ICONSIAM

7 เรื่องดีไซน์ไทยๆ ที่คุณอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับ ICONSIAM และหนึ่งไอเท็มลับที่กำลังจะเปิด

ICONSIAM
ICONSIAM

เปิดตัวกันไปอย่างเกรียวกราวกับโครงการ ICONSIAM จากแนวคิดที่ต้องการนำเสนอความเป็นไทยให้เป็นจุดหมายใหม่ของโลก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเรื่องของดีไซน์ไทยๆ ที่ถูกตีความและประยุกต์ให้เข้าไปกับบริบทใหม่ และนี่คือเรื่องที่คุณอาจจะยังไม่รู้ ถึงที่มาที่ไปและความหมายของสิ่งที่คุณเห็น

ฟาซาดกระจก กระทง และสไบ

ไอคอนสยาม ICONSIAM

ไอคอนสยาม ICONSIAM ฟาซาดกระจก
ริ้วกระจกออกแบบมาจากสไบของหญิงไทย

ไอคอนสยาม ICONSIAM ฟาซาดกระจก

ไอคอนสยาม ICONSIAM ฟาซาดกระจก
ภาพขณะก่อสร้าง

 

ภาพแรกที่ผู้คนนึกถึง ICONSIAM ในตอนนี้คือตัวอาคารด้านหน้าที่เป็นกระจกหันออกสู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ถือเป็นโครงสร้างกระจกโดยไม่มีเสาหรือเฟรมที่ยาวที่สุดในโลก สูงราว 24 เมตร ออกแบบโดย Urban Architects ของไทย และสร้างโดย Seele จากเยอรมัน ความพริ้วรอบตัวอาคารนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสไบอันสวยงามของหญิงไทย ส่วนด้านบนตรงกลางที่เป็นกระจกมุมแหลมนั้น มีที่มาจากการจับจีบพับกระทง มีนัยยะเสมือนเป็นการบูชาแม่น้ำสายประวัติศาสตร์แห่งนี้อยู่นั่นเอง

 


แชนเดอเลียร์พวงมาลัย

ไอคอนสยาม iconsiam แชนเดอเลียร์
แชนเดอเลียร์ที่ออกแบบมาจากดอกรักและดอกมะลิ
ไอคอนสยาม iconsiam แชนเดอเลียร์
แชนเดอเลียร์ดอกมะลิ

ไอคอนสยาม iconsiam แชนเดอเลียร์

 

แชนเดอเลียร์พวงมาลัย Lasvit บริษัทดีไซน์แชนเดอเลียร์จากสาธารณรัฐเช็ก สร้างงานเฉพาะขึ้นมาใหม่โดยการตีความพวงมาลัยที่ร้อยจากดอกรักและดอกมะลิ ให้กลายเป็นแชนเดอเลียร์แก้วตรงโถงทางเข้า เพื่อแทนการต้อนรับด้วยพวงมาลัยอันปราณีตของคนไทย


เสาลายกระหนกโดย อ.ปรีชา เถาทอง

ไอคอนสยาม ICONSIAM เสาลายกระหนก อาจารย์ปรีชา เถาทอง
อาจารย์ปรีชา เถาทอง
ไอคอนสยาม iconsiam เสาลายไทย
เสาลายไทยในไอคอนสยาม

ไอคอนสยาม iconsiam เสาลายไทย

ไอคอนสยาม iconsiam ประติมากรรม
ประติมากรรมบนเพดาน ผลงานออกแบบ ของ Haberdashery จากลอนดอนร่วมกับอาจารย์ปรีชา เถาทอง

เสาตรงหน้าอาคารในส่วน ICONLUXE ได้รับเกียรติจาก อ.ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติสาขาจิตรกรรม ทำงานในพื้นที่สาธารณะเป็นครั้งแรก และยังได้ร่วมกับ Haberdashery จากลอนดอนในการออกแบบประติมากรรมบนเพดาน ที่คลี่คลายจากลวดลายไทยบนเสา สร้างเป็นเส้นนำสายตาไปสู่เสาอีกต้นซึ่งอยู่ในส่วนด้านหน้า


ของดีสี่ภาคใน SOOKSIAM

ไอคอนสยาม iconsiam โคมไฟ
โคมไฟดีไซน์จากร่มกระดาษเชียงใหม่
ไอคอนสยาม ICONSIAM โคมไฟ
โคมไฟดีไซน์จากกรงนก ผลงานของดีไซน์เนอร์ไทยแบรนด์ TIMA
ไอคอนสยาม iconsiam โคมไฟ
โคมไฟผ้าบาติก

ไอคอนสยาม iconsiam โคมไฟ ไอคอนสยาม iconsiam

พื้นที่ส่วนที่คึกคักไปด้วยของดีจากภาคต่างๆ ของไทย การตกแต่งของที่นี่จึงมีการดึงงานหัตถกรรมเข้ามาตกแต่งหลายจุด อาทิ โคมไฟผ้าบาติก และร่มเชียงใหม่ที่ออกแบบโดย Trimode ทำงานร่วมกับชุมชนผู้ผลิต หรือเสาที่ออกแบบโดย คุณศุภชัย แกล้วทนงค์ ที่ใช้เทคนิกแบบการทำกรงนกของภาคใต้ งานผ้าอีสานที่ตกแต่งเป็นไฟแขวนเพดาน เป็นต้น


เครื่องจักสานใน ICONCRAFT และสินค้าระดับรางวัล

ไอคอนสยาม iconsiam เครื่องจักสาน ไอคอนสยาม iconsiam

ไอคอนสยาม iconsiam

บนชั้น 4 และ 5 มีพื้นที่ที่ขายสินค้าที่ออกแบบโดยดีไซเนอร์ไทย ซึ่งคัดสรรมาโดยเฉพาะส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากแบรนด์ที่ได้รับรางวัลทั้งในระดับประเทศ นอกจากนี้ยังมีงาน Installation จากศิลปินและนักออกแบบโชว์กันในโซนนี้ด้วย พื้นที่ส่วนนี้ รวมทั้งเสาและเส้นสายโค้งในการตกแต่งทั้งหมดเป็นรูปทรงนามธรรม ซึ่งมีที่มาจากเครื่องจักสานทำมือ ออกแบบโดยคุณดวงฤทธิ์ บุนนาค แห่ง DBALP

 

โครงว่าวและเศษเหล็ก กับเพดานหรู

ไอคอนสยาม iconsiam โคมไฟไม้ไผ่

โซนร้านอาหารติดกระจกรับวิวแม่น้ำ บนเพดานด้านบนมีการตกแต่งได้อย่างน่าตื่นตา จากโคมไฟไม้ไผ่ที่ประยุกต์มาจากการขึ้นโครงว่าว ออกแบบโดยคุณกรกต อารมย์ดี ดีไซเนอร์จากเพชรบุรีที่สร้างชื่อมากมายในต่างประเทศ ทำงานร่วมกับคุณศรุตา เกียรติภาคภูมิ ดีไซเนอร์ที่ออกแบบโคมไฟจากเศษเหล็กที่เหลือในโรงงานปั๊มเหล็กของทางบ้าน


 

ดีไซเนอร์ไทยในร้านหลุยส์ วิตตอง

ไอคอนสยาม iconsiam หลุยส์ วิตตอง

นับเป็นครั้งแรกที่หลุยส์ วิตตอง ยอมให้มีการทำงานร่วมกันกับนักออกแบบท้องถิ่น ที่ไม่ได้มาจากส่วนกลาง ฉากหลังที่เป็นเชือกถัก เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวอย่างอาร์มแชร์ ที่นั่งใส่รองเท้า และโต๊ะกลางภายในร้านหลุยส์ วิตตอง ICONSIAM นี้ เป็นผลงานออกแบบของ คุณสุวรรณ คงขุนเทียนแห่งแบรนด์ Yothaka ส่วนฝ้าเพดาน ออกแบบโดยคุณเพลินจันทร์ วิญญรัตน์ นักออกแบบสิ่งทอมือวางอันดับต้นๆ ของไทย

 


ไอเท็มลับ นาข้าวและพาวิลเลี่ยน บนชั้น 6

ไอคอนสยาม iconsiam ไอคอนสยาม iconsiam

พื้นที่ต่างๆ ใน ICONSIAM นั้น ยังไม่ได้เปิดให้บริการหมด ที่เห็นได้ชัดเจนคือพื้นที่ชั้น 6 ซึ่งยังมีการคลุมผ้าก่อสร้างงานกันอยู่ โดยมีกำหนดเปิดให้บริการในปลายปีนี้ พื้นที่นี้ถูกวางไว้ให้เป็นร้านอาหารในคอนเซ็ปต์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว โดยจะมีพาวิลเลี่ยนที่ออกแบบโดยดีไซเนอร์ชาวไทยอยู่หลายคน นับเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่น่าจับตามองทีเดียว เนื่องจากคอนเซ็ปต์ความเป็นไทยแบบดั้งเดิม อีกหลายอย่างกำลังจะถูกเล่น ตีความ และสร้างให้เป็นงานขึ้นมาในบริบทของไทยในปัจจุบัน เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในแง่มุมต่างๆ ที่จะส่งต่อไปสู่อนาคตของแม่น้ำสายนี้

 

เรื่อง สมัชชา วิราพร

ภาพ อนุพงษ์ ฉายสุขเกษม


 

One Bangkok พลิกโฉมวงการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยแบบก้าวกระโดด

เปิดตัวอลังการ สุดยอดตึกที่(เคย)สูงที่สุดในกรุงเทพ “ตึกมหานคร”