ทำความรู้จักกับประเภทของหม้อสามัญประจำครัว

หม้อ เป็นอุปกรณ์คู่ครัวอีกชิ้นหนึ่งที่ขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะทำแกง ปรุงซุป ต้มผักต่าง ๆ ล้วนแต่ต้องทำในหม้อทั้งสิ้น ปัจจุบันนี้มีหม้อให้เลือกใช้กันอย่างหลากหลายประเภท ซึ่งหม้อแต่ละประเภทนั้นก็มีวิธีใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ประเภทหม้อ

วันนี้ my home มีตัวอย่างหม้อสามัญที่ไม่ว่าบ้านไหน ๆ ก็น่าจะมีติดครัวไว้มาแนะนำกันถึง 8 ชนิดด้วยกัน แถมยังมีวิธีดูแลรักษาหม้อชนิดต่าง ๆ แบบที่ถูกต้องเพื่อช่วยยืดอายุการใช้การหม้อแต่ละประเภทให้นานออกไปสมกับราคาที่เราได้จ่ายไปค่ะ ประเภทหม้อ

 

1. หม้อสเตนเลส

หม้อสเตนเลส
https://chefscornerstore.com

ข้อดีของหม้อประเภทนี้คือ ราคาไม่สูงมากนัก หาซื้อง่าย วัสดุก็ดูสวยเงางามและทนทานต่อการใช้งานค่ะ แต่ถ้าอยากได้ของดีควรเลือกยี่ห้อที่น่าเชื่อถือและควรเลือกใช้หม้อสเตนเลสกับเตาแม่เหล็กโดยเฉพาะ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปรุงอาหารด้วยหม้อชนิดนี้นั้น อาหารมักจะติดหม้อได้ง่ายกว่าหม้อประเภทอื่น ๆ ข้อควรระวังอีกอย่างหากอาหารนั้นเป็นอาหารชนิดที่ว่ามีกรดเป็นส่วนประกอบอยู่ค่อนข้างมาก อย่างเช่นอาหารจพวกยำรสแซ่บต่าง ๆ ไม่ควรแช่อาหารประเภทนั้นไว้ในหม้อสเตนเลสเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้วัสดุเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้นค่ะ

 

2.หม้อสเตนเลสทรงเตี้ยแบบมีด้าม

หม้อสเตนเลสทรงเตี้ยแบบมีด้าม
https://chefscornerstore.com

หม้อชนิดนี้ส่วนใหญ่จะเห็นตามหนังฝรั่งเพราะหน้าที่ของหม้อชนิดนี้คือไว้ใช้ทำน้ำซอสหรือน้ำเกรวี่ ที่ราดบนสเต๊กหรืออาหารจานเส้นต่าง ๆ เพราะสามารถเก็บกักความร้อนได้ดีแต่ก็ระบายอากาศไปในตัว ทำให้อาหารชุ่มชื้นน่ารับประทานแต่พอเมื่อย้ายมาที่ครัวไทย ครัวแบบบ้านเราจะเห็นภาพชินตาเป็นการใช้หม้อสเตยเลสทรงเตี้ยแบบนี้นำมาใช้ปรุงแกงต่าง ๆ  เพราะมีด้ามจับที่ถนัดมือ แนะนำให้ใช้งานคู่กับถุงมือกันความร้อนนะคะ

 

3. หม้อหูสองชั้น

หม้อหูสองชั้น
www.macys.com

แม่บ้านฝรั่งจะใช้หม้อแบบนี้ในการลวกเส้นพาสต้าและสปาเกตตี เพื่อความสะดวกในการเทน้ำออก ส่วนบ้านเรานั้นหากจะใช้ต้มข้าวโพดหรือปรุงอาหารประเภทต้มหรือนึ่งก็สะดวกดี ไม่ต้องกลัวน้ำลวกมือด้วยจ้า

 

4. หม้อเหล็ก

หม้อเหล็ก ประเภทหม้อ
https://food5.com

เหล็กเป็นวัสดุที่ทนทานอยู่แล้วจึงไม่ต้องกลัวเรื่องหม้อบูดเบี้ยวเมื่อใช้ไปนานๆ ที่สำคัญในเหล็กมีสารอีนาเมลซึ่งไม่เป็นอันตรายเมื่อสารอีนาเมลเจอความร้อน แต่จะเป็นตัวช่วยนำความร้อนเมื่อเกิดไอน้ำในหม้อก็จะกลั่นตัวทำให้อาหารชุ่มชื้น เหมาะกับอาหารที่มีวิธีทำหลายขั้นตอน เช่นอาจนำมาตั้งเตาก่อนแล้วนำไปอบต่อ ทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายภาชนะให้วุ่น วาย แนะนำให้เลือกขนาดของหม้อให้พอเหมาะเพราะตัวหม้อองก็มีน้ำหนักมากพอสมควร ใครที่ชอบเข้าครัว ชอบทำกับข้าวบ่อย ๆ การเลือกใช้หม้อเหล็กถือว่าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม แต่สำหรับใครที่เข้าครัวทำอาหารแบบนาน ๆ ทีนั้นหม้อเหล็กที่ตั้งใจซื้อมาอาจจะเกิดสนิมได้

 

