เป็นการวางแผนเกษียณ คือ ยอดรวมของ RMF + กบข./กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน + กองทุนการออมแห่งชาติ + ประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทนะคะ ******

 

กลุ่มที่ 4 : ค่าลดหย่อนกลุ่มบริจาคให้เงินหมุนสู่สังคม

ลดหย่อนภาษี 2561

โดยรายการลดหย่อนภาษีปี 2561 สำหรับกลุ่มนี้นั้น จะมีวิธีคำนวณแตกต่างออกไป เพราะเป็นกลุ่มสุดท้ายที่นำมาหักหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตัวอื่น ๆ แล้ว โดยจะได้สิทธิหักได้สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตัวอื่น ๆ ทั้งหมดแล้วนั่นเอง หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเก็บไว้หักตัวสุดท้ายนั่นเองจ้า ดังนั้นจากที่เราเคยคำนวณภาษีแบบนี้ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี จะกลายเป็น [(รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) – เงินบริจาค] x อัตราภาษี โดยในปี 2561 นี้ค่าลดหย่อนที่เกี่ยวกับการบริจาคจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ส่วนที่ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า กับ 1 เท่า โดยมีรายละเอียดตามนี้ค่ะ

กลุ่มลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

1.เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา การกีฬา และช่วยเหลือสังคม สามารถหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ  สำหรับกลุ่มนี้มีอะไรบ้าง สามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร

2.เงินบริจาคให้ “สถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูง” ซึ่งหมายถึง สถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล โรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าทั้งโรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดความรู้ความเชี่ยวชาญ ในด้านเทคโนโลยี และวิทยาการที่มีคุณภาพและทันสมัยจากสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ ที่ตั้งอยู่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาการจัดการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูง จากต่างประเทศหรือ “คพอต”

3.ค่าลดหย่อนบริจาคโรงพยาบาล (เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า)ของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนนั้น เป็นมาตรการที่กระตุ้นให้คนบริจาคให้กับสถานพยาบาลต่าง ๆ ของราชการ ทั้งที่เป็นสถาบันศึกษา องค์กรมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ รวมถึงสภากาชาดไทย แต่มีเงื่อนไขว่าเมื่อรวมกับการบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาแล้ว ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่น ๆ

กลุ่มลดหย่อนภาษีตามปกติ

1.เงินบริจาคทั่วไป สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินที่เหลือหลังหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อนและเงินบริจาคในกลุ่มที่เป็น 2 เท่าแล้ว โดยเงินบริจาคทั่วไป จะเป็นเงินที่เราบริจาคให้แก่วัด สภากาชาดไทย สถานพยาบาล สถานศึกษา รวมถึงมูลนิธิที่เป็นองค์กรสาธารณกุศล

และสำหรับปี 2561 นี้มีการเพิ่ม ค่าลดหย่อนน้ำท่วม ขึ้นมาด้วย  เนื่องจากช่วงนี้มีข่าวน้ำท่วมในหลายพื้นที่ แต่ถ้าเรามีการบริจาคให้กับหน่วยงานที่เป็นตัวกลางอย่างภาครัฐ หรือ เอกชนที่ขึ้นทะเบียนกับภาครัฐ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ แต่ต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้นนะคะ

 

กลุ่มที่ 5 : ค่าลดหย่อนกลุ่มยกมาจากปีก่อน

ลดหย่อนภาษี 2561

นั่นก็หมายถึงค่าลดหย่อนจากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์สูงสุด 120,000 บาท(เน้นว่า…ค่าลดหย่อนตัวนี้เป็นสิทธิต่อเนื่องจากการซื้อบ้านหลังแรกภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2559 เท่านั้นนะคะ) ให้สิทธิสำหรับผู้ที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในราคาไม่เกิน 3,000,000 บาท ให้สิทธิพิเศษสามารถนำเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปลดภาษีได้โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • ต้องเป็นบ้านหลังแรกที่ มูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท และต้องซื้อภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2559
  • ใช้สิทธิตั้งแต่ปีภาษี 2558 – 2559 เป็นต้นไป ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี
  • ห้ามโอนหรือขายต่อภายในเวลา 5 ปี และต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในบ้านหลังนั้นด้วย

 

Story : ลีฬภัทร กสานติกุล

ภาพประกอบ : ปลานิลเต็มบ้าน


อ่านเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม