BENCHAKITTI RAIN FOREST OBSERVATORY แปลงโฉมสถาปัตยกรรมกลางสวนป่าสู่ส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

โครงการออกแบบศาลา และหอสังเกตการณ์กลางสวนป่าภายใต้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ตั้งอยู่ใจกลาง สวนป่าเบญจกิติ แวดล้อมด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ และระบบนิเวศทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ผลงานการออกแบบของ HAS design and research โดยงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล WOW อัศจรรย์เมืองน่าอยู่ ซึ่งจะจัดขึ้น ณ สวนเบญจกิติ ระหว่างวันที่ 23 – 27 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา จากข้อมูลของกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวเพียง 6.99 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งน้อยกว่า 9 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวขั้นต่ำที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) สวนป่าเบญจกิติ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ จึงเป็นอีกพื้นที่สีเขียว ที่มอบวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีแบบใหม่ให้คนกรุงเทพฯ ด้วยแรงบันดาลใจจากสวนป่า หอสังเกตการณ์แห่งนี้ จึงดูเหมือนถูกปกคลุมด้วยใบไม้จำนวนมาก ไม่เพียงเหมือนเกาะพื้นที่ชุ่มน้ำที่ลอยอยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนป่าฝนเขตร้อนล้ำค่าทางระบบนิเวศธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยร่วมกันสำหรับสัตว์และพืช  ช่วงกลางวัน หอสังเกตการณ์แห่งนี้เป็นเหมือนกิ้งก่าที่แฝงตัวในสวนสาธารณะ สมาร์ตบอร์ดเกือบ 100 แผ่นแผ่นทา 4 เฉดสีเขียวที่แตกต่างกัน โดยเลือกใช้สีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยั่งยืนเพื่อให้เกิดความสมดุลที่สมบูรณ์แบบกับสิ่งแวดล้อม ในตอนกลางคืน แถบไฟด้านหลังแผ่นสมาร์ตบอร์ดให้แสงสว่างในหลากหลายมิติ […]

จากความหลงใหลนาฬิกา แสดงผ่านเส้นสายของเวลา และงานสถาปัตยกรรมแบบส่วนตัว

บ้านโมเดิร์น ที่มีเส้นสายแสดงถึงแนวความคิดในการออกแบบ และตัวตนของเจ้าของบ้านเป็นรูปธรรมผ่านงานสถาปัตยกรรมได้อย่างครบถ้วน

MPS LOAF HAUS บ้านขนมปังเส้นสายโค้งมน ตอบโจทย์สมาชิกต่างวัย

mps Loaf Haus บ้านโมเดิร์นสีขาว ที่ผสานเส้นสายโค้งมนของสถาปัตยกรรมเข้ากับพื้นที่ใช้สอยภายใต้แปลนตัวยู (U) เพื่อถ่ายทอดตัวตนของเจ้าของบ้านได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อบ้านหลังเดิมที่อยู่กับคุณแม่มีสมาชิกเพิ่มขึ้น พื้นที่ใช้สอยเดิมจึงไม่เพียงพออีกต่อไป คุณอุ๊ก-ปณัฐสา ศิริโพธิ์พันธุ์กุล เจ้าของบ้านจึงตัดสินใจซื้อที่ดินในซอยเดียวกันเพื่อสร้างบ้านหลังใหม่ในฝันของตนเอง โดยมี คุณแพร-เหมือนแพร ฟูเกียรติสุทธิ์ ได้เข้ามาเป็นสมาชิก อาศัยในบ้านใหม่หลังเดียวกัน จนกลายมาเป็นโจทย์สำคัญของการออกแบบ เพื่อให้ทั้งคุณแม่ และสมาชิกในบ้านสามารถอยู่อาศัยในบ้านหลังเดียวกันได้อย่างอบอุ่น แต่ยังคงมีความเป็นส่วนตัว เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ของตนเองได้อย่างสะดวกใจไม่ขัดเขินกัน บ้านโมเดิร์นสีขาว หลังนี้เป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น สร้างใหม่ ขนาดพื้นที่ใช้สอยอยู่ที่ 231 ตร.ม. แปลนบ้านรูปตัวยู (U) เกิดจากความตั้งใจ ที่ต้องการแบ่งพื้นที่ใช้สอยระหว่างเจ้าของบ้าน และคุณแม่ โดยมีทีมสถาปนิกจาก RAD studios มาช่วยออกแบบจัดวางตำแหน่ง และขนาดของพื้นที่ใช้สอยให้ตรงความต้องการของสมาชิกทุกคนในบ้าน เนื่องด้วยขนาดที่ดินที่ค่อนข้างจำกัด จึงออกแบบขนาดพื้นที่ให้ได้มากที่สุดตามที่กฏหมายอาคารกำหนด ดังนั้นผนังบ้านรอบด้านยกเว้นด้านหน้าบ้านจึงเป็นผนังทึบ และเพื่อให้ภายในบ้านมีแสง และลมธรรมชาติเข้ามาได้อย่างพอเพียง สถาปนิกได้เว้นระยะระหว่างพื้นที่เพื่อให้เกิดเป็นระเบียงขนาดเล็กเพื่อดึงแสงและลมธรรมชาติเข้ามาในบ้าน  ในการออกแบบ กำหนดโซนอยู่อาศัยหลักของคุณแม่ไว้ด้านหนึ่งของพื้นที่ชั้น 1 มีลักษณะคล้ายห้องชุด 1 ยูนิตของคอนโด จัดเรียงพื้นที่ใช้สอยตามลำดับการเข้าถึง และความเป็นส่วนตัวให้กับคุณแม่ พร้อมใส่ใจในรายละเอียดสำหรับผู้สูงอายุ […]

HAPPIELAND กัญชาไลฟ์สไตล์สโตร์ในบรรยากาศชวนฉงน

HAPPIELAND ร้านสินค้าไลฟ์สไตล์ ที่เกี่ยวข้องกับกัญชาย่านเจริญกรุง โดดเด่นด้วยเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร พร้อมบรรยากาศน่าฉงนชวนให้ทุกคนค้นหาไปพร้อมกัน มองจากภายนอก คงยากจะบอกว่าตึกแถวห้องริมสุดบนหัวมุมถนนเจริญกรุง 82 เป็นสำนักงาน ร้านค้า ร้านอาหาร หรือมีอะไรซ่อนอยู่ภายใน และด้วยผนังสีเทาทึบที่ทั้งหลบเร้นเข้าไปภายใน รวมถึงชื่อ HAPPIELAND บนผนัง ที่ทิ้งให้เปลือยเปล่าไว้ราวกับยังทาสีไม่เสร็จ ก็ทำให้ที่นี่ยิ่งน่าค้นหาขึ้นไปอีก ที่นี่ริเริ่มและดำเนินกิจการโดยกลุ่มเพื่อนครีเอทีฟ และนักออกแบบที่มีความสนใจร่วมกันในพืชเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทยอย่างกัญชา โดยการออกแบบร้านค้าแห่งใหม่เพื่อรองรับกิจกรรมที่รอวันเสรีอย่างสมบูรณ์นี้ก็สอดคล้องไปกับการออกแบบแบรนด์ในภาพรวม ที่เน้นความสนุกสนานและความคิดสร้างสรรค์ โดยแรกสุดนั้น ชื่อร้านมาจากไอเดียสนุกของการเล่นคำอังกฤษผสมการพ้องเสียงไทย อย่างการรวมคำว่า Happy กับ Hippie กลายเป็น Happie รวมกับการตั้งใจให้อ่านชื่อแบรนด์ “HAPPIELAND” อย่างไทยเป็น “แฮบ – พี้ – แลน” ที่ก็พ้องความหมายไปกับกิจกรรมการใช้กัญชาในเชิงสันทนาการ อารมณ์ขันและความสนุกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะหนึ่งของกัญชา จึงเป็นเนื้อหาหลักในการแบรนด์และการออกแบบร้านค้าไปพร้อมกัน โดยในส่วนของร้านค้านั้น สิ่งที่ผู้เยี่ยมชมจะสัมผัสได้เป็นอย่างแรกหลังจากเดินเข้าสู่พื้นที่ภายในคือบรรยากาศของห้องสีขาว สะอาด สว่าง ซึ่งตรงกันข้ามทุกประการกับบริบทและสภาพแวดล้อมที่วุ่นวายภายนอกของเมืองกรุงเทพฯ โดยภายในตัวร้านค้านี้ ผู้ออกแบบได้สร้างสเปซใหม่เป็นการเฉพาะสำหรับหน้าร้านด้วยการกั้นพื้นที่ชั้นหนึ่งของตึกแถวเดิมด้วยการวางแผงกระจกล้อมเป็นวงกลม และเอนแผงกระจกทั้งหมดนั้นออก ผลลัพธ์ที่ได้ จึงเป็นห้องวงกลมที่ให้ความรู้สึกเหมือนผู้เยี่ยมเยือนจะยืนอยู่ในห้องกระจกรูปทรงกรวยกลับหัวอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับการได้พื้นที่เศษเหลือโดยรอบจากการล้อมกรอบพื้นที่ใช้สอยใหม่ในห้องของตึกเก่า ที่ระบุรูปทรงไม่ได้ ที่เอื้อให้เกิดพื้นที่ใช้ประโยชน์อย่างเคาน์เตอร์ชำระเงิน ช่องสต็อกสินค้า […]