5. หม้อแก้วทนความร้อน

หม้อแก้ว
www.etsy.com

หม้อสีขาวหน้าตาสวยงามใบนี้ใช้สำหรับทำอาหารได้ทุกอย่าง เหมาะกับเตาทุกประเภท ยกเว้นเตาแม่เหล็ก แถมยังสะดวกตรงที่สามารถยกเสิร์ฟได้ทันที และช่วยเก็บความร้อนไปในตัว การใช้งานก็สะดวกเมื่อต้องการอุ่นอาหารก็สามารถยกออกจากตู้เย็นแล้วตั้งอุ่นบนเตาได้ทันทีเลยค่ะ

6. หม้อเคลือบ

หม้ออีนาเมล ประเภทหม้อ
www.thekitchn.com

หม้อประเภทนี้จะเคลือบด้วยผงแก้วนำมาผสมสี ซึ่งเป็นสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย สามารถปรุงอาหารได้ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด ได้อย่างไม่ต้องห่วงเรื่องอาหารติดก้นหม้อ ระวังอย่าทำหม้อหล่นหรือกระทบกับวัสดุที่มีความแข็งเพราะสีอาจจะกระเทาะได้ และเมื่อผิวด้านนอกกระเทาะแล้วจะเห็นเป็นเนื้อโลหะด้าน จะเป็นช่องทางที่ทำให้บริเวณอื่น ๆ กระเทาะตามจากการเกิดสนิมได้ค่ะ สามารถใช้งานได้ทั้งเตาแก๊สและเตาไฟฟ้า

 

7. หม้ออัดความดัน

หม้ออัดความดัน ประเภทหม้อ
www.picswe.com

หม้อชนิดนี้เจ๋งตรงที่ช่วยประหยัดพลังงานค่ะเพราะใช้เวลาในการปรุงน้อยกว่าหม้อแบบทั่วไป โดยอาหารที่ปรุงจากหม้ออัดความดันนั้นจะสุกและเปื่อยเร็ว ให้รสชาติแบบเดียวกับการตุ๋นเลย แต่ต้องศึกษาวิธีการใช้ให้ดีเพราะหากเปิดตอนหม้อร้อนจัดอาจเกิดแรงอัดได้ ควรเลือกแบบที่มีปุ่มบอกแรงดันภายในหม้อเวลาเปิดฝาจะได้มั่นใจในความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นค่ะ

 

8.หม้อตุ๋นไร้สาย

หม้อตุ๋นไร้สาย
www.amazon.com

หม้อตุ๋นอเนกประสงค์เป็นหม้อไฟฟ้าที่เรียกว่าหม้อที่ช่วยประหยัดค่าไฟเหมือนกันค่ะ เพราะหม้อใช้ระบบเก็บความร้อน ด้วยการให้อาหารระอุในตัวนั้นเท่ากับว่าใช้ไฟเท่าเดิม แต่เพิ่มเติมคือยืดความร้อนของอาหารนั้นออกไปนานขึ้น ตัวหม้อทำมาจากสเตนเลสเกรดดีมี 2 ชั้นด้วยกัน ส่วนของหม้อใบในใช้ทำอาหารปกติให้พอสุกจากนั้นนำมาใส่ในหม้อใบนอก ซึ่งเป็นระบบสุญญากาศ วิธีเลือกควรเลือกหม้อตุ๋นไร้สายแบบที่ก้นหม้อเป็น Capsule Base เพราะจะช่วยดูดความร้อนได้รวดเร็ว สามารถเก็บความร้อนได้นานถึง 6 – 8 ชั่วโมง เหมาะกับการไปปิกนิกต่างจังหวัด เพราะสามารถปรุงไว้ก่อนปล่อยให้หม้อทำงานไป เมื่อถึงที่หมายอาหารก็นุ่มพร้อมรับประทานพอดีค่ะ

 

การดูแลรักษาให้หม้อใช้งานได้ยาว

ประเภทหม้อ

  • หากมีคราบอาหารติดแน่นภายในหม้อ อย่าเพิ่งใช้ฝอยขัดหม้อขัดเพราะอาจทำให้หม้อใบเก่งของคุณมีริ้วรอย

ไม่สวยงาม ควรเทน้ำอุ่นและแช่ไว้สัก 2 – 3 ชั่วโมง จากนั้นใช้ฟองน้ำจุ่มน้ำยาล้างจานเข้มข้นล้างซ้ำหลาย ๆ ครั้ง

  • อย่าเพิ่งตกใจหากหม้อเกิดคราบไหม้ ปล่อยทิ้งให้เย็นสักพักจากนั้นรีบแช่ในน้ำอุ่น ทิ้งไว้จนคราบไหม้

ล่อนออกแล้วแช่ในน้ำอุ่นซ้ำอีกครั้ง จากนั้นเทน้ำเกลือผสมผงฟูลงในหม้อปล่อยทิ้งไว้ค้างคืน จึงค่อยใช้ผ้านุ่ม

หรือฟองน้ำจุ่มน้ำยาล้างจานทำความสะอาดซ้ำหลาย ๆ ครั้งจนหมดคราบ

  • เมื่อหม้อเริ่มหมอง ไม่ใสกิ๊กเหมือนเก่า ให้ใช้ผ้านุ่มชุบน้ำผสมผงฟูเช็ดให้ทั่ว แล้วทำความสะอาดตามปกติ

หม้อของคุณก็จะกลับมาสวยปิ๊งเหมือนใหม่อีกครั้ง

 

Story : อัจฉรา จีนคร้าม


อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม