Trimode ปรับปรุงบ้านเก่าหลังหนึ่งในซอยสุขุมวิท 26 ให้กลายเป็นร้านอาหารใต้แบบ Fine Dining ในชื่อว่า “ศรณ์ (Sorn)”

SORN ถึงเครื่องถึงแกง ถึงแก่นประสบการณ์อาหารใต้

Trimode ปรับปรุงบ้านเก่าหลังหนึ่งในซอยสุขุมวิท 26 ให้กลายเป็นร้านอาหารใต้แบบ Fine Dining ในชื่อว่า “ศรณ์ (Sorn)”
Trimode ปรับปรุงบ้านเก่าหลังหนึ่งในซอยสุขุมวิท 26 ให้กลายเป็นร้านอาหารใต้แบบ Fine Dining ในชื่อว่า “ศรณ์ (Sorn)”

ศรณ์ ร้านอาหารใต้ ที่แรงบันดาลใจจาก “ใบไม้” กลายมาเป็นคอนเซ็ปต์งานดีไซน์ เห็นได้จากลวดลายที่ปรากฏอยู่บนองค์ประกอบของงานออกแบบตกแต่งต่าง ๆ  เช่น ผนัง ประตู กระจก พาร์ทิชัน หรือแม้แต่ลวดลายบนเบาะเก้าอี้

ด้วยสภาพอากาศแบบมรสุมเขตร้อนทำให้พื้นที่ภาคใต้เต็มไปด้วยป่าดิบชื้นที่รกครึ้ม นำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และบรรดาอาหารการกินที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น จนคนทุกภูมิภาคในประเทศไทยยอมรับและรู้จักเป็นอย่างดี

Trimode ปรับปรุงบ้านเก่าหลังหนึ่งในซอยสุขุมวิท 26 ให้กลายเป็นร้านอาหารใต้แบบ Fine Dining ในชื่อว่า “ศรณ์ (Sorn)”

“เวลาเรามองไปที่ร้านอาหารใต้ เรามักจะคิดถึงอาหารก่อน อาหารใต้เต็มไปด้วยองค์ประกอบของผักชนิดต่าง ๆ มีความเป็นทรอปิคัล รสเผ็ดร้อนจากเครื่องแกง และมักจะนึกถึงถาดใหญ่ ๆ ที่มีผักแนมอยู่เต็มไปหมด”

“หากจะจำกัดความง่าย ๆ อาหารใต้ทำให้เรารู้สึกถึงป่า หรือเหมือนอาหารป่านั่นเอง”

คุณนิ-ชินภานุ อธิชาธนบดี Design Director แห่งบริษัท Trimode หนึ่งในทีมผู้ปรับปรุงบ้านเก่าหลังหนึ่งในซอยสุขุมวิท 26 ให้กลายเป็นร้านอาหารใต้แบบ Fine Dining ในชื่อว่า “ศรณ์ (Sorn)” กล่าวถึงที่มาที่ไปของผลงานออกแบบของเขา รวมทั้งยังเล่าถึงแรงบันดาลใจที่มาจาก “ใบไม้” ซึ่งกลายมาเป็นคอนเซ็ปต์งานดีไซน์ทั้งหมดของร้าน เห็นได้จากลวดลายที่ปรากฏอยู่บนองค์ประกอบของงานออกแบบตกแต่งต่าง ๆ  เช่น ผนัง ประตู กระจก พาร์ทิชัน หรือแม้แต่ลวดลายบนเบาะเก้าอี้

“ใบไม้คือองค์ประกอบหลักที่เราเลือกนำมาใช้  โดยมีกิ่ง – ก้าน – ใบ เป็นตัวช่วยบ่งบอกถึงความเป็นปักษ์ใต้”

การชูอาหารท้องถิ่นสู่ระดับภัตตาคารแบบ Fine Dining แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากเรื่องของอาหารที่เจ้าของเชี่ยวชาญและใส่ใจเป็นพิเศษแล้ว บรรยากาศและการออกแบบภายในยังนับเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ท้าทายความสามารถไม่น้อย

“เวลาเรามองไปที่ร้านอาหารใต้ เรามักจะคิดถึงอาหารก่อน อาหารใต้เต็มไปด้วยองค์ประกอบของผักชนิดต่าง ๆ มีความเป็นทรอปิคัล รสเผ็ดร้อนจากเครื่องแกง และมักจะนึกถึงถาดใหญ่ ๆ ที่มีผักแนมอยู่เต็มไปหมด” “หากจะจำกัดความง่าย ๆ อาหารใต้ทำให้เรารู้สึกถึงป่า หรือเหมือนอาหารป่านั่นเอง”

Trimode ปรับปรุงบ้านเก่าหลังหนึ่งในซอยสุขุมวิท 26 ให้กลายเป็นร้านอาหารใต้แบบ Fine Dining ในชื่อว่า “ศรณ์ (Sorn)”

คุณหยก-ภารดี เสนีวงศ์ ณ อยุธยา คืออีกหนึ่งพาร์ตเนอร์ของบริษัทออกแบบมากฝีมือ เธอได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานครั้งนี้ว่า

“แรกเริ่มเราจะนึกถึงอาหารที่คุ้นเคยก่อน ยังไม่รู้หรอกว่าอาหารใต้ที่เป็น Fine Cuisine นั้นเป็นอย่างไร”

“นอกจากนี้บริบทหนึ่งที่ทำให้เรานึกถึงภาคใต้คือคำว่า “Tropical Rain Forest” เราจึงนำมาผสมผสานกับสไตล์ “Luxury Exotic” คีเวิร์ดสำคัญที่ช่วยเชื่อมโยงเรื่องราวของวัฒนธรรม อาหาร และบริบทต่าง ๆ ของความเป็นภาคใต้เข้าด้วยกัน”

สิ่งหนึ่งที่จะช่วยยกระดับบริการและอาหารไปสู่ความพิเศษสิ่งหนึ่งคือเรื่องเล่า ภายในร้านนอกจากคีย์เวิร์ดหลักที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์น่าจดจำ ไม่ว่าจะเป็นเส้นสายของ “ใบไม้” การชูความหวือหวาของวัฒนธรรมในสไตล์ “Luxury Exotic” และการจัดการพื้นที่ใช้สอยภายในที่ช่วยให้ร้านอาหารแห่งนี้แตกต่างจากร้านอื่น  ๆ แล้ว ยังมีพื้นที่อีกส่วนหนึ่งที่ถือเป็นไฮไลท์ นั่นคือส่วนของ “พิพิธภัณฑ์” ซึ่งเป็นส่วนของพื้นที่ต้อนรับ เพื่อช่วยเล่าที่มาของวัตถุดิบและกรรมวิธีการปรุงอาหารแบบท้องถิ่นภาคใต้แท้ ๆ ภายในจึงประดับด้วยข้าวของเครื่องใช้ทองเหลืองในครัว ซึ่งเป็นของสะสมของผู้เป็นเจ้าของ รวมถึงโชว์วัตถุดิบสำคัญในการประกอบอาหาร  อาทิ ข้าวหลากหลายสายพันธุ์ ที่ปลูกได้เฉพาะในภาคใต้ ภายใต้บรรยากาศที่ให้ความรู้สึกโอ่โถง ก่อนนำไปสู่ที่นั่งรับประทานอาหารในโซนต่าง ๆ

Trimode ปรับปรุงบ้านเก่าหลังหนึ่งในซอยสุขุมวิท 26 ให้กลายเป็นร้านอาหารใต้แบบ Fine Dining ในชื่อว่า “ศรณ์ (Sorn)”

ในส่วนของที่นั่งรับประทานอาหาร เนื่องจากเป็นการรับจองที่นั่งที่แบ่งไว้สำหรับลูกค้าที่มาเป็นกลุ่มเสียส่วนใหญ่ผู้ออกแบบจึงใช้ความเป็น “ห้อง” ซึ่งมีที่มาจากลักษณะของบ้านเก่ามารีโนเวตให้เกิดประโยชน์

“จากบ้านที่เคยอยู่กัน 5 – 10 คน เมื่อต้องปรับเปลี่ยนมาเป็นร้านอาหารเพื่อรองรับคนกว่า 50 คน ทำให้เราต้องวางโครงสร้างใหม่ทั้งหมด โดยยังคงสเปซแบบเดิมไว้ให้มีลักษณะเป็นยูนิต ๆ เพื่อให้เกิดความรู้สึกเหมือนเราเดินเข้ามาในบ้าน ไม่ได้เป็นแบบ Single Space ใหญ่ ๆ อย่างร้านทั่วไป”

ศรณ์ ร้านอาหารใต้ Fine Dining

พื้นที่ใช้งานทั้งชั้น 1 และ 2 จึงประกอบด้วยที่นั่งรับประทานอาหารขนาดเล็ก-ใหญ่แตกต่างกันไป โดยมีแนวคิดการออกแบบและต่อเติมสเปซทั้งหมดเข้าหากันเพื่อเชื่อมต่อมุมมอง ไม่ให้บรรยากาศดูปิดทึบ หรือเปิดโล่งเกินไปจนหมดความเป็นส่วนตัว รวมถึงการยังคงบรรยากาศของสเปซแบบบ้านเดิมไว้เช่นนี้ยังให้ความรู้สึกถึงความอบอุ่นนอบน้อม คล้ายการต้อนรับแขกคนสนิทมารับประทานอาหารที่บ้านของเราเอง

“ในด้านการออกแบบผมจะเน้นเรื่องของอาหารเป็นสำคัญ เพราะเวลาที่อาหารมาเสิร์ฟอยู่บนโต๊ะ เชฟจะเล่าเรื่องราวให้ลูกค้าฟัง ประสบการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่มันอยู่รอบ  ๆ คุณตอนนี้ ล้วนมาจากเรื่องราวของอาหารที่คุณกินทั้งหมดเลย”

เอกลักษณ์ของภัตตาคารแบบ Fine Dining คือการใส่ใจในทุกรายละเอียด และความพิถีพิถันทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบ การคัดสรรเมนู การปรุง การจัดจานและเรื่องราวในจาน การเสิร์ฟ การให้ประสบการณ์ระหว่างรับประทาน และการทิ้งความประทับใจไว้ในจานอาหาร ท่ามกลางบรรยากาศดี ๆ ก่อนส่งผู้มาเยือนจากไปพร้อมความสุข

Trimode ปรับปรุงบ้านเก่าหลังหนึ่งในซอยสุขุมวิท 26 ให้กลายเป็นร้านอาหารใต้แบบ Fine Dining ในชื่อว่า “ศรณ์ (Sorn)”

Trimode ปรับปรุงบ้านเก่าหลังหนึ่งในซอยสุขุมวิท 26 ให้กลายเป็นร้านอาหารใต้แบบ Fine Dining ในชื่อว่า “ศรณ์ (Sorn)”

Trimode ปรับปรุงบ้านเก่าหลังหนึ่งในซอยสุขุมวิท 26 ให้กลายเป็นร้านอาหารใต้แบบ Fine Dining ในชื่อว่า “ศรณ์ (Sorn)”

ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจคอนเซ็ปต์และเข้าถึงสิ่งที่เจ้าของอยากให้มี ทีมออกแบบจาก Trimode จึงได้ทำงานร่วมกับเชฟผู้ออกแบบรสชาติอาหาร สำหรับนำสิ่งที่ได้จากการสังเกตและพูดคุยมาปรับใช้และสร้างแรงบันดาลใจในงานออกแบบ โดยพวกเขาได้กล่าวว่า บางครั้งแรงบันดาลใจดี ๆ ก็มาจากรสสัมผัสหลักจากได้ลิ้มรสอาหารที่เชฟคิดค้นขึ้น ก่อนนำมาตีความสู่งานอินทีเรียดีไซน์ที่เข้าถึงความเป็นปักษ์ใต้แท้ ๆ

“เราต้องคัดสิ่งที่ดีที่สุด และตอบโจทย์โปรดักต์ของเขาได้อย่างชัดเจนและตรงตัว เพราะสุดท้ายแล้วร้านไม่ว่ามันจะสวยแค่ไหน มันต้องส่งเสริมกับอาหารของเขาด้วย”


DETAILS:

องค์ประกอบงานออกแบบหลายชิ้นมีที่มาจากเส้นสายของ “ใบไม้” โดยเฉพาะพาร์ทิชันในส่วนต่าง ๆ ซึ่งมีไว้เพื่อตีกรอบให้เกิดเสปซเล็ก ๆ ขึ้นภายในสเปซที่เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ นอกจากนี้นักออกแบบยังเลือกใช้วัสดุสี “Antique Brass” หรือทองเหลืองเก่ามาคุมโทนบรรยากาศทั้งหมด ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากของสะสมของเจ้าของร้านนั่นเอง

องค์ประกอบงานออกแบบหลายชิ้นมีที่มาจากเส้นสายของ “ใบไม้” โดยเฉพาะพาร์ทิชันในส่วนต่าง ๆ ซึ่งมีไว้เพื่อตีกรอบให้เกิดเสปซเล็ก ๆ ขึ้นภายในสเปซที่เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ นอกจากนี้นักออกแบบยังเลือกใช้วัสดุสี “Antique Brass” หรือทองเหลืองเก่ามาคุมโทนบรรยากาศทั้งหมด ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากของสะสมของเจ้าของร้านนั่นเอง