HORME CAFE คาเฟ่ นนทบุรี สไตล์ Coffee and Brunch พื้นที่แลกเปลี่ยนความสุขระหว่างคนรักกาแฟกับบาริสต้า

หอมคาเฟ่สาขานนทบุรี ตั้งใจออกแบบพื้นที่เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกคนในร้าน ตั้งแต่ลูกค้า บาริสต้า รวมไปถึงพนักงานในครัว ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของแบรนด์ไม่ต่างจากสาขาบางนา เด่นด้วยการออกแบบที่ภูมิใจนำเสนอ การโชว์วิธีการทำกาแฟ ขนม และอาหาร โดยตั้งใจให้มีพื้นที่ที่สามารถรองรับการใช้งานส่วนนี้ได้มากขึ้น จนออกมาเป็นเคาน์เตอร์รูปทรงโค้งมน ดูคล้ายเกือกม้าขนาดใหญ่ จุดเด่นประจำร้าน

SUNNE VOYAGE และเรือลำใหม่ ในทะเลที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในระยอง

การเดินทางยังดำเนินต่อ เพราะนี่คือเรือลำใหม่ จาก Sunne Voyage ที่ตั้งใจสร้างบรรยากาศแบบเรือประมงดั้งเดิมของทะเลระยอง จากเรือลำแรก Sunne Voyager สู่เรือลำที่สอง Sunne Explorer ที่ยังคงวิ่งไปกลับท่าเรือแหลมตาล สู่เกาะมันนอก แต่สิ่งที่แตกต่างไปคือครั้งนี้ทาง Sunne Voyage ตั้งใจออกแบบลำเรือให้มีความดั้งเดิมมากที่สุด ด้วยความตั้งใจนำเสนอประสบการณ์ใหม่ ผ่านบรรยากาศของเรือท่องเที่ยวที่แตกต่าง ด้วยลำเรือขนาดกะทัดรัดเรียบง่าย แต่กลับโดดเด่นด้วยโครงสร้างไม้เนื้อแข็งสีธรรมชาติ พร้อมนำเสนอคุณค่าของฝีมือช่างต่อเรือประมงไทย ที่ส่งต่อประสบการณ์รุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนาน เรือ Sunne Explorer เกิดจากการต่อยอดประสบการณ์การทำเรือลำแรกของ Sunne Voyage ซึ่งได้เพิ่มความท้าทายในการออกแบบ โดยคงรูปแบบแปลนเรือประมงดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด เช่นการที่ห้องคนขับอยู่ด้านท้ายเรือ ปรับทรงเรือให้ออกมาสวยงาม สมดุล และแตกต่างจากเรือนำเที่ยวอื่น ๆ ที่สำคัญต้องเหมาะสมกับการล่องเรือ ทั้งการสู้คลื่นและแล่นได้อย่างราบรื่น เพื่อให้แขกที่มาใช้บริการได้ใกล้ชิด และได้รับความสุขจากธรรมชาติเต็มที่ ส่วนความแตกต่างจากเรือลำแรก เห็นได้ชัดที่สุดคือการนำที่นั่งมาไว้ด้านหน้าเรือ และห้องคนขับในเรือแบบเดิมถูกเปลี่ยนไปไว้ด้านหลัง ทรงเรือแบบนี้ หัวเรือจำเป็นจะต้องชันกว่าด้านหลังเพื่อสู้คลื่น แต่มีการปรับทรงเรือจนได้ที่นั่งที่มีองศาเหมาะสม มีความสบายขณะล่องเรือ สามารถชมวิวได้รอบทิศทาง แถมยังรับลมทะเลได้มากกว่าที่เคย บาร์หลังเรือ และห้องคนขับ ออกแบบให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถดูแลผู้โดยสารได้ทั่วถึง เพื่อความปลอดภัยของทุกคนขณะอยู่ในน้ำตลอดเวลา ใต้ท้องเรือยังมีที่นั่งและห้องน้ำแบบ […]

IDIN ARCHITECTS สร้างความครีเอทีฟให้พื้นที่ทำงาน ด้วยมุมมองธรรมชาติสีเขียว

สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมที่ตั้งอยู่ ในย่านกลางเมืองที่แสนวุ่นวายอย่างรัชดาภิเษก จากปัจจัยแวดล้อมดังกล่าว สถาปนิกจึงต้องพิจารณาบริบทของพื้นที่ให้เข้ากับแนวทางการออกแบบ โดยมีโจทย์คือความเป็นส่วนตัว อยู่สบาย และสัมผัสธรรมชาติได้เต็มที่ในเวลาเดียวกัน เพราะเชื่อว่าสถาปัตยกรรมควรเป็นผลมาจากการแก้ปัญหาตามบริบท กระทั่งเกิดเป็นภาพของสตูดิโอที่ดูเรียบง่ายและตรงไปตรงมา

รักษ์โลก ไปกับ MADMATTER STUDIO แบรนด์ธุรกิจแฟชั่นที่เติบโตไปกับความยั่งยืน

คอลเล็กชั่น fall winter 2022 ที่ Madmatter ได้ปล่อยออกมาโดยต้องการให้เป็น
คอลเลคชั่น Fall Winter 2022 ที่ Madmatter Studio ได้ปล่อยออกมา โดยต้องการให้เป็นคอลชั่นที่จริงจังมากขึ้น ซึ่งมีจุดเด่นคือเป็นการร่วมกันกับแบรนด์ knit circle เพื่อทดลองด้วยการนำวัสดุที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาให้เป็น full-line fashion แบบครบจบทั้งตัวในคอลเลคชั่นเดียว จนเกิดเป็นไอเท็มใหม่ ๆ อย่างเสื้อไหมพรม เสื้อโปโล และเสื้อยืดซึ่งเป็นไอเท็มที่สามารถใส่ได้ทุกวัน ทุกโอกาส แต่อะไรคือแก่นความคิดที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาแบรนด์ครั้งนี้ จนได้มาถึงจุดสมดุลระหว่างธุรกิจแฟชั่น และความยั่งยืนใส่ใจสิ่งแวดล้อม ก่อเกิดเป็นผลงานที่ดีไซน์มาแล้วใช้ได้จริง นี่คือบทสัมภาษณ์ผู้อยู่เบื้องหลัง Madmatter Studio ผู้สนใจธุรกิจแฟชั่นดีไซน์บนความยั่งยืน

STUDIOMAKE สตูดิโอออกแบบ โครงสร้างเหล็กแนวคิดประยุกต์จากบ้านไทย

พื้นที่สำนักงานของ สตูดิโอออกแบบ STUDIOMAKE ตั้งอยู่บนชั้น 1 ในอาคารหลังเดียวกับบ้านของ คุณอรพรรณ สาระศาลิน และ คุณ David Schafer ผู้ก่อตั้ง

MORE THAN ONE คาเฟ่ สามย่าน เรียบเท่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง

สามย่าน กาแฟที่อร่อย ราคาดีสามารถดื่มได้ทุกวัน ถ้าร้านสวยด้วยล่ะก็กำไรสุด ๆ ไปเลย MORE THAN ONE คาเฟ่เปิดใหม่ พร้อมเสิร์ฟกาแฟให้กับทุกคนแล้ว

ห้องครัวปูนเปลือยใช้งานได้จริง ให้คุณสนุกกับการทำอาหารมากกว่าที่เคย

ไอเดีย ห้องครัวปูนเปลือย ให้คุณสนุกกับการทำอาหารมากกว่าที่เคย กับห้องครัวไม่ว่าจะเป็นแพนทรี่ขนาดเล็กสำหรับเตรียมอาหาร หรือครัวครบครันสำหรับเชฟนอกเวลา

Wall Art ‘ศิลปะ สีสันจากขยะเมือง’ บริบทใหม่ของขยะสู่การหมุนเวียนทรัพยากรอย่างยั่งยืน