องค์ประกอบงานออกแบบหลายชิ้นมีที่มาจากเส้นสายของ “ใบไม้” โดยเฉพาะพาร์ทิชันในส่วนต่าง ๆ ซึ่งมีไว้เพื่อตีกรอบให้เกิดเสปซเล็ก ๆ ขึ้นภายในสเปซที่เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ นอกจากนี้นักออกแบบยังเลือกใช้วัสดุสี “Antique Brass” หรือทองเหลืองเก่ามาคุมโทนบรรยากาศทั้งหมด ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากของสะสมของเจ้าของร้านนั่นเอง องค์ประกอบงานออกแบบหลายชิ้นมีที่มาจากเส้นสายของ “ใบไม้” โดยเฉพาะพาร์ทิชันในส่วนต่าง ๆ ซึ่งมีไว้เพื่อตีกรอบให้เกิดเสปซเล็ก ๆ ขึ้นภายในสเปซที่เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ นอกจากนี้นักออกแบบยังเลือกใช้วัสดุสี “Antique Brass” หรือทองเหลืองเก่ามาคุมโทนบรรยากาศทั้งหมด ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากของสะสมของเจ้าของร้านนั่นเอง

องค์ประกอบงานออกแบบหลายชิ้นมีที่มาจากเส้นสายของ “ใบไม้” โดยเฉพาะพาร์ทิชันในส่วนต่าง ๆ ซึ่งมีไว้เพื่อตีกรอบให้เกิดเสปซเล็ก ๆ ขึ้นภายในสเปซที่เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ นอกจากนี้นักออกแบบยังเลือกใช้วัสดุสี “Antique Brass” หรือทองเหลืองเก่ามาคุมโทนบรรยากาศทั้งหมด ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากของสะสมของเจ้าของร้านนั่นเอง

เฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นในร้านออกแบบขึ้นใหม่ทั้งหมด เพื่อให้สัดส่วนของการนั่งถูกต้องตามสะรีระ ในขณะที่ผ้าบุเก้าอี้ยังใช้ลาย “ก้านใบ” เพื่อให้ตรงตามคอนเซ็ปต์อีกด้วย
เฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นในร้านออกแบบขึ้นใหม่ทั้งหมด เพื่อให้สัดส่วนของการนั่งถูกต้องตามสะรีระ ในขณะที่ผ้าบุเก้าอี้ยังใช้ลาย “ก้านใบ” เพื่อให้ตรงตามคอนเซ็ปต์อีกด้วย
ครัวของที่นี่มีส่วนเปิดโล่งพิเศษคือส่วนหุงข้าว โดยใช้เตาถ่านในการหุงข้าวทั้งหมด เพื่อให้ได้รสสัมผัสแบบอาหารใต้ดั้งเดิม แถมยังเป็นการสร้างบรรยากาศและมอบประสบการณ์เฉพาะให้กับแขกผู้มาเยือน การตกแต่งใช้อิฐสีเทาผสมกับไม้ ซึ่งตีความจากสี “เขม่า” ของเต่าถ่าน
ครัวของที่นี่มีส่วนเปิดโล่งพิเศษคือส่วนหุงข้าว โดยใช้เตาถ่านในการหุงข้าวทั้งหมด เพื่อให้ได้รสสัมผัสแบบอาหารใต้ดั้งเดิม แถมยังเป็นการสร้างบรรยากาศและมอบประสบการณ์เฉพาะให้กับแขกผู้มาเยือน การตกแต่งใช้อิฐสีเทาผสมกับไม้ ซึ่งตีความจากสี “เขม่า” ของเต่าถ่าน
ในที่ขณะองค์ประกอบแทบทุกส่วนได้แรงบันดาลใจจาก “ใบไม้” นอกจากนี้นักออกแบบยังนำส่วนอื่น ๆ อย่าง ดอก และ ผล มาใช้เป็นไอเดียในการออกแบบ เห็นได้จากโคมไฟที่ดูคล้ายผลลองกอง ผลไม้ขึ้นชื่อที่ปลูกได้ดีในท้องถิ่นภาคใต้
ในที่ขณะองค์ประกอบแทบทุกส่วนได้แรงบันดาลใจจาก “ใบไม้” นอกจากนี้นักออกแบบยังนำส่วนอื่น ๆ อย่าง ดอก และ ผล มาใช้เป็นไอเดียในการออกแบบ เห็นได้จากโคมไฟที่ดูคล้ายผลลองกอง ผลไม้ขึ้นชื่อที่ปลูกได้ดีในท้องถิ่นภาคใต้

เรื่อง กรกฎา
ภาพ ศุภกร