ขยะจากชีวิตประจำวันที่เป็นได้มากกว่าขยะ จากแรงบันดาลใจ วัสดุไร้ค่าในอดีตอย่างเศษเครื่องปั้นดินเผา ถ้วยจานเซรามิก ยังนำมาประดับตกแต่งให้เกิดเป็นลวดลายอันสวยงามบนเจดีย์ภายในวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง) แล้วทำไม ขยะในปัจจุบัน จะนำมาใช้ในงานสร้างสรรค์บ้างไม่ได้? Room จะพาไปชมผลงาน Wall Art ‘ศิลปะ สีสันจากขยะเมือง’ การสร้างสรรค์ของนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ภายใต้แนวคิด Waste Management กำจัดขยะที่เกิดจากพฤติกรรมของคนเมือง ในโซน Better Community ที่จัดแสดงภายในงาน Sustainability Expo 2022 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 26 กันยายนถึง 2 ตุลาคมนี้ โดย ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี คณบดีคณะสถาปัตย์ฯ เล่าให้ฟังเกี่ยวกับแนวคิดของผลงานศิลปะชิ้นนี้ว่าได้แรงบันดาลใจจากการนำเศษเครื่องปั้นดินเผา ถ้วยจานเซรามิก มาประดับตกแต่งให้เกิดเป็นลวดลายอันสวยงามบนเจดีย์ภายในวัดอรุณราชวรารามฯ ซึ่งไม่เพียงเป็นภูมิปัญญาของผู้คนสมัยก่อนที่ทรงคุณค่า แต่ยังใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการนำวัสดุไร้ค่ามาสร้างคุณค่าใหม่ได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ ที่กำหนดให้ความยั่งยืนเป็นแกนหลักในหลักสูตร โดยมีเป้าหมายเพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีดีเอ็นเอการเป็นนักสร้างสรรค์ ที่คำนึงถึงเรื่องความยั่งยืนตั้งแต่ในห้องเรียน เปลี่ยนขยะจากสังคมเมืองให้เป็นงานศิลปะ นักศึกษาต้องเรียนเรื่องลายไทยอยู่แล้ว และในวิถีชีวิตของมนุษย์ก็ทำให้ขยะเกิดขึ้นทุกวัน […]

Botanica Meditation Center สงบและสมดุลกลางละอองหมอก

ศูนย์ฝึกสมาธิ Botanica Meditation Center ตั้งอยู่ย่านชานเมืองเหอเฟย์ (Hefei) เมืองหลวงของมณฑลอานฮุย (Anhui) สาธารณรัฐประชาชนจีน เหอเฟย์เป็นเมืองเก่าที่มีการพัฒนา และเติบโตอย่างรวดเร็วตลอด 30 ปีที่ผ่านมา จากเดิมที่ทุกอย่างกระจุกตัวอยู่ใจกลางเมือง ก็กลายเป็นเมืองที่มีศูนย์กลางความเจริญกระจายในหลายจุด นับเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดดที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ปรากฎการณ์นี้ มิได้เกิดขึ้นเฉพาะที่เหอเฟย์เท่านั้น แต่ยังพบได้ในเมืองใหญ่ทั่วทุกภูมิภาคของจีน สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวครั้งใหญ่สำหรับชาวจีน ทั้งในด้านชีวิตการทำงาน และการใช้ชีวิตส่วนตัว ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น Botanica Meditation Center เป็นพื้นที่สวนเปิดโล่งขนาด 230 ตารางเมตร เจ้าของโครงการนี้ทำงานในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องเผชิญแรงกดดันทางวิชาชีพมหาศาล เมื่อความหลงใหลในพรรณไม้และธรรมชาติ ผนวกกับความฝันที่จะสร้างสวนพฤกษศาสตร์สาธารณะกลางชุมชนที่พักอาศัย จึงเกิดโครงการนี้ขึ้น ด้วยความตั้งใจให้ทุกคนได้มีโอกาสฝึกสมาธิ โยคะ ไทชิ และคลาสพัฒนาจิตวิญญาณอื่นๆ เพื่อพาผู้คนมารู้จักกับความงดงามของ “ชีวิตเนิบช้า” ท่ามกลางความเร่งรีบของสังคมเมือง จากโจทย์ข้างต้น HAS design and research ได้เริ่มทำการวิจัยเชิงลึก และพบว่าสวนพฤกษศาสตร์แบบดั้งเดิมนั้นมักมีถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ แม้จะเหมาะสำหรับระบบให้น้ำต้นไม้ภายในสวน แต่ขณะเดียวกัน ถังเก็บน้ำก็เป็นเหมือนองค์ประกอบที่แบ่งพื้นที่ภายในสวนออกเป็นสองส่วนอย่างสิ้นเชิง คือพื้นที่งานระบบ และพื้นที่สวน ในการออกแบบโครงการนี้ ผู้ออกแบบจึงพยายามรักษาวิธีการดั้งเดิมไว้ […]

ธรรมชาติที่ถูกรังสรรค์ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดย SHMA

ธรรมชาติที่ถูกรังสรรค์ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดย SHMA – room

3X3 RETREAT บ้านเล็ก เท่าแมวดิ้น! แต่อยู่สบายกลางป่าใหญ่

ใครจะเชื่อว่าพื้นที่ 3×3 เมตร จะสามารถสร้างบ้านหนึ่งหลังได้ Estudio Diagonal สถาปนิกจากประเทศชิลี ได้ออกแบบบ้านน้อยกลางสวนป่าสำหรับอยู่อาศัยในพื้นที่น้อย แต่สัมผัสธรรมชาติได้ชนิดที่เรียกได้ว่า “อย่างเยอะ” 3×3 Retreat เป็นบ้านพักกึ่งตากอากาศที่แบ่งเป็นพื้นที่นอกชาน และพื้นที่ภายในบ้านขนาดสองชั้น ชั้นล่างใช้พื้นที่ชานบ้านแทนพื้นที่รับแขก ทุกคนที่มาที่บ้านจะได้รับบรรยากาศธรรมชาติเต็มตา ณ ห้องรับแขกเอ๊าต์ดอร์แห่งนี้ ถัดเข้ามาภายในเป็นพื้นที่สำหรับครัว และStorage เมื่อปีนบันไดลิงขึ้นสู่ชั้นบน ในส่วนนี้จะเป็นเหมือนกับพื้นที่ส่วนตัวที่มีทั้งห้องนอน และห้องน้ำ เรียกได้ว่าครบทุกองค์ประกอบที่บ้านควรจะต้องมีเลยทีเดียว ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางการทำบ้าน “เล็กแบบพอดีอยู่” ที่ใครจะนำไปใช้กับบ้านสวนของตัวเองก็ไม่ขัด แต่พออายุมากแล้ว อาจจะปีนขึ้นไปนอนยากสักหน่อย อันนี้ก็คงต้องปรับไปตามสังขารกันอีกที ออกแบบ : Estudio Diagonalภาพ : Nicolás Saiehเรียบเรียง : Wuthikorn Sut

บ้านริมน้ำ สไตล์นอร์ดิก Norwegian Bathhouse

บ้านริมน้ำ กับเรืออีกหนึ่งลำ ผลงานการออกแบบที่ประยุกต์จากวัฒนธรรมดั้งเดิม โดยมีแรงบันดาลใจมาจาก Norwegian Bathhouse หรือบ้านริมน้ำขนาดเล็กของนอร์เวย์ ที่ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบของวัสดุ และกรรมวิธีการก่อสร้างให้ทันสมัยขึ้น โครงสร้างหลักของบ้านเป็นโครงสร้างเหล็กวางบนหินแกรนิตแบบดั้งเดิม ใช้ผนังคอนกรีตสำเร็จวางตัวเปิดรับวิวทะเล โดยที่จากบนบกจะเข้ามุมที่บดบังสร้างความเป็นส่วนตัวอย่างพอดิบพอดี ในส่วนหลังคานั้นเลือกใช้เมทัลชีตเพื่อน้ำหนักที่เบาและก่อสร้างได้ง่าย ทำสีกันสนิมในโทนสีดั้งเดิมเข้ากันได้ดีกับบริบทโดยรอบ ภายในจัดวางห้องแบบ Studio Type เรียบง่าย เรียกได้ว่าห้องเดียว “ครบทุกสิ่ง” ทั้งครัวขนาดเล็ก พื้นที่นั่งเล่น และเตาผิงสำหรับประกอบอาหารได้ในตัว ในวันแสนสบาย บ้านหลังนี้สามารถเปิดบานหน้าริมทะเลออกได้จนหมดสามารถหย่อนใจรับแดดได้อย่างเต็มตา สำหรับใครที่อยากทำบ้านตากอากาศเรียบง่ายเป็นของตัวเอง บ้านหลังนี้คือตัวอย่างที่ดีอย่างยิ่ง ลองจินตนาการถึงบ้านน้อยหลังนี้มาตั้งติดเจ้าพระยาของเรา น่าจะดูดีเลยทีเดียว ออกแบบ Handegård Arkitekturภาพ Carlos Rollan เรื่อง Wuthikorn Sut

ไฮไลต์ บ้านและสวนแฟร์ select 2022 : BETTER TOGETHER

บ้านและสวนแฟร์ select 2022 งานดีไซน์แฟร์งานแรกของปี ครั้งนี้เรามาในธีม “BETTER TOGETHER เริ่มใหม่ ดีกว่าด้วยกัน เพราะสิ่งพิเศษเกิดขึ้นได้ทุกครั้งที่เราเจอกัน”

อยู่กับศิลป์ ในสตูดิโอกึ่งที่พักรีโนเวตจากทาวน์โฮม

ออกแบบโดย Bangkok Tokyo Architecture (http://www.btarchitecture.jp) บ้านทาวน์โฮมในย่านฝั่งธนฯ หลังนี้ ถูกส่งต่อมาในครอบครัวจนมาถึงมือของศิลปินท่านหนึ่ง ที่ต้องการปรับพื้นที่ให้กลายเป็นพื้นที่ทำงานของตนเอง การออกแบบจึงเด่นชัดในการสร้างพื้นที่ส่วนตัวให้กับตัวเจ้าของบ้าน สร้างสภาวะแห่งแรงบันดาลใจจากบรรยากาศอิงธรรมชาติ สร้างความสุขสงบภายในบ้าน แม้จะอยู่ในเขตเมืองที่หนาแน่น แต่กลับสามารถออกแบบพื้นที่ภายในได้อย่างลงตัวและน่าสนใจ Bangkok Tokyo Architecture รับหน้าที่ในการปรับพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งสิ่งที่ผู้ออกแบบเลือกทำเป็นอย่างแรก นั่นคือการทุบเชื่อมพื้นที่ทั้งหมดให้กลายเป็นเนื้อเดียวกัน โดยมีพื้นที่ต่อเติมข้างบ้านเป็นรูปตัวแอล (L) เพื่อเสริมการใช้งานให้ครบถ้วน พื้นที่ภายในแบบ ONE ROOM SPACE เปิดโอกาสให้เจ้าของบ้านมีอิสระในการใช้งานและปรับเปลี่ยนได้ในอนาคต เพื่อให้ตอบรับกับอาชีพนักวาดภาพ และการสร้างผลงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ ทั้งในแง่ของการทำงานก็ดี รวมไปถึงการแสดงงานในอนาคตด้วยเช่นกัน จากประตูใหญ่ เมื่อเข้ามาภายในบ้าน ประตูเหล็กทึบและผนังจะช่วยปิดกั้นความวุ่นวายจากภายนอก โดยทางเข้าบ้านนั้นถูกจัดเป็นส่วนหย่อมในแบบกำลังดีที่คำนึงถึงการดูแลง่าย แต่ก็ยังสร้างความร่มรื่นได้ในวันสบาย ๆ ที่สามารถเปิดประตูรับลมและแสงธรรมชาติได้เต็มที่ เมื่อเดินเข้าสู่ภายในจะพบกับพื้นที่นั่งเล่น และโต๊ะทำงานตัวใหญ่ กึ่งกลางเป็นชั้นวางผลงานที่สามารถเครื่องย้ายได้ มีเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว และโต๊ะรับประทานอาหารที่จัดวางไปในพื้นที่ Circulation ออกแบบมาเพื่อให้สามารถเดินไปสู่ครัวด้านหลัง และห้องน้ำได้ โดยไม่ต้องเดินผ่านพื้นที่ทำงานของเจ้าของบ้านแต่อย่างใด พื้นที่ทั้งสองชั้น แม้จะอยู่คนละระดับกัน แต่ก็ยังรู้สึกเชื่อมโยงเป็นเนื้อเดียวกัน จากการที่ผู้ออกแบบเลือกเจาะพื้นชั้นสองให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงไปถึงชั้นล่าง ทำให้เกิดการไหลเวียนอากาศ และแสงธรรมชาติที่ส่องสว่างทั่วถึงทั้งบ้าน รวมทั้งช่วยเปิดมุมมองทางสายตาให้เห็นกันและกันได้ในทุก […]